ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิธีใช้:Introduction to referencing/Reliable sources"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: <noinclude>{{กึ่งล็อก2}}</noinclude>left|100px บทความวิกิพีเดียต้องการ'''แ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ป้องกัน "วิธีใช้:Introduction to referencing/Reliable sources" แล้ว: หน้าสำคัญ ([แก้ไข=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (ไม่มีกำหนด) [ย้าย=ป้องกันสำหรับผู้ที่ไม่ล็อกอิน] (ไม่มีกำหนด))
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:14, 10 สิงหาคม 2563

บทความวิกิพีเดียต้องการแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ ที่รองรับสารสนเทศที่นำเสนรอในบทความโดยตรง เมื่อคุณทราบวิธีการเพิ่มแหล่งข้อมูลลงในบทความแล้ว แต่แหล่งข้อมูลใดบ้างที่น่าใช้


คำว่า "แหล่งข้อมูล" ในวิกิพีเดียมี 3 ความหมาย ได้แก่ ตัวงานเอง (เช่น เอกสาร บทความ งานวิจัยหรือหนังสือ), ผู้สร้างสรรค์งาน (เช่น ผู้เขียน) และผู้เผยแพร่งาน (ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์) ทั้งหมดเป็นปัจจัยตัดสินความน่าเชื่อถือ


เป็นกฎทั่วไปว่า แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าย่อมมีบุคคลร่วมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย และวิเคราะห์ทบทวนงานในสิ่งพิมพ์เผยแพร่มากกว่า สิ่งพิมพ์เผยแพร่วิชาการและมีพิชญพิจารณ์ (peer review) เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างอื่นเช่น ตำราระดับมหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงดี นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก

(* พึงระวังบล็อกของสำนักข่าวและนิตยสารบางสำนัก ซึ่งเปิด "บล็อก" และให้บุคคลทั่วไปเสนอข่าวในเว็บไซต์ของตน บล็อกนี้อาจน่าเชื่อถือหากผู้เขียนเป็นนักเขียนอาชีพ แต่ผู้อ่านทั่วไปปกติถือว่าไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ)


สื่อที่พิมพ์เอง คือ สื่อที่ผู้เขียนและผู้เผยแพร่เป็นบุคคลเดียวกัน เช่น เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือ สิทธิบัตร วิกิเปิด บล็อกส่วนบุคคลหรือกลุ่ม และทวีตปกติยอมรับเป็นแหล่งข้อมูลไม่ได้ มีข้อกยเว้นทั่วไปว่าผู้เขียนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญมีผู้นับถือและมีประวัติเคยพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสำนักพิมพ์บุคคลที่สามในเรื่องนั้นแล้ว กรณีนี้ งานที่พิมพ์เอง อาจ ถือว่าน่าเชื่อถือสำหรับหัวข้อนั้น (หัวข้อเดียว ไม่รวมหัวข้ออื่น) แต่ถึงอย่างไรก็ควรใช้สิ่งพิมพ์เผยแพร่บุคคลที่สามตามเดิม


การใช้แหล่งที่มานั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทด้วย แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาประเภทหนึ่งอาจไม่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาอีกประเภทหนึ่ง คุณควรพยายามหาแหล่งที่มาที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้สำหรับสารสนเทศที่คุณมี สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ใช้เฉพาะแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือที่สุดเท่านั้น ในบางโอกาสเท่านั้นที่แหล่งที่มาที่พิมพ์เองสามารถใช้อ้างอิงตัวเองได้


เหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติทั่วไป แต่หัวข้อแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเป็นเรื่องซับซ้อน และนำมาลงในหน้านี้หมดไม่ได้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การพิสูจน์ยืนยันได้ และ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ