ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวิตเตอร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
จุดเริ่มต้นของจำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงาน''เซาธ์บายเซาธ์เวสต์'' หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 20,000 ทวีตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน<ref>{{cite web|url=http://gawker.com/tech/next-big-thing/twitter-blows-up-at-sxsw-conference-243634.php |title=Twitter Blows Up at SXSW Conference |last=Douglas |first=Nick |date=March 12, 2007 |work=[[Gawker]] |accessdate=February 21, 2011}}</ref> ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า "งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิตเตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชัน"
จุดเริ่มต้นของจำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงาน''เซาธ์บายเซาธ์เวสต์'' หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 20,000 ทวีตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน<ref>{{cite web|url=http://gawker.com/tech/next-big-thing/twitter-blows-up-at-sxsw-conference-243634.php |title=Twitter Blows Up at SXSW Conference |last=Douglas |first=Nick |date=March 12, 2007 |work=[[Gawker]] |accessdate=February 21, 2011}}</ref> ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า "งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิตเตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชัน"
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[Sina Weibo]]
* [[Sina Weibo]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:58, 12 มิถุนายน 2563

ทวิตเตอร์ () เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต () ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้อง

ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 โดย แจ็ก ดอร์ซี, บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัทอ็อบวีโออุส และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยมีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเข้าใช้มากกว่า 500 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 รวมไปถึงมีทวีตมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน และมีการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์มากกว่า 1,600 ล้านครั้งต่อวัน นับตั้งแต่วันเปิดตัว ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ 1 ใน 10 อันดับที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุด โดยได้รับการขนานนามว่าเป็นเว็บไซต์สำหรับการส่งบริการข้อความสั้น บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในภายหลัง นอกจากที่จะสามารถทวีตบนเว็บไซต์แล้ว ได้มีการเปิดให้ใช้งานการส่งทวีต ด้วยการส่งบริการข้อความสั้น (SMS) และบนโปรแกรมประยุกต์ ในโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ตโฟน

ตัวระบบซอฟต์แวร์ของทวิตเตอร์ เดิมพัฒนาด้วย รูบีออนเรลส์ จนเมื่อราวสิ้นปี ค.ศ. 2008 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา Scala บนแพลตฟอร์มจาวา

ค.ศ. 2009 ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างมาก จนนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. 0010 ได้นำเอาทวิตเตอร์ขึ้นปก เป็นเรื่องเด่นประจำฉบับ และบทบรรณาธิการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ที่มีที่มาจากเทคโนโลยีใหม่อย่างทวิตเตอร์

ประวัติ

การคิดค้นและยุคเริ่มต้น

ทวิตเตอร์มีต้นกำเนิดจากการระดมความคิด ที่ถูกจัดขึ้นโดยบริษัทโอดีโอ ซึ่งเป็นบริษัทพอดแคสติง โดยดอร์ซี เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้แนะนำความคิดการส่งบริการข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) พูดคุยและสนทนากันภายในกลุ่มเล็ก ๆ ช่วงแรกโค้ดเนมของบริการนี้มีชื่อว่า twttr ซึ่งวิลเลียมส์ได้แนะนำให้กับโนอาห์ กลาส โดยชื่อในรูปแบบนี้มีแรงบันดาลใจมากจากฟลิคเกอร์ (Flickr) และมีเพียง 5 ตัวอักษรคล้ายกับการส่งข้อความสั้นแบบชื่อย่อของชาวอเมริกัน ในช่วงแรกนั้น นักพัฒนาได้กำหนดหมายเลข "10958" เป็นรหัส แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "40404" เพื่อความสะดวกในการใช้งานการทำงานของโครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 เมื่อดอร์ซี ได้ทำการส่งทวีตแรกเมื่อเวลา 21:50 น. ตามเวลาท้องถิ่น ด้วยคำว่า "just setting up my twttr"

"...เราได้คำว่า 'ทวิตเตอร์' และมันสุดยอด มันคือการส่งข้อมูลด้วยข้อความสั้น เหมือนกับส่งด้วยนก ซึ่งบ่งบอกถึงว่าผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร" – แจ็ก ดอร์ซี


ต้นแบบของทวิตเตอร์ถูกนำมาใช้สำหรับพนักงานในบริษัทโอดีโอ และได้เผยแพร่ต่อสาธารณะในรุ่นสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 บิซ สโตน, อีวานส์ วิลเลียมส์, แจ็ก ดอร์ซี และพนักงานของบริษัทโอดีโอ ได้ถูกโอนหุ้นทั้งหมดมาที่อ็อปวีโออุส รวมถึงเว็บไซต์ โอดีโอ.คอม และทวิตเตอร์.คอม ด้วย วิลเลียมส์ได้ถูกไล่ออก ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งกับทวิตเตอร์จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2554 และทวิตเตอร์ได้แยกออกมาตั้งเป็นบริษัทของตนเองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550

จุดเริ่มต้นของจำนวนการใช้งานทวิตเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คือในงานเซาธ์บายเซาธ์เวสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ SXSW ซึ่งจัดขึ้นในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยระหว่างงาน การใช้งานทวิตเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจาก 20,000 ทวีตต่อวัน เป็น 60,000 ทวีตต่อวัน[1] ซึ่งมีส่วนเพราะการวางจอพลาสมาขนาด 60 นิ้วจำนวน 2 จอในทางเดินระหว่างงาน และจอจะแสดงทวีตที่ผู้ใช้งานทวีตเข้าสู่ระบบ โดยสตีเวน เลวี นักข่าวจากนิตยสารนิวส์วีก ได้กล่าวว่า "งานประชุมนับร้อยงาน ที่จะใช้ระบบทวิตเตอร์นี้ โดยที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วผ่านการเมนชัน"

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. Douglas, Nick (March 12, 2007). "Twitter Blows Up at SXSW Conference". Gawker. สืบค้นเมื่อ February 21, 2011.