ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐฉาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pluto p (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 231: บรรทัด 231:
[[หมวดหมู่:รัฐชาน| ]]
[[หมวดหมู่:รัฐชาน| ]]
[[หมวดหมู่:รัฐของประเทศพม่า|ชาน]]
[[หมวดหมู่:รัฐของประเทศพม่า|ชาน]]
[[หมวดหมู่:อดีตอาณานิคมของสยาม]]
{{โครงประเทศ}}
{{โครงประเทศ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:10, 31 พฤษภาคม 2563

รัฐชาน

ရှမ်းပြည်နယ်
การถอดเสียงเป็นอักษรโรมัน
 • พม่า[hram: pranynai] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)
ธงของรัฐชาน
ธง
ที่ตั้งรัฐชานในประเทศพม่า
ที่ตั้งรัฐชานในประเทศพม่า
พิกัด: 21°30′N 98°0′E / 21.500°N 98.000°E / 21.500; 98.000พิกัดภูมิศาสตร์: 21°30′N 98°0′E / 21.500°N 98.000°E / 21.500; 98.000
ประเทศ พม่า
ภูมิภาคกลาง-ตะวันออก
เมืองหลักตองจี
การปกครอง
 • มุขมนตรีลี่นทุ (เอ็นแอลดี)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด155,801.3 ตร.กม. (60,155.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)[2]
 • ทั้งหมด5,824,432 คน
 • ความหนาแน่น37 คน/ตร.กม. (97 คน/ตร.ไมล์)
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่, พม่า, จีน, ว้า, ลีซอ, ดะนุ, อินทา, มูเซอ, ปะหล่อง, ปะโอ, ตองโย, อินเดีย, กูรข่า
 • ศาสนาพุทธ, คริสต์, วิญญาณนิยม, อิสลาม, ฮินดู
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัส ISO 3166MM-17
เว็บไซต์www.shanstate.gov.mm

ชาน,[3] ฉาน[4] (พม่า: ရှမ်း, ออกเสียง: [ʃáɴ] ช่าน; ไทใหญ่: မိူင်းတႆး, ออกเสียง: [mə́ŋ.táj] เมิ้งไต๊) หรือ ไทใหญ่[5] เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม่า

สภาพภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศของรัฐชานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐชานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่าง ๆ

รัฐชานมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติ

ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พ.ศ. 448[ต้องการอ้างอิง] ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ไต" หรือที่เรียกกันว่า "เมิ้งไต๊" ในสำเนียงไทใหญ่ หรือ "เมืองไต" ในสำเนียงไทย มีประชากรหลายชนชาติอาศัยอยู่ร่วม โดยมีชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมือง แต่ละเมืองปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต

เมืองไตกับพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง] และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบ[ต้องการอ้างอิง]

  • พ.ศ. 2305 ในสมัยพระเจ้าอลองพญา รัฐชานตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ เจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไต
  • พ.ศ. 2433 อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากพม่าตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนเมืองไตตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้เข้ายึดพร้อมกัน แม้อังกฤษจะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของตนแต่ก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา

อังกฤษได้ล้มล้างระบบกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐชานขึ้นกับอังกฤษ

  • 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นขอไทยสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารยึดรัฐชาน เชียงตุง ในประเทศพม่า จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียงไคเช็ค ญี่ปุ่นได้ส่งมอบให้ไทย ผนวกเป็นสหรัฐไทยเดิม เป็นจังหวัดไทใหญ่
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 รัฐชานกลับมาสู่อิสรภาพ ครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
  • พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไต ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง พร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
  • พ.ศ. 2491 อังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไต ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า สนธิสัญญาปางโหลงจึงเป็นโมฆะ เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทใหญ่ จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้น

ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐชานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดตั้งสภารัฐชาน

การปกครอง

ไฟล์:Map Shan Provinces.png
แผนที่รัฐชาน แสดงเขตรัฐกิจระดับจังหวัด

พื้นที่ 62,500 ตารางไมล์ แบ่งการปกครองเป็น 11 จังหวัด ได้แก่

ลำดับที่ จังหวัด ชื่อภาษาไทใหญ่ คำอ่านภาษาไทใหญ่ หมายเหตุ
1 จังหวัดตองจี တူၼ်ႈတီး ต้นตี๊ เมืองหลวงของรัฐฉาน
2 จังหวัดดอยแหลม လွႆလႅမ် หลอยแหลม
3 จังหวัดจ๊อกแม ၵျွၵ်းမႄး กย๊อกแม้
4 จังหวัดหมู่แจ้ မူႇၸေႊ หมู่เจ
5 จังหวัดเล่าก์ก่าย လဝ်ႉၵႆႇ เล้าไก่
6 จังหวัดกุนโหลง ၵုၼ်လူင် กุ๋นโหลง
7 จังหวัดล่าเสี้ยว လႃႈသဵဝ်ႈ หล้าเส้ว
8 จังหวัดเชียงตุง ၵဵင်းတုင် เก๊งตุ๋ง
9 จังหวัดเมืองสาด မိူင်းသၢတ်ႇ เมิ้งสาด
10 จังหวัดเมืองพยาก မိူင်းၽျၢၵ်ႈ เมิ้งพยาก
11 จังหวัดท่าขี้เหล็ก တႃႈၶီႈလဵၵ်း ต้าขี้เล็ก
- จังหวัดลางเคอ လၢင်းၶိူဝ်း ล้างเค้อ แยกออกจากดอยแหลม ในปี พ.ศ. 2553
- จังหวัดหอปาง ႁူဝ်ပၢင်ႇ โหป่าง แยกออกจากหล้าเสี้ยว ในปี พ.ศ. 2554
- จังหวัดมาตมัน မၢၵ်ႇမင် หมากหมัง แยกออกจากเชียงและบางส่วนของหอปาง ในปี พ.ศ. 2557
- จังหวัดเมืองมีด မိူင်းမိတ်ႈ เมิ้งมีด แยกออกจากจ๊อกแม ในปี พ.ศ. 2557

ประชากร

อ้างอิง

  1. "Union of Myanmar". City Population. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
  2. Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 17.
  3. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (ตอนพิเศษ 117ง): 2. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรองกงสุล ณ เมืองเชียงตุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (8ง): 152. 23 มกราคม พ.ศ. 2511. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 349. "ฉาน ๔ น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก."

แหล่งข้อมูลอื่น