ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 110: บรรทัด 110:
== รายนามผู้บริหาร ==
== รายนามผู้บริหาร ==
=== รายนามอธิบดีกรมอัยการ ===
=== รายนามอธิบดีกรมอัยการ ===
*1. [[ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)]] (พ.ศ. 2436 - 2455)
*1. [[ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ)]] (พ.ศ. 2436 - 2444 - ถึงแก่กรรมในตำแหน่ง)
*2. [[พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด คุณะดิลก)]] (พ.ศ. 2455 - 2460)
*2. [[พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด คุณะดิลก)]] (พ.ศ. 2455 - 2460 - ปฏิบัติหน้าที่ว่าที่เจ้ากรมอัยการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445)
*3. [[พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา)]] (พ.ศ. 2461 - 2466)
*3. [[พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา)]] (พ.ศ. 2461 - 2466)
*4. [[พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)]] (พ.ศ. 2466 - 2471)
*4. [[พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)]] (พ.ศ. 2466 - 2471)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:01, 13 สิงหาคม 2563

สำนักงานอัยการสูงสุด
ไฟล์:ตราสำนักงานอัยการสูงสุด1.png
ตราสำนักงานอัยการสูงสุด รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น
พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์รองรับด้วย
ช่อชัยพฤกษ์
มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็น ทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วย ความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม
ภาพรวมหน่วยงาน
สำนักงานใหญ่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์, อัยการสูงสุด
  • เนตร นาคสุข, รองอัยการสูงสุด
  • สมศักดิ์ ติยะวานิช, รองอัยการสูงสุด
  • สาวิตร บุญประสิทธิ์, รองอัยการสูงสุด
  • สุริยะ แบ่งส่วน, รองอัยการสูงสุด
  • ร้อยโท ไชยา เปรมประเสริฐ, รองอัยการสูงสุด
  • สมโภชน์ ลิ้มประยูร, รองอัยการสูงสุด
  • ไพบูลย์ ถาวรวิจิตร, รองอัยการสูงสุด
  • รุจ เขื่อนสุวรรณ, รองอัยการสูงสุด
เว็บไซต์ago.go.th

สำนักงานอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสำนักงานส่วนราชการขององค์กรอัยการ เป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับหรือสังกัดกระทรวงใด มีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด

นโยบายการบริหารงานของอัยการสูงสุด (นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์) (พ.ศ. 2562 – 2564)

1. การอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ต้องรวดเร็ว เป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปราศจากการเลือกปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา

2. บูรณาการกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อค้นหาความจริงเชิงรุกให้สามารถขจัดข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลและประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

3. นำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ลดค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว

4. สนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา พัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และมีความมั่นคง มีการพัฒนา ตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงจัดให้มีความพร้อมด้านอัตรากำลัง อาคารสถานที่ปฏิบัติงาน อาคารสถานที่ที่พักอาศัย และวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

อำนาจหน้าที่

พระราชบัญญัติ องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ตามมาตรา 23  สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

(2) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

(3) ให้คำปรึกษาและตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งหรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

(5) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ

(7) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

(8) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

เครื่องหมายราชการ

กรมอัยการ ได้แยกออกจากกระทรวงมหาดไทยไปเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และได้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” ไปเป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” ตามประกาศ    คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานอัยการให้มีความเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และเพื่อมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น

การที่มีกฎหมายเปลี่ยนสถานภาพกรมอัยการไปเป็นสำนักงานอัยการสูงสุดดังกล่าวข้างต้น ทำให้ข้าราชการฝ่ายอัยการไม่อาจใช้เครื่องหมายแสดงสังกัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งเคยใช้อยู่แต่เดิมได้ต่อไป และสำนักงานอัยการสูงสุดยังไม่มีเครื่องหมายราชการของตนเองโดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องจัดทำเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นโดยด่วน

สำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดให้มีการประชุมข้าราชการอัยการขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพิจารณาจัดทำเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดขึ้น

เครื่องหมายรูป “พระไพศรพณ์” ได้นำขึ้นมาพิจารณาเป็นลำดับแรก เพราะข้าราชการอัยการ    ได้ใช้เครื่องหมายนี้ ประดับบนอินทรธนูเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นอัยการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 แต่ก็ไม่    อาจนำ “รูปพระไพศรพณ์” มาใช้เป็นเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุดได้ เพราะแม้จะได้ใช้มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ก็ยังมิได้มีการประกาศใช้ “รูปพระไพศรพณ์” เป็นเครื่องหมายราชการของกรมอัยการ และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดเครื่องหมายราชการของกรมสารวัตรทหารบก กองทัพบก กระทรวงกลาโหม เป็นรูป “ท้าวกุเวร” หรือ  “ท้าวเวสสุวัณ” ซึ่งตามรูปและตามตำนานเป็นเทพองค์เดียวกับ“พระไพศรพณ์”

ในที่ประชุมได้มีการเสนอ แนวความคิด และเครื่องหมายต่างๆ มากมายหลายอย่างแต่ในความหลากหลายนั้นมีสิ่งซึ่งเป็นแนวความคิดร่วมกันอยู่สองประการ

              ประการแรก คือ การรักษากฎหมาย

              ประการที่สอง คือ การเป็นทนายแผ่นดิน

              รูปภาพที่แสดงแนวความคิดประการแรก ก็คือตราชั่ง หรือตราชู ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากลของนักกฎหมายทั่วโลก

              รูปภาพที่แสดงแนวความคิดประการที่สอง ก็คือ ตราแผ่นดิน

จากแนวความคิดสองประการนี้ ก็ได้ปรากฏเป็นแนวความคิดร่วมกันในเบื้องต้นว่า เครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดจะประกอบด้วยรูป พระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดิน    อยู่บนรูปตราชั่ง ซึ่งเป็นเครื่องหมายของนักกฎหมาย

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎได้ใช้เป็นเครื่องหมายสังกัดของสำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องหมาย กองทหารต่างๆ สมาคมและสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิ รัฐวิสาหกิจ เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา ฯลฯ

ตราชั่งได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สภาทนายความ และสถาบันต่างๆทางกฎหมาย

มีธงประจำตำแหน่งข้าราชการ ธงหนึ่ง มีรูปมงกุฎซึ่งมีโบว์และรูปตราชู รูปวงกลม ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดต้องระมัดระวังมิให้เครื่องหมายไปใกล้เคียงกัน ได้มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งให้ดูภาพ พระแว่นสุริยกานต์ ซึ่งเป็นของใช้ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงเคยเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ทรงใช้เป็นแว่นขยายสำหรับทรงพระอักษร และทรงใช้สำหรับจุดไฟจากแสงพระอาทิตย์ กับอีกภาพหนึ่งเป็นภาพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องรบ ทรงดาบ พระหัตถ์ขวาทรงถือช่อชัยพฤกษ์ เป็นภาพเมื่อประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้รับชัยชนะ ท่านได้ให้คำแนะนำว่าน่าจะนำของสองสิ่งนี้ ประกอบเพิ่มเข้าเพื่อเป็นสิริมงคล และเพื่อให้แตกต่างจากเครื่องหมายอื่น จะได้เป็นเครื่องหมายเฉพาะของอัยการ

              ดังนั้นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดจึงประกอบด้วยรูปดังนี้

              1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

              2. ตราชู

              3. พระแว่นสุริยกานต์4. พระขรรค์

              5. ช่อชัยพฤกษ์

ระหว่างที่ดำเนินการออกแบบเครื่องหมายนี้อยู่ สำนักราชเลขาธิการได้ทราบข่าวจึงได้มีหนังสือสอบถามมายังสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้ชี้แจ้งไปให้ทราบ ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ได้ปรากฏเหตุขัดข้องและได้มีการขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดทบทวนใหม่

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สำนักงานอัยการสูงสุดได้เสนอนายกรัฐมนตรี ขอให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สำนักงานอัยการสูงสุดใช้รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติใช้ตราแผ่นดิน ร.ศ. 108 มาตรา 2 และ มาตรา 4 นายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการขอพระราชทานให้และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประกอบเป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งต่อมาก็ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการพุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2535 กำหนดเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดอย่างเป็นทางการขึ้นไว้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของกรมอัยการและสำนักงานอัยการสูงสุด

รายนามผู้บริหาร

รายนามอธิบดีกรมอัยการ

รายนามอัยการสูงสุด

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์สำนักงานอัยการสูงสุด
  • สมุดนัดความอัยการ พ.ศ. 2563
  • พระราชบัญญัติ องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553
  • หนังสือ ยกกระบัตร สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2536 หน้า 15-17
  • เว็บไซต์ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานวิชาการ สำนักงานอัยการสูงสุด[1]