ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ควง อภัยวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nitisart Jungtrakungrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = ควง อภัยวงศ์
| name = ควง อภัยวงศ์
| honorific-suffix =<br> {{small|[[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]],[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ม.ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ป.ม.]],[[เหรียญรัตนาภรณ์|อ.ป.ร.1]],[[เหรียญรัตนาภรณ์|ภ.ป.ร.1]]}}
| honorific-suffix =<br>[[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก|ม.ป.ช.]], [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย|ป.ม.]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8|อ.ป.ร.1]], [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9|ภ.ป.ร.1]]
| image = ควง อภัยวงศ์ 2475.jpg
| image = ควง อภัยวงศ์ 2475.jpg
| order = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] คนที่ 4
| order = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] คนที่ 4

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:34, 11 พฤษภาคม 2563

ควง อภัยวงศ์
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม 2487 – 31 สิงหาคม 2488
(1 ปี 30 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก่อนหน้าแปลก พิบูลสงคราม
ถัดไปทวี บุณยเกตุ
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม 2489 – 18 มีนาคม 2489
(0 ปี 46 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปปรีดี พนมยงค์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน 2490 – 8 เมษายน 2491
(0 ปี 149 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ก่อนหน้าถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปแปลก พิบูลสงคราม
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
2489–2511
ถัดไปหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 พฤษภาคม 2445
พระตะบอง ราชอาณาจักรสยาม
เสียชีวิต15 มีนาคม พ.ศ. 2511 (66 ปี)
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
คู่สมรสคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์
ลายมือชื่อ

รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ พันตรี ควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม 2445 – 15 มีนาคม 2511) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก

ควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนซึ่งร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์

พันตรีควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึงอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข[1] นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทยด้วย

ประวัติ

ควง อภัยวงศ์เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ จังหวัดพระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในมณฑลบูรพา ราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับนางรอด เขาสมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ และเป็นพระปิตุลา (อา) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระประยูรญาติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

เริ่มศึกษาหนังสือกับขุนอุทัยราชภักดี ผู้เป็นลุงข้างมารดา จากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนอัสสัมชัญ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่เอกอล ซังตรัล เดอ ลียอง ประเทศฝรั่งเศส

เคยรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกองช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข

และได้รับพระราชทานยศพันตรีปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีนในปี 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์ แต่ต่อมาลาออกจาก บรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2484

ซึ่งในสงครามครั้งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นนายทหารช่างผู้คุมงานก่อสร้างถนนไปเชียงตุง และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานการรับมอบดินแดนมณฑลบูรพาจากอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย[1]

การเมือง

บทบาททางการเมืองในช่วงแรก

พันตรีควง อภัยวงศ์ (ยืนซ้าย) กับเพื่อนนักเรียนไทยในฝรั่งเศส (นายปรีดี พนมยงค์ นั่ง) ซึ่งต่อมากลายเป็นแกนนำคณะราษฎร

ควง อภัยวงศ์เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนที่ร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นนักเรียนไทยในฝรั่งเศสรุ่นเดียวกับ นายปรีดี พนมยงค์ และจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ต.ควงมิได้รับรู้แผนการเชิงลึกเหมือนแกนนำคนอื่น ๆ เพราะเป็นสมาชิกที่เข้าถูกชวนให้ร่วมในภายหลัง แม้ว่าเขาจะเป็นนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสรุ่นเดียวกัน และรู้จักสนิทสนมกับบรรดาสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้ง 7 คนอย่างมาก ทั้งนายปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมถึงนายทวี บุณยเกตุ[1] แต่ถูกชวนให้เข้าร่วมคณะราษฎร เนื่องจากเป็นผู้รับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งตามแผนต้องมีการตัดสัญญาณการสื่อสารเหล่านี้เป็นประการแรก[2] ซึ่งในระหว่างการประชุมวางแผน ที่ประชุมกำหนดให้ พ.ต.ควงเป็นผู้ดูต้นทางหรือลาดเลาให้ ในเช้าตรู่ของวันก่อการ พ.ต.ควงได้รับให้ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถนัด คือ การตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขร่วมกับวิลาศ โอสถานนท์, ประยูร ภมรมนตรี และทหารเรืออีกจำนวนหนึ่ง ที่นำโดย หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) [3] ควงกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

เราถอนหายใจยาวพร้อมกัน 4 น. ครึ่งผ่านไปแล้ว ข้าพเจ้ายกมือขึ้นเป็นสัญญาณ อันเป็นฤกษ์งามยามดีของเรา แล้วสัญญาณแห่งการปฏิวัติก็อุบัติขึ้น สายโทรศัพท์ทางด้านนอกได้ถูกตัดลงแล้ว แล้วพวกเราก็กรูกันเข้าไปในที่ทำการชุมสายวัดเลียบ เพื่อตัดสายจากหม้อแบตเตอรี่ อันเป็นการตัดอย่างเด็ดขาดและสิ้นเชิง....

ทำการเสร็จแล้วไปถึงที่นัดหมายที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ไม่พบกับกลุ่มที่นัดหมาย จนนึกว่าทำการไม่สำเร็จ จึงกลับไปบ้าน แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็สำเร็จจนได้ [4]

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ขณะยังมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงโกวิทอภัยวงศ์ ได้เดินทางไปประชุมสากลไปรษณีย์ ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา พร้อมด้วยขุนชำนาญ (หลุย อินทุโสภณ) เลขานุการ และเมื่อเดินทางกลับจากประเทศอาร์เจนตินา ได้ไปดูงานโทรศัพท์อัตโนมัติที่ประเทศอังกฤษ และมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เครนไลน์ โดยพระเจ้าอยู่หัวทรงเลี้ยงอาหารค่ำ และได้ตรัสเรื่องต่าง ๆ ให้ควงได้รับรู้ และนับแต่นั้น ความคิดความเห็นของเขาก็เปลี่ยนไปเป็นอันมาก มักบ่นกับคนที่ชอบพอ และญาติใกล้ชิดว่า "เรามันผิดไปเสียแล้ว ควรที่จะถวายพระราชอำนาจคืน" ซึ่งข้อความนี้หนังสือพิมพ์บางฉบับได้นำไปโจมตีว่า ควงมีหัวนิยมเจ้า และบางฉบับกล่าวหาว่า ควงมีหัวโน้มเอียงไปทางคอมมิวนิสต์[1]

ก่อนหน้าการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา และ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาสองสมัย คือ วันที่ 22 กันยายน 2477 – 9 สิงหาคม 2480 และ 21 ธันวาคม 2480 – 16 ธันวาคม 2481

หลังจากนั้นพันตรีควงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 และไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนแรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 ในรัฐบาล พันเอก หลวงพิบูลสงครามระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2481 – 7 มีนาคม 2485 และตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2485 จนย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2485 ในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม (7 มีนาคม 2485 – 1 สิงหาคม 2487) ต่อมาพันตรีควง ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2486

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ (แถวที่ 2 คนแรกจากซ้าย) ขณะร่วมรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในนับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 9 ของไทย

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 11 ของไทย ภายหลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นไปโดยสถานการณ์บังคับ จากการได้รับเลือกโดยสภาฯ ในขณะที่ไม่มีผู้อื่นยินดีรับตำแหน่ง เนื่องจากเกรงจะถูกรัฐประหารโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในครั้งนั้นได้ปรึกษากับอธิบดีกรมตำรวจ และตัดสินใจเดินทางไปอธิบายกับ จอมพล ป. ถึงค่ายทหารที่จังหวัดลพบุรีจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับของจอมพล ป. ที่จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พร้อมกับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ ยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กระทรวงคมนาคม อีกด้วย

รัฐบาลของ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ประกาศสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 หลังจาก ประเทศญี่ปุ่น ประกาศยอมแพ้สงครามแล้ว 2 วัน โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ ลงนามในฐานะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระบุให้ การประกาศสงครามต่อ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ของจอมพล ป. เป็นโมฆะ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุผล เพื่อให้เป็นไปตามประเพณีนิยมแห่งวิถีการเมือง และเปิดโอกาสให้ผู้มีความเหมาะสม ในอันที่จะยังมิตรภาพ และดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจอันดีกับฝ่ายพันธมิตร ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป

หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งมี นายทวี บุณยเกตุ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประมาณ 17 วัน และผู้มารับช่วงต่อคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน หัวหน้าเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เดินทางกลับมารับช่วงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 และดำเนินการเจรจา กับประเทศอังกฤษ ในขณะที่ นายปรีดี พนมยงค์ ประสานขอความสนับสนุน จากประเทศจีน ให้ช่วยรับรอง จนประเทศไทย สามารถพ้นจากสถานะ ประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด

ในระหว่างที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้รับมอบหมายจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งข้าวให้อังกฤษ ซึ่งได้ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ไม่มีการคอร์รัปชั่น จนทางอังกฤษเอ่ยชมเชย

หลังจากเจรจากับอังกฤษจนสำเร็จ และประเทศไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามแล้ว ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ยุบสภาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะสมาชิกสภาชุดที่ถูกยุบนั้นได้รับเลือกตั้งมา ตั้งแต่ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 แต่เมื่อหมดวาระ 4 ปียังไม่ได้เลือกตั้งใหม่ เพราะติดช่วงสงครามโลก

วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกคำว่า "ประเทศไทย" (ไทยแลนด์) ให้ใช้คำว่า "สยาม" เหมือนเดิม โดยใช้ "ไทย" เป็นชื่อเชื้อชาติ ส่วนคำว่า"สยาม" เป็นชื่อประเทศ[5] นายควง อภัยวงศ์ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ในปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ได้ออกนโยบายฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีไทยในด้านๆต่างๆดังนี้

  • การฟื้นฟูวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่ตามประเพณีไทย ควบคู่กับวันขึ้นปีใหม่แบบสากล
  • การยกเลิกการใช้ภาษาวิบัติที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคจอมพล ป. โดยรณรงค์ส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
  • การนำบรรดาศักดิ์ไทยกลับมาใช้และได้มีการคืนบรรดาศักดิ์ให้แก่ผู้ที่ถูกยกเลิก โดยได้มีพระราชบัญญัติคืนยศ บรรดาศักดิ์ เครื่องราชอิสสริยาภรณ็ และสิทธิในการรับเบี้ยหวัดบำเหน็จและบำนาญ พุทธศักราช 2489 เพื่อนิรโทษกรรมแก่ผู้ต้องโทษทางการเมือง[6]
  • ฟื้นฟูกีฬาพื้นบ้าน เช่น กีฬาไก่ชน[7]

การเลือกตั้งมีขึ้นวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 พ.ต.ควงได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 ของไทย มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่หลังจากตั้งรัฐบาลได้เพียง 2 เดือน สภาฯ ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน (พ.ร.บ.ปักป้ายราคาสินค้าอุปโภคบริโภค หรือ "พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว") ที่เสนอโดย นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี (ผู้ใกล้ชิด นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย เขตอุบลราชธานี) ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐบาล พ.ต.ควง ไม่เห็นด้วยในหลักการ เนื่องจากไม่มีมาตรการ ในการควบคุมราคา คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตาม ร่างพระราชบัญญัตินั้นได้ และเกรงจะเป็นการเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วไป แต่สภาฯ ได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนน 65 ต่อ 63 เสียง รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการสนับสนุนจากสภา ให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และต่อมาได้ควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

การประกาศสันติภาพ เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ก่อนหน้านั้นมีความจำเป็นต้องประกาศสงคราม กับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ครั้นเมื่อดำรงตำแหน่งก็ได้ประกาศให้การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะ ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย ทำให้สัมพันธภาพของประเทศไทย กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรดีขึ้น และในที่สุดส่งผลให้ประเทศไทยพ้นจากสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม

หลังจากพ้นวาระในสมัยนี้แล้ว พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช รวมทั้งนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง เช่น นายใหญ่ ศวิตชาต, นายเลียง ไชยกาล, ดร.โชติ คุ้มพันธ์, พระยาศราภัยพิพัฒ, นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ และ นายฟอง สิทธิธรรม ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 โดย พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคคนแรก มี ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค และมี นายชวลิต อภัยวงศ์ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชาย เป็น รองเลขาธิการพรรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพรรคฝ่ายค้านคานอำนาจรัฐบาลของนายปรีดี ที่ขณะนั้นมีอำนาจอย่างสูง ที่เข้ามาแทนที่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ รับดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3 พร้อมทั้งรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ หลังการรัฐประหาร เพื่อจัดการเลือกตั้ง วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2491 นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 19 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรี หลังจัดการเลือกตั้งแล้วจึงพ้นวาระไป

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ กลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อเป็นสมัยที่ 4 เนื่องจากผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสียงข้างมาก พ.ต.ควง ในฐานะหัวหน้าพรรค จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องอีกสมัย พร้อมทั้งดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นับเป็น คณะรัฐมนตรีคณะที่ 20 มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ นายชวลิต อภัยวงศ์ เป็น รัฐมนตรี แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 กลุ่มนายทหารชุดเดียวกับคณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ก็บีบบังคับให้ลาออก และ สภาฯ มีมติให้ท่าน พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่า "ปฏิวัติเงียบ" หลังการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลับเข้า ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ยังคงอยู่ในแวดวงการเมือง ด้วยการนำพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯ อย่างแข็งขัน ในรัฐบาลหลายชุด ทั้ง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยสุดท้าย, รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น และใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 แทน ซึ่งมีบทบัญญัติให้ยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง เป็นต้น ทำให้บทบาททางการเมืองของ พ.ต.ควงต้องยุติไปโดยปริยาย ซึ่งเขาได้รอคอยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้น และตั้งความหวังไว้ว่าจะลงเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง แต่ได้อสัญกรรมลงเสียก่อน

เสียชีวิต

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคระบบทางเดินหายใจขัดข้อง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 ขณะอายุได้ 65 ปี โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

หลังการถึงแก่อสัญกรรม พรรคประชาธิปัตย์ได้ก่อตั้ง มูลนิธิควง อภัยวงศ์ ขึ้น ตามเจตนารมณ์ และให้ชื่ออาคารที่ทำการของพรรคหลังแรกว่า "อาคารควง อภัยวงศ์" เพื่อรำลึกถึงด้วย

บุคลิก

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ปราศรัยเมื่อปี พ.ศ. 2490

พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีไหวพริบปฏิภาณในการพูด การปราศรัยดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีมุขตลกสนุกสนานเป็นที่รู้จักกันอย่างดี จนได้ฉายามากมาย เช่น "นายกฯ ผู้ร่ำรวยอารมณ์ขัน" หรือ "จอมตลก" หรือ "ตลกหลวง"[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 จรี เปรมศรีรัตน์. กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 : 61 ปีประชาธิปัตย์ยังอยู่ยั้งยืนยง. นนทบุรี : ใจกาย, 2552. 323 หน้า. ISBN 9789747046724
  2. สองฝั่งประชาธิปไตย, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 26 กรกฎาคม 2556
  3. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  4. ควง อภัยวงศ์ ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง, นรนิติ เศรษฐบุตร ศ.ดร. คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย: ศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 เดลินิวส์ฉบับที่ 22,632
  5. เมืองไทยในอดีต รัชกาลที่ 8 ตอนที่ 3
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/029/288.PDF
  7. ไก่ชน
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์ สมัยที่ ๓)
  9. คารมเชือดคอของนายควง อภัยวงศ์
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 84 ตอนที่ 41 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๖๒ ตอน ๔๕ ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๘ หน้า ๑๒๕๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๕๘ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔ หน้า ๑๙๔๖
  13. บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หน้า ๒๕๓๖ เล่ม ๕๑, ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
  14. ราชกิจจานุเบกษาแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๑๘๕๔ เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม ๒๓ ตอน ๑๗ ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘ หน้า ๔๒๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา,[ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2511/D/023/765.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์] เล่ม ๘๕ ตอน ๒๓ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑ หน้า ๗๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ควง อภัยวงศ์ ถัดไป
แปลก พิบูลสงคราม ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(1 สิงหาคม 2487 – 31 สิงหาคม 2488)
ทวี บุณยเกตุ
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(31 มกราคม 2489 – 24 มีนาคม 2489)
ปรีดี พนมยงค์
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 3

(10 พฤศจิกายน 2490 – 8 เมษายน 2491)
แปลก พิบูลสงคราม
หลวงสินาดโยธารักษ์
(ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์)
ไฟล์:TH Ministry of Interior Seal.jpg
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(21 กุมภาพันธ์ 2491 – 8 เมษายน 2491)
แปลก พิบูลสงคราม
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
(10 พฤศจิกายน 2490 – 18 พฤศจิกายน 2490)
หม่อมเจ้า สิทธิพร กฤดากร
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(2 สิงหาคม 2487 – 10 มกราคม 2488)
เล้ง ศรีสมวงศ์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(8 กันยายน 2485 – 17 กุมภาพันธ์ 2486)
หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ไฟล์:ตรากระทรวงคมนาคม.png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(19 สิงหาคม 2485 – 8 กันยายน 2485)
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
สถาปนาตำแหน่ง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(2489 – 15 มีนาคม 2511)
หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช