ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
:[[สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ11]]
:[[สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ11]]
{{สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ11}}
{{สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ11}}
{{clear}}
----
:[[สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ12]]
{{สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ12}}
{{clear}}
{{clear}}
----
----

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:16, 22 กรกฎาคม 2563

วิธีใช้

1. สามารถเพิ่มบทความที่ได้รับการเสนอชื่อและคัดเลือกแล้วในเป็นหัวข้อย่อยในหน้านี้ โดยใช้แบบฟอร์มดังนี้

:[[สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ(ตามด้วยตัวเลขลำดับที่บทความ)]]
{{สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ(ตามด้วยตัวเลขลำดับที่บทความ)}}
{{clear}}
----

2. แก้ไขค่าพารามิเตอร์ "max=" ตามจำนวนบทความในหน้านี้ ที่หน้าสถานีย่อย:แพทยศาสตร์

บทความแนะนำ

สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ1
แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา) มีการชี้แสดงลักษณะที่แยกระหว่างทั้งสอง
แผนภาพเปรียบเทียบระหว่างสมองของผู้สูงอายุปกติ (ซ้าย) และสมองผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ (ขวา) มีการชี้แสดงลักษณะที่แยกระหว่างทั้งสอง

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นโรคการเสื่อมของระบบประสาทเรื้อรังที่ปกติเริ่มต้นช้า ๆ และค่อย ๆ มีอาการหนักขึ้นตามเวลา เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดคือประมาณ 60–70% อาการเริ่มแรกที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การจำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้ เมื่อโรคลุกลามมากขึ้น อาการอาจมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา ความงุนงงสับสน (รวมทั้งหลงทางง่าย) อารมณ์แกว่ง เสียแรงจูงใจ ไม่ดูแลตนเองและมีปัญหาพฤติกรรม เมื่ออาการของบุคคลเสื่อมลง ผู้ป่วยมักปลีกตัวออกจากครอบครัวและสังคม การทำงานของร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมลงจนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด แม้การลุกลามของโรคอาจมีความเร็วแตกต่างกันได้ แต่อายุคาดหมายการคงชีพตรงแบบหลังวินิจฉัยแล้วอยู่ที่ 3 ถึง 9 ปี อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ2
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ขยายประมาณ 100,000 เท่า
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ขยายประมาณ 100,000 เท่า

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ อาการอาจมีได้ตั้งแต่เบาถึงรุนแรง อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอ จามและรู้สึกเหนื่อย ตรงแบบอาการเหล่านี้เริ่มสองวันหลังสัมผัสไวรัสและส่วนใหญ่กินเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ทว่า อาการไออาจกินเวลานานเกินสองสัปดาห์ได้ ในเด็ก อาจมีอาการท้องร่วงและอาเจียนด้วย แต่พบน้อยในผู้ใหญ่ อาการท้องร่วงและอาเจียนพบบ่อยกว่าในกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นคนละโรคกัน และบางทีเรียกกันผิด ๆ ว่า "หวัดลงกระเพาะ" หรือ "หวัด 24 ชั่วโมง" ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่อาจได้แก่ ปอดบวมไวรัส, ปอดบวมแบคทีเรียทุติยภูมิ, โพรงอากาศติดเชื้อ, และการทรุดของปัญหาสุขภาพเดิมอย่างโรคหืดหรือภาวะหัวใจวาย อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ3
ภาพเขียนปี ค.ศ. 1890 At Eternity's Gate ของฟินเซนต์ ฟัน โคค
ภาพเขียนปี ค.ศ. 1890 At Eternity's Gate ของฟินเซนต์ ฟัน โคค

โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ4
ผื่นลักษณะเฉพาะของไข้เลือดออกเด็งกี
ผื่นลักษณะเฉพาะของไข้เลือดออกเด็งกี

ไข้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ5
มาตรความดันเลือดอัตโนมัติ แสดงผลความดันโลหิตสูง
มาตรความดันเลือดอัตโนมัติ แสดงผลความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในช่วงแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ6
แผนภาพโรคริดสีดวงทวารทั้งแบบภายในและภายนอก
แผนภาพโรคริดสีดวงทวารทั้งแบบภายในและภายนอก

โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoids หรือ haemorrhoids) เป็นโครงสร้างหลอดเลือดในช่องทวารหนัก ในสภาพปกติจะมีลักษณะเป็นนวมและช่วยในการกลั้นอุจจาระ เมื่อบวมหรืออักเสบจะมีพยาธิสภาพเป็น หัวริดสีดวง อาการของโรคริดสีดวงทวารขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น ริดสีดวงทวารแบบภายในมักจะเลือดออกเป็นสีแดงสดโดยไม่เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ ขณะที่ริดสีดวงทวารแบบภายนอกบ่อยครั้งจะเจ็บและบวมที่บริเวณทวารหนัก และถ้าเลือดออกก็จะสีคล้ำกว่า อาการบ่อยครั้งจะดีขึ้นหลังจาก 2-3 วัน แต่แบบภายนอกอาจจะเหลือติ่งหนัง (acrochordon) แม้หลังจากอาการหายแล้ว แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคริดสีดวงทวาร แต่ก็เชื่อว่าปัจจัยที่เพิ่มแรงดันในท้องหลายอย่างมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งท้องผูก ท้องร่วง และนั่งถ่ายเป็นเวลานาน อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ7
Plasmodium ในรูปที่เข้าสู่มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นจากน้ำลายของยุงเพศเมีย
Plasmodium ในรูปที่เข้าสู่มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นจากน้ำลายของยุงเพศเมีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ8
ภาพวาดแสดงมุมมองจากทางด้านข้างซ้ายของกะโหลกศีรษะของมนุษย์
ภาพวาดแสดงมุมมองจากทางด้านข้างซ้ายของกะโหลกศีรษะของมนุษย์

กะโหลกศีรษะมนุษย์ (Human skull) เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ มานุษยวิทยาและโบราณคดี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญทางบรรพชีวินวิทยา และยังช่วยให้เข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการอีกด้วย อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ9
ลักษณะของโมเลกุลพื้นผิวของเชื้อไรโนไวรัสในมนุษย์
ลักษณะของโมเลกุลพื้นผิวของเชื้อไรโนไวรัสในมนุษย์

โรคหวัด (Common cold) หรือ คอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ10
ภาพกล้องจุลทรรศน์ของมะเร็งท่อน้ำดีชนิดในตับ (ซีกขวาของภาพ) เทียบกับเซลล์ตับปกติ (ซีกซ้าย) สีย้อมเอชแอนด์อี
ภาพกล้องจุลทรรศน์ของมะเร็งท่อน้ำดีชนิดในตับ (ซีกขวาของภาพ) เทียบกับเซลล์ตับปกติ (ซีกซ้าย) สีย้อมเอชแอนด์อี

มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดี อาการของโรค เช่น ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด คันทั่วร่าง และไข้ นอกจากนี้ อาจพบว่าอุจจาระสีจางและปัสสาวะสีเข้ม มะเร็งในตำแหน่งอื่น ๆ ที่นับเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่ มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล ตับแข็ง ตับอักเสบซี ตับอักเสบบี การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับบางชนิด และการผิดรูปของตับบางชนิด การวินิจฉัยเป็นการตั้งข้อสงสัยโดยอาศัยการทดสอบเลือด การถ่ายภาพทางการแพทย์ การส่องกล้องลำไส้ และบางทีรวมถึงการสำรวจโดยผ่าตัด ยืนยันโรคโดยการตรวจสอบเซลล์จากเนื้องอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์ มะเร็งท่อน้ำดีพบน้อยในโลกตะวันตก โดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 0.5–2 ต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก ในบางพื้นที่สูงถึง 60 ต่อ 100,000 คนต่อปี อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ11
เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมอง

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่น ๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกคอคคัส ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง อ่านต่อ...


สถานีย่อย:แพทยศาสตร์/บทความแนะนำ12
เนื้อเยื่อของตับซึ่งมีสภาพตับแข็ง
เนื้อเยื่อของตับซึ่งมีสภาพตับแข็ง

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือตับวายเต็มขั้นมีการทำงานของไตเสื่อมลงอย่างเฉียบพลัน โรคนี้มักเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ การรักษาอื่นๆ เช่นการฟอกเลือด อาจช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ ภาวะนี้อาจเกิดกับผู้ป่วยตับแข็ง (ทุกสาเหตุ) ตับอักเสบรุนแรงเนื่องจากแอลกอฮอล์ หรือตับวายเต็มขั้น มักเกิดเพื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การติดเชื้อ เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือการได้รับยาขับปัสสาวะมากเกินขนาด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างพบบ่อยของตับแข็ง เชื่อกันว่าเมื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในระบบไหลเวียนส่วนที่หล่อเลี้ยงลำไส้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลของเลือดและสภาพของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต อ่านต่อ...