ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Person
{{Infobox Person
| name = พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
| name = [[ศาสตราจารย์]] [[ทันตเเพทย์หญิง]] [[ดร.]]<br>พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
| honorific-prefix = [[ศาสตราจารย์]] [[ทันตเเพทย์หญิง]] [[ดร.]]
| image = Pimpen Sakuntabhai.jpg
| image = Pimpen Sakuntabhai.jpg
| caption =
| caption =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:44, 30 สิงหาคม 2563

ศาสตราจารย์ ทันตเเพทย์หญิง ดร.
พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
เกิดพิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย
5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (59 ปี)
อาชีพอาจารย์
มีชื่อเสียงจากภริยานายกรัฐมนตรี
คู่สมรสอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2531–ปัจจุบัน)
บุตรปราง เวชชาชีวะ
ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บุพการีพงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย
ประพาพิมพ์ ศกุนตาภัย

ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร. พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย; 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507) อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ประวัติ

พิมพ์เพ็ญมีชื่อเล่นว่า "แตงโม" แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า "แตง" เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรสาวของศาสตราจารย์ (พิเศษ) พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับประพาพิมพ์ ศกุนตาภัย (สกุลเดิม: สุวรรณศร) อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1](ธปท.)

พิมพ์เพ็ญเป็นหลานยายของอัมพา สุวรรณศร (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี และยังเป็นญาติกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (สกุลเดิม: ดามาพงศ์) อดีตภรรยาทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[2][3]

พิมพ์เพ็ญสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตร์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชีวิตสมรส

อภิสิทธิ์ และพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2552

ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากพิมพ์เพ็ญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้สมรสกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ติดตามอภิสิทธิ์ไปยัง เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่อภิสิทธิ์ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากกลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ปราง เวชชาชีวะ (บุตรสาว) กับ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (บุตรชาย)[4] ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2555[5]

การทำงาน

พิมพ์เพ็ญ ได้ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิชาที่รักมาตั้งแต่เยาว์วัย จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทนี้ด้วยผลการเรียนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ เนื่องจากเป็นผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2541 และได้รับการบรรจุให้รับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีเดียวกัน และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546

ปัจจุบัน รศ.ทญ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สาขาคณิตศาสตร์ ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. นกน้อยบางขุนเทียน. "ความรักและการเมือง บนถนนชีวิต 'อภิสิทธิ์-พิมพ์เพ็ญ'". เนชั่น. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ณ ป้อมเพชร ตระกูล "First Lady" 3 รัฐบาล เรื่องชวนทอล์กในนิตยสาร TALK". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "3 สตรี ณ ป้อมเพชร ลมใต้ปีก 3 ผู้นำรัฐบาล". ข่าวสด. 9 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. The Nation, Abhisit, Chuan's young protege gets his turn at last, สืบค้นเมื่อ 15-12-2008
  5. "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งว่า นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงวันที่ 3 กันยายน 2555" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 129, ตอนที่ 124 ง, หน้า 6). 8 พฤศจิกายน 2555. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี 2552

แหล่งข้อมูลอื่น