ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:A Lee noy"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
A Lee noy (คุย | ส่วนร่วม)
มงคล ๓๓ ที่เห็นอริยสัจ คือผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
A Lee noy (คุย | ส่วนร่วม)
อัลกุรอ่าน ไม่รวมสูตรสำเร็จ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
โลก คือธาตุ มี ดิน น้ำ ลม และ ไฟ ก่อนที่โลกจะมีมนุษย์ โลก มีต้นไม้ที่ผลิดอกเป็นผล เรียกว่า นารีผล สมัยนั้น ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลก ใกล้ที่สุดจนโลกกลายเป็นทะเลทราย โชคดีที่ต้นไม้ซึ่งผลิดอกออกผลเป็นมนุษย์นั้นได้ผลัดผลนารีออกแล้วหรือวายแล้ว แต่โลกก็ยังมีแต่นารี กาลต่อมายังนับเวลามิได้ มีวัตถุประหลาดขนาดกว้างใหญ่หลายก้าวเดิน รูปโค้งมนเฉียบขาด ส่งแสงสว่างเจิดจรัสกระพริบดั่งจังหวะคล้ายเสียงดนตรี ร่อนลงจอดเทียบผืนทะเลทรายแห่งโลกแล้วก็มีสิ่งคล้ายมนุษย์เดินทางออกมาจากนั้นมันไล่จับนารีมนุษย์โลกไป แต่ไม่ทั้งหมด ...
โลกใบนี้ถูกสร้างขึ้นมาและอยู่เหนือกาลเวลา ขณะนั้นโลกยังเป็นทะเลทราย คำว่า โลกอีกด้านหนึ่ง นารีมนุษย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ที่โลกได้พากันหนีความร้อนจากดวงอาทิตย์ อุตสาหะขุดทะเลทรายให้เป็นอุโมงค์ลึกลงไปถึงใจกลางโลก พวกนางขุดให้ลึกลงต่อไปอีกไม่ได้เพราะใจกลางโลกคือสนามแม่เหล็ก ทำไมพวกนางจึงรอดชีวิตอยู่ได้ เพราะโลกอีด้านหนึ่งหรือความพยายามที่พวกนางได้พากันขุดทะเลทรายลึกลงไปๆนั้นมีน้ำมีดิน หมายถึงอาหาร แต่อายุของนารีผลช่างสั้นนัก พวกนางตายอยู่ใจกลางสนามแม่เหล็กของโลก
ฉันเป็นหนึ่งในมนุษย์โลกตอนนั้น หลังความตายฉันตื่นขึ้นมา ฉันมองเห็นมนุษย์โลกคนอื่นๆที่กำลังตื่นอยู่และยังไม่ตื่น ฉันแน่ใจว่าพวกเธอจะต้องตื่นขึ้นมาเช่นเดียวกัน ...
ฉันเดินตามช่องอุโมงค์ขึ้นไปยังด้านบนสุดของโลกที่เคยเป็นทะเลทราย ฉันมองไม่เห็นดวงอาทิตย์แล้ว จู่ๆก็มีสัตว์ประหลาดย่างสี่เท้าส่งเสียงดัง โอ๊บๆ เข้ามาประกบผสมร่างของฉัน จู่ๆมีสัตว์ประหลาดอีกตัวหนึ่งพุ่งเฉวียนโฉบจากฟ้าลงมายืนอยู่ตรงหน้า เสร็จแล้ว สัตว์ประหลาดสองตัวนั้นเอง มันผสมพันธุ์กัน ..
เรื่องทั้งหมด คือว่า ฉันเป็นมนุษย์โลกที่พบเห็นสัตว์ผสมพันธุ์กันจนมันออกไข่บ้างออกเป็นตัวอ่อนบ้าง รวมๆแล้วไม่มีส่วนใดคล้ายคลึงมนุษย์โลก ในกาลนั้นดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากโลกไปไกลแล้วยังนับเวลามิได้ ฉันเห็นต้นไม้ซึ่งฉันจำได้ว่านั้นคือบ้านเกิดของฉัน ฉันเดินเข้าไปแล้วทรุดร่างแนบกายลงส่วนใต้ต้นไม้นั้น ยังนับเวลามิได้ ฉันรู้สึกว่าฉันนอนหลับไป ทันทีที่ตื่นขึ้นมาก็ได้เจอเข้ากับดาราคล้ายดวงอาทิตย์ แสงสว่างเจิดจ้าทำให้ฉันเย็นยะเยือก วูบเดียวพี่น้องของฉันก็ผลัดกันออกจากต้นลงมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ต่อมา ยังนับกาลเวลามิได้ ดารานั้นไม่ใหญ่เท่าดวงอาทิตย์แต่มันคล้อยต่ำลงมาจนกระทบโลกสั่นสะเทือนกระจัดกระจาย ฉันพยายามเกาะเกี่ยวดารานั้นไป ฉันมองเห็นโลกพร้อมๆกับพี่น้องของฉันแตกสลายไปอย่างช้าๆทั้งๆที่พวกเขาพึ่งจะได้ผลัดต้นกำเนิดเป็นมนุษย์อีก

'''จากกรุงสาวัตถี นครเวสารี สุวรรณบูรพา พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวเสด็จมายังกรุราชคฤช นครซาโลมอน สุดเขตชมพูทวีป ประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นสาระพิจารณาดูจิตวิญญาณ ภายในกรุงราชคฤช นางมหาปชาบดีไหว้วอนขอลูกสาวเรื่องการอภิเษกสมรส สุชาดา และ วิสาขา กล่าวถึงบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ สิ้นอายุขัยเสด็จสวรรคตแล้วทางตอนใต้ หรือผู้พ่ายแพ้สงครามจบสิ้นให้แก่พระเจ้าอโศกมหาราช'''
'''จากกรุงสาวัตถี นครเวสารี สุวรรณบูรพา พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวเสด็จมายังกรุราชคฤช นครซาโลมอน สุดเขตชมพูทวีป ประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นสาระพิจารณาดูจิตวิญญาณ ภายในกรุงราชคฤช นางมหาปชาบดีไหว้วอนขอลูกสาวเรื่องการอภิเษกสมรส สุชาดา และ วิสาขา กล่าวถึงบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ สิ้นอายุขัยเสด็จสวรรคตแล้วทางตอนใต้ หรือผู้พ่ายแพ้สงครามจบสิ้นให้แก่พระเจ้าอโศกมหาราช'''



รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:15, 20 มิถุนายน 2563

จากกรุงสาวัตถี นครเวสารี สุวรรณบูรพา พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวเสด็จมายังกรุราชคฤช นครซาโลมอน สุดเขตชมพูทวีป ประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นสาระพิจารณาดูจิตวิญญาณ ภายในกรุงราชคฤช นางมหาปชาบดีไหว้วอนขอลูกสาวเรื่องการอภิเษกสมรส สุชาดา และ วิสาขา กล่าวถึงบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ สิ้นอายุขัยเสด็จสวรรคตแล้วทางตอนใต้ หรือผู้พ่ายแพ้สงครามจบสิ้นให้แก่พระเจ้าอโศกมหาราช

อีกวันหนึ่งกับอีกคืนหนึ่ง รุ่งเช้าในเวลาต่อมา งานอภิเษกสมรสของสุชาดาและวิสาขา คราค่ำไปด้วยผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ มี เจ้าชายต่างๆพากันมาให้เลือก แต่เวลาก็ได้ผ่านพ้นไปถึง 10 วัน ตกลงสุชาดาและวิสาขาก็ไม่ได้เลือกคู่สมรส หากแต่รับสมัครทั้งเจ้าชายต่างๆ รวมสามัญชน ปุถุชน แม้กระทั่งยาจก เก็บเอาไว้ได้ทั้งหมด 3,000 คน

เสร็จสิ้นงานอภิเษกสมรสของสุชาดาและวิสาขา 1 เดือน ต่อมา นางมหาปชาบดีไหว้วอนขอลูกสาวเรื่องการอภิเษกสมรส ทำยังไงสุชาดาและวิสาขาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะตั้งครรภ์หรือให้กำเนิดบุตร จนในที่สุด พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวเสด็จเข้ามาในกรุงราชคฤชแล้วประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลานาน 7 วัน ชาวบ้านชาวเมืองต่างพากันอยากรู้ ก็พากันเข้าไปสอบถาม พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวจึงแสดงธรรมเทศนา คือ จักรกัปวัตนะสูตร ตลอดทั้ง 7 วันนั้น ชาวบ้านชาวเมือง เจ้าชายต่างๆ สามัญชน ปุถุชน แม้กระทั่งยาจก เมื่อได้ยินได้ฟังการแสดงธรรมนั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรม รวมแล้ว 500 คน กระทำอัญชลี นั่งพับเพียบหมอบลงกับพื้นขอบรรชาแล้วเดินตามพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าว

เสด็จบิณฑบาตเข้าไปภายใน กรุงราชคฤช ทั่วทั้งนครซาโลมอน มี ผู้ที่ขอบรรพชาแล้วทั้งหมด 500 รูปนั้นต่างหากด้วย วันหนึ่ง ได้เสด็จบิณฑบาตผ่านตำหนักของสุชาดาและวิสาขา เหมือนคิดเอาไว้แล้วสุชาดารีบออกจากตำหนักพร้อมวิสาขา มี ดอกไม้จันทน์ ดอกบัว จัดสำรับอาหารยกใหญ่ถวายแด่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งผู้ที่ขอบรรพชาอีก 500 รูปนั้นต่างหากด้วย พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าวจึงแสดงธรรมเทศนา

อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
ปุตตมังสสูตร
              อรรถกถาปุตตมังสสูตรที่ ๓              

              ในปุตตมังสสุตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

              ในคำว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

              ก็เพราะสูตรนั้นตั้งขึ้นโดยอัตถุปปัตติ ฉะนั้น ครั้นข้าพเจ้าแสดงเรื่องนั้นแล้ว ในที่นี้จักแสดงการพรรณนาตามลำดับบท.

              ถามว่า พระสูตรนี้ ตั้งขึ้นโดยอัตถุปปัตติอะไร.

              ตอบว่า โดยเรื่องลาภและสักการะ.

              ได้ยินว่า ลาภและสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เหมือนสมัยทรงสร้างสมพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญตลอด ๔ อสงไขย.

              จริงอยู่ บารมีทั้งหมดของพระผุ้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นประหนึ่งประมวลมาว่า เราจักให้วิบากในอัตภาพหนึ่ง จึงยังห้วงน้ำใหญ่คือลาภและสักการะให้บังเกิด เหมือนเมฆใหญ่ตั้งขึ้นแล้วยังห้วงน้ำใหญ่ให้บังเกิดฉะนั้น. ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นต่างถือข้าว น้ำ ยาน ผ้า ระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น มาจากที่นั้นๆ พากันคิดว่า พระพุทธเจ้าอยู่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ไหน พระผู้เป็นเทพแห่งเทพ ผู้องอาจกว่านระ ผู้เป็นบุรุษเยี่ยงราชสีห์อยู่ไหน ดังนี้แล้วจึงเสาะหาพระผู้มีพระภาคเจ้า.

              ชนเหล่านั้นนำปัจจัยมาตั้งหลายร้อยเล่มเกวียน เมื่อไม่ได้โอกาสจึงหยุดอยู่ เอาทูปเกวียนต่อกันกับทูปเกวียนวงเวียนรายรอบ ประมาณหนึ่งคาวุต เหมือนเรื่องอันธกวินทพราหมณ์ฉะนั้น.

              เรื่องทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธกะและในพระสูตรนั้นๆ.

              ลาภสักการะเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันใด แม้แก่พระภิกษุสงฆ็ก็ฉันนั้น.

              สมจริงตามคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

              ก็โดยสมัยนั้นแล พระผุ้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช บริขาร แม้พระสงฆ์แลก็เป็นผู้อันชนสักการะ ฯลฯ เป็นผู้ได้ ฯลฯ บริขาร.

              เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จุนทะ บัดนี้ สงฆ์หรือคณะมีประมาณเท่าใดเกิดขึ้นในโลก จุนทะ เราไม่มองเห็นสงฆ์หมู่หนึ่งอื่นผุ้ถึงความเป็นเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ เหมือนอย่างภิกษุสงฆ์นี้เลย.

              ลาภและสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และแก่สงฆ์นี้นั้น รวมแล้วประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำแห่งมหานทีทั้งสอง. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ลับ ทรงพระดำริว่า ลาภและสักการะใหญ่ได้เป็นของสมควรแม้แก่พระพุทธเจ้าในอดีต ทั้งจะสมควรแก่พระพุทธเจ้าในอนาคต ภิกษุทั้งหลายประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันกำหนดเอาอาหารเป็นอารมณ์ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง ปราศจากฉันทราคะ ไม่มีความพอใจและความยินดี สามารถบริโภคหรือหนอ หรือจะไม่สามารถบริโภค.

              พระองค์ได้ทรงเห็นกุลบุตรบางพวกผู้บวชใหม่ ผู้ไม่พิจารณาแล้วบริโภคอาหาร ครั้นพระองค์ทรงเห็นแล้วทรงพระดำริว่า เราบำเพ็ญบารมีสิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป จะได้บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปัจจัยจีวรเป็นต้นก็หาไม่แต่ ที่แท้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตอันเป็นผลสูงสุด. ภิกษุแม้เหล่านี้บวชในสำนักเรา มิได้บวชเพราะเหตุแห่งปัจจัยมีจีวรเป็นต้น แต่บวชเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั่นเอง. บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นกระทำสิ่งที่ไม่เป็นสาระนั่นว่าเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั่นแลว่าเป็นประโยชน์.

              ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระองค์ด้วยประการฉะนี้.

              ลำดับนั้น พระองค์ทรงพระดำริว่า ถ้าจักสามารถบัญญัติปัญจมปาราชิกขึ้นได้ไซร้ เราก็จะพึงบัญญัติการบริโภคอาหารโดยไม่พิจารณาให้เป็นปัญจมปาราชิก แต่ไม่อาจทรงทำอย่างนี้ได้ เพราะว่าอาหารนั้นเป็นที่ซ่องเสพประจำของสัตว์ทั้งหลาย แต่เมื่อเราตรัสไว้ ภิกษุเหล่านั้นก็จักเห็นข้อนั้นเหมือนปัญจมปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็จักตั้งการบริโภคอาหารที่ไม่พิจารณานั้นว่า เป็นกระจกธรรม เป็นข้อสังวร เป็นขอบเขต ซึ่งเหล่าภิกษุในอนาคตรำลึกแล้ว จักพิจารณาปัจจัย ๔ เสียก่อน แล้วบริโภค.

              ในอัตถุปปัตติเหตุนี้ ได้เพิ่มปุตตมังสูปมสุตตันตะดังต่อไปนี้.

              บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ครั้นให้อาหาร ๔ พิสดารแล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงโทษในอาหาร ๔ เหล่านั้น จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว กวฬีกาโร อาหาโร ทฏฺฐพฺโพ เป็นต้น.

              บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชายปติกา ได้แก่ ภริยาและสามี.

              บทว่า ปริตฺตํ สมฺพลํ ได้แก่ เสบียงมีข้าวห่อ ข้าวสัตตุและขนมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวนน้อย.

              บทว่า กนฺตารมคฺคํ ได้แก่ หนทางกันดารหรือหนทางคราวกันดาร.

              บทว่า กนฺตารํ ได้แก่ กันดาร ๕ อย่าง คือ โจรกันดาร พาฬกันดาร อมนุสสกันดาร นิรุทกกันดาร อัปปภักขกันดาร.

              บรรดากันดาร ๕ อย่างนั้น ที่ที่มีโจรภัย ชื่อว่าโจรกันดาร. ที่ๆ มีสัตว์ร้ายมีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ชื่อว่าพาฬกันดาร. ที่ๆ มีภัยโดยอมนุษย์มียักษิณีชื่อว่าพลวามุข เป็นต้น ชื่อว่าอมนุสสกันดาร. ที่ๆ ไม่มีน้ำดื่มหรืออาบ ชื่อว่านิรุทกกันดาร. ที่ที่ไม่มีสิ่งที่จะเคี้ยวหรือกิน โดยที่สุดแม้เพียงหัวเผือกเป็นต้นก็ไม่มี ชื่อว่าอัปปภักขกันดาร.

              อนึ่ง ในที่ใดมีภัยทั้ง ๕ อย่างนี้อยู่ ที่นั้นชื่อว่ากันดารโดยแท้. กันดารทั้ง ๕ นี้นั้น พึงผ่านไปเสียโดย ๑-๒-๓ วันก็มี. ทางนั้นท่านไม่ประสงค์ในที่นี้ แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาทางกันดารประมาณ ๑๐๐ โยชน์ซึ่งไม่มีน้ำและมีอาหารน้อย ทางในคราวกันดารเห็นปานนี้ ชื่อว่าทางกันดาร.

              บทว่า ปฏิปชฺเชยฺยุ ํ ความว่า สองสามีภรรยาถูกฉาตกภัย โรคภัยและราชภัยเบียดเบียนพากันเดินไป สำคัญว่า เราจักผ่านกันดารอย่างหนึ่ง อยู่เป็นสุขในรัชสมัยที่ปราศจากอันตรายของพระราชาผู้ทรงธรรม.

              บทว่า เอกปุตฺตโก ได้แก่ บุตรน้อยคนเดียว มีร่างกายผ่ายผอมผู้ควรจะพึงเอ็นดูอุ้มไป.

              บทว่า วลฺลูรญฺจ โสณฺฑิกญฺจ ความว่า เอาจากที่มีเนื้อเป็นก้อนๆ ทำเป็นเนื้อแห้ง เอาจากที่ติดกระดูกและติดศีรษะทำเป็นเนื้อย่อยๆ.

              บทว่า ปฏิปึเสยฺยุ ํ ได้แก่ พึงประหาร.

              ศัพท์ว่า กหํ เอกปุตฺตก นี้ เป็นอาการแสดงความคร่ำครวญของสามีภรรยาคู่นั้น.

              ก็ในข้อนี้มีการพรรณนาเนื้อความโดยย่อ ตั้งต้นแต่ทำเนื้อความให้แจ่มแจ้งดังต่อไปนี้.

              ได้ยินว่า สองสามีภรรยาอุ้มลูกเดินทางกันดารประมาณ ๑๐๐ โยชน์ด้วยเสบียงเล็กน้อย. เขาเดินทางไปได้ ๕๐ โยชน์ เสบียงหมด กระสับกระส่ายเพราะความหิว นั่งที่ร่มไม้อันงอกงาม.

              ลำดับนั้น สามีได้กล่าวกะภรรยาว่า ที่รัก จากนี้ไปโดยรอบ ๕๐ โยชน์ไม่มีบ้านหรือนิคม ฉะนั้น บัดนี้เราไม่สามารถจะกระทำกสิกรรมและโครักขธรรมเป็นต้นเป็นอันมากที่ผู้ชายจะพึงทำได้ มาเถิด เธอจงฆ่าเราแล้วกินเนื้อครึ่งหนึ่ง ทำเสบียงครึ่งหนึ่ง แล้วจงข้ามทางกันดารไปพร้อมกับลูก.

              ฝ่ายภรรยากล่าวว่า พี่ บัดนี้ฉันไม่สามารถจะทำกรรมมีการกรอด้ายเป็นต้นแม้มากที่ผู้หญิงจะพึงทำ มาเถิด พี่จงฆ่าฉันกินเนื้อครึ่งหนึ่ง ทำเสบียงครึ่งหนึ่ง แล้วจงข้ามทางกันดารไปพร้อมกับลูก.

              สามีกล่าวกะภรรยาอีกว่า ที่รัก ความตายย่อมปรากฏแก่คนสองคนเพราะแม่ตาย เพราะเด็กอ่อน เว้นแม่เสียแล้วก็ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเราทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ เราก็จะพึงได้ลูกอีก เอาเถอะ เราจะฆ่าลูกน้อยในบัดนี้ ถือเอาเนื้อกินข้ามผ่านทางกันดาร.

              ลำดับนั้น แม่กล่าวกะลูกว่า ลูกรัก เจ้าจงไปหาพ่อ. ลูกก็ไปหาพ่อ. ครั้งนั้น พ่อของเด็กน้อยกล่าวว่า เราได้รับความทุกข์มิใช่น้อยเพราะกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นก็เพื่อจะเลี้ยงดูลูกน้อย เราไม่อาจฆ่าลูกได้ เธอนั่นแหละจงฆ่าลูกของเธอ แล้วกล่าวกะลูกน้อยว่า ลูกรัก เจ้าจงไปหาแม่. ลูกก็ไปหาแม่.

              ครั้งนั้น แม่ของเด็กน้อย กล่าวว่า เมื่อเราอยากได้ลูก เราได้รับความทุกข์มิใช่น้อย ด้วยการบวงสรวงเทวดาด้วยโควัตรและกุกกุรวัตรเป็นต้นก่อน ไม่ต้องพูดถึงการบริหารครรภ์ ฉันไม่อาจฆ่าลูกได้ แล้วกล่าวกะลูกน้อยว่า ลูกรัก เจ้าจงไปหาพ่อเถิด.

              ลูกน้อยนั้นเมื่อเดินไปในระหว่างพ่อแม่นั่นแหละ ตายแล้วด้วยประการฉะนี้.

              สองสามีภรรยาเห็นดังนั้น คร่ำครวญ ถือเอาเนื้อลูกเคี้ยวกิน เดินทางไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

              อาหารคือเนื้อลูกของสองสามีภรรยานั้น ไม่ใช่กินเพื่อจะเล่น ไม่ใช่กินเพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่กินเพื่อประดับ ไม่ใช่กินเพื่อตกแต่ง เพราะปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ เป็นอาหารเพื่อข้ามผ่านทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้น.

              หากจะถามว่า เพราะปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง.

              พึงแก้ว่า เพราะเป็นเนื้อของผู้ร่วมชาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตร ๑ เพราะเป็นเนื้อของบุตรที่รัก ๑ เพราะเป็นเนื้อเด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะไม่เป็นโครส ๑ เพราะไม่เค็ม ๑ เพราะยังไม่ได้ปิ้ง ๑.

              จริงอยู่ สองสามีภรรยานั้นเคี้ยวกินเนื้อบุตรนั้น ซึ่งปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ จึงมิได้เคี้ยวกิน ด้วยความยินดีติดใจ แต่ตั้งอยู่ในภาวะกลางๆ นั่นเอง คือ ในการบริโภคโดยไม่มีความพอใจและยินดี มีใจแตกทำลาย เคี้ยวกินแล้ว

              เขาจะได้เอาเนื้อที่ติดกระดูกเอ็นและหนังออกแล้วเคี้ยวกินแต่เนื้อที่ล่ำๆ คือเนื้อที่ดีๆ เท่านั้นก็หาไม่ เคี้ยวกินเฉพาะเนื้อที่อยู่ตรงหน้า มิได้เคี้ยวกินตามที่ต้องการจนล้นคอหอย แต่เคี้ยวกินทีละน้อยๆ พอยังชีพให้เป็นไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น มิได้หวงหันและกันเคี้ยวกิน เคี้ยวกินด้วยใจที่บริสุทธิ์จริงๆ ปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มิได้เคี้ยงกินอย่างงมงายว่า พวกเราเคี้ยวกินเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเนื้อมฤคหรือเนื้อนกยูงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่เคี้ยวกินทั้งที่รู้ว่าเป็นเนื้อของลูกรัก มิได้เคี้ยวกินโดยปรารถนาว่า ไฉนหนอ เราพึงเคี้ยวกินเนื้อลูกเห็นปานนี้อีก แต่เคี้ยวกินโดยไม่ปรารถนา มิได้สั่งสมด้วยตั้งใจว่า เราเคี้ยวกินเพียงเท่านี้ในทางกันดาร เมื่อพ้นทางกันดารแล้ว จักเอาเนื้อที่เหลือไปปรุงด้วยรสเค็มรสเปรี้ยวเป็นต้นเคี้ยวกิน.

              แต่เมื่อล่วงกันดารไปแล้วคิดว่าพวกชนในเมืองจะเห็น จึงฝังไว้ในดินหรือเอาไฟเผา มิได้ถือตัวหรือโอ้อวดว่า ใครอื่นจะได้เคี้ยวกินเนื้อบุตรเห็นปานนี้อย่างเรา แต่เคี้ยวกินโดยขจัดความถือตัวและโอ้อวดเสียได้ มิได้เคี้ยวกินอย่างดูหมิ่นว่า ประโยชน์อะไรด้วยเนื้อนี้ซึ่งไม่เค็ม ไม่เปรี้ยว ยังไม่ได้ปิ้ง มีกลิ่นเหม็น แต่เคี้ยวกินโดยปราศจากความดูหมิ่น ไม่ดูหมิ่นกันและกันว่า ส่วนของท่าน ส่วนของเรา บุตรของท่าน บุตรของเรา แต่มีความพร้อมเพรียงบันเทิงเคี้ยวกิน.

              พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นสองสามีภรรยาบริโภคโดยปราศจากฉันทราคะเห็นปานนั้นนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์ทราบเหตุนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตํ กึ มญฺญถ ภิกฺขเว อปิ นุ เต ทวาย วา อาหารํ อาหเรยฺยุ ํ ดังนี้.

              ในพระบาลีนั้น คำเป็นต้นว่า ทวาย วา กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.

              บทว่า กนฺตารสฺส ได้แก่ กันดารนอกจากที่สองสามีภรรยาผ่านมา.

              บทว่า เอวเมว โข ความว่า พึงเห็นอาหารเสมือนเนื้อลูกรัก ด้วยอำนาจความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่าง.

              ถามว่า ความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่างอะไรบ้าง

              ตอบว่า มีความเป็นของปฏิกูลในการไปเป็นต้น.

              จริงอยู่ เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการไปก็ดี เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการแสวงหาก็ดี เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการบริโภค โดยที่ฝังไว้ โดยที่อาศัย โดยเป็นของสุก โดยเป็นของไม่สุก โดยเป็นของเปื้อนและโดยเป็นของไหลออกก็ดี ชื่อว่าย่อมกำหนดกวฬิงการาหาร.

              ก็ความปฏิกูลโดยการไปเป็นต้นเหล่านี้นั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วทั้งนั้นในอาหารปฏิกุลยนิทเทสในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. พึงบริโภคอาหารเปรียบด้วยเนื้อลูกทีเดียว ด้วยอำนาจความปฏิกูล ๙ อย่างเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

              สองสามีภรรยานั้นเมื่อเคี้ยวกินเนื้อลูกรักซึ่งเป็นของปฏิกูล มิได้เคี้ยวกินด้วยความยินดีติดใจ แต่ตั้งอยู่ในภาวะกลางๆ นั่นเอง คือในการบริโภคโดยไม่มีความพอใจและยินดี เคี้ยวกินแล้วฉันใด พึงบริโภคอาหารโดยไม่มีความพอใจและยินดี ฉันนั้น.

              เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นจะได้เอาเนื้อที่ติดกระดูกเอ็นและหนังออก เคี้ยวกินแต่เนื้อที่ล่ำๆ คือเนื้อที่ดีๆ เท่านั้นก็หาไม่ แต่เคี้ยวกินเนื้อที่หยิบถึงเท่านั้นฉันใด ภิกษุไม่พึงใช้หลังมือเขี่ยข้าวแห้งและกับข้าวแข็งเป็นต้นออก ไม่แสดงความเจาะจง ดุจนกกระจาบและดุจไก่มิได้เลือกเฉพาะโภชนะที่ดีซึ่งผสมเนยใสและเนื้อเป็นต้นแต่ที่นั้นๆ บริโภค พึงบริโภคตามลำดับดุจราชสีห์ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นมิได้เคี้ยวกินตามที่ต้องการจนล้นคอหอย แต่เคี้ยวกินทีละน้อยๆ พอยังชีพให้เป็นไปในวันหนึ่งๆ เท่านั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ไม่บริโภคตามที่ต้องการจนเรอ ดุจพวกพราหมณ์ที่มีอาหารอยู่ในมือเป็นต้นบางคนเว้นโอกาสสำหรับคำข้าว ๔-๕ คำไว้แล้วบริโภคดุจพระธรรมเสนาบดี.

              เล่ากันว่า พระธรรมเสนาบดีเถระนั้นดำรง (ความเป็นภิกษุ) อยู่ ๔๕ พรรษา กล่าวว่า แม้วันหนึ่งเราก็มิได้ฉันอาหารจนสำรอกออกมาเป็นรสเปรี้ยวภายหลังฉันอาหาร ดังนี้

              เมื่อบันลือสีหนาทได้กล่าวคาถานี้ว่า

                        ภิกษุงดฉันคำข้าว ๔-๕ คำ พึงดื่มน้ำ พอที่

                        จะอยู่อย่างสบายสำหรับภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

              เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นจะได้หวงกันและกันเคี้ยวกินก็หาไม่ แต่เคี้ยวกินด้วยใจที่บริสุทธิ์จริงๆ ปราศจากมลทินคือความตระหนี่ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้วไม่ตระหนี่ คิดว่า เมื่อภิกษุรับบิณฑบาตนี้ได้ทั้งหมด เราก็จักให้ทั้งหมด เมื่อรับได้ครึ่งหนึ่ง เราจักให้ครึ่งหนึ่ง ถ้าจักมีบิณฑบาตเหลือจากที่ภิกษุรับไป เราจักบริโภคเอง ดังนี้ ตั้งอยู่ในสาราณียธรรมมั่นคงบริโภค.

              เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นมิได้เคี้ยวกินอย่างงมงายว่า พวกเราเคี้ยวกินเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเนื้อมฤคหรือเนื้อนกยูงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่เคี้ยวกินทั้งที่รู้ว่าเป็นเนื้อของลูกรักฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้ว ไม่พึงเกิดความงมงายเพราะเห็นแก่ตัวเรา เราจะเคี้ยวกิน จะบริโภค พึงคิดว่า กวฬิงการาหารย่อมไม่รู้ว่า เราทำกายที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ให้เจริญ แม้กายก็ไม่รู้ว่า กวฬิงการาหารทำเราให้เจริญ ดังนี้ พึงละความงมงายบริโภคด้วยอาการอย่างนี้.

              จริงอยู่ กวฬิงการาหารนี้ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่งมงายบริโภคแม้ด้วยสติสัมปชัญญะ.

              เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นไม่เคี้ยวกินด้วยตั้งความปรารถนาว่า ไฉนหนอ เราพึงเคี้ยวกินเนื้อลูกเห็นปานนี้แม้อีก แต่พอพ้นความปรารถนาไปแล้วก็เคี้ยวกินฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โภชนะอันประณีตแล้วคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้โภชนะเห็นปานนี้ ในวันพรุ่งนี้ก็ดี ในวันต่อไปก็ดี ก็แลครั้นได้โภชนะที่เศร้าหมองก็คิดว่า วันนี้ เราไม่ได้โภชนะอันประณีตเหมือนวันวาน มิได้ทำความปรารถนาหรือเศร้าใจ เป็นผู้ปราศจากความอยาก ระลึกถึงโอวาทนี้ว่า

                        ชนทั้งหลายย่อมไม่เศร้าโศกถึงอาหารที่เป็นอดีต

                        ย่อมไม่พะวงถึงอาหารที่เป็นอนาคต ยังอัตภาพให้

                        เป็นไปด้วยอาหารที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณ

                        จึงผ่องใส.

              พึงบริโภคด้วยคิดว่า จักยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น.

              อนึ่ง สองสามีภรรยานั้นมิได้สั่งสมด้วยคิดว่า เราจักเคี้ยวกินเนื้อลูกเท่านี้ในทางกันดาร ล่วงทางกันดารไปแล้ว จักเอาเนื้อลูกส่วนที่เหลือไปปรุงด้วยรสเปรี้ยวเป็นต้นเคี้ยวกิน แต่เมื่อล่วงทางกันดารไปแล้ว คิดว่า พวกชนในเมืองนั้นจะเห็น จึงฝังไว้ในดินหรือเอาไฟเผาฉันใด

              ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ระลึกถึงโอวาทนี้ว่า ได้ข้าวหรือน้ำก็ตาม ของเคี้ยวหรือผ้าก็ตาม ไม่พึงสั่งสม เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ถือเอาพอยังอัตภาพให้เป็นไปจากปัจจัย ๔ ตามที่ได้นั้นๆ ส่วนที่เหลือแจกจ่ายแก่เพื่อนสพรหมจารี เว้นการสั่งสมบริโภค.

              อนึ่ง สองสามีภรรยานั้นมิได้ถือตัวหรือโอ้อวดว่า ใครอื่นจะได้เคี้ยวกินเนื้อบุตรเห็นปานนี้อย่างเรา แต่เคี้ยวกินโดยขจัดความถือตัวและโอ้อวดเสียได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โภชนะอันประณีตแล้ว ไม่พึงถือตัวหรือโอ้อวดว่า เราได้จีวรและบิณฑบาตเป็นต้น พึงพิจารณาว่า การบวชนี้มิใช่เหตุแห่งจีวรเป็นต้น แต่การบวชนี้เป็นการบวชเพราะเหตุแห่งพระอรหัต แล้วพึงบริโภคโดยปราศจากความถือตัวและโอ้อวดทีเดียว.

              อนึ่ง สองสามีภรรยานั้นมิได้เคี้ยวกินอย่างดูหมิ่นว่า ประโยชน์อะไรด้วยเนื้อที่ไม่เค็ม ไม่เปรี้ยว ยังไม่ได้ปิ้ง มีกลิ่นเหม็น แต่เคี้ยวกินโดยปราศจากความดูหมิ่นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้วไม่พึงดูหมิ่นบิณฑบาตว่า ประโยชน์อะไรด้วยภัตรที่เลวไม่มีรสชาติอย่างอาหารม้าอาหารใด จงเอามันไปใส่ในรางสุนัข หรือไม่ดูหมิ่นทายกอย่างนี้ว่า ใครจักบริโภคภัตรนี้ได้ จงให้แก่กาและสุนัขเป็นต้นเถิด ระลึกถึงโอวาทนี้ว่า

                        เขาอุ้มบาตรเที่ยวไป ไม่ใบ้ก็ทำเป็นใบ้

                        ไม่พึงดูหมิ่นทานที่น้อย ไม่พึงดูหมิ่นผู้ให้ ดังนี้

              พึงบริโภคเอง.

              อนึ่ง สองสามีภรรยานั้น มิได้ดูหมิ่นกันและกันว่า ส่วนของท่าน ส่วนของเรา บุตรของท่าน บุตรของเรา แต่มีความพร้อมเพรียงบันเทิงเคี้ยวกินฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้ว ไม่พึงดูหมิ่นใครๆ อย่างที่ภิกษุบางพวกดูหมิ่นเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลว่า ใครจักให้แก่คนอย่างพวกท่าน พวกท่านเป็นผู้ไม่มีเหตุ เที่ยวลื่นล้มที่ธรณีประตู แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่สำคัญของที่จะให้ แต่พวกเราย่อมได้จีวรเป็นต้นที่ประณีต ในที่ที่ไปแล้วๆ อย่างที่พระองค์หมายตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก โดยลาภสักการะและสรรเสริญนั้น ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นย่อมมีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดังนี้ พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงบันเทิง บริโภคกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งปวง.

              บทว่า ปริญฺญาเต ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้ คือญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.

              กำหนดอย่างไร.

              คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดว่า ชื่อว่ากวฬีการาหารนี้ เป็นรูปมีโอชาเป็นที่ ๘ (โอชัฏฐมกรูป) ด้วยอำนาจรูปที่มีวัตถุ. โอชัฏฐมกรูปถูกกระทบในที่ไหน. กระทบที่ชิวหาประสาท. ชิวหาประสาทอาศัยอะไร. อาศัยมหาภูตรูป ๔. รูปมีโอชาเป็นที่ ๘ ชิวหาประสาท มหาภูตรูปอันเป็นปัจจัยแห่งชิวหาประสาทนั้น ธรรมเหล่านี้ดังว่ามานี้ ชื่อว่ารูปขันธ์.

              เมื่อภิกษุกำหนดรูปขันธ์ ธรรมอันมีผัสสะเป็นที่ ๕ ที่เกิดขึ้น ชื่อว่าอรูปขันธ์ ๔. ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์ ๕ โดยสังเขป ย่อมเป็นเพียงนามรูป. ภิกษุนั้นครั้นกำหนดธรรมเหล่านั้น โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจแล้วแสวงหาปัจจัยของธรรมเหล่านั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลม.

              ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันภิกษุนั้นกำหนดรู้กพฬีการาหาร ด้วยญาตปริญญา เพราะเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยโดยมุขคือกพฬีการาหารตามความเป็นจริง เธอยกนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยนั้นนั่งแลขึ้นสู่ลักษณะ ๓ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วพิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนา ๗.

              ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันเธอกำหนดรู้กพฬีการาหารนั้น กล่าวคือญาณเป็นเครื่องแทงตลอดและพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ด้วยตีรณปริญญา. ก็กวฬีการาหารนั้นเป็นอันเธอกำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา เพราะกำหนดรู้ด้วยอนาคามิมรรค อันคร่าเสียซึ่งฉันทราคะในนามรูปนั้นเอง.

              บทว่า ปญฺจกามคุณิโก เป็นอันเธอกำหนดรู้การเกิดแห่งกามคุณ ๕.

              แต่ในที่นี้ ปริญญา ๓ ได้แก่ เอกปริญญา สัพพปริญญา มูลปริญญา.

              ถามว่า เอกปริญญาเป็นไฉน.

              แก้ว่า ภิกษุใดกำหนดรู้ตัณหามีรสเป็นอันเดียวในชิวหาทวาร ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นอันกำหนดราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕.

              เพราะเหตุไร.

              เพราะตัณหานั้นแลเกิดขึ้นในที่นั้น.

              จริงอยู่ ตัณหานั้นแลเกิดขึ้นในจักขุทวาร ชื่อว่าเป็นรูปราคะ ในโสตทวารเป็นต้นก็เกิดสัททราคะเป็นต้น ดังนั้น ราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕ เป็นอันภิกษุนั้นกำหนดรู้แล้วด้วยการกำหนดรู้รสตัณหาในชิวหาทวาร เหมือนเมื่อราชบุรุษจับโจรคนหนึ่งผู้ฆ่าคนในทาง ๕ สายได้ในทางสายหนึ่ง แล้วตัดศีรษะเสีย หนทางทั้ง ๕ สายย่อมเป็นทางปลอดภัยฉะนั้น นี้ชื่อว่าเอกปริญญา.

              ถามว่า สัพพปริญญาเป็นไฉน.

              แก้ว่า ความจริง เมื่อบิณฑบาตที่เขาใส่ลงในบาตรอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมได้ความยินดีอันประกอบด้วยกามคุณ ๕.

              อย่างไร.

              คือ อันดับแรก เมื่อภิกษุนั้นแลดูสีอันบริสุทธิ์ ความยินดีในรูปย่อมมี เมื่อราดเนยใสอันร้อนลงในที่นั้น เสียงย่อมดัง ปฏะปฏะ เมื่อเคี้ยวของที่ควรเคี้ยวเห็นปานนั้น เสียงว่า มุรุ มุรุ ย่อมดังขึ้น เมื่อยินดีเสียงนั้น ความยินดีในเสียงย่อมเกิดขึ้น เมื่อยินดีกลิ่นเครื่องปรุงมียี่หร่าเป็นต้น ความยินดีในกลิ่นย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในรส ด้วยอำนาจรสที่ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อยินดีว่า โภชนะอ่อนละมุนน่าสัมผัส ความยินดีในโผฏฐัพพะย่อมเกิดขึ้น. ดังนั้น เมื่อภิกษุกำหนดอาหารด้วยสติและสัมปชัญญะแล้วบริโภค ด้วยการบริโภคที่ปราศจากราคะ การบริโภคทั้งหมดเป็นอันชื่อว่าอันภิกษุกำหนดรู้แล้ว การกำหนดรู้ดังว่ามานี้ ชื่อว่าสัพพปริญญา.

              มูลปริญญาเป็นไฉน.

              จริงอยู่ กวฬีการาหารเป็นมูลแห่งความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ ๕.

              เพราะเหตุไร.

              เพราะเมื่อกวฬีการาหารยังมีอยู่ ความยินดีในอาหารนั้นอันเป็นไปในกามคุณ ๕ ก็เกิดขึ้น.

              ได้ยินว่า สองสามีภรรยามิได้มีจิตคิดเพ่งเล็งตลอด ๑๒ ปี ในเพราะภัยเกิดแต่ติสสะพราหมณ์. เพราะเหตุไร. เพราะมีอาหารน้อย แต่เมื่อภัยสงบลง เกาะตามพปัณณิทวีป ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ได้มีมงคลเป็นอันเดียวกัน โดยมงคลที่เกิดขึ้นแก่ผู้กระทำ ดังนั้น เมื่อกำหนดรู้อาหารที่เป็นมูลได้แล้ว ก็เป็นอันชื่อว่าภิกษุกำหนดรู้ราคะ ความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ ๕ ด้วย ดังว่ามานี้ ชื่อว่ามูลปริญญา.

              บทว่า นตฺถิ ตํ สํโยชนํ ความว่า สังโยชน์นั้นไม่มี เพราะอริยสาวกละธรรมอันมีที่ตั้งเดียวกับธรรมที่ควรละพร้อมทั้งราคะนั้นได้. เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จนถึงอนาคามิมรรคด้วยประการฉะนี้. แต่ควรเจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล แล้วตรัสจนถึงพระอรหัต ด้วยทรงดำริว่า ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุทั้งหลายอย่าได้ถึงความสิ้นสุดเลย. ๑ (กพฬีการาหาร)              

              ๒ (ผัสสาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

              บทว่า นิจฺจมฺมา ได้แก่หนังที่ถูกถลกจากสรีระทั้งสิ้นตั้งแต่อกถึงโคนขา มีสีเหมือนกองดอกทองกวาว.

              ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อุปมานี้จึงไม่ทรงถือเอาอุปมาด้วยช้างม้าและโคเป็นต้น ทรงถือเอาแต่อุปมาด้วยแม่โคที่ไม่มีหนัง.

              แก้ว่า เพื่อทรงแสดงภาวะที่ไม่สามารถจะอดกลั้นได้

              จริงอยู่ มาตุคามไม่สามารถถอดกลั้นอดทนทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นได้. เพื่อจะทรงแสดงว่า ผัสสาหารไม่มีกำลัง มีกำลังเพลาเหมือนอย่างนั้น จึงทรงนำอุปมามาเทียบเท่านั้น.

              บทว่า กุฑฺฑํ ได้แก่ ฝา มีฝาศิลาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ชื่อว่าจำพวกสัตว์ที่เกาะฝา ได้แก่ สัตว์มีแมงมุม ตุ๊กแกและหนูเป็นต้น.

              บทว่า รุกฺขนิสฺสิตา ได้แก่ สัตว์เล็กๆ มีตัวบุ้งเป็นต้น.

              บทว่า อุทกนิสฺสิตา ได้แก่ สัตว์น้ำมีปลาและจระเข้เป็นต้น.

              บทว่า อากาสนิสฺสิตา ได้แก่ เหลือบ ยุง กาและแร้งเป็นต้น.

              บทว่า ขาเทยฺยุ ํ ได้แก่ ทั้งจิกกิน.

              แม่โคนั้นพิจารณาเห็นที่นั้นๆ ว่าเป็นภัยแต่การเคี้ยวกินของปาณกสัตว์ ซึ่งมีที่ชุมนุม อาศัยกายเป็นมูล ไม่ได้ปรารถนาสักการะและความนับถือสำหรับตน ทั้งไม่ปรารถนาการทุบหลัง การนวดร่างกายและน้ำร้อน. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันพิจารณาเห็นภัยคือการเคี้ยวกินของปาณกสัตว์คือกิเลสอันมีผัสสาหารเป็นมูล ย่อมไม่มีความต้องการด้วยผัสสะอันเป็นไปในภูมิ ๓.

              บทว่า ผสฺเส ภิกฺขเว อาหาเร ปริญฺญาเต ได้แก่เมื่อกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. แม้ในที่นี้ท่านก็กำหนดเอาปริญญา ๓.

              ในปริญญา ๓ เหล่านั้น การเห็นซึ่งกิจของนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ผัสสะจัดเป็นสังขารขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะนั้นจัดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ อารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งขันธ์เหล่านั้น จัดเป็นรูปขันธ์ ชื่อว่าญาตปริญญา.

              ในปริญญา ๓ เหล่านั้นนั่นแล การที่ภิกษุยกนามรูปขึ้นสู่ไตรลักษณ์แล้ว พิจารณาเห็นโดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ ชื่อว่าตีรณปริญญา.

              ก็พระอรหัตมรรคที่คร่าฉันทราคะในนามรูปนั้นเองออกไป ชื่อว่าปหานปริญญา.

              บทว่า ติสฺโส เวทนา ความว่า เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารด้วยปริญญา ๓ อย่างนี้แล้ว เวทนา ๓ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน เพราะมีผัสสาหารนั้นเป็นมูล และเพราะสัมปยุตด้วยผัสสาหารนั้น. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนาจนถึงพระอรหัตด้วยอำนาจผัสสาหาร ๒ (ผัสสาหาร)              

              ๓ (มโนสัญเจตนาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

              บทว่า องฺคารกาสุ ได้แก่ หลุมถ่านเพลิง.

              บทว่า กาสุ ท่านกล่าวหมายความว่า กองบ้าง ว่าหลุมบ้าง ในคำนี้ว่า

                                  องฺคารกาสุ ํ อปเร ผุณนฺติ

                                  นรา รุทนฺตา ปริทฑฺฒคตฺตาฯ

                                  ภยํ หิ มํ วินฺทติ สุต ทิสฺวา

                                  ปุจฺฉามิ ตํ มาตลิ เทวสารถี.

                        ชนอีกพวกหนึ่งกระจายกองถ่านเพลิง นระผู้มี

                        ร่างกายเร่าร้อนร้องไห้อยู่ ภัยมาถึงเราเพราะเห็น

                        สารถี แน่ะเทพสารถีมาตลี เราขอถามท่าน.

              บทว่า กาสุ ท่านกล่าวหมายความว่า กอง ในคำนี้ว่า กึนุ สนฺตรมาโนว กาสุ ํ ขณสิ สารถิ แน่ะนายสารถี ท่านตัวสั่นขุดหลุมอยู่ เพราะเหตุไรหนอ. ท่านกล่าวหมายความว่า หลุม แม้ในที่นี้ก็ประสงค์ความว่าหลุมนี้แหละ.

              บทว่า สาธิกโปริสา ได้แก่ เกินชั่วบุรุษ คือประมาณ ๕ ศอก.

              ด้วยบทว่า วีตจฺฉิกานํ วีตธูมานํ นี้ ท่านแสดงว่า หลุมถ่านเพลิงนั้นมีความเร่าร้อนมาก. ด้วยว่า เมื่อมีเปลวไฟหรือควัน ความเร่าร้อนก็มาก ลมตั้งขึ้น ความเร่าร้อนย่อมไม่มาก เมื่อมีเปลวไฟหรือควันนั้น แต่ไม่มีลม ความเร่าร้อนย่อมมาก.

              บทว่า อารกาวสฺส แปลว่า พึงมีในที่ไกลทีเดียว.

              ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้

              พึงเห็นวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนหลุมถ่านเพลิง ปุถุชนคนโง่ผู้อาศัยวัฏฏะ เหมือนบุรุษผู้อยากจะเป็นอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรมเหมือนบุรุษ ๒ คนผู้มีกำลัง เวลาที่ปุถุชนก่อกรรมทำเข็ญ เหมือนเวลาที่บุรุษ ๒ คนจับบุรุษนั้นที่แขนคนละข้างฉุดมายังหลุมถ่านเพลิง.

              จริงอยู่ กรรมที่ปุถุชนคนโง่ก่อกรรมทำเข็ญ ย่อมชักไปหาปฏิสนธิ วัฏทุกข์ที่มีกรรมเป็นเหตุ พึงทราบเหมือนทุกข์ที่มีหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.

              บทว่า ปริญฺญาเต ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ก็การประกอบความเรื่องปริญญาในที่นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผัสสะนั่นแล.

              บทว่า ติสฺโส ตณฺหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

              ตัณหาเหล่านี้ย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน.

              เพราะเหตุไร.

              เพราะมโนสัญเจตนามีตัณหาเป็นมูล ด้วยว่า เมื่อละเหตุยังไม่ได้ ก็ละผัสสะไม่ได้.

              ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนาจนถึงพระอรหัตด้วยอำนาจมโนสัญเจตนาหาร. ๓ (มโนสัญเจตนาหาร)              

              ๔ (วิญญาณาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

              บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ ผู้ประพฤติชั่ว คือผู้กระทำผิด.

              ด้วยบทว่า กถํ โส ปุริโส พระราชาตรัสถามว่า บุรุษนั้นเป็นอย่างไร คือเลี้ยงชีพอย่างไร.

              บทว่า ตเถว เทว ชีวติ ความว่า แม้ในบัดนี้เขาก็เลี้ยงชีพ เหมือนเมื่อก่อนนั่นแหละ.

              แม้ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.

              จริงอยู่ กรรมพึงเห็นเหมือนพระราชา ปุถุชนคนโง่ผู้อาศัยวัฏฏะเหมือนบุรุษผู้ประพฤติชั่ว ปฏิสนธิวิญญาณเหมือนหอก ๓๐๐ เล่ม เวลาที่พระราชาคือกรรมจับปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะซัดไปในปฏิสนธิ เหมือนเวลาที่พระราชาจับบุรุษผู้ประพฤติชั่ว สั่งบังคับว่า จงประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม.

              ในอุปมาเหล่านั้น ปฏิสนธิวิญญาณเปรียบเหมือนหอก ๓๐๐ เล่มก็จริง ถึงอย่างนั้น ทุกข์ย่อมไม่มีในหอก ทุกข์มีปากแผลที่ถูกหอกแทงเป็นมูล ทุกข์ก็เหมือนกันย่อมไม่มีแม้ในปฏิสนธิ แต่เมื่อวิบากให้ปฏิสนธิ วิบากทุกข์ในปัจจุบัน ย่อมเป็นเหมือนทุกข์มีปากแผลที่ถูกหอกแทงเป็นมูล.

              บทว่า ปริญฺญาเต ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. แม้ในที่นี้ การประกอบความเรื่องปริญญา พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผัสสาหารนั่นแล.

              บทว่า นามรูปํ ได้แก่ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดมีนามรูป เพราะเมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้นามรูปนั้นเหมือนกัน เพราะมีวิญญาณนั้นเป็นปัจจัย และเพราะเกิดพร้อมกัน.

              ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนาจนถึงพระอรหัตแม้ด้วยอำนาจวิญญาณาหารแล.

ในกาลต่อมา พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธจ้าว ยังคงประทับจำพรรษาอยู่ บริเวณใกล้กับกรุงราชคฤชโดยมีผู้ที่ได้รับการบรรพชาอีก 500 รูปนั้นด้วย

ธรรมเจติยสูตร

ว่าด้วยธรรมเจดีย์

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะอันมีชื่อว่าเมทฬุปะในแคล้นสักกะ. ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงนครกนิคมด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง.

ครั้งนั้นท้าวเธอรับสั่งกะทีฆการายนะเสนาบดีว่า ดูกรการายนะผู้สหาย ท่านจงเทียมยานที่ดีๆ ไว้ เราจะไปดูภูมิภาคอันดีในพื้นที่อุทยาน.

ทีฆการายนะเสนาบดีรับสนองพระราชดำรัสแล้วให้เทียมราชยานที่ดีๆ ไว้แล้วกราบทูลแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเทียมพระราชยานที่ดีๆ ไว้ เพื่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพร้อมแล้ว ขอใต้ฝ่าพระบาททรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ขอเดชะ.

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่งอย่างดีเสด็จออกจากนครกนิคม โดยกระบวนพระราชยานอย่างดีๆ ด้วยพระราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปยัง

สวนอันรื่นรมย์ เสด็จพระราชดำเนินด้วยยานพระที่นั่งจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่งจะไปได้ จึงเสด็จลงทรงพระดำเนินเข้าไปยังสวน. เสด็จพระราชดำเนินเที่ยวไปๆ มาๆ เป็นการพักผ่อน ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ล้วนน่าดู ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การงานอันจะพึงทำในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด ครั้นแล้วทรงเกิดพระปีติปรารภพระผู้มีพระภาคว่า ต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู

ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบ ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การงาน อันจะพึงทำในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ที่เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า.

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งกะทีฆการายนะเสนาบดีว่า ดูกรทีฆการายนะผู้สหาย ต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู ชวนให้ เกิดความผ่องใส ... สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ที่เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรทีฆการายนะผู้สหาย เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ? ทีฆการายนะเสนาบดีกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชา มีนิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ นิคมนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ป. ดูกรการายนะผู้สหาย ก็นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ มีอยู่จากนิคมนครกะไกลเพียงไร?

ที. ข้าแต่มหาราช ไม่ไกลนัก ระยะทาง ๓ โยชน์ อาจเสด็จถึงได้โดยไม่ถึงวัน ขอเดชะ.

ป. ดูกรการายนะผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเทียมยานที่ดีๆ ไว้ เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ทีฆการายนะเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัส แล้วสั่งให้เทียมยานที่ดีๆ ไว้ แล้วกราบทูลแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเทียมยานที่ดีๆ ไว้พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า

ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้โปรดทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่งอย่างดี เสด็จจากนครกนิคมโดยกระบวนพระราชยานอย่างดี เสด็จไปยังนิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ

เสด็จถึงนิคมนั้นโดยไม่ถึงวัน เสด็จเข้าไปยังสวน เสด็จพระราชดำเนินด้วยยานพระที่นั่งไปจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่งจะไปได้ เสด็จลงจากยานพระที่นั่งแล้วทรงดำเนินเข้าไปยังสวน.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ เดี๋ยวนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า ดูกรมหาบพิตร นั่นพระวิหาร

พระทวารปิดเสียแล้ว เชิญมหาบพิตรเงียบเสียง ค่อยๆ เสด็จเข้าไป ถึงระเบียงแล้ว ทรงกระแอม เคาะพระทวารเข้าเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิดพระทวารรับมหาบพิตร ขอถวายพระพร ลำดับนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิศแก่ทีฆการายนะเสนาบดี ในที่นั้น.

ครั้งนั้น ทีฆการายนะเสนาบดีมีความดำริว่า บัดนี้ พระมหาราชาจักทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ในที่นี้แหละ. ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารซึ่งปิดพระทวาร ทรงค่อยๆ เสด็จเข้าไปถึงพระระเบียง ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวาร.

พระผู้มีพระภาคเปิดพระทวาร ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ทรงจูบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำการเคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในสรีระนี้ และทรงแสดงอาการฉันทมิตร?

ทรงสรรเสริญพระธรรมวินัย

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์กำหนดที่สุด ๑๐ ปี

บ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง.

สมัยต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาบน้ำดำเกล้า ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอตนให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ มีชีวิตเป็นที่สุดจนตลอดชีวิต.

อนึ่ง หม่อมฉันมิได้เห็นพรหมจรรย์อื่นอันบริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระราชาก็ยังวิวาทกับพระราชา แม้กษัตริย์ก็ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ยังวิวาทกับพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็ยังวิวาทกับคฤหบดี แม้มารดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับบิดา แม้พี่น้องชายก็ยังวิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่น้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับสหาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

สมัครสมานกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกัน ด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.

ข้าแต่พระองค์เจริญ เมื่อหม่อมฉันไม่เคยเห็นบริษัทอื่นที่

สมัครสมานกันอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยวไปตามอารามทุกอาราม ตามอุทยานทุกอุทยานอยู่เนืองๆ ในที่นั้นๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม

เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่ตั้งใจแลดูคน. หม่อมฉันนั้นได้เกิดความคิดว่า ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

เป็นแน่ หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไรที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านี้จึงซูบผอม เศร้าหมองมีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน.

หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วถามว่า ดูกรท่านมีอายุทั้งหลาย เหตุไรหนอท่านทั้งหลายจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน?

สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายเป็นโรคพันธุกรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตก เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่.

ข้าแต่พระองค์เจริญ หม่อมฉันได้มีความคิดว่า ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเป็นแน่ ท่านเหล่านี้ จึงร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันตก

เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นขัตติยราช ได้มูรธาภิเษกแล้ว ย่อมสามารถจะให้ฆ่าคนที่ควรฆ่าได้ จะให้ริบคนที่ควรริบก็ได้ จะให้เนรเทศคนที่ควร

เนรเทศก็ได้. เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ก็ยังมีคนทั้งหลายพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ

หม่อมฉันจะห้ามว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ท่านทั้งหลายอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่าง จงรอคอยให้สุดถ้อยคำของเราเสียก่อน ดังนี้ ก็ไม่ได้ คนทั้งหลายก็ยังพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคไม่มีเสียงจามหรือไอเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น. เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง ได้เอาเข่ากะตุ้นเธอรูปนั้น ด้วยความประสงค์จะให้เธอรู้สึกตัวว่า ท่านจงเงียบเสียง อย่าได้ทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย

กำลังทรงแสดงธรรมอยู่. หม่อมฉันเกิดความคิดขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมา ได้ยินว่าบริษัทจักเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงฝึกดีแล้วอย่างนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เคยได้เห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้.

แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ำยีถ้อยคำอันเป็นข้าศึกได้ มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้.

กษัตริย์เหล่านั้น เหมือนดังเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้น. กษัตริย์เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถามอย่างนี้แล้ว

จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดม อันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม.

กษัตริย์เหล่านั้นได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้าน หรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.

กษัตริย์เหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนจักยกวาทะแก่พระองค์เล่า ที่แท้ ก็พากันยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค. ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิต ... สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ำยีถ้อยคำอันเป็นข้าศึกได้ มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้. สมณะเหล่านั้นเหมือนดังเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วย

ปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้น. สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมอันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม. สมณะเหล่านั้นได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้าน

หรือนิคมโน้นแล้ว. ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. สมณะเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถาม

ปัญหากะพระผู้มีพระภาค ที่ไหนจักยกวาทะแก่พระองค์เล่า ที่แท้ ย่อมขอโอกาสกะพระผู้มีพระภาค

เพื่อขอออกบวชเป็นบรรพชิต. พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้เขาเหล่านั้นบวช. ครั้นเขาเหล่านั้นได้บวช

อย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก

ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราทั้งหลายย่อมไม่พินาศละซิหนอ ด้วยว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็น

สมณะเลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็น

พระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้ พวกเราเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็น

พระอรหันต์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาค

ของหม่อมฉัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง ช่างไม้สองคน คนหนึ่งชื่ออิสิทันตะ

คนหนึ่งชื่อปุราณะ กินอยู่ของหม่อมฉัน ใช้ยวดยานของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพ

แก่เขา นำยศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น เขาจะได้ทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉันเหมือนใน

พระผู้มีพระภาคก็หาไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป

เมื่อจะทดลองช่างไม้อิสิทันตะ และช่างไม้ปุราณะนี้ดู จึงเข้าพักอยู่ในที่พักอันคับแคบแห่งหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะเหล่านี้ ยังกาลให้ล่วงไป

ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก ได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทิศใด เขาก็ผินศีรษะไป

ทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน. หม่อมฉันมีความคิดว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์นักหนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะเหล่านี้ กินอยู่

ของเรา ใช้ยวดยานก็ของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นำยศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น เขา

จะได้ทำความเคารพนบนอบในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่. ท่านเหล่านี้คงจะรู้คุณวิเศษ

ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้

ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคของหม่อมฉัน ...

พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคก็เป็นกษัตริย์ แม้

หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ แม้พระผู้มีพระภาคก็เป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล แม้

พระผู้มีพระภาคก็มีพระชนมายุ ๘๐ ปี แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วย

เหตุนี้แล หม่อมฉันจึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาค และแสดง

อาการเป็นฉันทมิตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉัน

มีกิจมาก มีกรณียะมาก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจงทรงทราบกาล

อันควรในบัดนี้เถิด. ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป.

ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาค

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัส ธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์

ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรมที่บุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจนายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น

   มนุษย์ทุกคนต่างแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ธรรมกาย คือ สิ่งที่ประเสริฐสุดสำหรับชีวิต ผู้ใดเข้าถึงธรรม ได้ชื่อว่าประสบความสุขและความสำเร็จในการเกิดมาเป็นมนุษย์ และไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใด ก็ล้วนสามารถเข้าถึงธรรมได้ เพราะมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีการเดียวเท่านั้น คือ การทำใจให้หยุดนิ่ง นั่นเอง

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   "หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรมที่บุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจนายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น

   หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อย ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ"

   หากบุคคลใดตั้งใจฟัง แล้วนำมาไตร่ตรองด้วยปัญญาและลงมือปฏิบัติตาม ย่อมทำให้บุคคลนั้นบรรลุธรรมของพระพุทธองค์ได้ เพราะทุกถ้อยคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ล้วนกลั่นออกมาจากพระธรรมกายที่บริสุทธิ์ ทุกถ้อยคำจึงออกมาจากแหล่งของความรู้อันบริสุทธิ์ หากเราตั้งใจฟังด้วยใจที่เป็นกลางๆ ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ย่อมจะเป็นเหตุให้บรรลุธรรมาภิสมัยได้อย่างอัศจรรย์

   ถ้าบุคคลใดร่ำเรียนแต่ภาคทฤษฎี แม้จะฟังมามาก ที่เรียกว่ามี สุตมยปัญญา มีปัญญาเกิดจากการฟัง หรือคิดไตร่ตรองด้วยปัญญาของมนุษย์ ที่เรียกว่า จินตมยปัญญา และมัวประมาทว่าเป็นผู้รู้มาก คิดว่าตนเป็นพหูสูต แล้วไม่ยอมลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้ง ย่อมไม่สามารถเห็นธรรมไปตามความเป็นจริงได้ สามัญญผล คือ ผลที่ได้รับจากการบำเพ็ญสมณธรรม ย่อมจะไม่บังเกิดขึ้นด้วย

   สำหรับผู้ที่ศึกษาด้านปริยัติ จนแตกฉานในคำสอนของพระพุทธองค์ ทั้งลงมือปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เช่นนี้ผู้รู้ทั้งหลายทรงสรรเสริญ เปรียบเสมือนเจ้าของโคที่ได้ดื่มปัญจโครส คือ ได้ดื่มรสแห่งธรรม ซึ่งผู้ที่ศึกษาปริยัติแล้ว นำมาปฏิบัติ จนเกิดปฏิเวธ คือ ได้รับผลแห่งการปฏิบัติสมควรแก่ธรรม พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า "บุคคลนั้นเป็น ธรรมทายาท" คือ ทายาทผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ในสมัยพุทธกาล มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี ๒คน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกันมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่ง เขาทั้งสองได้ชวนกันไปฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากฟังจบแล้ว ทั้งคู่เกิดความเลื่อมใส จึงชวนกันบวชอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชได้ ๕พรรษา จึงไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อทูลถามถึงธุระในพระพุทธศาสนา

   พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกธุระในพระพุทธศาสนาว่า มี ๒อย่าง คือ คันถธุระ หมายถึง การศึกษาพระพุทธพจน์ เช่น พระวินัยและพระสูตรต่างๆ อีกประการหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ เมื่อภิกษุทั้งสองรูปรับโอวาทจากพระบรมศาสดาแล้ว ต่างแยกย้ายกันไปปฏิบัติธุระตามความพอใจของตน

   ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า จะศึกษาพระพุทธพจน์ให้แตกฉาน จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนทางด้านคันถธุระ จนมีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก ได้เป็นอาจารย์สอนพระที่บวชใหม่ จนมีลูกศิษย์มากมาย

   ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งคิดว่า ตนเองบวชตอนที่มีอายุมาก จึงศึกษากิจทางวิปัสสนาธุระ โดยหลีกเร้น ออกแสวงหาที่วิเวกเพื่อปรารภความเพียร เป็นผู้ไม่ประมาทในการฝึกฝนอบรมจิตของตน ในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ บางครั้งมีภิกษุผู้ยังไม่หมดกิเลสมาหาท่าน ท่านได้แนะนำวิธีการปฏิบัติธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเหล่าภิกษุปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน ต่างได้บรรลุเป็นพระอรหันต์กันมากมาย

   เมื่อลูกศิษย์ของพระอรหันต์ จะเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้สั่งลูกศิษย์ให้แวะเยี่ยมนมัสการเพื่อนภิกษุของท่าน ซึ่งสอนธรรมะอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา ลูกศิษย์ของท่านพากันทำตามที่พระอาจารย์สั่ง ครั้นมีลูกศิษย์ของพระอรหันต์แวะมาเยี่ยมนมัสการมากขึ้น ภิกษุรูปนั้นเกิดความสงสัยขึ้นว่า "เพื่อนของเราเข้าไปอยู่ในป่า ไม่ได้เรียนรู้พระไตรปิฎกเลย แต่ทำไมมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเช่นนี้ ถ้ามีโอกาสเราจะต้องลองซักถามปัญหาธรรมะ ดูว่ามีภูมิธรรมอะไรบ้าง"

   ต่อมา พระอรหันตเถระได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนภิกษุจึงคิดจะถามปัญหาเพื่อเบียดเบียนพระเถระ พระบรมศาสดารู้วาระจิตของภิกษุนั้น ทรงดำริว่า "ภิกษุผู้เป็นสมมติสงฆ์ไม่รู้คุณแห่งพระอรหันต์ กำลังจะเบียดเบียนด้วยความคิดอกุศล ถ้าเราไม่ให้สติแก่เธอ เธอก็จะเข้าถึงซึ่งนรก" พระพุทธองค์จึงเสด็จไปในที่นั้น ตรัสถามถึงผลการปฏิบัติธรรมของภิกษุทั้งสองรูป ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป จนถึงคุณธรรมเบื้องสูง คือ การบรรลุอรหัตผล

   ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ แม้เหล่าเทพยดา ตั้งแต่ภุมมเทวา รุกขเทวา อากาสเทวา ชาวสวรรค์ทุกชั้น ไปจนถึงพรหมโลก ต่างให้สาธุการดังกึกก้องไปทั่ว

   เหล่าลูกศิษย์ของพระภิกษุผู้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ต่างพากันโพนทะนาว่า พระพุทธเจ้าสรรเสริญผู้ที่ไม่ควรสรรเสริญ ส่วนอาจารย์ของตนเป็นผู้รู้ธรรมะมากกว่าสอนธรรมะ จนกระทั่งมีลูกศิษย์มากมาย กลับไม่ได้รับการสรรเสริญ

   พระพุทธองค์ตรัสเตือนภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เป็นเช่นบุคคลผู้เลี้ยงโคของผู้อื่น เพื่อให้ได้ค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนบุตรของเรา เป็นเช่นเจ้าของโค ผู้บริโภคปัญจโครสได้ตามความชอบใจ" ได้ตรัสพระคาถาว่า...

   "หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์ ที่มีประโยชน์เกื้อกูลแม้เล็กน้อย แต่เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาละราคะ โทสะและโมหะได้แล้ว เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดมั่นในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญญผล"

   การที่บุคคลรู้ธรรมมาก แต่ไม่ยอมประพฤติธรรม ย่อมไม่ได้รับผลแห่งการปฏิบัติธรรม ส่วนบุคคลผู้รู้ธรรมแม้เพียงเล็กน้อย แต่ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง ย่อมจะได้รับผลของการปฏิบัตินั้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ถือว่าเป็นการช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีกด้วย

   ธรรมะทุกบทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากผู้ศึกษาตั้งใจนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ย่อมสามารถบรรลุธรรมได้ทั้งสิ้น เพราะธรรมะของพระพุทธองค์เป็นธรรมะเพื่อความดับทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง เราเรียนธรรมะเพื่อต้องการดับทุกข์ ดับกิเลสที่มีอยู่ในใจ ไม่ใช่เรียนไว้เพื่อโอ้อวดยกตนข่มท่าน หรือหวังจะให้คนอื่นชื่นชมว่าเราเป็นผู้รู้มาก การเรียนธรรมะไม่ได้มีวัตถุประสงค์เช่นนั้น เราเรียนเพื่อให้พ้นทุกข์ เพื่อให้เกิดความเห็นชอบ

   ความเห็นชอบหรือความเห็นถูก คือ ต้องเห็นที่ตรงกลางที่เดียว ถ้าไม่ถูกกลางก็ยังไม่ถูกต้อง ถ้าถูกกลางก็จะเห็นธรรม ที่เห็นได้เพราะหยุด เมื่อหยุดก็สว่าง เมื่อสว่างจึงเห็น ดังนั้น ถ้าจะให้ความเห็นถูกต้องสมบูรณ์ ต้องนำใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย เมื่อหยุดถูกส่วนย่อมเห็นธรรมกาย ถ้าเห็นถูกตรงนี้ได้ ก็จะถูกไปตลอด ตั้งแต่ต้นจนเป็นพระอรหันต์

   พวกเราจงอย่าปล่อยให้วันเวลาที่มีค่า ผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์ หรือสูญเสียไปกับเรื่องไร้สาระ ชีวิตของมนุษย์นั้นสั้นนัก เราควรจะใช้เวลาที่มีอยู่แสวงหาธรรมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดในชีวิต ขณะนี้เราเป็นเจ้าของเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ควรจะใช้เวลาทุกอนุวินาทีให้เป็นไปเพื่อการสร้างบารมี เพื่อฝึกใจให้หยุดนิ่งให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้

   การทำใจให้หยุดนิ่ง เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต เป็นงานทางใจเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ซึ่งเป็นงานหลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ดังนั้น พวกเราต้องตั้งใจฝึกใจให้หยุดนิ่งกันทุกวันอย่างสม่ำเสมอ