ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลมาอิรวดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุวรรณรักษ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| phylum = [[Chordata]]
| phylum = [[Chordata]]
| classis = [[Mammalia]]
| classis = [[Mammalia]]
| ordo = [[Cetacea]]
| ordo = [[Artiodactyla]]
| infraordo = [[Cetacea]]
| familia = [[Delphinidae]]
| familia = [[Delphinidae]]
| genus = ''[[Orcaella]]''
| genus = ''[[Orcaella]]''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 18 พฤษภาคม 2563

สำหรับโลมาน้ำจืดจำพวกอื่น ดูที่: โลมาแม่น้ำ

โลมาอิรวดี
โลมาอิรวดีในประเทศกัมพูชา
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับฐาน: Cetacea
วงศ์: Delphinidae
สกุล: Orcaella
สปีชีส์: O.  brevirostris
ชื่อทวินาม
Orcaella brevirostris
(Owen in Gray, 1866)[2]
แผนที่การกระจายพันธุ์ของโลมาอิรวดี
ชื่อพ้อง
รายชื่อ
  • Orca (Orcaella) brevirostris Owen in Gray, 1866 (basionym)
  • Orcaella brevirostris brevirostris Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella brevirostris fluminalis Ellerman & Morrison-Scott, 1951
  • Orcaella fluminalis Gray, 1871
  • Orcella brevirostris Anderson, 1871
  • Orcella fluminalis Anderson, 1871
  • Phocaena (Orca) brevirostris Owen, 1866

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (อังกฤษ: Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180-275 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.21 กิโลกรัม

มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร[3]

ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมหาคาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง โดยสถานที่ ๆ พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุด คือ ทะเลสาบสงขลา ในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย[4]

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์

โลมาอิรวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว เป็นต้น

อ้างอิง

  1. Minton, G., Smith, B.D., Braulik, G.T., Kreb, D., Sutaria, D. & Reeves, R. 2017. Orcaella brevirostris (errata version published in 2018). The IUCN Red List of Threatened Species 2017: e.T15419A123790805. http://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T15419A50367860.en. Downloaded on 30 December 2018.
  2. 2.0 2.1 Orcaella brevirostris (Owen in Gray, 1866)
  3. หน้า 109, กระเบนน้ำจืดแห่งชาติ. "Wild Ambition" โดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, ชวลิต วิทยานนท์. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 51: กันยายน 2014
  4. "สมุดโคจร: ทะเลสาบสงขลา". ช่อง 5. 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 20 June 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น