ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนหอวัง"

พิกัด: 13°49′04″N 100°33′45″E / 13.817679°N 100.562535°E / 13.817679; 100.562535
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mygeneyati (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Mygeneyati (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| location = 16/9 ซอยวิภาวดี 28 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| location = 16/9 ซอยวิภาวดี 28 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร [[เขตจตุจักร]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| coordinates = {{Coord|13.818378|100.560910}}
| coordinates = {{Coord|13.818378|100.560910}}
| address =
| address = 13.818378
| latitude =
| latitude = 100.560910
| longitude =
| longitude =
| abbr = ห.ว. (HW)
| abbr = ห.ว. (HW)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:59, 18 มิถุนายน 2563

โรงเรียนหอวัง
Horwang School
ไฟล์:Horwang.gif
ที่ตั้ง
แผนที่
13.818378

16/9 ซอยวิภาวดี 28 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°49′06″N 100°33′39″E / 13.818378°N 100.560910°E / 13.818378; 100.560910
ข้อมูล
ชื่ออื่นห.ว. (HW)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ (ผู้ฟังดีย่อมเกิดปัญญา)
สถาปนา9 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี 98 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1010230001
ผู้อำนวยการนายธรรมรงค์ เสนจันทร์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1- ม.6
สี
เพลงมาร์ชหอวัง
อุดมการณ์ของโรงเรียนลูกหอวัง เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครู เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
เว็บไซต์www.horwang.ac.th/
โรงเรียนหอวังตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนหอวัง
โรงเรียนหอวัง
โรงเรียนหอวัง (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนหอวัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.6) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติการก่อกำเนิดโรงเรียนเกี่ยวเนื่องกับ "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"

ประวัติ

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าและตั้งมกุฎราชกุมารขึ้นมาแทน และทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาแห่งหนึ่ง ณ ทุ่งปทุมวัน ชื่อว่า "วังวินด์เซอร์" หรือเรียกกันโดยสามัญว่า "พระตำหนักหอวัง" เนื่องจากเป็นตึกมีหอสูง

หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ประชวรจนเสด็จทิวงคต ก็มิได้ใช้พระตำหนักหอวัง​ในการประทับ หากแต่ใช้เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459

โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ภายหลังการก่อตั้ง แผนกฝึกหัดครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2472 เพื่อให้นิสิตแผนกฝึกหัดครู ใช้ฝึกความชำนาญในการสอน และได้ใช้อาคารวังวินด์เซอร์ เป็นอาคารเรียน เรียกว่า ตึกหอวัง[1]

เมื่อ พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษาได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวังใหม่จากมหาวิทยาลัย และรื้อตึกหอวัง เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย้ายไปอยู่ที่อาคารเรียนสร้างใหม่ ริมถนนพญาไท จนถึง พ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยุบโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ลง และจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติในระยะนั้น

เมื่อ พ.ศ. 2509 ศิษย์เก่าจากโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันก่อตั้ง สมาคมนักเรียนเก่ามัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้น และมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมว่า ควรฟื้นฟูโรงเรียนขึ้นมาอีก ให้เป็นที่ชุมนุมของนักเรียนเก่า และได้พิจารณาสถานที่ตั้งของ โรงเรียนบางเขนวิทยา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศเรื่อง เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนบางเขนวิทยา" เป็น "โรงเรียนหอวัง" ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2511 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โรงเรียนหอวังผ่านการประเมินรอบที่ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาให้เป็น 1 ใน 8 โรงเรียนคุณภาพระดับพิเศษของกรุงเทพมหานครและ 1 ใน 16 โรงเรียนคุณภาพพิเศษของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554

รายนามผู้บริหาร

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายดุสิต พูนพอน พ.ศ. 2509-พ.ศ. 2521
2. นายเจริญ วงศ์พันธ์ พ.ศ. 2521-พ.ศ. 2523
3. นางลออศรี ชุมวรชาติ พ.ศ. 2523-พ.ศ. 2532
4. นายสมพงศ์ ธรรมอุปกรณ์ พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2540
5. นายณรงค์ รักเดช พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2542
6. นายมนตรี แสนวิเศษ พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2545
7. นางพิศวาส ยุติธรรมดำรง ผลงาน(VDO) พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2549
8. นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2550
9. นายปลองยุทธ อินทพันธุ์ พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2554
10. ดร.พชรพงศ์ ตรีเทพา พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2555
11. ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ พ.ศ. 2555-พ.ศ. 2556
12. ดร.สวัสดิ์ เพชรบูรณ์ พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561
13. ดร.เลิศศิลป์ รัตนมุสิก พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2562
14. นายธรรมรงค์ เสนจันทร์ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน

อาคารและสถานที่

  • อาคาร 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นห้องเรียนและโต๊ะเรียนเป็นไม้สักทั้งหมด ปัจจุบันถูกรื้อถอนเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สร้างอาคารวชิรุณหิศหรืออาคาร 10
  • อาคาร 2 เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นห้องเรียนและโต๊ะเรียนเป็นไม้สักทั้งหมด ลักษณะเป็นอาคารแฝดกับอาคาร 1 ที่ชั้น 2 เคยมีภาพเขียนฝาผนัง ซึ่งเลือนลางมาก ปัจจุบันถูกรื้อถอนเพื่อนำพื้นที่ไปใช้สร้างอาคารวชิรุณหิศ
  • อาคาร 3 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีห้องที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ห้องพักครูภาษาจีน ศูนย์บูรณาการทางภาษา ศูนย์วัฒนธรรมไทย ห้องปฏิบัติการด้านเสียง (sound lab) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • อาคาร 4 เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ 4 ชั้นติดเครื่องปรับอากาศทุกห้องเรียนสำหรับเรียนปฏิบัติทางวิชาวิทยาศาสตร์นอกจากนี้ยังเป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีห้องที่สำคัญมากมายได้แก่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ศูนย์ชีววิทยา ห้องแนะแนว ห้องสหกรณ์
  • อาคาร 5 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีห้องที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ห้องเกียรติยศ ห้องเรียนสีเขียว ห้องกลุ่มบริหารงานทั่วไป ห้องพยาบาล สำนักผู้อำนวยการ ห้องการเงินพัสดุ ห้องทะเบียนวัดผล กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานทั่วไปห้อง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ห้องรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ห้องจริยธรรม ห้องประชุมเล็ก ห้องอาเซียน ห้องคลินิกวิจัยให้คำปรึกษาครู ห้องแผนงานโรงเรียน ห้องธนาคารโรงเรียน
  • อาคาร 6 เป็นอาคาร 4 ชั้นเป็นอาคารที่เกี่ยวกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและการงานพื้นฐานอาชีพ มีโรงฝึกช่าง ห้องหล่อเรซิน ห้องศิลปะไทย ห้องนาฏศิลป์ ห้องขับร้องดนตรีสากล
  • อาคาร 9 เป็นอาคาร 4 ชั้นติดเครื่องปรับอากาศครบทุกห้อง เป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนี้ยังมีห้องอื่น ๆ อีกได้แก่ ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องสมุดคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมนักเรียน (ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ห้องพลศึกษาและลีลาศ
  • อาคาร 10 (อาคารวชิรุณหิศ) เป็นอาคาร 8 ชั้นชื่อของอาคารเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, 3 และ 4 นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศที่ใหญ่ที่สุดและยังมีห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์อินเทอร์เน็ต ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องนวัตกรรม (เมื่อพ.ศ. 2556 มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลและบุกยึดสถานที่ราชการ กระทรวงศึกษาธิการจึงย้ายมาทำงานที่ห้องนี้ชั่วคราว) ห้องประชุมวชิรุณหิศ (ห้องมุข) ห้องพักครู โดยมีลิฟต์โดยสาร 2 ตัว
  • ศูนย์อาหาร เป็นศูนย์อาหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยเป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2551 งบประมาณก่อสร้างกว่า 45 ล้านบาทมีลิฟต์ขนส่ง 2 ตัว ชั้นที่ 1 เป็นลานสำหรับเล่นกีฬาเทเบิ้ลเทนนิส พักผ่อนและลานจอดรถ ชั้นที่ 2 เป็นศูนย์อาหารมีร้านจำหน่ายอาหารมากกว่า 30 ร้านค้า มีห้องรับประทานอาหารครูและบุคลากรทางการศึกษาติดเครื่องปรับอากาศ ชั้นที่ 3 เป็นโรงกีฬามีสนามกีฬาบาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล เทนนิส นอกจากนี้ยังเป็นสนามเทนนิสในร่มที่เดียวในประเทศไทยอีกด้วย
  • หอประชุม เป็นอาคาร 2 ชั้นโดยเป็นอาคารปรับอากาศทั้งหลัง ชั้นที่ 1 มีห้องวงโยทวาธิตโรงเรียนหอวัง ห้องเรียนการงาน ห้องครัวสำหรับเรียนทำอาหาร หอประชุมโรงเรียนได้มีการจัดงานที่สำคัญหลายงานเช่น งานวันภาษาไทยแห่งชาติโดย นาย สมัคร สุนทรเวช ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีและนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ยังได้ใช้หอประชุมโรงเรียนจัดงานโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพโดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงานดังกล่าว ด้านหน้าอาคารหอประชุมมีต้นไม้ทรงปลูกใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
  • อาคารที่พักนักการ เป็นลักษณะแฟลต 4 ชั้น ด้านล่างสุดเป็นห้องเรียนเกษตร และร้านโฮมเมด
  • เรือนเพาะชำ เป็นของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเพื่อปลูกต้นไม้เพาะพันธุ์
  • สวนสมุนไพร เป็นสวนที่มีสมุนไพรไทยและป้ายบรรยายสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด
  • สวนไม้ในวรรณคดี เป็นสวนที่มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยแต่ละเรื่อง
  • สวนไม้มงคล เป็นสวนไม้มงคลของประเทศไทย อาทิ กฤษณา มะยม เป็นต้น
  • สวนจตุรทัศวรรษ เป็นสวนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ติดกับประตูโรงเรียนฝั่งพหลโยธิน มีศาลาประชุมทรงไทยตั้งอยู่กลางสวน
  • สวนน้ำตก ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์อาหารโรงเรียนกับอาคาร 5 เดิมเป็นสะพานข้ามบ่อน้ำพุต่อมาได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นสวนน้ำตกมีความร่มรื่นมาก

การเดินทางมายังโรงเรียนหอวัง

รายนามศิษย์เก่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและผู้มีชื่อเสียง

สถานที่ใกล้เคียง

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°49′04″N 100°33′45″E / 13.817679°N 100.562535°E / 13.817679; 100.562535