ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ณ ราชสีมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
ในวัยเด็กต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ตามบิดาซึ่งรับราชการทหาร เคยศึกษาที่[[โรงเรียนสภาราชินี]] [[จังหวัดตรัง]] จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนสายปัญญา]] เข้าร่วมประกวด[[นางสาวไทย]] เมื่อปี พ.ศ. 2493 ไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ทำให้ได้รู้จักกับ [[ศักดิ์เกษม หุตาคม]] นักเขียนเจ้าของนามปากกา '''อิงอร'''
ในวัยเด็กต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ตามบิดาซึ่งรับราชการทหาร เคยศึกษาที่[[โรงเรียนสภาราชินี]] [[จังหวัดตรัง]] จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนสายปัญญา]] เข้าร่วมประกวด[[นางสาวไทย]] เมื่อปี พ.ศ. 2493 ไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ทำให้ได้รู้จักกับ [[ศักดิ์เกษม หุตาคม]] นักเขียนเจ้าของนามปากกา '''อิงอร'''


[[ไฟล์:ผังสาแหรก - รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา.jpg|thumb|400px|right|สาแหรก ณ ราชสีมา<ref>กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)</ref>]]
[[ไฟล์:original_20160826170854.jpg|thumb|400px|right|สาแหรก ณ ราชสีมา<ref>กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)</ref>]]


=== ด้านการแสดง ===
=== ด้านการแสดง ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:13, 12 สิงหาคม 2563

รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง
เกิด25 กันยายน พ.ศ. 2475
รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา
เสียชีวิต5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (73 ปี)
คู่สมรสน้อย กมลวาทิน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2496-2507
พระสุรัสวดีผู้แสดงบทบาทต่างวัยยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2501 - พ่อจ๋า
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2502 - ไอ้แก่น
ThaiFilmDb

รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง (25 กันยายน พ.ศ. 2475 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) ชื่อเล่น แดง ชื่อจริง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา นักแสดงอาวุโส อดีตนางเอกยอดนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2496 - 2507

ประวัติ

ด้านครอบครัว

รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวน 5 คนของ พันโท ผัน อินทรกำแหง ณ ราชสีมา กับ ชื้น อินทรกำแหง ณ ราชสีมา (ญ.) เป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 8 สาย "พระยาภักดีสงคราม (เจ้าเมืองนางรอง)" และ ชั้น 7 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)" [3][4]

ด้านการศึกษา

ในวัยเด็กต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ตามบิดาซึ่งรับราชการทหาร เคยศึกษาที่โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จบการศึกษาจากโรงเรียนสายปัญญา เข้าร่วมประกวดนางสาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2493 ไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ทำให้ได้รู้จักกับ ศักดิ์เกษม หุตาคม นักเขียนเจ้าของนามปากกา อิงอร

ไฟล์:Original 20160826170854.jpg
สาแหรก ณ ราชสีมา[5]

ด้านการแสดง

รัตนาภรณ์ ได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือ เคหาสน์สีแดง (2493) และเรื่องต่อมาคือ นิทรา-สายัณห์ บทประพันธ์ของอิงอร คู่กับสมบัติ คงจำเนียร หลังจากภาพยนตร์ออกฉายทำรายได้เกือบล้านบาท สูงเป็นประวัติการณ์ เธอได้รับการติดต่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง แต่กลับปลีกตัวไปเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนธิดานุเคราะห์ จังหวัดสงขลา เป็นเวลาหนึ่งปี

รัตนาภรณ์ กลับมามีผลงานการแสดงอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง ทาสรัก (2496) นางแมวป่า (2496) และ วนิดา (2496) ซึ่งผลงานจากเรื่อง วนิดา (2496) ได้สร้างความประทับใจและได้กลายเป็นนางเอกยอดนิยม หลังจากนั้นได้มีผลงานแสดงติดต่อกันหลายเรื่อง ได้แก่ สุดที่รัก (2498), ทหารเสือพระเจ้าตาก (2498), คำอธิษฐานของดวงดาว (2499), ยอดดรุณี (2499) และ ปักธงไชย (2500) เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ครั้ง คือ รางวัลผู้แสดงต่างวัยยอดเยี่ยม ประจำปี 2501 จากภาพยนตร์เรื่อง พ่อจ๋า และรางวัลผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2502 จากภาพยนตร์เรื่อง ไอ้แก่น และผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุด คือเรื่อง นางแมวป่า (2496)

ด้านชีวิตส่วนตัว

สมรสกับ น้อย กมลวาทิน ผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ เจ้าของบริษัท กมลศิลป์ภาพยนตร์ ต่อมาหย่าขาดจากกัน แต่ยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน

ช่วงบั้นปลายชีวิต

ช่วงหลัง พ.ศ. 2507 หันมาแสดงละครโทรทัศน์ และเป็นผู้จัดละครให้กับ ช่อง 3 จนเริ่มมีอาการสุขภาพไม่ปกติ จึงหยุดการแสดงเพื่อรักษา โรคมะเร็งกรวยไต เรื้อรังนานถึง 6 ปี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 หลังจากเกิดโรคแทรกซ้อน ทั้งโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ ขณะอายุ 74 ปี

ผลงานภาพยนตร์

  • พ.ศ. 2514 : สื่อกามเทพ
  • พ.ศ. 2514 : เสือขาว
  • พ.ศ. 2514 : สะใภ้หัวนอก
  • พ.ศ. 2514 : ทุ่งเศรษฐี
  • พ.ศ. 2514 : เจ้าจอม
  • พ.ศ. 2514 : ลานพัยพญ้า
  • พ.ศ. 2514 : ปานจันทร์
  • พ.ศ. 2514 : ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน
  • พ.ศ. 2515 : เลือดแม่
  • พ.ศ. 2515 : กล้าสิบทิศ
  • พ.ศ. 2515 : แควเสือ
  • พ.ศ. 2515 : แม่ยาย
  • พ.ศ. 2515 : รอยบุญ
  • พ.ศ. 2515 : หัวใจปรารถนา
  • พ.ศ. 2515 : ลูกชู้
  • พ.ศ. 2515 : ลานสาวกอด
  • พ.ศ. 2515 : ริมฝั่งแม่ระมิงค์
  • พ.ศ. 2515 : กลิ่นร่ำ
  • พ.ศ. 2515 : พ่อปลาไหล
  • พ.ศ. 2516 : ชลาลัย
  • พ.ศ. 2516 : พิษพยาบาท
  • พ.ศ. 2516 : หนึ่งในดวงใจ
  • พ.ศ. 2516 : ไม่มีคำตอบจากสวรรค์
  • พ.ศ. 2516 : ทางสายใหม่
  • พ.ศ. 2516 : ยอดสงสาร
  • พ.ศ. 2517 : ขัง 8
  • พ.ศ. 2517 : ชายผ้าเหลือง
  • พ.ศ. 2517 : ด้วยปีกของรัก
  • พ.ศ. 2517 : แว่วเสียงลมรัก
  • พ.ศ. 2518 : ราชินีฝิ่น
  • พ.ศ. 2518 : ผยอง
  • พ.ศ. 2518 : พ่อยอดมะกอก
  • พ.ศ. 2519 : เสือกเกิดมาจน
  • พ.ศ. 2519 : แมงดาปีกทอง
  • พ.ศ. 2519 : กบฎหัวใจ
  • พ.ศ. 2519 : สามหัวใจ
  • พ.ศ. 2519 : เพลิงแพร
  • พ.ศ. 2519 : ชายชาติอาชาไนย
  • พ.ศ. 2519 : ไอ้แมงดา
  • พ.ศ. 2520 : สวัสดีคุณครู
  • พ.ศ. 2520 : หน้าเนื้อใจเสือ
  • พ.ศ. 2520 : 1-2-3 ด่วนมหาภัย
  • พ.ศ. 2520 : นักเลงพลาญชัย
  • พ.ศ. 2520 : ทางชีวิต
  • พ.ศ. 2520 : แหย่หนวดเสือ
  • พ.ศ. 2521 : จำเลยรัก
  • พ.ศ. 2521 : วัยรัก
  • พ.ศ. 2521 : แม่ยอดสร้อยพ่อยอดแซว
  • พ.ศ. 2521 : 4 อันตราย
  • พ.ศ. 2521 : 7 อาถรรพณ์
  • พ.ศ. 2521 : สิงห์สั่งป่า
  • พ.ศ. 2521 : ขโมยที่รัก
  • พ.ศ. 2521 : ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง
  • พ.ศ. 2521 : ผู้แทนมาแล้ว
  • พ.ศ. 2521 : แรกรัก
  • พ.ศ. 2521 : นักเลงกตัญญู
  • พ.ศ. 2521 : นักฆ่าตระกรุดโทน
  • พ.ศ. 2521 : มือปืนสติเฟื่อง
  • พ.ศ. 2522 : นักเลงบ้านนอก
  • พ.ศ. 2522 : กู่แก้วนางคอย
  • พ.ศ. 2522 : เรือเพลง
  • พ.ศ. 2522 : เตือนใจ
  • พ.ศ. 2522 : สวรรค์ปิด
  • พ.ศ. 2522 : รักพี่ต้องหนีพ่อ
  • พ.ศ. 2522 : ไม่มีชาติหน้าอีกแล้ว
  • พ.ศ. 2522 : ตลุมบอน
  • พ.ศ. 2522 : คนละเกมส์
  • พ.ศ. 2522 : รักนอกตำรา
  • พ.ศ. 2523 : ฝนตกแดดออก
  • พ.ศ. 2523 : ละอองดาว
  • พ.ศ. 2523 : อารมณ์
  • พ.ศ. 2523 : จากเธอที่เขาพิงกัน
  • พ.ศ. 2523 : บุญเพ็งหีบเหล็ก
  • พ.ศ. 2523 : ชายชาติเสือ
  • พ.ศ. 2524 : สงครามกับความรัก
  • พ.ศ. 2524 : ดิน น้ำ ลม ไฟ
  • พ.ศ. 2524 : เจ้าแม่สาริกา
  • พ.ศ. 2524 : สกาวเดือน
  • พ.ศ. 2524 : กำแพงหัวใจ
  • พ.ศ. 2524 : แม่ค้าตาหวาน
  • พ.ศ. 2524 : เขยขัดดอก
  • พ.ศ. 2524 : ขังแดง
  • พ.ศ. 2524 : ยอดดรุณี
  • พ.ศ. 2525 : หัวใจดื้อรัก
  • พ.ศ. 2525 : สวัสดีไม้เรียว
  • พ.ศ. 2525 : ดอกฟ้ากับเด็กวัด
  • พ.ศ. 2525 : คุณนายซาอุ
  • พ.ศ. 2526 : เกล็ดแก้ว
  • พ.ศ. 2526 : มรกตดำ
  • พ.ศ. 2526 : ไอ้ขี้เมา
  • พ.ศ. 2526 : นักเลงตราควาย
  • พ.ศ. 2526 : แจ้งเกิดฆ่าสยอง
  • พ.ศ. 2527 : คุณนาย ป.4
  • พ.ศ. 2527 : นักร้องนักเลง
  • พ.ศ. 2527 : สาวนาสั่งแฟน
  • พ.ศ. 2527 : แรงอธิษฐาน
  • พ.ศ. 2527 : ยอดนักเลง
  • พ.ศ. 2527 : พญาเหยี่ยวโกลก
  • พ.ศ. 2528 : เนื้อคู่
  • พ.ศ. 2528 : นักร้องปืนโหด
  • พ.ศ. 2528 : หักด่านเสือ
  • พ.ศ. 2528 : คุณหญิงตราตั้ง
  • พ.ศ. 2529 : ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท
  • พ.ศ. 2529 : หัวใจเดียวกัน
  • พ.ศ. 2529 : ไปไม่ถึงดวงดาว
  • พ.ศ. 2530 : ความรักเหมือนยาขม
  • พ.ศ. 2530 : เมียหมายเลข 1
  • พ.ศ. 2530 : ปีกมาร
  • พ.ศ. 2530 : เหตุเกิดที่ห้องไอซียู
  • พ.ศ. 2530 : วิญญาณรักคลั่งสวาท
  • พ.ศ. 2531 : แรงเทียน
  • พ.ศ. 2533 : ธันยาแม่มดยอดยุ่ง
  • พ.ศ. 2533 : คนละวัยอลวน
  • พ.ศ. 2533 : พรายคะนอง
  • พ.ศ. 2539 : เรือนมยุรา
  • พ.ศ. 2540 : เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ

ละครโทรทัศน์

ฯลฯ

อ้างอิง

  1. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2463&page=5&keyword=
  2. กระทู้ภาพหายากของเหล่าดารานักร้องไทย
  3. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
  4. ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
  5. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)

แหล่งข้อมูลอื่น