ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สฤษดิ์ ธนะรัชต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== เรื่องอื้อฉาวภายในครอบครัว ==
{{ต้องการอ้างอิง-ส่วน}}
[[ไฟล์:Bangkoktimes2.jpg|thumb|200px|[[หนังสือพิมพ์]]บางกอกไทม์ ฉบับวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2507]] ลงข่าวหลังการอสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์]]
[[ไฟล์:วิจิตรา ธนะรัชต์.jpg|thumb|left|จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[นายกรัฐมนตรีไทย]]และท่านผู้หญิง[[วิจิตรา ธนะรัชต์]]]]
หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ [[14 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2507]] บุตรทั้ง 7 คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้อง[[วิจิตรา ธนะรัชต์|ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์]] ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท

เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาวมาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทย การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้ จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความมั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์

ได้มีการเปิดพินัยกรรมของจอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญๆ ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลงวันที่ [[19 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2502]] หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่[[วิจิตรา ธนะรัชต์|ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์]]แต่เพียงผู้เดียว โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือ[[เศรษฐา ธนะรัชต์|พันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์]]และ[[สมชาย ธนะรัชต์|ร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์]] คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวนเท่า ๆ กัน

โจทก์ร้องเรียนว่าจอมพลสฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งถูก[[วิจิตรา ธนะรัชต์|ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์]] ทำลายไปแล้วหลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1 บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่าได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกันอสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงวิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น

ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจากศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 17 แห่ง[[ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502]] ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด หลังจากที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้ว รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ [[26 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2507]] จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์

จากรายงานของคณะกรรมการคณะนี้ ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ เงินงบประมาณ 394 ล้านบาทที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี เงิน 240 ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100 ล้านบาทซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบกซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง

ในระหว่างการสอบสวน อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่างๆ ถึง 45 แห่ง การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า หุ้นส่วนเหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่

ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดีวิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตราและพันโทเศรษฐาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน และให้ตกลงกันเองต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว

== บทบาททางสังคม ==
== บทบาททางสังคม ==
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วง [[พ.ศ. 2500]] อาทิ เช่น การนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้และนำความเจริญกระจายสู่ชนบท
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วง [[พ.ศ. 2500]] อาทิ เช่น การนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้และนำความเจริญกระจายสู่ชนบท

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:53, 6 มิถุนายน 2563

บทบาททางสังคม

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมากในช่วง พ.ศ. 2500 อาทิ เช่น การนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้และนำความเจริญกระจายสู่ชนบท

รถตุ๊กๆ

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ประกาศห้ามใช้รถสามล้อวิ่งในถนนสายต่างๆ โดยการยกเลิกการจดทะเบียนจักรยานสามล้อและจักรยานสามล้อส่วนบุคคลที่ใช้ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ปัญหาทางสังคมอันเนื่องมาจากการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพนี้ และปัญหาความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยได้นำรถบรรทุกสามล้อยี่ห้อไดฮัทสุที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมาดัดแปลงใช้แทนและได้ทดลองใช้เป็นครั้งแรกในย่านเยาวราช

การฝึกบุคคลท่ามือเปล่า

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้นำหลักการฝึกบุคคลท่ามือเปล่า (Without Weapon) จากการฝึกของกองทัพสหรัฐมาใช้ในกองทัพไทยเป็นครั้งแรก อันได้แก่ ท่าตรง, ตามระเบียบ พัก และต่อมาได้นำมาใช้ในองต์กรต่างๆอาทิ โรงเรียน องค์กรต่างๆ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและฝึกความมีวินัยตามโนบายในขณะนั้น

ดูเพิ่ม

เกียรติยศและรางวัลที่ได้รับ

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชทานยศ "นายกองใหญ่" ในฐานะนายกรัฐมนตรีและมีฐานะเป็นประธานกรรมการและผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2503[1][2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับพระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศเป็นอันมาก[14]

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  2. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ เล่ม 78 ตอน 88 ง พิเศษ หน้า 16 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504
  3. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ หน้า ๓๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๔๐๐ เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๗๙ ตอน ๖๙ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หน้า ๑๖๙๑
  6. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๔๖๔๗ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
  7. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๕๖๔๖ เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑ เล่ม ๗๙ ตอน ๘๓ ฉบับพิเศษ, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕
  9. บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (สังกัด ร. พัน ๔ หน้า ๒๒๔๑)
  10. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน ฉบับพิเศษ หน้า ๙ เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  11. รายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี
  12. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ หน้า ๓๐๓๙ เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๓๙ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๙๓
  13. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๓๖๕ เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๒ ๔ กุมพาพันธ์ ๒๕๐๑
  14. อาจศึก ดวงสว่าง. การพัฒนาลิกไนท์ในประเทศไทย. 2507[1]

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถัดไป
จอมพลผิน ชุณหะวัณ
ผู้บัญชาการทหารบก
(23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(31 มีนาคม พ.ศ. 2500 - 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
จอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลถนอม กิตติขจร ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ครม. 29)
(9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25028 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
จอมพลถนอม กิตติขจร
พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2502พ.ศ. 2506)
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์
จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 1)
ไฟล์:Silpakorn University Logo.svg
นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 3
(พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2507)
จอมพลถนอม กิตติขจร
(สมัยที่ 2)