ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยโสธราเถรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล บุคคลในพระพุทธประวัติ
| name = พระภัททากัจจานาเถรี
| img = Yasodhara.jpg
| img_size =
| img_capt =
| ชื่อเดิม =
| พระนามเดิม =
| ชื่ออื่น =
| พระนามอื่น = พิมพา<br>ยโสธรา<br>ภัททกิจจานา<br>ภัททกัจจายนา
| วันเกิด =
| วันประสูติ = 80 ปีก่อนพุทธศักราช
| สถานที่ประสูติ = [[เทวทหะ]] [[แคว้นโกลิยะ]]
| สถานที่บวช =
| วิธีบวช = [[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]
| สถานที่บรรลุธรรม =
| ตำแหน่ง =
| เอตทัคคะ = ผู้ทรงอภิญญาใหญ่
| อาจารย์ =
| ลูกศิษย์ =
| เสียชีวิต =
| นิพพาน = 2 ปีก่อนพุทธศักราช
| ปรินิพพาน =
| สถานที่เสียชีวิต =
| สถานที่นิพพาน =
| สถานที่ปรินิพพาน =
| ชาวเมือง = [[เทวทหะ]]
| นามพระบิดา = [[พระเจ้าสุปปพุทธะ]]
| นามพระมารดา = [[พระนางอมิตา]]
| วรรณะเดิม = [[วรรณะกษัตริย์|กษัตริย์]]
| ราชวงศ์ = [[โกลิยะ]]
| การศึกษา =
| อาชีพ =
| ชื่อสถานที่ =
| หมายเหตุ =
}}

'''ภัททากัจจานา''' ({{lang-pi|Bhaddakaccānā}} ''ภทฺทกจฺจานา'') หรือ '''ยโสธรา''' ({{lang-pi|Yasodharā}}; {{lang-sa|Yaśodharā}} ''ยโศธรา'') บางแห่งออกนามว่า '''พิมพา''' หรือ '''ยโสธราพิมพา''' เป็นพระชายาของ[[พระโคตมพุทธเจ้า|เจ้าชายสิทธัตถะ]]ก่อนตรัสรู้เป็น[[พระพุทธเจ้า]] เป็นพระมารดาของ[[ราหุล]] และเป็นพระขนิษฐาของ[[พระเทวทัต]] หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็น[[ภิกษุณี]]และบรรลุเป็น[[พระอรหันต์]]ในที่สุด

== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==
=== พระชนม์ชีพช่วงต้น ===
=== พระชนม์ชีพช่วงต้น ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:58, 5 มิถุนายน 2563

พระประวัติ

พระชนม์ชีพช่วงต้น

ยโสธราเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยะ[1][2] กับพระนางอมิตาแห่งสักกะ มีพระเชษฐาพระองค์หนึ่งนามว่าพระเทวทัต[3][4] พระชนกเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยะ[5] ส่วนพระชนนีเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งสักกะ พระชนกและพระชนนีเป็นเครือญาติกัน สืบสันดานมาแต่พระเจ้าโอกกากราช (Okkākarāj)[6][7][8] โดยตระกูลสักกะและโกลิยะจะสมรสกันระหว่างสองตระกูลเท่านั้น[9] ดอนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนาและทิเบตศึกษา และริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักภารตวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤตและพุทธศึกษา อธิบายว่าช่วงเวลานั้นอิทธิพลของพระเวทไม่น่าจะเข้าถึงแคว้นทั้งสอง รวมทั้งการเสกสมรสในหมู่เครือญาตินั้นเป็นเรื่องต้องห้ามของสังคมอารยัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าตระกูลทั้งสองนี้อาจมิได้สืบเชื้อสายชาวอารยัน[10]

ยโสธราเป็นหนึ่งในเจ็ดมนุษย์ สัตว์ และสิ่งของที่เกิดวันเดียวกับสิทธัตถะ โคตมะเรียกว่าสหชาติ 7 ได้แก่ นางยโสธราหรือพิมพา พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฑกะ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้งสี่[11][12]

กล่าวกันว่ายโสธรามีพระสิริโฉมงดงาม มีพระสรีระและผิวพรรณงามดุจทองคำชั้นดีที่สุดจึงมีพระนามว่าภัททากัจจานา แม้เจ้าหญิงรูปนันทาซึ่งเป็นพระญาติจะทรงงามจนได้สมญาว่าชนบทกัลยาณี ก็ยังงามไม่เทียมเท่า[13]

เสกสมรส

ภาพพระราชพิธีเสกสมรส ศิลปะพม่า

ยโสธราเสกสมรสกับสิทธัตถะขณะพระชันษา 16 ปี และได้ประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือราหุล ขณะมีพระชันษา 29 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นสิทธัตถะกำลังตัดสินพระทัยออกบวช หลังพบเทวทูต 4 พระเจ้าสุทโธทนะนำข่าวพระกุมารประสูติใหม่มาแจ้งให้ทราบ สิทธัตถะทรงอุทานออกมาว่า "ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ" แปลว่า "บ่วงเกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" ทั้ง ๆ ที่พระองค์กำลังตัดห่วงอาลัยอื่นแล้ว แต่กลับมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัดมิให้พระองค์ออกผนวช[14]

คืนหนึ่งสิทธัตถะลอบเสด็จออกจากพระราชวังในยามวิกาลเพื่อออกผนวชหลังราหุลประสูติเพียง 7 วัน ครั้นรุ่งสางยโสธราเศร้าโศกพระทัยยิ่งที่สวามีหายออกไป ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะและยโสธราก็เพียรติดตามข่าวสิทธัตถะอยู่เสมอด้วยความรักและนับถือ เมื่อยโสธราทรงทราบว่าสิทธัตถะได้ออกไปแสวงหาสัจธรรมเพื่อตรัสรู้ พระองค์จึงทรงดำเนินพระชนมชีพอย่างเรียบง่ายตามอย่างสิทธัตถะ[15] ยโสธราเมื่อได้ทราบข่าวพระสวามีว่าทรงนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด ก็ทรงนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดบ้าง ทราบว่าพระสวามีเสวยภัตตาหารหนเดียว พระนางก็เสวยพระกระยาหารเพียงหนเดียว ทราบว่าพระสวามีทรงละที่นอนใหญ่ ก็ทรงเอาผ้าปูนอนบนพระแท่นบรรทมขนาดน้อย ทราบว่าพระสวามีเว้นจากเครื่องหอมและดอกไม้ พระนางก็เว้นจากเครื่องหอมและดอกไม้ จนกระทั่งสิทธัตถะบรรลุโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[13]

ออกบวช

ยโสธราขณะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ศิลปะไทย

หลังพระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะจึงทูลเชิญให้พุทธองค์เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ สองปีหลังการตรัสรู้จึงเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ช่วงแรกยโสธรามิได้ออกไปต้อนรับพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงถือบาตรเสด็จไปหายโสธรา เมื่อยโสธราเห็นเช่นนั้นจึงรีบเสด็จไปหาพุทธองค์ ทรงจับข้อพระพุทธบาททั้งสองเกลือกบนพระเศียรแล้วถวายบังคม โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสเล่าเรื่องจันทกินรีชาดกจนนางยโสธราบรรลุโสดาปัตติผล[13] ต่อมาจึงให้ราหุลตามเสด็จพุทธองค์ และออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนาขณะอายุ 7 ขวบ[16]

ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะนิพพานในเศวตฉัตร และพระเจ้ามหานามะขึ้นเสวยราชสมบัติแทน พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยหญิงอีก 500 คนออกบวชเป็นภิกษุณี ต่อมายโสธรามีพระประสงค์ที่จะบวชเป็นภิกษุณีบ้าง เพราะไม่มีกิจอันใดในพระราชวังแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมีจึงทรงบวชให้ตามพระประสงค์มีนามว่า "พระภัททากัจจานาเถรี" ขณะบวชก็ทรงบำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนา เพียงครึ่งเดือนก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้พระภัททากัจจานาเถรีเป็นเอตทัคคะด้านอภิญญาใหญ่ เพราะสามารถระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งกับอีกแสนกัปเพียงครั้งเดียว[13]

นิพพาน

พระภัททากัจจานาเถรีนิพพานในพรรษาที่ 43 แห่งพระผู้มีพระภาค ขณะมีพระชนมายุได้ 78 พรรษา ก่อนที่พระนางจะนิพพาน พระนางได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยได้แสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ และขอขมาในการล่วงเกินพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งทางกาย วาจา ใจ ในครั้นเมื่อใช้ชีวิตคู่ร่วมกันหลายกัปในกาลก่อน แล้วทูลลาเสด็จสู่พระนิพพาน[13]

อ้างอิง

  1. "IX:12 King Suppabuddha blocks the Lord Buddha's path". Members.tripod.com. 2000-08-13.
  2. "Dhammapada Verse 128 Suppabuddhasakya Vatthu". Tipitaka.net.
  3. K.T.S. Sarao (2004). "In-laws of the Buddha as Depicted in Pāli Sources". Chung-Hwa Buddhist Journal. Chung-Hwa Institute of Buddhist Studies (17). ISSN 1017-7132.
  4. "Suppabuddha". Dictionary of Pali Names.
  5. "Koliyā". Palikanon.com.
  6. พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. "ศากยวงศ์". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา". พุทธะ. 2553. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "แคว้นสักกะและศากยวงศ์". พุทธะ. 2553. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Why was the Sakyan Republic Destroyed? by S. N. Goenka (Translation and adaptation of a Hindi article by S. N. Goenka published by the Vipassana Research Institute in December 2003, archived)
  10. อดิเทพ พันธ์ทอง (20 พฤษภาคม 2559). "พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): "สิทธัตถะ" เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "เกิดเหตุอันอัศจรรย์ เกิดสหชาติทั้ง 7 ในกาลประสูติมีอะไรบ้าง". วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "สหชาติทั้ง ๗". พุทธะ. 18 ธันวาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "ประวัติพระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนาโดยครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๐ ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว". 84000.org. 28 ตุลาคม 2545. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "The Compassionate Buddha". Geocities.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  16. "สามเณรราหุล". ธรรมะไทย. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น