ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: เพิ่มข้อมูล "ประวัติ"
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ดูเพิ่ม: เพิ่มส่วน "อ้างอิง"
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
* [[รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น]]
* [[รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น]]
* [[ราชวงศ์ญี่ปุ่น]]
* [[ราชวงศ์ญี่ปุ่น]]

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:จักรพรรดิญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:จักรพรรดิญี่ปุ่น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:38, 5 มิถุนายน 2563

ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศหรือ ทากามิกูระ ในท้องพระโรง ชิชินเด็น ที่พระราชวังหลวงโตเกียว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะในปี พ.ศ. 2562​

ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ (อังกฤษ: Chrysanthemum Throne , ญี่ปุ่น: Takamikuraโรมาจิทากามิกูระ) ราชบัลลังก์ที่ใช้ประกอบ พระราชพิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ท้องพระโรง ชิชินเด็น ในพระราชวังหลวงเคียวโตะ โดยจักรพรรดิพระองค์ล่าสุดที่ได้ประทับบนราชบัลลังก์นี้คือสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ในคราวพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2019

ประวัติ

ท้องพระโรงนี้ในยุคเมจินั้นถูกใช้โดยจักรพรรดิโชวะ ซึ่งท้องพระโรงดังกล่าวนั้น ได้ถูกทำลายไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีการสืบทอดสันตติวงศ์มายาวนานที่สุดในโลก[1] ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับราชวงศ์อังกฤษ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศนั้นเกิดขึ้นจากแนวคิดนามนัย ที่แสดงถึงพระจักรพรรดิและอำนาจทางกฎหมายในการดำรงอยู่ของรัฐบาล ซึ่งแตกต่างจากอังกฤษ แนวคิดของสถาบันพระมหากษัตริย์ในญี่ปุ่นนั้นพัฒนามา โดยแตกต่างจากแนวคิดเดิมในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1947 ตัวอย่างเช่น การไม่ให้มีการรับรู้ถึงการแยกทรัพย์สินของรัฐชาติออกจากตัวบุคคล และการครอบครองทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระจักรพรรดิ

ตามตำนานกล่าวว่า ราชวงศ์ญี่ปุ่นนั้นได้สถาปนาขึ้นในช่วง 660 ปีก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิจิมมุ และในปัจจุบันนั้น สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศมาเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 126 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น และตามบันทึกประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่นั้น ได้พาย้อนกลับไปในรัชสมัยของจักรพรรดิโอจิง ว่าพระองค์ได้ทรงครองราชสมบัติในช่วงต้นศตวรรษที่ 4

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เจ้าชายฮิโระฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงเวลาหลายปีในการปกครองของพระราชบิดา เมื่อจักรพรรดิไทโชพระราชบิดา มีพระวรกายที่ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม เจ้าชายฮิโระฮิโตะนั้น ก็ยังคงขาดพระราชอำนาจ นั้นก็คือการครองราชย์บนพระราชบัลลังก์ ซึ่งพระองค์นั้นสามารถมีพระราชอำนาจได้อย่างสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อพระราชบิดาของพระองค์ได้เสด็จสวรรคตลงแล้วเท่านั้น

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของญี่ปุ่น ถือว่าพระจักรพรรดินั้นเป็น "สัญลักษณ์ของรัฐและความสามัคคีของประชาชน" โดยให้องค์พระจักรพรรดินั้นทรงปกครองตามระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ความหมายเชิงนามนัยของ "ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ" นั้นได้รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันและรายพระนามพระจักรพรรดิตามลำดับทั้งในตำนานและในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. McNeill, David. "The Girl who May Sit on Chrysanthemum Throne," The Independent (London). 23 กุมภาพันธ์ 2005