ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมารับราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้[[ภาษาไทย]]จนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น [[ภาษาบาลี]] [[ภาษาสันสกฤต]] [[ภาษาพม่า]] [[ภาษามลายู]] [[ภาษามอญ]] [[ภาษาเขมร]] และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมารับราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้[[ภาษาไทย]]จนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น [[ภาษาบาลี]] [[ภาษาสันสกฤต]] [[ภาษาพม่า]] [[ภาษามลายู]] [[ภาษามอญ]] [[ภาษาเขมร]] และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก


ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/293.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref>ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก (ปัจจุบันคือ[[กรมยุทธศึกษาทหารบก]]) และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น '''หลวงสารสาสน์พลขันธ์''' ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/002/38.PDF พระราชทานสัญญาบัตร] </ref>จากนั้นท่านจึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายพันตรี ต่อมาท่านได้รับพระราชทานยศ พันโท เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2445<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/002/25.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>จากนั้นจึงได้รับพระราชทานยศ พันเอก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/008/118_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2448 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/042/997.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ] </ref>
ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/293.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref>ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก (ปัจจุบันคือ[[กรมยุทธศึกษาทหารบก]]) และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น '''หลวงสารสาสน์พลขันธ์''' ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/002/38.PDF พระราชทานสัญญาบัตร] </ref>จากนั้นท่านจึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายพันตรี ต่อมาท่านได้รับพระราชทานยศ พันโท เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2444<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/002/25.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>จากนั้นจึงได้รับพระราชทานยศ พันเอก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/008/118_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2448 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/042/997.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ] </ref>


นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา
นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:31, 4 กรกฎาคม 2563

พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี)
1 มีนาคม พ.ศ. 2403 – พ.ศ. 2456 (53 ปี)
เกิดที่ ชิซาโน ซุล เนวา จังหวัดซาโวนา แคว้นลีกูเรีย ประเทศอิตาลี
อนิจกรรมที่ ตูริน ประเทศอิตาลี
เหล่าทัพ ทหารบก เหล่าทหารราบ
ยศสูงสุด นายพันเอก
รับใช้ กองทัพบกราชอาณาจักรอิตาลี
กองทัพบกสยาม
บัญชาการ กรมยุทธศึกษา (กองทัพบกสยาม)
บำเหน็จ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1
อาชีพอื่น นักภูมิศาสตร์, นักโบราณคดี, นักมานุษยวิทยา, นักภาษาศาสตร์, นักประวัติศาสตร์

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) (1 มีนาคม พ.ศ. 2403 – พ.ศ. 2456) เป็นชาวอิตาลีผู้เข้ามารับราชการทหารในประเทศไทย อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรกแห่งกองทัพบกไทย เป็นที่รู้จักในฐานะผู้มีผลงานด้านไทยศึกษาเป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) มีชื่อจริงว่า เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี (Gerolamo Emilio Gerini) เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา (Cisano sul Neva) จังหวัดซาโวนา (Province of Savona) แคว้นลีกูเรีย ประเทศอิตาลี โดยเป็นบุตรชายคนโตของนายคาร์โล เยรินี ศาสตราจารย์ทางด้านวิชาเกษตรศาตร์แห่งมหาวิทยาลัยตูรินและเวโรนิกา รอสโซ

หลังจบการศีกษาชั้นต้นแล้ว ท่านได้รับทุนเรียนดีและเข้าศึกษาต่อในราชวิทยาลัยการทหารแห่งเมืองโมเดนา (Royal Military Academy of Modena) จนกระทั่งจบการศึกษาและติดยศนายร้อยตรีเหล่าทหารราบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2422 ประจำการที่กรมทหารราบที่ 13 "ปิเนโรโล" (13º Reggimento Fanteria Pinerolo) เมืองเปรูจา แคว้นอุมเบรีย

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2424 ท่านได้เดินทางมายังกรุงเทพ ประเทศสยาม และเข้ารับราชการในกองทัพบกสยาม ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท

ในปี พ.ศ. 2426 ท่านได้ย้ายจากกองทัพบกมารับราชการเป็นเลขานุการในพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย ในระยะนี้ท่านได้เดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสยาม ทำให้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยจนเกิดความชำนาญ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ภาษาต่างๆ เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาพม่า ภาษามลายู ภาษามอญ ภาษาเขมร และภาษาถิ่นต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2430 ท่านได้ย้ายกลับมารับราชการในกองทัพบกอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานยศนายร้อยเอกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435[1]ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทหารสราญรมย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2438 กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษาขึ้นเพื่อจัดการด้านการศึกษาของกองทัพบก (ปัจจุบันคือกรมยุทธศึกษาทหารบก) และได้แต่งตั้งให้ร้อยเอกเยรินีดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสารสาสน์พลขันธ์ ถือศักดินา ๘๐๐[2]จากนั้นท่านจึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายพันตรี ต่อมาท่านได้รับพระราชทานยศ พันโท เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2444[3]จากนั้นจึงได้รับพระราชทานยศ พันเอก เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446[4]ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2448 จึงได้ลาออกจากราชการและเดินทางกลับประเทศอิตาลี[5]

นายพันเอก พระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี.อี.เยรินี) ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองตูรินด้วยโรคหัวใจ เมื่อ พ.ศ. 2456 ศพของท่านได้ฝังไว้ในสุสานประจำตระกูล ที่เมืองชิซาโน ซุล เนวา

ผลงาน

  • “A retrospective View and Account of the Origin of the Thet Maha Chat Ceremony" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2435
  • “Chulakantamangala or The Tonsure Ceremony as Performed in Siam” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2436 (มีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง)
  • "พิชัยสงครามฮินดูโบราณ" เรียบเรียงและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2437 สำนักพิมพ์ศรีปัญญาตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2548
  • “Trial by Ordeal in Siam and the Siamese Laws of Ordeals " ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2439
  • “Shan and Siam” and “Siam's Intercourse with China - Seventh to Nineteenth Centuries” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2442
  • “On Siamese Proverbs and Idiomatic Expressions “ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447
  • “Archaeology a sinoptical Sketch” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447
  • “Historical Retrospect of Junkceylon Island” ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารของสยามสมาคม เมื่อ พ.ศ. 2448 (ตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2528 ในชื่อ “Old Puket”)
  • “Researches on Ptolemy's Geography of Eastern Asia (Further India and Indo-Malay Archipelago)” ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารของสยามสมาคม เมื่อ พ.ศ. 2452
  • “Catalogo Descrittivo della Mostra Siamese alla Esposizione Internazionale delle Industrie e del Lavoro in Torino”, 1911 - Siam and Its Productions, Arts and Manufactures (1911), ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 (ตีพิมพ์พร้อมกันทั้งฉบับภาษาอิตาลีและภาษาอังกฤษ, สำนักพิมพ์ White Lotus ได้ตีพิมพ์ซ้ำเมื่อ พ.ศ. 2543)
  • "จดหมายเหตุเรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย" ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 18 เมื่อ พ.ศ. 2462

ยศและบรรดาศักดิ์

  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2440 หลวงสารสาสน์พลขันธ์
  • พันตรี
  • 6 เมษายน พ.ศ. 2444 พันโท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น