ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอซา"

พิกัด: 59°19′40″N 18°05′28″E / 59.32778°N 18.09111°E / 59.32778; 18.09111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 81: บรรทัด 81:


[[File:Vasaskultpurrepliker.jpg|thumb|left|แบบจำลองประติมากรรมบางส่วนของเรือในพิพิธภัณฑ์[[พิพิธภัณฑ์เรือวาซา]] ที่ได้รับการทาสีซึ่งเชื่อว่าเป็นสีดั้งเดิม]]
[[File:Vasaskultpurrepliker.jpg|thumb|left|แบบจำลองประติมากรรมบางส่วนของเรือในพิพิธภัณฑ์[[พิพิธภัณฑ์เรือวาซา]] ที่ได้รับการทาสีซึ่งเชื่อว่าเป็นสีดั้งเดิม]]
รูปสลักนั้นทำจากไม้[[โอ๊ก]], [[เกี๊ยะ]] หรือ[[ลินเดน (ต้นไม้)|ลินเดน]] และชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้น เช่น รูปหัวสิงโตขนาดใหญ่ยาว 3 เมตร (10&nbsp;ฟุต) ประกอบขึ้นจากไม้แกะสลักหลายชิ้นนำมาประกอบกันและยึดติดด้วยสลัก มีรูปสลักเกือบ 500 ชิ้นประดับในบริเวณท้ายเรือส่วนบน เฉลียง และบนจงอยหัวเรือ<ref>Soop (1986), pp. 20–21.</ref> รูปสลัก[[เฮอร์คิวลีส]]ปรากฏเป็นจี้ระย้าคู่หนึ่ง ที่ด้านหนึ่งมีอายุน้อยและด้านหนึ่งมีอายุมาก ในแต่ละด้านของเฉลียงท้ายเรือด้านล่าง จี้ระย้าที่แสดงถึงรูปลักษณ์ที่ตรงกันข้ามของฮีโร่สมัยโบราณได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยโบราณรวมถึงศิลปะยุโรปศตวรรษที่ 17 บนคานรับดาดฟ้าท้ายเรือเป็นภาพและสัญลักษณ์เกี่ยวกับความรักชาติและพระคัมภีร์ไบเบิ้ล บรรทัดฐานที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษคือสิงโตซึ่งสามารถพบได้ ในรูปแบบเครื่องตบแต่งแบบหน้ากาก (mascarons) บน[[ประตูปืน]] [[ตราอาร์ม]] รูปแกะสลักบนหัวเรือ และส่วนบนของหางเสือ แต่ละด้านของจงอยหัวเรือมี 20 รูปสลัก (แม้ว่าจะค้นพบเพียง 19 อันเท่านั้น) ซึ่งสักเป็นรูป[[จักรพรรดิโรมัน]]จาก[[จักรพรรดิติแบริอุส]]ไปถึง[[จักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส]] โดยรวมแล้วรูปวีรบุรุษทั้งหมดเป็นกษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชิดชูพวกเขาในฐานะผู้ปกครองที่ฉลาดและทรงอำนาจ มีรูปแกะสลักกษัตริย์เพียงรูปเดียวที่ติดตั้งที่ส่วนบนสุดของคานรับดาดฟ้าท้ายเรือที่ท้ายเรือ มีรูปลักษณ์เป็นเด็กผู้ชาย ผมยาวสรวย ได้รับการสวมมงกุฎโดย[[กริฟฟอน]]สองตัว ซึ่งเป็นตัวแทนของพระชนก พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งสวีเดน{{efn|ก่อนขึ้นครองราชย์ พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นดยุกแห่งโซเดอร์แมนแลนด์ (Södermanland) มีตราอาร์มเป็นกริฟฟอน[[ลักษณะการวางท่า|ยืนผงาด]] ซึ่งเป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า; Soop (1986), pp. 18–27.}}
รูปสลักนั้นทำจากไม้[[โอ๊ก]], [[เกี๊ยะ]] หรือ[[ลินเดน (ต้นไม้)|ลินเดน]] และชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้น เช่น รูปหัวสิงโตขนาดใหญ่ยาว 3 เมตร (10&nbsp;ฟุต) ประกอบขึ้นจากไม้แกะสลักหลายชิ้นนำมาประกอบกันและยึดติดด้วยสลัก มีรูปสลักเกือบ 500 ชิ้นประดับในบริเวณท้ายเรือส่วนบน เฉลียง และบนจงอยหัวเรือ<ref>Soop (1986), pp. 20–21.</ref> รูปสลัก[[เฮอร์คิวลีส]]ปรากฏเป็นจี้ระย้าคู่หนึ่ง ที่ด้านหนึ่งมีอายุน้อยและด้านหนึ่งมีอายุมาก ในแต่ละด้านของเฉลียงท้ายเรือด้านล่าง จี้ระย้าที่แสดงถึงรูปลักษณ์ที่ตรงกันข้ามของฮีโร่สมัยโบราณได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยโบราณรวมถึงศิลปะยุโรปศตวรรษที่ 17 บนคานรับดาดฟ้าท้ายเรือเป็นภาพและสัญลักษณ์เกี่ยวกับความรักชาติและพระคัมภีร์ไบเบิ้ล บรรทัดฐานที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษคือสิงโตซึ่งสามารถพบได้ ในรูปแบบเครื่องตบแต่งแบบหน้ากาก (mascarons) บน[[ประตูปืน]] [[ตราอาร์ม]] รูปแกะสลักบนหัวเรือ และส่วนบนของหางเสือ แต่ละด้านของจงอยหัวเรือมี 20 รูปสลัก (แม้ว่าจะค้นพบเพียง 19 อันเท่านั้น) ซึ่งสักเป็นรูป[[จักรพรรดิโรมัน]]จาก[[จักรพรรดิติแบริอุส]]ไปถึง[[จักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส]] โดยรวมแล้วรูปวีรบุรุษทั้งหมดเป็นกษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชิดชูพวกเขาในฐานะผู้ปกครองที่ฉลาดและทรงอำนาจ มีรูปแกะสลักกษัตริย์เพียงรูปเดียวที่ติดตั้งที่ส่วนบนสุดของคานรับดาดฟ้าท้ายเรือที่ท้ายเรือ มีรูปลักษณ์เป็นเด็กผู้ชาย ผมยาวสรวย ได้รับการสวมมงกุฎโดย[[กริฟฟอน]]สองตัว ซึ่งเป็นตัวแทนของพระชนก พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งสวีเดน<ref name="Soop18"/>{{efn|ก่อนขึ้นครองราชย์ พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นดยุกแห่งโซเดอร์แมนแลนด์ (Södermanland) มีตราอาร์มเป็นกริฟฟอน[[ลักษณะการวางท่า|ยืนผงาด]] ซึ่งเป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า<ref name="Soop18">Soop (1986), pp. 18–27.</ref>}}


[[Image:Vasa color pigments.jpg|thumb|เม็ดสีที่ใช้ในอู่ต่อเรือซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่ จัดแสดงที่[[พิพิธภัณฑ์เรือวาซา]]]]
<!--[[Image:Vasa color pigments.jpg|thumb|A recreation of the color pigments that were used by the naval shipyard where the ship was built; exhibit at the [[Vasa Museum]].]]
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญงานแกะสลักอย่างน้อยหกคนทำงานเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีในการแกะสลักงานประติมากรรมโดยมีเด็กฝึกงานและผู้ช่วยจำนวนหนึ่งให้การช่วยเหลือ ไม่มีการให้เครดิตบนรูปสลักใดๆ แต่มีรูปสลักหนึ่งสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นงานของศิลปินอาวุโสที่ชื่อมาร์เทิน เรทเมท (Mårten Redtmer) ส่วนศิลปินที่ประสบความสำเร็จคนอื่นๆ เช่น ฮาน เกลาซิงกะ (Hans Clausink), โยฮัน ไดแซน (Johan Tijsen) และมาร์คัส เลดัน (Marcus Ledens) เป็นที่รู้กันว่ามีการรับจ้างงานหลากหลายอยู่ที่อู่ต่อเรือในช่วงเวลาที่ ''วาซา'' ถูกสร้างขึ้น แต่รูปแบบงานของพวกเขานั้นไม่มีความแตกต่างกันมากพอที่จะเชื่อมโยงกับรูปสลักรูปใดโดยเฉพาะเจาะจงได้<ref>Soop (1986), pp. 241–253.</ref>
A team of at least six expert sculptors worked for a minimum of two years on the sculptures, most likely with the assistance of an unknown number of apprentices and assistants. No direct credit for any of the sculptures has been provided, but the distinct style of one of the most senior artists, Mårten Redtmer, is clearly identifiable. Other accomplished artists, like Hans Clausink, Johan Didrichson Tijsen (or ''Thessen'' in Swedish) and possibly Marcus Ledens, are known to have been employed for extensive work at the naval yards at the time ''Vasa'' was built, but their respective styles are not distinct enough to associate them directly with any specific sculptures.<ref>Soop (1986), pp. 241–253.</ref>


The artistic quality of the sculptures varies considerably, and about four distinct styles can be identified. The only artist who has been positively associated with various sculptures is Mårten Redtmer, whose style has been described as "powerful, lively and naturalistic".<ref>Soop (1986), p. 247.</ref> He was responsible for a considerable number of the sculptures. These include some of the most important and prestigious pieces: the figurehead lion, the royal coat of arms, and the sculpture of the king at the top of the transom. Two of the other styles are described as "elegant ... a little stereotyped and manneristic", and of a "heavy, leisurely but nevertheless rich and lively style", respectively. The fourth and last style, deemed clearly inferior to the other three, is described as "stiff and ungainly"<ref>Quotes from Soop (1986), p. 252.</ref> and was done by other carvers, perhaps even apprentices, of lesser skill.<ref>Soop, pp. 241–253</ref>-->
<!--The artistic quality of the sculptures varies considerably, and about four distinct styles can be identified. The only artist who has been positively associated with various sculptures is Mårten Redtmer, whose style has been described as "powerful, lively and naturalistic".<ref>Soop (1986), p. 247.</ref> He was responsible for a considerable number of the sculptures. These include some of the most important and prestigious pieces: the figurehead lion, the royal coat of arms, and the sculpture of the king at the top of the transom. Two of the other styles are described as "elegant ... a little stereotyped and manneristic", and of a "heavy, leisurely but nevertheless rich and lively style", respectively. The fourth and last style, deemed clearly inferior to the other three, is described as "stiff and ungainly"<ref>Quotes from Soop (1986), p. 252.</ref> and was done by other carvers, perhaps even apprentices, of lesser skill.<ref>Soop, pp. 241–253</ref>-->


== การเดินทางครั้งแรก ==
== การเดินทางครั้งแรก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:22, 25 พฤษภาคม 2563

Vasa
กราบซ้ายหัวเรือวาซา
ประวัติ
ประเทศสวีเดน
ปล่อยเรือ1626
เดินเรือแรกมีนาคม 1627
ความเป็นไปจมในปี 1628, กู้ในปี 1961, ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์เรือ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ตัน): ระวางขับน้ำ 1210 ตัน
ความยาว:
  • ความยาวเรือ: 69 ม. (226 ฟุต)
  • ความยาวระหว่างเส้นตั้งฉาก 47.5 ม. (155.8 ฟุต)
ความกว้าง: 11.7 ม. (38 ฟุต)
ความสูง: 52.5 ม. (172 ฟุต)
กินน้ำลึก: 4.8 ม. (16 ฟุต)
ระบบขับเคลื่อน: ใบเรือ, 1,275 ตารางเมตร (13,720 ตารางฟุต)
ลูกเรือ: ลูกเรือ 145 นาย, ทหาร 300 นาย
ยุทโธปกรณ์:
  • ปืน 64 กระบอก ประกอบด้วย:
  • 24-ปอนด์—48 กระบอก
  • 3-ปอนด์—8 กระบอก
  • 1-ปอนด์—2 กระบอก
  • ปืนครก—6 กระบอก
หมายเหตุ: แหล่งทีมาของมิติและขนาดของเรือ[1]

วาซา (Vasa หรือ Wasa;[a] เสียงอ่านภาษาสวีเดน: [²vɑːsa]) คือเรือรบปลดระวางของประเทศสวีเดน ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างปี 1626 และ 1628 เรือได้อับปางจมลงในการเดินเรือครั้งแรกเมื่อแล่นไปได้เพียง 1,300 เมตร (1,400 หลา) ในวันที่ 10 สิงหาคม 1628 แต่จุดที่เรือจมไม่เป็นที่ชัดเจนนัก แม้มีการเก็บกู้ปืนใหญ่สัมฤทธิ์ส่วนมากของเรือขึ้นมาได้ในศตวรรษที่ 17 จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 1950 จึงมีการพบตำแหน่งของเรือท่ามกลางเส้นทางเดินเรือที่วุ่นวายนอกอ่าวสต็อกโฮล์ม ตัวเรือถูกเก็บกู้ในปี 1961 และนำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ชั่วคราวที่เรียกว่า Wasavarvet (อู่เรือวาซา) จนกระทั่งปี 1988 เรือจึงได้ถูกย้ายมาเก็บรักษาถาวรที่พิพิธภัณฑ์เรือวาซาในอุทยานแห่งชาตินครหลวง (Royal National City Park)[2] ในเมืองสต็อกโฮล์ม เรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งในประเทศสวีเดน โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยียนมากกว่า 35 ล้านคนตั้งแต่ปี 1961[3] ตั้งแต่เรือถูกค้นพบ วาซา ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ 'ช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่' ของประเทศสวีเดน

เรือถูกสร้างขึ้นภายใต้คำสั่งของกุสตาฟวัส อดอลฟัส (Gustavus Adolphus) กษัตริย์แห่งสวีเดน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขยายอำนาจทางทหารเพื่อทำสงครามกับโปแลนด์–ลิทัวเนีย (1621–1629) เรือต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือในสต็อกโฮล์มโดยวิสาหกิจเอกชนในระหว่างปี 1626–1627 มีการตกแต่งอย่างหรูหรา และติดตั้งอาวุธหลักซึ่งเป็นปืนใหญ่สัมฤทธิ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเรือและหล่อขึ้นในสต็อกโฮล์มเช่นเดียวกัน วาซา สามารถถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเรือติดอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในโลกในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตาม เรือกลับไม่มีเสถียรภาพและมีน้ำหนักมากเกินไปในโครงสร้างส่วนบนของตัวเรือ ส่งผลให้เรือจมลงภายในไม่กี่นาทีหลังเดินเรือและประสบกับกระแสลมแรง

คำสั่งให้แล่นเรือเป็นผลมาจากการรวมกันของหลายปัจจัย ได้แก่ กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพในโปแลนด์ในช่วงเวลานั้น ร้อนใจต้องการเห็น วาซา เป็นเรือธงของกองหนุนที่แอลสเนบิน (Älvsnabben) ในหมู่เกาะสตอกโฮล์ม และในขณะเดียวกันผู้ใต้บังคับบัญชาของกษัตริย์ยังขาดความกล้าหาญในการหารือถึงปัญหาของเรืออย่างเปิดเผยหรือดำเนินการเลื่อนการเดินเรือครั้งแรกออกไป คณะองคมนตรีแห่งสวีเดนได้เข้ามาทำการไต่สวนหาผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์การอับปางของ วาซา นี้ แต่สุดท้ายไม่มีใครถูกลงโทษ

ในช่วงปี 1961 มีการค้นพบโบราณวัตถุหลายพันชิ้นและซากศพของอย่างน้อย 15 ศพทั้งในและรอบ ๆ ตัวเรือ วาซา โดยนักโบราณคดีทางทะเล ในบรรดาสิ่งของที่ค้นพบมากมาย ประกอบด้วย เสื้อผ้า อาวุธ ปืนใหญ่ เครื่องมือ เหรียญ มีด อาหาร เครื่องดื่ม และใบเรือ สิ่งประดิษฐ์และตัวเรือเองได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าแก่นักวิชาการในรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธนาวี เทคนิคการต่อเรือ และชีวิตประจำวันในต้นศตวรรษที่ 17 ของประเทศสวีเดน

ส่วนบนของกระดานขวางท้ายเรือ

พื้นหลัง

แผนที่ดินแดนของสวีเดนที่แสดงถึงการขยายดินแดนและเสียดินแดนในระหว่างปี 1560–1815 ในปีเรือ วาซา ที่สร้างขึ้นและจมลง สวีเดนยังไม่ได้ขยายดินแดนไปถึงยังเมืองทางใต้ในปัจจุบัน แต่ครอบครองพื้นที่ที่เป็นของประเทศเอสโตเนียและประเทศเอสโตเนีย รวมทั้ง อินเกรีย (Ingria) และคาเรเลียในปัจจุบัน

ระหว่างศตวรรษที่ 17 สวีเดนมีประชากรกระจัดกระจาย ยากจน และเป็นอาณาจักรทางยุโรปเหนือที่มีอิทธิพลเพียงน้อยนิดต่อมหาอำนาจที่สำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป ระหว่างปี 1611 และ 1718 สวีเดนมีอำนาจมากขึ้นในทะเลบอลติกจนในที่สุดก็ได้ครอบครองอาณาเขตที่ครอบคลุมทะเลบอลติกในทุกด้าน และนำไปสู่อำนาจในกิจการระหว่างประเทศและทางทหารที่เพิ่มขึ้นเรียกว่า stormaktstiden ('ยุคแห่งความยิ่งใหญ่' หรือ 'ช่วงพลังอันยิ่งใหญ่') ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยการสืบสันตติวงศ์ และการจัดตั้งรัฐบาลกลางที่มีอำนาจเต็ม สนับสนุนองค์กรทางทหารที่มีประสิทธิภาพสูง นักประวัติศาสตร์ชาวสวีเดนได้อธิบายว่านี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สุดโต่งที่สุดของรัฐยุคสมัยใหม่ช่วงต้นที่ใช้ทรัพยากรเกือบทั้งหมดในการทำสงคราม อาณาจักรเล็กๆทางเหนือได้แปรสภาพมาเป็นรัฐเศรษฐศาสตร์การทหาร (Fiscal-military state) และเป็นหนึ่งในรัฐการทหารมากที่สุดในประวัติศาสตร์[4]

กษัตริย์กุสตาฟวัส อดอลฟัส (1594–1632) ถือว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์สวีเดนองค์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของการสงคราม เมื่อเรือ วาซา ถูกสร้างขึ้นหลังพระองค์ครองราชมามากกว่าทศวรรษแล้ว ในช่วงปลายรัชสมัย สวีเดนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำสงครามกับโปแลนด์ - ลิทัวเนียและได้ตระหนักถึงสงครามสามสิบปีที่กำลังก่อตัวขึ้น ซึ่งตามแผนของพระองค์สำหรับการรณรงค์โปแลนด์และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสวีเดนจำเป็นต้องมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งในทะเลบอลติก[5]

กองทัพเรือประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรงหลายครั้งในช่วงปีศตวรรษที่ 1620 ในปี 1625 ขณะกองเรือรบเดินเรือในอ่าวรีกาได้ประสบกับพายุทำให้เรือสิบลำเกยตื้นและอับปาง ในยุทธการที่โอลิวา ( the Battle of Oliwa) 1627 กองเรือรบสวีเดนพ่ายแพ้ต่อกองทัพโปแลนด์และสูญเสียเรือรบขนาดใหญ่สองลำ Tigern ('เสือ') ซึ่งเป็นเรือธงถูกยึดและ Solen ('พระอาทิตย์') ถูกระเบิดทำลายโดยลูกเรือเมื่อเรือใกล้ถูกยึด ในปี 1628 ได้สูญเสียเรือรบขนาดใหญ่สามลำในเวลาไม่ถึงเดือน เรือ Kristina ซึ่งเป็นเรือธงของพลเรือเอกคลาส เฟลมมิง (Clas Fleming) อับปางจากพายุในอ่าวดันท์ซิช (Gulf of Danzig) เรือ Riksnyckeln ('กุญแจอาณาจักร') เกยตื้นที่ทางตอนใต้ของหมู่เกาะสตอกโฮล์ม และ Vasa ได้อับปางในการเดินเรือหนแรก กษัตริย์กุสตาฟวัส อดอลฟัส ได้มีส่วนร่วมในยุทธนาวีหลายครั้ง ส่งผลให้กองทัพเรือยิ่งตกอยู่ในสภาพเลวร้าย นอกเหนือจากการต่อสู้กับกองทัพเรือโปแลนด์แล้ว ชาวสวีเดนยังถูกคุกคามทางอ้อมโดยกองกำลังจักรวรรดิที่รุกรานคาบสมุทรจัตแลนด์ กษัตริย์สวีเดนมีความเห็นใจต่อกษัตริย์เดนมาร์ก พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 อีกทั้ง เดนมาร์กและสวีเดนเป็นศัตรูคู่แค้นกันมานานนับศตวรรษ อย่างไรก็ตาม สวีเดนกลัวการพิชิตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในโคเปนเฮเกนและเกาะเชลลันด์ ซึ่งจำทำให้คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีอำนาจควบคุมเส้นทางยุทธศาสตร์ระหว่างทะเลบอลติกและทะเลเหนือซึ่งจะนำหายนะมาสู่ประโยชน์ของสวีเดน[5][6]

จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 17 กองทัพเรือสวีเดนส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเรือขนาดเล็กถึงขนาดกลางโดยมีดาดฟ้าติดตั้งปืนชั้นเดียว โดยปกติติดตั้งปืนใหญ่ 12 ปอนด์และปืนใหญ่ขนาดเล็กกว่า เรือเหล่านี้มีราคาถูกกว่าเรือขนาดใหญ่และเหมาะสำหรับการคุ้มกันและการลาดตระเวน อีกทั้งเรือยังเหมาะกับกลยุทธ์ที่ใช้อยู่ภายในกองทัพเรือ ซึ่งเน้นการขึ้นเรือเพื่อต่อสู้แตกหักในการรบทางเรือมากกว่าการยิงต่อสู้ กษัตริย์ผู้ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในทหารปืนใหญ่ มองเห็นศักยภาพของเรือในฐานะที่เป็นสถานีปืน มีขนาดใหญ่ และติดอาวุธหนัก สร้างความตื่นตะลึงในแสนยานุภาพทางทะเลในโรงละครทางการเมือง ดังนั้นกษัตริย์จึงสั่งสร้างชุดเรือที่มีดาดฟ้าติดตั้งปืน 2 ชั้น ติดตั้งอาวุธปืนที่ใหญ่ขึ้น โดยเริ่มต้นด้วยเรือ วาซา[7] มีเรือห้าลำถูกสร้างขึ้นหลังจาก วาซา (Äpplet, Kronan, Scepter และ Göta Ark) ก่อนที่สภาองคมนตรีจะยกเลิกคำสั่งสร้างเรือลำอื่นๆหลังจากที่กษัตริย์สวรรคตในปี 1632 เรือเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kronan และ Scepter ประสบความสำเร็จมากและทำหน้าที่เป็นเรือธงในกองทัพเรือสวีเดนจนถึงทศวรรษที่ 1660 เรือที่เหลือถูกขึ้นระวางเป็น regalskepp (โดยทั่วไปหมายถึง "เรือหลวง") [b] Äpplet ("The Apple"; คำในภาษาสวีเดนหมายถึงลูกโลกประดับกางเขน) ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับเรือ วาซา แต่เรือมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการออกแบบจากเรือ วาซา คือมีการเพิ่มความกว้างประมาณหนึ่งเมตร (3.1 ฟุต)[9]

การก่อสร้าง

ด้านกราบซ้ายของ วาซา

ก่อนที่เรือ วาซา ถูกสร้างขึ้น ในวันที่ 16 มกราคม 1625 เฮนริก ไฮเบิร์กซัน (Henrik Hybertsson) ("นายช่างเฮนริก") ชาวดัตช์ ซึ่งเป็นช่างต่อเรืออยู่ที่อู่ต่อเรือสตอกโฮล์ม เขาและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อาเรินท์ เดอ กรูต (Arendt de Groote) ได้ลงนามในสัญญาเพื่อสร้างเรือสี่ลำภายใต้คำสั่งของกษัตริย์แห่งสวีเดน สองลำมีกระดูกงูยาวราว 135 ฟุต (41 เมตร) และอีกสองลำมีขนาดเล็กกว่ามีกระดูกงูยาว 108 ฟุต (33 เมตร)[10]

นายช่างเฮนริกและอาเรินท์ เดอ กรูตเริ่มซื้อวัตถุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับสร้างเรือลำแรกในปี 1625 โดยซื้อไม้ซุงจากที่ดินจากหลายแห่งในสวีเดน ซื้อไม้กระดานไสหยาบในรีกา, เคอนิชส์แบร์ค (ปัจจุบันคือคาลีนินกราด), และอัมสเตอร์ดัม ขณะที่พวกเขาเตรียมที่จะเริ่มสร้างเรือลำแรกในฤดูใบไม้ร่วงในปี 1625 เฮนริกได้ติดต่อกับกษัตริย์ผ่านทางพลเรือโท คลาส เฟลมมิง (Klas Fleming) ในการสร้างเรือลำแรก เนื่องด้วยการสูญเสียเรือสิบลำจากพายุในอ่าวริกา ทำให้พระราชาดำริให้การสร้างเรือสองลำใหม่ให้มีขนาดกลางๆ และพระองค์ทรงส่งแบบเรือไปให้ ซึ่งเรือจะมีกระดูกงูยาว 120 ฟุต (35.6 ม.) แต่เฮนริกได้ปฏิเสธเนื่องจากเขาได้ตัดไม้ซุงสำหรับเรือขนาดใหญ่และขนาดเล็กไว้แล้ว เฮนริกได้วางกระดูกงูเรือลำใหญ่ในปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม 1626[11] แต่ท้ายที่สุดนายช่างเฮนริกกลับไม่มีวันได้เห็นเรือ วาซา เขาล้มป่วยลงในปลายปี 1625 และในฤดูร้อนปี 1626 เขาส่งมอบงานควบคุมการต่อเรือให้ เฮนริก "ฮาน" เจคอบส์สัน (Henrik "Hein" Jacobsson) นายช่างเฮนริกเสียชีวิตในฤดูใบไม้ผลิของปี 1627 ซึ่งอาจเป็นเวลาเดียวกันกับที่ปล่อยเรือ วาซา ลงน้ำ[12]

หลังปล่อยเรือลงน้ำ ก็ดำเนินการตกแต่งขั้นสุดท้ายบนดาดฟ้าเรือชั้นบนสุด ป้อมท้าย จงอยหัวเรือ (beakhead) และระโยง ในเวลานั้นประเทศสวีเดนยังไม่ได้พัฒนาอุตสาหกรรมผ้าใบเรือขนาดใหญ่ และต้องนำเข้าวัสดุดิบจากต่างประเทศ ในสัญญาการซ่อมบำรุงระโยงระบุให้ใช้ผ้าใบเรือนำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส แต่ผ้าใบเรือ วาซา น่าจะนำเข้าจากฮอลแลนด์[13] ใบเรือทำจากเส้นใยกัญชงเป็นส่วนใหญ่และป่านบางส่วน ระโยงทำจากกัญชงทั้งหมดนำเข้าจากประเทศลัตเวียผ่านทางรีกา กษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชมการก่อสร้างที่อู่ต่อเรือในเดือนมกราคม 1628[14]

แบบจำลองแสดงภาพตัดขวางของตัวเรือ วาซา ภาพวาดแสดงให้เห็นถึงระวางสินค้าและดาดฟ้าเรือสำหรับติดตั้งปืนสองชั้น

ในฤดูร้อนปี 1628 เรือเอก เซอฟรีง แฮนสัน (Söfring Hansson) ผู้รับผิดชอบควบคุมการต่อเรือ ได้จัดเตรียมการสาธิตเสถียรภาพของเรือให้แก่พลเรือโทเฟลมมิงซึ่งเดินทางมาจากแคว้นปรัสเซียชม ลูกเรือสามสิบชีวิตได้ดำเนินการแล่นเรือสาธิต แต่เมื่อเรือแล่นทดสอบได้เพียงสามเที่ยวพลเรือโทได้สั่งให้หยุดทดสอบเนื่องจากเกรงว่าเรือจะคว่ำ ขณะนั้น กษัตริย์กุสตาฟวัสก็ทรงส่งจดหมายกำชับเร่งรัดว่าเรือต้องเสร็จพร้อมแล่นเรือในทะเลโดยเร็วที่สุด[15]

มีการคาดคะเนกันว่าเรือ วาซา ถูกเพิ่มความยาวระหว่างการก่อสร้างและการเพิ่มดาดฟ้าติดตั้งปืนในภายหลัง มีหลักฐานเล็กน้อยที่ชี้ให้เห็นว่า วาซา ได้รับการแก้ไขอย่างมีนัยสำคัญหลังจากวางกระดูกงู ในเรือร่วมสมัยที่ถูกทำให้ยาวขึ้นจะถูกตัดครึ่งและนำไม้ซุงมาประกบเข้าระหว่างเรือทั้งสองส่วนทำให้สามารถระบุได้อย่างง่ายดาย แต่เรือ วาซา ไม่พบการประกบไม้ซุงที่ตัวเรือ และไม่พบหลักฐานใดๆในการเพิ่มดาดฟ้าติดตั้งปืนในภายหลัง กษัตริย์ทรงสั่งสร้างปืน 24 ปอนด์ 72 กระบอกสำหรับเรือในวันที่ 5 สิงหาคม 1626 และจำนวนปืนนั้นมากกว่าที่จะติดตั้งในดาดฟ้าเรือชั้นเดียวได้ นับตั้งแต่คำสั่งสร้างปืนของกษัตริย์ซึ่งล้าหลังจากเริ่มการต่อเรือเป็นเวลาน้อยกว่าห้าเดือน จึงเป็นไปได้ที่จะมีดาดฟ้าติดตั้งปืนสองชั้นอยู่ในการออกแบบแล้ว เรือ Galion du Guise ของฝรั่งเศสซึ่งใช้แบบจากเรือ วาซา อ้างอิงจากอาเรินท์ เดอ กรูต มีดาดฟ้าติดตั้งปืนสองชั้นด้วยเช่นกัน[16] การตรวจวัดโครงสร้างของ วาซา ด้วยเลเซอร์ที่ดำเนินการในปี 2007–2011 ยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญระหว่างการก่อสร้าง แต่พบว่าจุดศูนย์ถ่วงอยู่สูงเกินไป[17]

วาซา เป็นตัวอย่างแรกๆของเรือรบที่มีดาดฟ้าติดตั้งปืนสองชั้นปืนเต็ม และถูกสร้างขึ้นเมื่อความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีทางวิชาการของการต่อเรือยังไม่ดีพอ ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่านายช่างเฮนริกเคยสร้างเรือคล้ายแบบนี้มาก่อน และดาดฟ้าติดตั้งปืนสองชั้นมีความซับซ้อนที่จะออมชอมความทนทะเลกับอำนาจยิงมากกว่าดาดฟ้าติดตั้งปืนชั้นเดียว ส่วนเผื่อความปลอดภัยในเวลานั้นต่ำกว่าที่จะยอมรับได้ในปัจจุบัน เมื่อรวมกับความจริงที่ว่าเรือรบในศตวรรษที่ 17 นั้นถูกสร้างขึ้นโดยเจตนาให้โครงสร้างส่วนบนสูง (เพื่อใช้เป็นสถานียิง) ทำให้ วาซา มีความเสี่ยงอย่างมาก[18]

อาวุธยุทธภัณฑ์

ภาพภายในของดาดฟ้าเรือสำหรับติดตั้งปืนชั้นล่าง มองไปทางหัวเรือ

วาซา ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีการรบทางทะเล จากยุคการรบด้วยวิธีการเทียบเรือเพื่อบุกขึ้นยึดเรือซึ่งเป็นพื้นฐานในการต่อสู้กับเรือของศัตรูในยุคนั้น สู่ยุคการจัดกระบวนเรือรบแนวเส้นประจัญบานและมุ่งสู่ชัยชนะด้วยปืนใหญ่ที่เหนือกว่า เรือ วาซา ติดอาวุธปืนทรงพลังและสร้างท้ายเรือสูงซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถานียิงในการรบบนเรือของทหารประจำเรือ 300 นาย แต่ด้วยตัวเรือที่สูงและดาดฟ้าเรือชั้นบนสุดที่แคบทำให้ไม่เหมาะสำหรับการรบด้วยการบุกขึ้นเรือนัก วาซา ไม่ใช่เรือที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมา หรือไม่มีจำนวนปืนมากที่สุด แต่สิ่งที่ทำให้ วาซา เป็นเรือรบที่ทรงพลังที่สุดในเวลานั้น คือน้ำหนักรวมของกระสุนที่สามารถยิงได้ด้วยปืนใหญ่จากกราบเรือด้านเดียวคือ 588 ปอนด์ (267 กิโลกรัม) ซึ่งไม่นับรวมปืน Stormstycken หรือปืนที่ใช้ยิงกระสุนต่อต้านบุคคล นี่เป็นการรวมปืนใหญ่ที่มีขนาดโดยรวมใหญ่ที่สุดบนเรือรบลำเดียวในทะเลบอลติกในเวลาขณะนั้น บางทีอาจจะใหญ่ที่สุดในยุโรปเหนือทั้งหมด และคงสถิตินี้ไปจนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1630 เมื่อมีเรือถูกสร้างขึ้นและมีอำนาจยิงสูงกว่า ปืนใหญ่จำนวนมากถูกนำมาติดตั้งบนเรือที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดและจำนวนอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเปรียบเทียบกับ ยูเอสเอส คอนสทิทิวชัน ซึ่งเป็นเรือรบที่ถูกสร้างขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาหลัง วาซา 169 ปี มีอำนาจยิงเท่ากันแต่มีน้ำหนักมากกว่า 700 ตัน[19]

อย่างไรก็ตาม คอนสทิทิวชัน สร้างขึ้นหลังยุคยุทธนาวี ยึดตามกลยุทธเส้นแนวประจัญบาน ซึ่งเรือจะเรียงเป็นแนวเดียวและทั้งกลุ่มเรือจะหันปืนเรือด้านหนึ่งไปทางศัตรู ปืนจะโจมตีไปในทิศทางเดียวกันและอาจยิงไปที่เป้าหมายเดียวกัน ในศตวรรษที่ 17 ยุทธวิธีที่เกี่ยวข้องกองเรือขนาดใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนา การต่อสู้เป็นเรือลำต่อลำหรือเป็นกลุ่มเรือขนาดเล็กและมุ่งเน้นไปที่การขึ้นยึดเรือ วาซา แม้จะมีปืนเรือที่น่าเกรงขาม แต่ถูกสร้างด้วยบนพื้นฐานยุทธวิธีเหล่านี้ และดังนั้นปืนข้างลำเรือทั้งหมดนั้นจึงหันปืนไปในทิศทางเดียวกันอย่างคร่าวๆด้วยเจตนาที่ให้ปืนยิงได้อย่างอิสระ และปืนถูกจัดเรียงไปตามความโค้งของตัวเรือซึ่งหมายความว่า เรือจะมีปืนใหญ่ในทุกทิศทางและครอบคลุมทุกมุมอย่างแท้จริง[20][c]

วิชาปืนใหญ่ของกองทัพเรือในศตวรรษที่ 17 ยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น ปืนใหญ่มีราคาแพงและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเรือรบ ซึ่งอาจมีอายุมากกว่าศตวรรษในขณะที่เรือรบส่วนใหญ่มีอายุใช้งานเพียง 15 ถึง 20 ปี ในสวีเดนและอีกหลายประเทศในยุโรป เรือจะไม่มีปืนเป็นของตนเองแต่จะได้รับอาวุธจากคลังแสงสำหรับทุกการรบ เรือมักจะติดตั้งปืนที่มีขนาดและอายุแตกต่างกันมาก สิ่งที่ได้ทำให้ วาซา มีอำนาจยิงสูงนั้น ไม่เพียงแต่ปืนจำนวนมากที่ถูกอัดลงไปในเรือที่ค่อนข้างเล็ก แต่ยังรวมถึงปืนหลัก 24 ปอนด์ จำนวน 46 กระบอกแบบใหม่ที่มีการออกแบบให้มีน้ำหนักเบาและได้มาตรฐาน หล่อเป็นชุดเดียวกันที่โรงหล่อปืนของรัฐในสตอกโฮล์มภายใต้การดูแลของเมดดาร์ดัส กัสส์ (Medardus Gessus) ผู้ก่อตั้งชาวสวิส ปืนหัวเรือ 24 ปอนด์ 2 กระบอกเป็นแบบเก่าและมีขนาดที่หนักกว่า ยังมีปืนขนาดหนักอีก 4 กระบอกซึ่งตั้งใจจะติดตั้งที่ท้ายเรือ แต่โรงหล่อปืนใหญ่ไม่สามารถทำการหล่อปืนได้ทันการต่อเรือ และ วาซา ก็ต้องรอเกือบปีหลังต่อเสร็จจึงจะหล่อเสร็จสิ้น เมื่อแล่นเรือในเดือนสิงหาคม 1628 ปืนแปดกระบอกจาก 72 กระบอกยังไม่ได้รับการส่งมอบ ปืนใหญ่ทั้งหมดในช่วงเวลานั้น จะต้องทำจากแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเองซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ปืนของ วาซา มีความแม่นยำและสม่ำเสมอในการผลิต ซึ่งขนาดมิติของปืนนั้นแปรผันไปเพียงไม่กี่มิลลิเมตร และปากกระบอกลำกล้องปืนแปรผันไม่เกิน 146 มม. (5.7 นิ้ว) อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหลือของ วาซา ประกอบด้วยปืน 3 ปอนด์ 8 กระบอก ปืนครกขนาดใหญ่ 6 กระบอก สำหรับใช้ในระหว่างการดำเนินการขึ้นยึดเรือและปืนฟอลคอนเน็ต 1 ปอนด์ 2 กระบอก รวมกับดินปืน 894 กิโลกรัม (1,970 ปอนด์) และกระสุนปืนชนิดต่างๆมากกว่า 1,000 นัด[21]

การตกแต่ง

เรือจำลองขนาด 1:10 ที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เรือวาซา ถูกทาสีที่เชื่อว่าเป็นสีดั้งเดิม

ตามธรรมเนียมของเรือรบในเวลานั้น ชิ้นส่วนของเรือ วาซา ถูกตกแต่งด้วยรูปสลัก มีการพบการตกค้างของสีในประติมากรรมหลายชิ้นและในส่วนอื่นๆของเรือ การตกแต่งทั้งหมดถูกทาสีเพียงครั้งเดียวด้วยสีสันสดใส ด้านข้างของจงอยหัวเรือ (โครงสร้างที่ยื่นออกมาด้านล่างเสาหัวเรือ), กราบเรือ (ราวป้องกันรอบดาดฟ้าอากาศ), หลังคาของห้องพัก และพื้นของคานรับดาดฟ้าท้ายเรือ (พื้นผิวเรียบที่ท้ายเรือ) ล้วนทาสีแดง ในขณะที่รูปสลักนั้นตกแต่งด้วยสีสดใส และแปะแผ่นทองคำเปลวในบางจุดเพื่อให้เป็นประกายสุกใส ในอดีตเชื่อกันว่าสีพื้นเป็นสีฟ้าและงานประติมากรรมทั้งหมดได้รับการลงรักปิดทองเกือบทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นในภาพเขียนหลายภาพของ วาซา ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 ถึงต้นทศวรรษที่ 1990 เช่น ภาพวาดของบียอร์น แลนด์สตอม (Björn Landström) หรือ ภาพวาดของฟรานซิส สมิธ แมน (Francis Smitheman)[22] ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 มุมมองนี้ได้รับการแก้ไขสีให้ถูกต้องและเหมาะสมในสำเนาอุปกรณ์ตกแต่งเรือโดยจิตรกรด้านการเดินเรือสมุทรทิม ทอมสัน (Tim Thompson) และเรือจำลองมาตราส่วน 1:10 ในพิพิธภัณฑ์ วาซา เป็นตัวอย่างที่พบเห็นไม่มากนักของประติมากรรมเคลือบทองเกือบทั้งรูปสลักของศิลปะบารอกตอนต้น แต่ค่อนข้างจะเป็น "สิ่งที่น่าประหลาดใจสุดท้ายของขนบธรรมเนียมประติมากรรมสมัยกลาง" ด้วยความชื่นชอบในสีฉูดฉาด ในสไตล์ที่ทุกวันนี้พิจารณาว่าฟุ่มเฟือยหรือขาดความประณีต[6]

แบบจำลองประติมากรรมบางส่วนของเรือในพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์เรือวาซา ที่ได้รับการทาสีซึ่งเชื่อว่าเป็นสีดั้งเดิม

รูปสลักนั้นทำจากไม้โอ๊ก, เกี๊ยะ หรือลินเดน และชิ้นส่วนขนาดใหญ่หลายชิ้น เช่น รูปหัวสิงโตขนาดใหญ่ยาว 3 เมตร (10 ฟุต) ประกอบขึ้นจากไม้แกะสลักหลายชิ้นนำมาประกอบกันและยึดติดด้วยสลัก มีรูปสลักเกือบ 500 ชิ้นประดับในบริเวณท้ายเรือส่วนบน เฉลียง และบนจงอยหัวเรือ[23] รูปสลักเฮอร์คิวลีสปรากฏเป็นจี้ระย้าคู่หนึ่ง ที่ด้านหนึ่งมีอายุน้อยและด้านหนึ่งมีอายุมาก ในแต่ละด้านของเฉลียงท้ายเรือด้านล่าง จี้ระย้าที่แสดงถึงรูปลักษณ์ที่ตรงกันข้ามของฮีโร่สมัยโบราณได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยโบราณรวมถึงศิลปะยุโรปศตวรรษที่ 17 บนคานรับดาดฟ้าท้ายเรือเป็นภาพและสัญลักษณ์เกี่ยวกับความรักชาติและพระคัมภีร์ไบเบิ้ล บรรทัดฐานที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษคือสิงโตซึ่งสามารถพบได้ ในรูปแบบเครื่องตบแต่งแบบหน้ากาก (mascarons) บนประตูปืน ตราอาร์ม รูปแกะสลักบนหัวเรือ และส่วนบนของหางเสือ แต่ละด้านของจงอยหัวเรือมี 20 รูปสลัก (แม้ว่าจะค้นพบเพียง 19 อันเท่านั้น) ซึ่งสักเป็นรูปจักรพรรดิโรมันจากจักรพรรดิติแบริอุสไปถึงจักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส โดยรวมแล้วรูปวีรบุรุษทั้งหมดเป็นกษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชิดชูพวกเขาในฐานะผู้ปกครองที่ฉลาดและทรงอำนาจ มีรูปแกะสลักกษัตริย์เพียงรูปเดียวที่ติดตั้งที่ส่วนบนสุดของคานรับดาดฟ้าท้ายเรือที่ท้ายเรือ มีรูปลักษณ์เป็นเด็กผู้ชาย ผมยาวสรวย ได้รับการสวมมงกุฎโดยกริฟฟอนสองตัว ซึ่งเป็นตัวแทนของพระชนก พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งสวีเดน[24][d]

เม็ดสีที่ใช้ในอู่ต่อเรือซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เรือวาซา

ทีมงานผู้เชี่ยวชาญงานแกะสลักอย่างน้อยหกคนทำงานเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีในการแกะสลักงานประติมากรรมโดยมีเด็กฝึกงานและผู้ช่วยจำนวนหนึ่งให้การช่วยเหลือ ไม่มีการให้เครดิตบนรูปสลักใดๆ แต่มีรูปสลักหนึ่งสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นงานของศิลปินอาวุโสที่ชื่อมาร์เทิน เรทเมท (Mårten Redtmer) ส่วนศิลปินที่ประสบความสำเร็จคนอื่นๆ เช่น ฮาน เกลาซิงกะ (Hans Clausink), โยฮัน ไดแซน (Johan Tijsen) และมาร์คัส เลดัน (Marcus Ledens) เป็นที่รู้กันว่ามีการรับจ้างงานหลากหลายอยู่ที่อู่ต่อเรือในช่วงเวลาที่ วาซา ถูกสร้างขึ้น แต่รูปแบบงานของพวกเขานั้นไม่มีความแตกต่างกันมากพอที่จะเชื่อมโยงกับรูปสลักรูปใดโดยเฉพาะเจาะจงได้[25]


การเดินทางครั้งแรก

การสอบสวน

เชิงอรรถ

  1. ชื่อดั้งเดิมของเรือคือ Vasen ("ผูกพันไว้ด้วยกัน") ตามสัญลักษณ์มุทรบนตราอาร์มของราชวงศ์วาซา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดินของสวีเดนในเวลานั้น แต่ Vasa ได้กลายมาเป็นชื่อที่ได้รับการจดจำอย่างกว้างขวางมากที่สุด เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เรือวาซาเลือกชื่อนี้ตามการสะกดคำอย่างเป็นทางการในตอนปลายทศวรรษที่ 1980 การสะกดคำนี้ถูกนำมาใช้เพราะเป็นไปตามรูปแบบที่หน่วยงานด้านภาษาสวีเดนกำหนด และเป็นไปตามการปฏิรูปการสะกดคำอย่างเป็นทางการในสวีเดนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20
  2. จริงๆแล้วเรือ วาซา ไม่เคยถูกเรียกว่า regalskepp ก่อนที่จะอับปาง แต่มาถูกจัดเป็นเรือหลวงในภายหลัง[8]
  3. ปืนใหญ่ท้ายเรือ (stern chasers) ยังไม่ได้ติดตั้งบนเรือเมื่อเรืออับปาง[20]
  4. ก่อนขึ้นครองราชย์ พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นดยุกแห่งโซเดอร์แมนแลนด์ (Södermanland) มีตราอาร์มเป็นกริฟฟอนยืนผงาด ซึ่งเป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[24]

อ้างอิง

  1. "Vasa in Numbers, Vasa Museum
  2. Schantz, P. 2006. The Formation of National Urban Parks: a Nordic Contribution to Sustainable Development? In: The European City and Green Space; London, Stockholm, Helsinki and S:t Petersburg, 1850-2000 (Ed. Peter Clark), Historical Urban Studies Series (Eds. Jean-Luc Pinol & Richard Rodger), Ashgate Publishing Limited, Aldershot, pp. 159-174.
  3. 11 million at Wasavarvet 1961–88 and 18 million at the permanent museum since 1990. The total is based on statistics from the official website of the Vasa Museum: (สวีเดน) "Museets besökare" เก็บถาวร 14 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2011; "Vasas sista färd" เก็บถาวร 18 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2000(?).
  4. Hocker in Cederlund (2006), pp. 36–39; see also Jan Glete's paper The Swedish fiscal-military state and its navy, 1521–1721.
  5. 5.0 5.1 Roberts (1953–58)
  6. 6.0 6.1 Hocker in Cederlund (2006), p. 47.
  7. Hocker (2011), p. 147
  8. Hocker (2011), pp. 147–48.
  9. Hocker in Cederlund (2006), p. 39; for more on Äpplet, see (สวีเดน) Jan Glete, "Gustav II Adolfs Äpplet" in Marinarkeologisk tidskrift nr 4, 2002.
  10. Sandström (1982)
  11. Hocker in Cederlund (2006), pp. 43–44.
  12. Hocker in Cederlund (2006), p. 41.
  13. Hocker (2011), p. 94.
  14. Hocker in Cederlund (2006), pp. 47–50.
  15. Hocker in Cederlund (2006), p. 53.
  16. Hocker in Cederlund (2006), pp. 45–46.
  17. Hocker (2011), pp. 39–41.
  18. Fred Hocker in Cederlund (2006), p. 51
  19. Hocker in Cederlund (2006), p. 49.
  20. 20.0 20.1 Hocker (2011) pp. 58–59
  21. Hocker in Cederlund (2006), pp. 47–51.
  22. See sample from Smitheman's website here [1].
  23. Soop (1986), pp. 20–21.
  24. 24.0 24.1 Soop (1986), pp. 18–27.
  25. Soop (1986), pp. 241–253.

บรรณานุกรม

  • (สวีเดน) Cederlund, Carl Olof (1997) Nationalism eller vetenskap? Svensk marinarkeologi i ideologisk belysning. ISBN 91-7203-045-3
  • Cederlund, Carl Olof (2006) Vasa I, The Archaeology of a Swedish Warship of 1628, series editor: Fred Hocker ISBN 91-974659-0-9
  • (สวีเดน) Dal, Lovisa and Hall Roth, Ingrid Marinarkeologisk tidsskrift, 4/2002
  • Hocker, Fred (2011) Vasa: A Swedish Warship. Medströms, Stockholm. ISBN 978-91-7329-101-9
  • Kvarning, Lars-Åke and Ohrelius, Bengt (1998) The Vasa: the Royal Ship ISBN 91-7486-581-1
  • Roberts, Michael (1953–58) Gustavus Adolphus: A History of Sweden 1611–1632 (2 vols, 1953, 1958)
  • (สวีเดน) Sandström, Anders (1982) Sjöstrid på Wasas tid: Wasastudier, nr 9 ISBN 91-85268-15-1
  • Soop, Hans (1986) The Power and the Glory: The Sculptures of The Warship Wasa ISBN 91-7402-168-0
  • (สวีเดน) Modellen: Vasamodeller från när och fjärran (1997), ISBN 91-85268-69-0 (Vasa Museum exhibit catalog)
  • Franzén, Anders (1974) The Warship Vasa: deep diving and marine archaeology in Stockholm. Norstedt, Stockholm. ISBN 91-1-745002-0

แหล่งข้อมูลอื่น


59°19′40″N 18°05′28″E / 59.32778°N 18.09111°E / 59.32778; 18.09111