ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิมพิสารราชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
}}
}}
{{เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่งราชวงศ์เทพวงศ์}}
{{เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่งราชวงศ์เทพวงศ์}}
'''พระยาพิมพิสารราชา''' หรือ '''เจ้าหลวงพิมพิสาร''' ทรงเป็น[[รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่|เจ้าผู้ครองนครแพร่]] องค์ที่ 24 (องค์ที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์เทพวงศ์]]) ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจาก[[พระยาอินทวิไชย]]ผู้เป็นราชมาตุลาของพระองค์
'''พระยาพิมพิสารราชา''' หรือ '''เจ้าหลวงพิมพิสาร''' ทรงเป็น[[รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่|เจ้าผู้ครองนครแพร่]] องค์ที่ 24 (องค์ที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์เทพวงศ์]]) ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจาก[[พระยาอินทวิไชย]]ผู้เป็นราชมาตุลาของพระองค์แม่เจ้าบัวไหล
แม่เจ้าบัวไหล เป็นราชเทวีในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 และเป็นแม่เจ้าหลวงแห่งนครแพร่

แม่เจ้าบัวไหล
แม่เจ้าบัวไหล.jpg
พระนาม
แม่เจ้าบัวไหล
พระอิสริยยศ
พระชายาในเจ้านครแพร่
ฐานันดรศักดิ์
แม่เจ้า
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ
พ.ศ. 2390 นครน่าน
พิราลัย
พ.ศ. 2475 เมืองเชียงราย
พระบิดา
พระยาไชยสงครามพะเยา
พระมารดา
เจ้านางอิ่น (ชาวไทยอง)
พระสวามี
เจ้าพิริยเทพวงษ์
พระราชบุตร
7 องค์
พระประวัติ
ราชโอรส-ธิดา
ราชกรณียกิจ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง


==พระประวัติ==
==พระประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:40, 27 พฤษภาคม 2563

พระยาพิมพิสารราชา

เจ้าพิมพิสาร
พระยานครแพร่
ครองราชย์พ.ศ. 2390พ.ศ. 2429[1]
รัชกาลก่อนหน้าพระยาอินทวิไชย
รัชกาลถัดไปเจ้าพิริยเทพวงษ์
ประสูติพ.ศ. 2356
พิราลัยพ.ศ. 2429
พระชายาแม่เจ้าแก้วไหลมาราชเทวี
หม่อม
  • หม่อมจันทร์
พระนามเต็ม
องค์สมเด็จมหาราชหลวง (พระญาพิมพิสารราชา)
พระบุตร5 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์เทพวงศ์
พระบิดาพระยาวังขวา
พระมารดาแม่เจ้าปิ่นแก้ว
เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่ง
ราชวงศ์แสนซ้าย
*พระยาแสนซ้าย
*พระยาเทพวงศ์
*พระยาอินทวิไชย
พระยาพิมพิสารราชา
เจ้าพิริยเทพวงษ์

พระยาพิมพิสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 24 (องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เทพวงศ์) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจากพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาของพระองค์แม่เจ้าบัวไหล แม่เจ้าบัวไหล เป็นราชเทวีในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 และเป็นแม่เจ้าหลวงแห่งนครแพร่

แม่เจ้าบัวไหล แม่เจ้าบัวไหล.jpg พระนาม แม่เจ้าบัวไหล พระอิสริยยศ พระชายาในเจ้านครแพร่ ฐานันดรศักดิ์ แม่เจ้า ข้อมูลส่วนพระองค์ ประสูติ พ.ศ. 2390 นครน่าน พิราลัย พ.ศ. 2475 เมืองเชียงราย พระบิดา พระยาไชยสงครามพะเยา พระมารดา เจ้านางอิ่น (ชาวไทยอง) พระสวามี เจ้าพิริยเทพวงษ์ พระราชบุตร 7 องค์ พระประวัติ ราชโอรส-ธิดา ราชกรณียกิจ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ้างอิง

พระประวัติ

พระยาพิมสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร[1] (พ.ศ. 2356พ.ศ. 2429) มีพระนามเดิมว่าเจ้าพิมพิสาร เป็นโอรสของพระยาวังขวา (เฒ่า) กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว ราชธิดาพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 1 กับแม่เจ้าสุชาดาราชเทวี (แต่พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ระบุว่าเป็นน้องสาวพระยาแสนซ้ายเจ้าเมืองแพร่)

เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวงศ์ เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระยาแพร่ ขณะมีชันษาได้ 34 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน[2]

พระยาพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าหลวงที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ 1 อัน หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว เทน้ำที่เหลือทิ้ง หรือใช้กระบวยเล็กตักดื่มซ้ำเมื่อไม่อิ่ม ต่างก็โดนก๋งยิง (เป็นอาวุธที่ใช้ลูกหินขนาดเล็กเป็นกระสุนสามารถทำให้เจ็บตัวหรือเป็นแผลได้) ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่รู้จักประมาณตนเอง หรือไม่ประหยัด นอกจากนี้เจ้าหลวงพิมพิสารยังมีกิจการค้าไม้สัก ทำรายได้เข้าเมืองแพร่นับหลายล้านบาทต่อปี ทำให้เศรษฐกิจในเมืองแพร่มีความต่อเนื่องและเป็นไปได้ดี[3]และพระองค์ยังทรงบูรณะวัดหลวง เมืองแพร่ในปีพ.ศ. 2416

พระยาพิมพิสาร ถึงแก่พิราลัยเวลาบ่าย 5 โมง แรม 7 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ พ.ศ. 2429 สิริชันษา 73 ปี

ราชโอรส-ธิดา

พระยาพิมพิสาร มีพระชายา และราชโอรส-ธิดา ดังนี้[3]

  • แม่เจ้าแก้วไหลมาราชเทวี (พบหลักฐานในแผ่นศิลา-จารึกที่วัดหลวง) แต่ไม่ปรากฏมีว่าราชบุตร ด้วยกันหรือไม่
  • แม่เจ้าธิดาเทวี มีราชโอรส-ธิดา 4 พระองค์ คือ
  • แม่เจ้าไข เสกสมรสกับ เจ้าชัยลังกา ไม่มีบุตร
  • แม่เจ้าเบาะ สมรสกับ เจ้าหัวหน้า มีโอรส-ธิดา 2 คน
1.เจ้าฟองคำ สามีไม่ทราบนาม
2.เจ้าน้อยทวงศ์ สมรสกับแม่เจ้าขันคำ รสเข้ม (ไม่มีบุตร)
  • แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา เสกสมรสกับเจ้าหนานศรีทิ (เจ้านายเมืองน่าน) มีโอรส-ธิดา 3 คน
1.เจ้าศรีเมือง
2.แม่เจ้าฟอง บรรเลง สมรสกับนายหนานแสน บรรเลง โยมมารดา-บิดา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) อดีตเจ้าคณะตรวจการภาค 4 และ 5
3.แม่เจ้าแก้วเหลี่ยมเพชร
  • แม่เจ้าคำใย้เทวี มีโอรส 1 พระองค์ คือ
  • สมรสครั้งที่1 กับแม่เจ้าสุชาดา (ไม่มีบุตร)
  • สมรสครั้งที่2 กับหม่อมฟองแก้ว มีธิดา 1 คน คือ
เจ้าบุญนำ วังซ้าย (สารศิริวงศ์)
  • สมรสครั้งที่3 กับหม่อมเป็ง มีโอรส 1 คน คือ
เจ้าน้อย สารศิริวงศ์
  • สมรสครั้งที่4 กับหม่อมแก้ว มีโอรส 1 คน คือ
เจ้าน้อยเป็ด สารศิริวงศ์
  • หม่อมจันทร์ (พบชื่อในประวัติพญาพรหมโวหาร) ไม่ปรากฏว่ามีราชบุตรด้วยกันหรือไม่

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2356 เจ้าพิมพิสาร
  • ก่อนพ.ศ. 2390 พระยาราชวงศ์
  • พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2429 พระยานครแพร่

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 แม่แบบ:หนังสือ
  2. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑-๔. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2555. 2,136 หน้า. หน้า 1559. ISBN 978-616-7146-30-0
  3. 3.0 3.1 "เจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร หรือขาเค)". วังฟ่อนดอตคอม. 18 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)