ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
== การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2016 ==
== การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2016 ==
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 48 เดิมจะจัดขึ้น ณ [[การาจี|นครการาจี]] [[ประเทศปากีสถาน]]<ref>Minutes of Steering Committee and International Jury.,[http://www.iuventa.sk/files/documents/5_icho/past%20competition%20tasks/sc_minutes_for_baku_july_2015_final.pdf 47th International Chemistry Olympiad] </ref> แต่ได้มีการเปลี่ยนประเทศเจ้าภาพอย่างกระทันหัน โดยจะจัดขึ้น ณ กรุง[[ทบิลิซี]] [[ประเทศจอร์เจีย]] ทั้งนี้ เนื่องจากความกระชั้นชิด ทางคณะกรรมการวิชาการของประเทศเจ้าภาพได้เลือกข้อสอบตัวอย่างจากการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 40 ณ กรุง[[บูดาเปสต์]] [[ประเทศฮังการี]] มาใช้ภายใต้การอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 48 เดิมจะจัดขึ้น ณ [[การาจี|นครการาจี]] [[ประเทศปากีสถาน]]<ref>Minutes of Steering Committee and International Jury.,[http://www.iuventa.sk/files/documents/5_icho/past%20competition%20tasks/sc_minutes_for_baku_july_2015_final.pdf 47th International Chemistry Olympiad] </ref> แต่ได้มีการเปลี่ยนประเทศเจ้าภาพอย่างกระทันหัน โดยจะจัดขึ้น ณ กรุง[[ทบิลิซี]] [[ประเทศจอร์เจีย]] ทั้งนี้ เนื่องจากความกระชั้นชิด ทางคณะกรรมการวิชาการของประเทศเจ้าภาพได้เลือกข้อสอบตัวอย่างจากการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 40 ณ กรุง[[บูดาเปสต์]] [[ประเทศฮังการี]] มาใช้ภายใต้การอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง


== การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2020 ==
การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 52 เดิมจะแบบทั่วไป ณ [[อิสตันบูล|นครอิสตันบูล]] [[ประเทศตุรกี]]<ref>[https://icho2020.tubitak.gov.tr/ 52th International Chemistry Olympiad] </ref> แต่เนื่องจากมี[[การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563]] จึงได้ปรับการแข่งขันเป็นรูปแบบ การสอบเข้าถึงระยะไกล (Remote Access Exam) ณ ประเทศต่าง ๆ แทน และยกเลิกการสอบภาคปฏิบัติ



== รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในอนาคต ==
== รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในอนาคต ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:17, 6 สิงหาคม 2563

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 29 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา

เคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Chemistry Olympiad: IChO) เป็นการแข่งขันเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และเป็นหนึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ โดยเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงปราก ประเทศเชโกสโลวาเกีย ในปี พ.ศ. 2511 และได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปียกเว้นปี พ.ศ. 2514 ที่ได้มีการงดการจัดการแข่งขัน ประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรกมาจากโลกตะวันออก

ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 47 ในปี พ.ศ. 2558 ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

ประวัติการแข่งขัน

การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประะเทศเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยมีเป้าหมายให้มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมากขึ้นจนกระทั่งและเปลี่ยนเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศในที่สุด โดยแรกเริ่มเชกโกวาเกียได้ส่งคำเชิญไปยังประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม ยกเว้นโรมาเนีย แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างเชโกสโลวาเกียกับสหภาพโซเวียตย่ำแย่ลง ทำให้มีเพียงโปแลนด์และฮังการีเท่านั้นที่ตอบรับและเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งแรก

การแข่งขันครั้งแรก จัดขึ้น ณ กรุงปราก ระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน ค.ศ. 1968 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 3 ประเทศ โดยมีตัวแทนประเทศละ 6 คน มีข้อสอบภาคทฤษฎี (Theoretical Problems) 4 ข้อ ในการแข่งขันครั้งนั้น ได้เริ่มมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแข่งขันครั้งถัดไป ซึ่งการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในโปแลนด์ ครั้งนั้นบัลแกเรียได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันด้วย แต่จำนวนผู้เข้าแข่งขันได้ลดลงเหลือประเทศละ 5 คน และเริ่มมีการนำข้อสอบภาคปฏิบัติการ (Practical Problems) มาใช้ในการแข่งขันเป็นครั้งแรก ครั้งนั้น มีการเสนอให้ลดจำนวนตัวแทนประเทศลงเหลือประเทศละ 4 คน โดยการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 3 จัดขั้นใน[ฮังการี[1]

กฎข้อบังคับในการแข่งขัน

การแข่งขันเคมีโอลิมปิกกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมแข่งขันจากแต่ละทีมไม่เกินทีมละ 4 คน และมี พี่เลี้ยง (Mentor) 2 คน (โดยหนึ่งใน 2 คนนี้จะถูกกำหนดให้เป็นหัวหน้าทีม) นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี และจะต้องยังไม่ไม่เข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานที่เป็นศูนย์ข้อมูลของการแข่งขันเคมีโอลิมปิกตั้งอยู่ที่ กรุงบราติสลาวา ประเทศสโลวาเกีย

ประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ต้องส่งผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิกต่อเนื่อง 2 ครั้งก่อนที่จะส่งตัวแทนนักเรียนเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันเคมีโอลิมปิก ครั้งที่ 47 ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน มีจำนวนประเทศเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 75 ประเทศโดยมีประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวน 4 ประเทศ [2]

การแข่งขันประกอบด้วยการสอบ 2 ส่วน ได้แก่ การสอบภาคทฤษฎี (Theoretical Examination) และ การสอบภาคปฏิบัติ (Practical Examination) ซึ่งการสอบทั้งสองส่วนใช้เวลาอย่างละ 5 ชั่วโมง และจัดสอบแยกวัน โดยทั่วไปแล้วการสอบภาคปฏิบัติมักจัดขึ้นก่อนการสอบภาคทฤษฎี คะแนนข้อสอบภาคทฤษฎีคิดเป็น 60 คะแนน และข้อสอบภาคปฏิบัติคิดเป็น 40 คะแนน การสอบแต่ละส่วนคิดคะแนนแยกส่วนกันและผลการสอบทั้งหมดเป็นการคิดคะแนนรวมจากทั้งสองส่วน คณะกรรมการฝ่ายวิชาการซึ่งตั้งขึ้นโดยประเทศเจ้าภาพ จะเสนอคำถามที่ใช้เป็นข้อสอบซึ่งในการนี้คณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยพี่เลี้ยงทั้ง 2 คนจากแต่ละประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันจะทำการวิพากษ์ข้อสอบจากนั้นจะแต่ละประเทศจะแปลจากข้อสอบฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนของประเทศตนเอง[3]

นักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับข้อสอบฉบับแปลตามความต้องการของผู้สอบ ภาระการแปลข้อสอบจากภาษาอังกฤษจะเป็นหน้าที่ของพี่เลี้ยง หลังจากการตรวจข้อสอบและให้คะแนนโดยคณะกรรมการจากประเทศเจ้าภาพแล้ว ก่อนมอบรางวัล พี่เลี้ยงจากแต่ละประเทศจะวิพากษ์เกี่ยวกับการให้คะแนนให้เป้นไปด้วยความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพี่เลี้ยงได้เห็นและทบทวนข้อสอบที่ใช้ในการแข่งขันก่อนที่จะส่งต่อให้นักเรียนในวันสอบ การสื่อสารระหว่างพี่เลี้ยงกับกับนักเรียนถูกกีดกันอย่างเข้มงวดโดยนักเรียนจะต้องมอบอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์วางตักให้กับผู้จัดการแข่งขัน

รายละเอียดของเนื้อหาที่ใช้ในการแข่งขันประกอบไปด้วยวิชาต่างๆในหลายๆแขนงของวิชาเคมี ได้แก่ เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ ชีวเคมี และสเปกโทรสโกปี ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยทั่วไปหรืออาจจะสูงกว่า ทั้งนี้ประเทศเจ้าภาพต้องจัดเตรียม ข้อสอบตัวอย่าง (Preparatory Problems) ล่วงหน้า ซึ่งข้อสอบตัวอย่างนี้จะครอบคลุมหัวข้อเฉพาะต่างๆที่อาจจะมีเนื้อหาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา

การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2016

การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 48 เดิมจะจัดขึ้น ณ นครการาจี ประเทศปากีสถาน[4] แต่ได้มีการเปลี่ยนประเทศเจ้าภาพอย่างกระทันหัน โดยจะจัดขึ้น ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย ทั้งนี้ เนื่องจากความกระชั้นชิด ทางคณะกรรมการวิชาการของประเทศเจ้าภาพได้เลือกข้อสอบตัวอย่างจากการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 40 ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี มาใช้ภายใต้การอนุญาตตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง


การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2020

การแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 52 เดิมจะแบบทั่วไป ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี[5] แต่เนื่องจากมีการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 จึงได้ปรับการแข่งขันเป็นรูปแบบ การสอบเข้าถึงระยะไกล (Remote Access Exam) ณ ประเทศต่าง ๆ แทน และยกเลิกการสอบภาคปฏิบัติ


รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกในอนาคต

ครั้งที่ เมืองที่จัดการแข่งขัน ประเทศที่ตั้ง วันที่จัดการแข่งขัน
53 โอซะกะ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น กรกฎาคม 2564[6]
54 เทียนจิน จีน จีน กรกฎาคม 2565[7]
55 ซูริก สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ กรกฎาคม 2566[8]
56 ยังไม่ระบุเมือง ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดิอาระเบีย กรกฎาคม 2567[9]
57 ยังไม่ระบุเมือง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กรกฎาคม 2568[10]

รายชื่อประเทศเจ้าภาพการแข่งขันเคมีโอลิมปิกระหว่างประเทศที่ผ่านมา

ครั้งที่ เมืองที่จัดการแข่งขัน ประเทศที่ตั้ง วันที่จัดการแข่งขัน ข้อสอบและข้อสอบตัวอย่าง
52 อิสตันบูล ตุรกี ตุรกี 23-29 กรกฎาคม 2563[11]
51 ปารีส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 21-30 กรกฎาคม 2562[12]
50 ปราก และบราติสลาวา เช็กเกีย เช็กเกีย และ สโลวาเกีย สโลวาเกีย 19-29 กรกฎาคม 2561[13]
49 นครปฐม ไทย ไทย 5-15 กรกฎาคม 2560[14]
48 ทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย 23 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2559
47 บากู อาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน 20-29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
46 ฮานอย เวียดนาม เวียดนาม 20-29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
45 มอสโก รัสเซีย รัสเซีย 15-24 กรกฎาคมพ.ศ. 2556
44 วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 21–30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
43 อังการา ตุรกี ตุรกี 9–18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
42 โตเกียว ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 19-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
41 เคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 18-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
40 บูดาเปสต์ ฮังการี ฮังการี 12-21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
39 มอสโก รัสเซีย รัสเซีย 15-24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
38 คย็องซัน เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
37 ไทเป สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน 16-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
36 คีล เยอรมนี เยอรมนี 18-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
35 เอเธนส์ กรีซ กรีซ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
34 โครนิงเงิน เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
33 มุมไบ อินเดีย อินเดีย 6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
32 โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก เดนมาร์ก 6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
31 กรุงเทพมหานคร ไทย ไทย 4-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
30 เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 5-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
29 มอนทรีออล แคนาดา แคนาดา 13-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
28 มอสโก รัสเซีย รัสเซีย 14-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
27 ปักกิ่ง จีน จีน 13-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
26 ออสโล นอร์เวย์ นอร์เวย์ 3-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2537
25 เปรูจา อิตาลี อิตาลี 11-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
24 วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 11-22 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
23 วูช โปแลนด์ โปแลนด์ 7-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
22 ปารีส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 8-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
21 ฮัลเลอ เยอรมนีตะวันออก เยอรมนีตะวันออก 2-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2532
20 เอสโป ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 2-9 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
19 แว็สเปรม ฮังการี ฮังการี 6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
18 ไลเดิน เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 6-15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
17 บราติสลาวา เชโกสโลวาเกีย เชกโกสโลวาเกีย 1-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
16 แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
15 ตีมีโชอารา โรมาเนีย โรมาเนีย 2-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
14 สต็อกโฮล์ม สวีเดน สวีเดน 3-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
13 บูร์กัส บัลแกเรีย บัลแกเรีย 13-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
12 ลินซ์ ออสเตรีย ออสเตรีย 13-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2523
11 เลนินกราด สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต 2-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
10 ทอรูน โปแลนด์ โปแลนด์ 3-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2521
9 บราติสลาวา เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย 4-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
8 ฮัลเลอ เยอรมนีตะวันออก เยอรมนีตะวันออก 10-19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
7 แว็สเปรม ฮังการี ฮังการี 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
6 บูคาเรสต์ โรมาเนีย โรมาเนีย 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
5 โซเฟีย บัลแกเรีย บัลแกเรีย 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
4 มอสโก สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
งดจัด
3 บูดาเปสต์ ฮังการี ฮังการี 1-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2513
2 คาโตวีตเซ โปแลนด์ โปแลนด์ 16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2512
1 ปราก เชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย 1-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. A short review on the development of the International Chemistry Olympiads
  2. An official report of the 47th International Chemistry Olympiad (held in Baku)
  3. IChO Regulations
  4. Minutes of Steering Committee and International Jury.,47th International Chemistry Olympiad
  5. 52th International Chemistry Olympiad
  6. 53rd International Chemistry Olympiad, Osaka, Japan
  7. [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2020
  8. [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2020
  9. [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2020
  10. [https://www.ichosc.org/ International Chemistry Olympiad Steering Committee Meeting, 2020
  11. 52nd INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://icho2020.tubitak.gov.tr/
  12. 51st INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://icho2019.paris/en/
  13. 50th INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD https://50icho.eu
  14. 49th INTERNATIONAL CHEMISTRY OLYMPIAD http://icho2017.sc.mahidol.ac.th//