ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นโอรสใน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]] กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)<ref>http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html</ref> พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"<ref>ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ''ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) '', พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484</ref>
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นโอรสใน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์]] กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)<ref>http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html</ref> พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"<ref>ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ''ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) '', พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484</ref>


หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่[[ประเทศเดนมาร์ก]] เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2440 จึงได้เลื่อนยศทางทหารเป็น ร้อยเอก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/0A/369.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref>เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น [[หม่อมราชินิกุล]]มีนามว่าร้อยเอก ''หม่อมชาติเดชอุดม'' ถือศักดินา 800<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/035/502_3.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ], เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒</ref> จากนั้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 พฤศจิกายน หม่อมชาติเดชอุดมได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็น พันตรี<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/035/503.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref> ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันโท<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/002/25.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/008/118_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>และได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร<ref name="ลิ้นชักภาพเก่า">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[เอนก นาวิกมูล]]|ชื่อหนังสือ=ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์|URL= |จังหวัด=กรุงเทพ|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์วิญญูชน|ปี= พ.ศ. 2550|ISBN=978-974-94365-2-3|หน้า=หน้าที่|จำนวนหน้า=392}}</ref> ต่อมาได้เลื่อนเป็น ''พระยาวงษานุประพัทธ์'' ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/551.PDF พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนยศหม่อมชาติเดชอุดม] </ref>และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงเกษตราธิการ]]<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/A/94.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ] </ref> โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลโท หม่อมชาติเดชอุดม มารับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/191.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ] </ref>
หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่[[ประเทศเดนมาร์ก]] เมื่อ [[พ.ศ. 2425]] เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2440 จึงได้เลื่อนยศทางทหารเป็น ร้อยเอก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/0A/369.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref>เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น [[หม่อมราชินิกุล]]มีนามว่าร้อยเอก ''หม่อมชาติเดชอุดม'' ถือศักดินา 800<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/035/502_3.PDF พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ], เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒</ref> จากนั้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 พฤศจิกายน หม่อมชาติเดชอุดมได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็น พันตรี<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/035/503.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหาร] </ref> ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันโท<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/002/25.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/008/118_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>และได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร<ref name="ลิ้นชักภาพเก่า">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[เอนก นาวิกมูล]]|ชื่อหนังสือ=ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์|URL= |จังหวัด=กรุงเทพ|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์วิญญูชน|ปี= พ.ศ. 2550|ISBN=978-974-94365-2-3|หน้า=หน้าที่|จำนวนหน้า=392}}</ref> ต่อมาได้เลื่อนเป็น ''พระยาวงษานุประพัทธ์'' ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/551.PDF พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนยศหม่อมชาติเดชอุดม] </ref>และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี[[กระทรวงเกษตราธิการ]]<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/A/94.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ] </ref> โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลโท<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/152_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก]</ref>หม่อมชาติเดชอุดม มารับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/191.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ] </ref>


ปี พ.ศ. 2454 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า ''เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ'' ดำรงศักดินา 10,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1718.PDF ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา], เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๕๐๒</ref> ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ([[กระทรวงคมนาคม]]ในปัจจุบัน)
ปี พ.ศ. 2454 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า ''เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ'' ดำรงศักดินา 10,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1718.PDF ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา], เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๕๐๒</ref> ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ([[กระทรวงคมนาคม]]ในปัจจุบัน)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:03, 15 พฤษภาคม 2563

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
(หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
{{{alt}}}
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2453
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2409
หม่อมราชวงศ์กลาง สนิทวงศ์
อสัญกรรม20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 (74 ปี)
บิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
มารดาหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
คู่สมรสท่านผู้หญิงตาด วงษานุประพัทธ์
หม่อมบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมอุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตร-ธิดา14 คน
ไฟล์:เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ2.jpg
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2465
ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์.jpg
ภาพล้อเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6 ทรงวาดจากภาพต้นฉบับด้านบน

มหาอำมาตย์เอก[1]พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (นามเดิม:หม่อมราชวงศ์สท้าน หรือ หม่อมราชวงศ์กลาง) (24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 [2] - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2452 – 2455) และกระทรวงคมนาคม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมาตุลา (น้าชาย) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระอัยกา (ตา) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเคยเป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนบริเวณตอนเหนือของสยามกับหลวงพระบางในแคว้นอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่าง พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2450 [3]

ประวัติ

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)[4] พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"[5]

หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2440 จึงได้เลื่อนยศทางทหารเป็น ร้อยเอก[6]เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หม่อมราชินิกุลมีนามว่าร้อยเอก หม่อมชาติเดชอุดม ถือศักดินา 800[7] จากนั้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 พฤศจิกายน หม่อมชาติเดชอุดมได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็น พันตรี[8] ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันโท[9]กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก[10]และได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร[3] ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาวงษานุประพัทธ์ ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452[11]และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[12] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลโท[13]หม่อมชาติเดชอุดม มารับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ [14]

ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[15] ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (กระทรวงคมนาคมในปัจจุบัน)

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่ากระทรวงเกษตรพาณิชยการ แล้วให้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นเสนาบดี[16]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา [17]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459

เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ[18] สิริอายุ 74 ปี

บุตร-ธิดา

ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์

ท่านผู้หญิงตาด วงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี) เป็นธิดาพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เอม สิงหเสนี) กับคุณหญิงขลิบ ณรงค์เรืองฤทธิ์ (ธิดาเจ้าพระยาคทาธรธรนินทร์ (เยีย อภัยวงศ์))[19] มีบุตร-ธิดา 6 คน คือ

  1. หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) สมรสกับ หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์ และหม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ มีธิดารวม 3 คน ดังนี้
    1. ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา ภริยาหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
    2. อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    3. ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  2. หลวงจรัญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์)
  3. หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) สมรสกับท่านผู้หญิงประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้
    1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2. พิสิษฐ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    3. มนูเสรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    4. เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
  5. หม่อมหลวงแส สนิทวงศ์ เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์) มีโอรสธิดา ดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร
  6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

ท้าววนิดาพิจาริณี (หม่อมบาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตรธิดา 3 คน ดังนี้

  1. หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) มีบุตรธิดา 4 คนดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
    2. หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
    3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร)
    4. หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์
  2. พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (หงสนันทน์) มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
    1. พลอากาศเอก จารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2. คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์
    3. พันตรี ภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  3. หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค (หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์) สมรสกับนายสุรเทิน บุนนาค มีบุตรธิดา ดังนี้
    1. พลตรีกรีเมศร์ บุนนาค
    2. พันโทสุรธัช บุนนาค
อุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

นามเดิม อุบะ เศวตะทัต บุตรี ขุนญาณอักษรนิติ(ผล) เศวตะทัต กับ หวั่น (บุญธร)เศวตะทัต มีบุตรธิดา 2 คน คือ

  1. หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
  2. หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงหม่อมหลวงสารภี มิ่งเมือง)
บุตร-ธิดา ที่เกิดกับภรรยาอื่นๆ ได้แก่ [19]
  1. หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
  2. หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
  3. หม่อมหลวงสงบ (จู๊ด) สนิทวงศ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ธรรมเนียมยศของ
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
การเรียนใต้เท้ากรุณาเจ้า
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/ข้าพเจ้า
การขานรับขอรับ/พระเจ้าค่ะ

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ
  2. หนังสือ "ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์)" โดยข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าเกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2409
  3. 3.0 3.1 เอนก นาวิกมูลลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-94365-2-3
  4. http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html
  5. ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) , พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘, หน้า ๕๐๒
  8. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  9. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  10. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  11. พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนยศหม่อมชาติเดชอุดม
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
  13. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๕๐๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ผลัดเปลี่ยนเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่าง ๆ และรวมกระทรวง, เล่ม ๔๙, ตอน ๐ ก, ๒๙ มิถุนายน ๒๔๗๕, หน้า ๑๘๑
  17. http://www.sf.ac.th/honour/honour.htm
  18. http://thainews.prd.go.th/rachinephp/queen4.html
  19. 19.0 19.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๘๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ ง, ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๓๕๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๖, ตอน ๐, ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๒, หน้า ๓๓๑๘