ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเหี้ยนเต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เรื่องจีนๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีชื่อหวังเช่าเสีย(王少協) มีแต่หั่นเซ่าตี้(漢少帝) ซึ่งก็เป็นพระนามของหองจูเปียน ไม่ใช่หองจูเหียบ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เรื่องจีนๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี [[พ.ศ. 724]] เป็นพระราชโอรสใน[[พระเจ้าเลนเต้]](漢靈帝) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ [[ตั๋งโต๊ะ]](董卓) ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้(漢少帝)ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ(皇子協) ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้(漢獻帝)แห่งต้าฮั่นในปี [[พ.ศ. 732]] ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้
เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี [[พ.ศ. 724]] เป็นพระราชโอรสใน[[พระเจ้าเลนเต้]](漢靈帝) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ [[ตั๋งโต๊ะ]](董卓) ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้(漢少帝)ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ(皇子協) ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้(漢獻帝)แห่งต้าฮั่นในปี [[พ.ศ. 732]] ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้


จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี [[พ.ศ. 735]] ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและ[[สิบขันที]] ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 739]] [[โจโฉ]] ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหา[[เล่าปี่]] ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่ง[[วุยก๊ก]] พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยก[[โจเฮา]] บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี [[พ.ศ. 757]] พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่ง[[อ๋อง]]หรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสาม ไป ๆ มา ๆ
จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี [[พ.ศ. 735]] ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและ[[สิบขันที]] ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 739]] [[โจโฉ]] ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหา[[เล่าปี่]] ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่ง[[วุยก๊ก]] พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยก[[โจเฮา]] บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี [[พ.ศ. 757]] พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่ง[[อ๋อง]]หรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสาม ไปมาๆ


จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ [[โจผี]] พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี [[พ.ศ. 763]] และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋อง[[เล่าปี่]] สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี [[พ.ศ. 772]] ง่ออ๋อง[[ซุนกวน]]ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง
จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ [[โจผี]] พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี [[พ.ศ. 763]] และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋อง[[เล่าปี่]] สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี [[พ.ศ. 772]] ง่ออ๋อง[[ซุนกวน]]ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:17, 29 พฤษภาคม 2563

พระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้
รูปวาดพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ในยุคราชวงศ์ชิง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
ประสูติพ.ศ. 724
สวรรคตพ.ศ. 777
ทรงราชสมบัติช่วงพ.ศ. 732 - พ.ศ. 763 (32 ปี)
จักรพรรดิองค์ก่อนหน้าหองจูเปียน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม漢獻帝
อักษรจีนตัวย่อ汉献帝
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
พระนามอื่น ๆหองจูเหียบ (พระนามเดิม)

จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ (จีนตัวย่อ: 汉献帝; จีนตัวเต็ม: 漢獻帝; พินอิน: Hàn Xiàn Dì) พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน (จีน: ; พินอิน: Xié) หรือมักเรียกกันว่า ฮวังจื่อเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 皇子協; พินอิน: Huáng zǐ Xié; "เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้(漢靈帝) และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ(董卓) ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้(漢少帝)ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ(皇子協) ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้(漢獻帝)แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้

จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งวุยก๊ก พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสาม ไปมาๆ

จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง

พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง ตำแหน่ง ซานหยางกง ถูกเนรเทศพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่ที่ เมืองซานหยาง และใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างสงบสุขเรื่อยมา โดยท่านกับพระนางโจเฮา มักไปเก็บสมุนไพรบนเขา และท่องไปตามหมู่บ้าน รักษาโรค ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนเป็นอันมาก จนได้ขนานนามว่า แพทย์พญามังกรพญาหงส์ พระเจ้าเหี้ยนเต้มีชีวิตต่อมาอีก 14 ปี จนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษา ในรัชสมัยของพระเจ้าโจยอย ปิดฉากตำนานแห่งจักรพรรดิ์หุ่นเชิดโดยสมบูรณ์ และได้รับการบรรจุพระศพด้วยเกียรติยศดังพระจักรพรรดิ์ตามพิธีของราชวงศ์ฮั่น โดยมีพระเจ้าโจยอยเป็นผู้ไว้ทุกข์ให้ตามจารีตธรรมเนียม เนื่องจากบุตรชายเสียชีวิตหมดแล้ว และจากนั้นอีก 26 ปีถัดมา พระนางโจเฮาก็สวรรคตตามไป ในรัชสมัยของพระเจ้าโจฮวน พระศพของทั้งคู่ถูกฝังไว้เคียงข้างกัน ณ สุสานจังหลิง โดยปัจจุบันสุสานแห่งนี้ยังอยู่ในสภาพสมบูณ์ ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 1,800 ปี เนื่องจากถูกดูแลอย่างดีจากชาวเมืองซึ่งเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของพระเจ้าเหี้ยนเต้

พระเจ้าเหี้ยนเต้มีบุตรสาว 3 คน โดยบุตรสาว 2 คนแรก เกิดจากสนม ภายหลังได้ยกให้เป็นสนมของพระเจ้าโจผี และเกิดจากพระนางโจเฮา 1 คน คือ องค์หญิงหลิวมั่น ขณะที่มีบุตรชายซึ่งเกิดจากพระนางฮกเฮา 2 คน (ถูกโจโฉฆ่าตายไปพร้อมแม่) และบุตรชายที่เกิดจากสนม 4 คน ทั้งนี้ยังคงมีสายตระกูลของพระเจ้าเหี้ยนเต้สืบต่อกันมาอีกสามชั่วคน โดนหลังจากพระเจ้าเหี้ยนเต้สวรรคต หลานชาย ชื่อ หลิวคัง, เหลนชาย ชื่อ หลิวจิน และลื่อชาย ชื่อ หลิวชง ได้รับตำแหน่งต่อมาร่วม 75 ปี จนถึงช่วงปลายราชวงศ์จิ้น ชนเผ่าซฺยงหนู ได้กรีฑาทัพเข้ามารุกรานเมืองซานหยาง ทำให้สายตระกูลในการสืบทอดตำแหน่งซานหยางกงสิ้นสุดลง แต่มีทายาทรุ่นหลังของพระเจ้าเหี้ยนเต้คนหนึ่ง ชื่อ หลิวอาจือ ได้ตัดสินใจพาครอบครัวและคณะกว่าสองพันคน ลงเรือหนีภัยสงครามอพยพไปเกาะญี่ปุ่น และได้เข้ารับราชการในราชสำนักญี่ปุ่น เป็นต้นตระกูล ‘ฮาราดะ’ และแยกสายตระกูลออกไปอีกนับสิบสกุล การย้ายไปตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นครั้งนั้น ได้นำเอาอารยธรรมแบบจีนไปเผยแผ่แก่ญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นอารยธรรมญี่ปุ่นโบราณยังไม่เจริญนัก ทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากจีน และได้รับเอาตัวอักษรแบบจีนซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรภาพมาใช้ และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาของลัทธิขงจื๊อ

พระบรมวงศานุวงศ์

อ้างอิง

  • Chen Shou (2002). Records of Three Kingdoms. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80665-198-5.
  • Fan Ye; Sima Biao (2009). Book of the Later Han. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80761-107-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถัดไป
จักรพรรดิฮั่นเซ่า
(หองจูเปียน)
จักรพรรดิจีน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

(ค.ศ. 189–220)
เล่าปี่ (จ๊กก๊ก)
โจผี (วุยก๊ก)
ซุนกวน (ง่อก๊ก)
ว่าง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนล่าสุดที่ทราบคือ
หลิว จิง
ชานหยางกง (ซันเอียงก๋ง)
(ค.ศ. 220–234)
หลิว คาง