ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
Jayangkura55 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38: บรรทัด 38:


== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ร.ว.|}}
{{ร.ว.}}
{{ป.ม.|ปี=2464}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2378.PDF</ref>
{{ป.ม.|2464}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2378.PDF</ref>
{{ท.จ.ว.}}
{{ท.จ.ว.ฝ่ายหน้า}}
{{ว.ป.ร.2|ปี=2467}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/2694.PDF</ref>
{{ว.ป.ร.2|2467}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/2694.PDF</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:44, 1 สิงหาคม 2563

หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์
ไฟล์:หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์.jpg
ประสูติ12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437
ชีพิตักษัย6 มิถุนายน พ.ศ. 2517
หม่อมหม่อมคล้อง ณ ระนอง
พระบุตรหม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์
หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระมารดาหม่อมทองสุก

มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นพระโอรสองค์ที่ 31 ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์และที่ 2 ในหม่อมทองสุก มีพระภราดาและพระภคินี ร่วมพระมารดา 4 พระองค์ คือ

  1. หม่อมเจ้าหญิงจันทรจำรัส เกษมสันต์ (พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2525)
  2. หม่อมเจ้าบุญะฤทธิ์ เกษมสันต์ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2514) สมรสกับหม่อมสมหมาย และหม่อมมัณฑนา สุนทรเสวี
  3. หม่อมเจ้ากิติเกริกไกร เกษมสันต์ (พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2464)
  4. หม่อมเจ้าหญิงอรอำไพ เกษมสันต์ (พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2553) สมรสกับนายโฉลก โกมารกุล ณ นคร

หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วัยเด็ก สนองรับใช้ใต้เบื้องพระยุลบาทในตำแหน่ง เลขาธิการกรมบัญชาการมหาดเล็ก (ในช่วงปี พ.ศ. 2462 ถึง 2468 ) และเป็นหม่อมเจ้าที่ได้ทรงชุบเลี้ยงมาแต่เพียงผู้เดียวที่ได้ทรงขอให้บวชอุทิศกุศลให้แก่พระองค์ในปี พ.ศ. 2461 และในระหว่างปี พ.ศ. 2463 - 2465 ทรงรับตำแหน่งเป็นสภานายกคณะฟุตบอลแห่งสยาม

นอกจากนี้หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา วุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494)[1] ซึ่งสมาชิกชุดนี้สิ้นสุดสมาชิกภาพเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2494 เนื่องจากมีการประกาศยึดอำนาจการปกครอง และนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลับมาใช้

หม่อมเจ้าชัชวลิต ทรงสมรสกับ หม่อมคล้อง (ณ ระนอง) เกษมสันต์ ณ อยุธยา มีธิดา 2 ท่าน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์ หรือ ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ป.ภ.,ท.จ.ว. อดีตราชเลขานุการในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนเสด็จฯ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เครื่องที่ 2 ได้ประสบอุบัติเหตุตกที่จังหวัดนราธิวาส
  2. หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี เกษมสันต์ หรือ หม่อมราชวงศ์ทิพพาวดี ดุละลัมพะ จ.จ.

พระยศ

  • นายกองเอก
  • รองหัวหมื่น
  • 2 มกราคม พ.ศ. 2459 หัวหมื่น[2]
  • 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 นายกองใหญ่[3]
  • จางวางตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2464 จางวางโท[4]

ตำแหน่ง

  • ผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล

  • จาก ม.จ.ชัชวลิต เกษมสันต์, ตอบปัญหาบาทหลวง  : พิมอุทิศถวายพระกุศลแต่หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ในงานออกเมรุ, กรุงเทพหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517
  • ทำเนียบนายกสมาคมฟุตบอล