ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิปรัชญา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
5.ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นสาเหตุ
5.ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นสาเหตุ


6.ปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์
6.ปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์<br />

7.ปัญหาเกี่ยวกับพระเจ้า
<br />


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:25, 19 มิถุนายน 2563

อภิปรัชญา (อังกฤษ: Metaphysics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษาเกี่ยวกับรากฐานของความเป็นจริง ประเด็นถกเถียงในอภิปรัชญาจะประกอบไปด้วยคำถามสำคัญ เช่น อะไรเป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดของความเป็นจริง จิตกับวัตถุกายภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เจตจำนงเสรีมีอยู่จริงหรือไม่ ธรรมชาติของเวลาคืออะไร ความเป็นสาเหตุมีอยู่จริงหรือไม่ อะไรที่ทำให้ตัวเราเป็นตัวเรา


อภิธานศัพท์

คำว่า อภิปรัชญา เป็นคำที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้น[1] เมื่อพิจารณาตามรูปศัพท์ อภิปรัชญามาจากคำว่า “อภิ” หมายถึง ความยิ่งใหญ่ สูงสุด เหนือสุด และ ”ปรัชญา“หมายถึง ความรู้อันประเสริฐ. เมื่อรวมเข้าด้วยกัน “อภิปรัชญา” จึงหมายถึง ความรู้อันประเสริฐ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป หรือความรู้ที่อยู่นอกเหนือการรู้เห็นใด ๆ แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

คำว่า Metaphysics มาจากภาษากรีก มีความหมายตรงตัวว่า หลังจาก [การศึกษา] สิ่งธรรมชาติ คำดังกล่าวที่มาจากหนังสือของอริสโตเติล ซึ่งงานเขียนชิ้นต่างๆ ของเขาถูกรวมรวบเข้าเป็นเล่ม โดยมีงานเขียนชื่อ Metaphysics เป็นเล่มหลังจาก Physics ที่อริสโตเติลได้ศึกษาเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ


ปัญหาของ อภิปรัชญา

1.ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของโลก

2.ปัญหาเกี่ยวกับจิต

3.ปัญหาเกี่ยวกับเจตจำนงเสรี

4.ปัญหาเกี่ยวกับเวลา

5.ปัญหาเกี่ยวกับความเป็นสาเหตุ

6.ปัญหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์

อ้างอิง

  1. อดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2

ดูเพิ่ม