ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 93: บรรทัด 93:
| {{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}<br/>(พหลโยธิน)<br><small>(รถไฟรางหนัก)</small>
| {{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}<br/>(พหลโยธิน)<br><small>(รถไฟรางหนัก)</small>
| 2563
| 2563
| [[สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]<br>{{เล็ก|([[เขตจตุจักร|จตุจักร]])}}
| [[สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ]]<br>{{เล็ก|([[เขตบางเขน|บางเขน]])}}
| [[สถานีคูคต]]<br>{{เล็ก|([[อ.ลำลูกกา]])}}
| [[สถานีคูคต]]<br>{{เล็ก|([[อ.ลำลูกกา]])}}
| {{convert|14|km|mi|abbr=on}}
| {{convert|12.5|km|mi|abbr=on}}
| 11
| 7
|- style="background:#606060; height:2pt"
|- style="background:#606060; height:2pt"
|-
|-
บรรทัด 128: บรรทัด 128:
=== รถไฟฟ้าสายสีเขียว ===
=== รถไฟฟ้าสายสีเขียว ===
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}
{{บทความหลัก|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}
ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน [[จ.สมุทรปราการ]] ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเฉพาะสถานีแรก (ห้าแยกลาดพร้าว) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน [[จ.สมุทรปราการ]] ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563


อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู
อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 13 มิถุนายน 2563

รถไฟฟ้ามหานคร
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ประเภทรถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดิน
จำนวนสายเปิดให้บริการ 2
กำลังก่อสร้าง 4
โครงการ 1
จำนวนสถานี53
ผู้โดยสารต่อวัน287,000[1]
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
จำนวนขบวนซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร (EMU-IBL)
จำนวน 57 ตู้  : ขบวนละ 3 ตู้
ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE)
จำนวน 105 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้
เจเทรค ซัสติน่า (S24-EMU)
จำนวน 63 ตู้  : ขบวนละ 3 ตู้
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง70.6 km (43.9 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม
ความเร็วสูงสุด80 km/h (50 mph)

รถไฟฟ้ามหานคร (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit; MRT) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)

โครงการรถไฟฟ้ามหานครที่ดำเนินงานในปัจจุบัน

เส้นทาง เปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2547 สถานีท่าพระ
(บางกอกใหญ่)
สถานีหลักสอง
(บางแค)
47 km (29 mi) 38[ก]
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2559 สถานีคลองบางไผ่
(อ.บางบัวทอง)
สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
23.6 km (14.7 mi) 16
รวม 70.6 km (43.9 mi) 53[ก]
หมายเหตุ
  • นับสถานีเชื่อมต่อ (เตาปูน/ท่าพระ) เป็นสถานีเดียว

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนที่มีเส้นทางทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 55 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการที่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นสถานียกระดับในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีบางหว้า ก่อนจะมาเจอกับสถานีท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใหญ่รวมเส้นทางของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าด้วยกัน หลังจากผ่านสถานีท่าพระ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีอิสรภาพ ก่อนจะวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึกกว่า 25 เมตร เพื่อเข้าสู่ฝั่งพระนคร รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีสามยอด และเข้าสู่สถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนด้วย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส อีกครั้งที่สถานีสีลม และสถานีสุขุมวิท ก่อนจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีเพชรบุรี รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท อีกครั้งที่สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ก่อนเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง หลังออกจากสถานีบางซื่อ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนเหนือที่สถานีเตาปูน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีอีกครั้งที่สถานีบางโพ เลี้ยวเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ไปทางทิศใต้ จากนั้นยกระดับข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ที่ความสูง 24 เมตร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน และรวมเส้นทางกับสายสีส้มอีกครั้งที่สถานีบางขุนนนท์ ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางของทั้งโครงการที่สถานีท่าพระ จากนั้นรถไฟฟ้าจะตีรถกลับและวิ่งเส้นทางเดิม

จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนแม่บทนั้น คือเป็นเส้นทางสำหรับใช้เดินทางระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเมื่อเปิดให้บริการทั้งโครงการ จะมีสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในแผนแม่บท โดยปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการในเส้นทางท่าพระ-เตาปูน โดยเป็นเส้นทางยกระดับบริเวณสถานีท่าพระ จากนนั้นเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินในช่วงอิสรภาพ-บางซื่อ และเปลี่ยนเป็นเส้นทางยกระดับอีกครั้งที่สถานีเตาปูน ให้บริการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจนถึงสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 ตามลำดับ โดยโครงการฯ ได้เปิดให้บริการในช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562 และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อีกทั้งยังมีแผนขยายเส้นทางไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ในอนาคตอีกด้วย

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีเส้นทางในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศใต้ของกรุงเทพฯ มีโครงสร้างทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 43 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการจากชานเมืองที่ สถานีคลองบางไผ่ บนถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จากนั้นตีโค้งเข้าถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระนั่งเกล้า 3 ที่สถานีไทรม้า-สะพานพระนั่งเกล้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีบางซ่อน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีเตาปูน จากนั้นเส้นทางของส่วนต่อขยายส่วนใต้จะลดระดับเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีรัฐสภา ใกล้กับรัฐสภาแห่งใหม่ เส้นทางจะเข้าสู่เขตกรุงเก่า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีสามเสน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มส่วนตะวันตกที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนใต้อีกครั้งที่สถานีสามยอด ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในแนวขนานกับสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ฝั่งธนบุรีที่สถานีสะพานพุทธ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีครุใน บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก

จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมตามแผนแม่บทคือ เป็นเส้นทางสำหรับใช้เชื่อมต่อระหว่าง จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้เข้าสู่เขตใจกลางเมืองในกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันสายฉลองรัชธรรมเปิดให้บริการในเส้นทางคลองบางไผ่-เตาปูน โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการประมูลเพื่อก่อสร้างส่วนต่อขยายส่วนใต้ภายในปี พ.ศ. 2561

โครงการรถไฟฟ้ามหานครที่กำลังก่อสร้าง

เส้นทาง กำหนดเปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines
(พหลโยธิน)
(รถไฟรางหนัก)
2563 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
(บางเขน)
สถานีคูคต
(อ.ลำลูกกา)
≈12.5 km (7.8 mi) 7
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
(อ.เมืองนนทบุรี)
สถานีมีนบุรี
(มีนบุรี)
34.5 km (21.4 mi) 30
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2564 สถานีลาดพร้าว
(จตุจักร)
สถานีสำโรง
(อ.เมืองสมุทรปราการ)
30 km (19 mi) 23
bgcolor=แม่แบบ:BTS color | แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2570 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
(ห้วยขวาง)
สถานีแยกร่มเกล้า
(มีนบุรี)
23 km (14 mi) 17

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ประกอบไปด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ (ย่านบางปิ้ง) ตามแนวถนนสุขุมวิทใน จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 17 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 18 กิโลเมตร ทั้งหมดเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับผิดชอบโครงการนี้แทนกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเส้นทางในหลายจุดเหลื่อมล้ำไปยังเขตปริมณฑลซึ่งอยู่นอกเหนือพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน โครงการช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และโครงการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2562 และกรุงเทพมหานครได้เปิดใช้งานถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563

อย่างไรก็ตาม โครงการยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเรื่องการชำระหนี้สินและการดำเนินการในอนาคต ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งคณะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและระบบรถไฟฟ้าตำแหน่งละ 1 คน เพื่อดำเนินการเจรจาในรายละเอียดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์จากค่าโดยสาร และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยผลการเจรจาเบื้องต้นเป็นการขยายสัมปทานโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 40 ปี โดยผู้รับสัมปทานจะต้องรับภาระค่าก่อสร้างทั้งหมดของโครงการแทน และกรุงเทพมหานครจะใช้คืนให้เป็นรายปี เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงแคราย-มีนบุรี ยกระดับบนถนนติวานนท์, แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี รวมทั้งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่จะรองรับประชาชนที่จะมาติดต่อกับหน่วยงานราชการภายใน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ บนถนนแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวช่วงลาดพร้าว- สำโรง ตามแนวถนนลาดพร้าว และศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ, ทางแยกสวนหลวง, ทางแยกศรีอุดม, ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา จากนั้นจะเลี้ยวไปตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณสถานีสำโรง โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทางรวมประมาณ 30.4 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในแนวเส้นทางทิศตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานครจากเขตมีนบุรี บริเวณแยกถนนสุวินทวงศ์เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่าน บางกะปิ, ห้วยขวาง, ดินแดง, ราชปรารภ, ประตูน้ำ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์ เส้นทางเกือบทั้งหมดเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2563 และสามารถเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2568[2]

โครงการรถไฟฟ้ามหานครในอนาคต

เส้นทาง กำหนดเปิดให้บริการ สถานีปลายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) จำนวนสถานี
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2565 สถานีหลักสอง
(บางแค)
สถานีพุทธมณฑล สาย 4
(อ.กระทุ่มแบน)
8 km (5.0 mi) 5
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟฟ้ารางเดี่ยว)
2568 สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
(อ.เมืองนนทบุรี)
สถานีสัมมากร
(บางกะปิ)
21 km (13 mi) 22
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2570 สถานีบางขุนนนท์
(บางกอกน้อย)
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
(ห้วยขวาง)
13 km (8.1 mi) 13
แม่แบบ:BTS Lines
(รถไฟรางหนัก)
2570 สถานีเตาปูน
(บางซื่อ)
สถานีครุใน
(อ.พระประแดง)
20 km (12 mi) 16

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแคราย-เกษตร-รามคำแหง ยกระดับบนถนนติวานนท์, งามวงศ์วาน, ประเสริฐมนูกิจ และนวมินทร์ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตมีนบุรี

สถิติผู้ใช้บริการ ทุกเส้นทาง

ปี รวม รายวัน
2011 69,024,000 189,083
2012 80,575,000 220,167
2013 86,427,000 236,833
2014 92,403,000 253,417
2015 95,044,000 260,500
2016 100,106,000 273,583
2017 34,422,000 287,000

แผนที่

แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้ามหานครในอนาคต

ดูเพิ่ม

สมุดภาพ

อ้างอิง