ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
รับทูตบาเลสเตียร์
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เริ่มรับราชการใน[[รัชกาลที่ 1]] ในตำแหน่ง''นายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก'' ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 2]] ดำรงตำแหน่งเป็น''จมื่นเด็กชา'' หัวหมื่นมหาดเล็กใน[[กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์]]วังหน้า เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทิวงคตในปีพ.ศ. 2360 จึงย้ายกลับมารับราชการในวังหลวงตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้เลื่อนเป็น ''พระยาศรีสุริยวงศ์'' ในเวลาต่อมา ในพ.ศ. 2361 มีการขยายพระบรมมหาราชวังลงมาทางทิศใต้ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) และพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายจึงย้ายที่อยู่ไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใต้[[ชุมชนกุฎีจีน|บ้านกุฎีจีน]]<ref>http://www.bunnag.in.th/history7-home2.html</ref> [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) ขึ้นเป็น''พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา''จางวางพระคลังสินค้า
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เริ่มรับราชการใน[[รัชกาลที่ 1]] ในตำแหน่ง''นายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก'' ต่อมาใน[[รัชกาลที่ 2]] ดำรงตำแหน่งเป็น''จมื่นเด็กชา'' หัวหมื่นมหาดเล็กใน[[กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์]]วังหน้า เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทิวงคตในปีพ.ศ. 2360 จึงย้ายกลับมารับราชการในวังหลวงตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้เลื่อนเป็น ''พระยาศรีสุริยวงศ์'' ในเวลาต่อมา ในพ.ศ. 2361 มีการขยายพระบรมมหาราชวังลงมาทางทิศใต้ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) และพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายจึงย้ายที่อยู่ไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใต้[[ชุมชนกุฎีจีน|บ้านกุฎีจีน]]<ref>http://www.bunnag.in.th/history7-home2.html</ref> [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) ขึ้นเป็น''พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา''จางวางพระคลังสินค้า

ในพ.ศ. 2372 พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ปฏิสังขรณ์วัดร้างเดิมใน[[เขตคลองสาน]]<ref>http://www.bunnag.in.th/history7-temple3.html</ref>ใกล้กับนิวาสสถานและถวายขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯพระราชทานนามว่า "วัดพระยาญาติการาม" (ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพิชัยญาติการาม")

ในปีพ.ศ. 2381 ทาสในเรือน<ref name=":0" />ของพระสุริยอภัย (สนิท) บุตรชายคนโตของพระยาศรีพิพัฒน์ฯ ฟ้องร้องว่าพระสุริยอภัยลักลอบติดต่อสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับ[[เจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ 3|เจ้าจอมอิ่ม]] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้[[กรมหลวงรักษ์รณเรศ]]สืบสวนพบมีมูลความจริง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงมีพระเมตตาโปรดฯให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯขอพระราชอภัยโทษขึ้นมา แต่พระยาศรีพิพัฒน์ฯทูลว่าคนผิดต้องได้รับโทษขอให้ลงพระอาญาไปตามพระอัยการจึงจะสมควร<ref>http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang010.html</ref> พระสุริยอภัย (สนิท) บุตรชายคนโตของพระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงถูกประหารชีวิต


=== ปราบกบฏหวันหมาดหลี ===
=== ปราบกบฏหวันหมาดหลี ===
บรรทัด 37: บรรทัด 41:
ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2393 นายโยเซฟ บาสเลสเตียร์ (Joseph Balestier) ทูตของสหรัฐอเมริกาเดินทางมายังกรุงเทพเพื่อเจรจาขอแก้หนังสือสัญญา เนื่องจากในขณะนั้นเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กำลังเดินทางไปสักเลกยังหัวเมืองฝ่ายตะวันตก พระยาศรีพิพัฒน์ฯและจมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) จึงเป็นผู้ต้อนรับทูตแทน นายบาเลสเตียร์เข้าพบพระยาศรีพิพัฒน์ฯที่บ้านและพระยาศรีพิพัฒน์ฯกล่าวทักทายปราศรัยนายบาเลสเตียร์ แต่นายบาเลสเตียร์โกรธว่าฝ่ายสยามมัวแต่พูดจาทำให้เสียเวลา และหยิบจดหมายของประธานาธิบดีจากในกระเป๋าเสื้อยื่นให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯแล้วขอเข้าเฝ้าฯ พระยาศรีพิพัฒน์ฯตอบว่าจะต้องให้ขุนนางสยามถวายหนังสือก่อนแล้วค่อยเข้าเฝ้าฯ นำไปสู่การทุ่มเถียง<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref>ระหว่างพระยาศรีพิพัฒน์ฯและนายบาเลสเตียร์จนสุดท้ายนายบาเลสเตียร์เดินออกจากบ้านพระยาศรีพิพัฒน์ฯไป เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กลับมาถึงกรุงเทพฯ นายบาเลสเตียร์จึงฟ้องเจ้าพระยาพระคลังฯว่าพระยาศรีพิพัฒน์ฯดูถูกทูตอเมริกาและประเทศอเมริกา<ref name=":0" /> สุดท้ายนายบาเลสเตียร์จึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯไปโดยการเจรจาแก้สัญญาไม่ประสบผล
ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2393 นายโยเซฟ บาสเลสเตียร์ (Joseph Balestier) ทูตของสหรัฐอเมริกาเดินทางมายังกรุงเทพเพื่อเจรจาขอแก้หนังสือสัญญา เนื่องจากในขณะนั้นเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กำลังเดินทางไปสักเลกยังหัวเมืองฝ่ายตะวันตก พระยาศรีพิพัฒน์ฯและจมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) จึงเป็นผู้ต้อนรับทูตแทน นายบาเลสเตียร์เข้าพบพระยาศรีพิพัฒน์ฯที่บ้านและพระยาศรีพิพัฒน์ฯกล่าวทักทายปราศรัยนายบาเลสเตียร์ แต่นายบาเลสเตียร์โกรธว่าฝ่ายสยามมัวแต่พูดจาทำให้เสียเวลา และหยิบจดหมายของประธานาธิบดีจากในกระเป๋าเสื้อยื่นให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯแล้วขอเข้าเฝ้าฯ พระยาศรีพิพัฒน์ฯตอบว่าจะต้องให้ขุนนางสยามถวายหนังสือก่อนแล้วค่อยเข้าเฝ้าฯ นำไปสู่การทุ่มเถียง<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref>ระหว่างพระยาศรีพิพัฒน์ฯและนายบาเลสเตียร์จนสุดท้ายนายบาเลสเตียร์เดินออกจากบ้านพระยาศรีพิพัฒน์ฯไป เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กลับมาถึงกรุงเทพฯ นายบาเลสเตียร์จึงฟ้องเจ้าพระยาพระคลังฯว่าพระยาศรีพิพัฒน์ฯดูถูกทูตอเมริกาและประเทศอเมริกา<ref name=":0" /> สุดท้ายนายบาเลสเตียร์จึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯไปโดยการเจรจาแก้สัญญาไม่ประสบผล


=== เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ===
ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดให้เรียกพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาว่า '''เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ''' และโปรดเกล้าให้เป็น '''สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ''' ให้สำเร็จราชการทุกสิ่งใน[[พระนคร]] รวมทั้งว่าที่พระคลังสินค้า คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย" (เรียก[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] พี่ชายของท่านว่าว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่")
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2394 โปรดฯให้เรียกพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ว่า''เจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ''ไปก่อน ต่อมาจึงมีพระราชโองการจารึกสุพรรณบัฏเนื้อแปด แต่งตั้งพระยาศรีพิพัฒน์ฯขึ้นเป็น ''สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงศ สกลพงศประดิษฐา มุขมาตยาธิบดี ไตรสรณศรีรัตนธาดา สกลมหารัชชาธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชวโรประการ มโหฬารเดชานุภาพบพิตร'' ถือศักดินา 30,000 พระราชทานกลดเสลี่ยงงาพระแสงประดับพลอยลงยาราชาวดีเป็นเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม เป็นผู้สำเร็จราชการภายในพระนครและว่าที่พระคลังสินค้าเช่นเดิม ถือตราจันทรมณฑลเทพบุตรชักรถ ในขณะที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คนทั่วไปกล่าวขานนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่" ในขณะที่กล่าวนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย"

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเป็นหนึ่งในคณะผู้แทนสยามในการเจรจา[[สนธิสัญญาเบาว์ริง]] (Bowring Treaty) ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2398 สนธิสัญญาของสยามกับสหรัฐอเมริกาโดยมีนาย[[ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส]] เป็นผู้แทนในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2399 เรียกว่า สนธิสัญญาแฮร์ริส (Harris Treaty) และสนธิสัญญากับฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2399 โดยมีนายชาลส์ เดอ มงตีญี (Charles de Montigny) เป็นผู้แทนของพระ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 3]]


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นแม่กองสร้าง[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] สร้าง[[ภูเขาทอง|พระปรางค์ภูเขาทอง]] [[วัดสระเกศ]] สร้าง[[วัดปทุมวนาราม]] สร้าง[[พระอภิเนาว์นิเวศน์]]และ[[พระที่นั่งไชยชุมพล]] ซ่อม[[พระที่นั่งสุทไธสวรรย์]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถในการเดินเรือ เป็นผู้ต่อเรือบาร์จ (เรือท้องแบน) ขนาด 300 ตัน และเรือสกูนเนอร์ ขนาด 200 ตัน ใช้เดินทางติดต่อค้าขายถึง[[ศรีลังกา]]
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นแม่กองสร้าง[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] สร้าง[[ภูเขาทอง|พระปรางค์ภูเขาทอง]] [[วัดสระเกศ]] สร้าง[[วัดปทุมวนาราม]] สร้าง[[พระอภิเนาว์นิเวศน์]]และ[[พระที่นั่งไชยชุมพล]] ซ่อม[[พระที่นั่งสุทไธสวรรย์]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถในการเดินเรือ เป็นผู้ต่อเรือบาร์จ (เรือท้องแบน) ขนาด 300 ตัน และเรือสกูนเนอร์ ขนาด 200 ตัน ใช้เดินทางติดต่อค้าขายถึง[[ศรีลังกา]]


สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ถึงแก่พิราลัยในปี [[พ.ศ. 2400]] อายุ 66 ปี ขณะเป็นแม่กองสร้าง[[สวนนันทอุทยาน]]เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพ.ศ. 2400 อายุ 66 ปี ขณะเป็นแม่กองสร้าง[[สวนนันทอุทยาน]] ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระราชทานเพลิงศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติที่วัดพิชัยญาติการาม<ref name=":0" />


== เกียรติยศ ==
== เกียรติยศ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:04, 9 พฤษภาคม 2563

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
(ทัต บุนนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
{{{alt}}}
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2334
พระนคร  ไทย
ทัต
พิราลัยพ.ศ. 2400 (66 ปี)
พระนคร  ไทย
บิดาเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
มารดาเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
คู่สมรสท่านผู้หญิงน้อย
ตระกูลบุนนาค

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย นามเดิม ทัต บุนนาค ผู้สำเร็จราชการในพระนครฯในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งเป็น พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ที่พระคลังสินค้าในรัชกาลที่ 3

ประวัติ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2334 เดิมชื่อ ทัต เป็นบุตรคนที่สิบของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) มารดาคือเจ้าคุณนวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเกิดในสายสกุลบุนนาคซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) สมุหนายกชาวเปอร์เซียในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม บิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติคือเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหกลาโหมในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บ้านของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาอยู่ที่บริเวณกำแพงพระบรมมหาราชวังทางทิศใต้ บริเวณวัดพระเชตุพนฯในปัจจุบัน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติมีพี่สาวร่วมมารดาได้แก่เจ้าคุณวังหลวง (นุ่น) เจ้าคุณวังหน้า (คุ้ม) และเจ้าคุณปราสาท (ต่าย) และมีพี่ชายร่วมมารดาคือนายดิศ ต่อมาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เริ่มรับราชการในรัชกาลที่ 1 ในตำแหน่งนายสนิทหุ้มแพรมหาดเล็ก ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ดำรงตำแหน่งเป็นจมื่นเด็กชา หัวหมื่นมหาดเล็กในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์วังหน้า เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทิวงคตในปีพ.ศ. 2360 จึงย้ายกลับมารับราชการในวังหลวงตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ ในเวลาต่อมา ในพ.ศ. 2361 มีการขยายพระบรมมหาราชวังลงมาทางทิศใต้ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) และพระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายจึงย้ายที่อยู่ไปยังริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใต้บ้านกุฎีจีน[1] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ทัต) ขึ้นเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาจางวางพระคลังสินค้า

ในพ.ศ. 2372 พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ปฏิสังขรณ์วัดร้างเดิมในเขตคลองสาน[2]ใกล้กับนิวาสสถานและถวายขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯพระราชทานนามว่า "วัดพระยาญาติการาม" (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพิชัยญาติการาม")

ในปีพ.ศ. 2381 ทาสในเรือน[3]ของพระสุริยอภัย (สนิท) บุตรชายคนโตของพระยาศรีพิพัฒน์ฯ ฟ้องร้องว่าพระสุริยอภัยลักลอบติดต่อสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับเจ้าจอมอิ่ม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้กรมหลวงรักษ์รณเรศสืบสวนพบมีมูลความจริง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงมีพระเมตตาโปรดฯให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯขอพระราชอภัยโทษขึ้นมา แต่พระยาศรีพิพัฒน์ฯทูลว่าคนผิดต้องได้รับโทษขอให้ลงพระอาญาไปตามพระอัยการจึงจะสมควร[4] พระสุริยอภัย (สนิท) บุตรชายคนโตของพระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงถูกประหารชีวิต

ปราบกบฏหวันหมาดหลี

ในพ.ศ. 2382 กบฏหวันหมาดหลี หลานสองคน[5]ของสุลต่านตวนกูปะแงหรันแห่งไทรบุรีได้แก่ ตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad) และตนกูมูฮาหมัดอากิบ (Tunku Muhammad Akib) ร่วมมือกับหวันหมาดหลีซึ่งเป็นโจรสลัดในทะเลอันดามัน นำทัพเรือเข้าบุกยึดเมืองไทรบุรีในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) และเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพเรือลงไปช่วยเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ในการปราบกบฏไทรบุรี พระยาศรีพิพัฒน์ฯและเจ้าพระยายมราชยกทัพถึงเมืองสงขลาในเดือนเมษายน พบว่าพระภักดีบริรักษ์ (แสง) ได้ยึดเมืองไทรบุรีไว้ได้แล้ว

ขณะนั้นเกิดสงครามระหว่างสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 2 (Muhammad II) แห่งกลันตัน และเต็งกูหลงไซนัลอะบิดิน (Tengku Long Zainal Abidin) เจ้าเมืองบังโกล (Banggol) หรือ "พระยาบาโงย" พระยาบาโงยยกทัพเข้าโจมตีเมืองกลันตัน สุลต่านมูฮัมหมัดแห่งกลันตันสู้ไม่ได้จึงมีหนังสือถึงพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ขอความช่วยเหลือจากสยามเข้าช่วยปราบพระยาบาโงย พระยาศรีพิพัฒน์ฯมีตราเรียกให้ทั้งสุลต่านมูฮัมหมัดและพระยาบาโงยมาเจรจาสงบศึกกันที่เมืองสงขลา สุลต่านมูฮัมหมัดไม่ยอมมาและพระยาบาโงยหลบหนีไปตรังกานู พระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงส่งพระยาไชยานำกำลังไปจับตัวสุลต่านมูฮัมหมัดมาพบพระยาศรีพิพัฒน์ฯที่เมืองสงขลา เมื่อสุลต่านมูฮัมหมัดยินยอมสงบศึกแล้ว พระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงปล่อยตัวสุลต่านมูฮัมหมัดกลับไปยังกลันตันตามเดิม

เมื่อเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2382 พระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงจัดระเบียบการปกครองของไทรบุรีใหม่ โดยให้ตนกูอาหนุ่มขึ้นเป็นสุลต่านแห่งไทรบุรี และแบ่งรัฐไทรบุรีออกเป็นสามหน่วยการปกครองได้แก่สตูล ปะลิส และไทรบุรีเดิม ให้ตนกูมูฮัมหมัดอากิบเป็นเจ้าเมืองสตูล[6] ให้ตวนไซยิดฮุสเซน (Tuan Syed Hussein) เป็นเจ้าเมืองปะลิส หลังจากเสร็จสิ้นงานราชการที่หัวเมืองมลายูแล้ว พระยาศรีพิพัฒน์ฯจึงสร้างเจดีย์บนเขาเมืองสงขลาเรียกว่า "เจดีย์ขาว" เคียงคู่กับ "เจดีย์ดำ" ซึ่งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายได้สร้างขึ้นเมื่อยกทัพปราบหัวเมืองมลายูในพ.ศ. 2375

รับทูตบาเลสเตียร์

ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2393 นายโยเซฟ บาสเลสเตียร์ (Joseph Balestier) ทูตของสหรัฐอเมริกาเดินทางมายังกรุงเทพเพื่อเจรจาขอแก้หนังสือสัญญา เนื่องจากในขณะนั้นเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กำลังเดินทางไปสักเลกยังหัวเมืองฝ่ายตะวันตก พระยาศรีพิพัฒน์ฯและจมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) จึงเป็นผู้ต้อนรับทูตแทน นายบาเลสเตียร์เข้าพบพระยาศรีพิพัฒน์ฯที่บ้านและพระยาศรีพิพัฒน์ฯกล่าวทักทายปราศรัยนายบาเลสเตียร์ แต่นายบาเลสเตียร์โกรธว่าฝ่ายสยามมัวแต่พูดจาทำให้เสียเวลา และหยิบจดหมายของประธานาธิบดีจากในกระเป๋าเสื้อยื่นให้พระยาศรีพิพัฒน์ฯแล้วขอเข้าเฝ้าฯ พระยาศรีพิพัฒน์ฯตอบว่าจะต้องให้ขุนนางสยามถวายหนังสือก่อนแล้วค่อยเข้าเฝ้าฯ นำไปสู่การทุ่มเถียง[3]ระหว่างพระยาศรีพิพัฒน์ฯและนายบาเลสเตียร์จนสุดท้ายนายบาเลสเตียร์เดินออกจากบ้านพระยาศรีพิพัฒน์ฯไป เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) กลับมาถึงกรุงเทพฯ นายบาเลสเตียร์จึงฟ้องเจ้าพระยาพระคลังฯว่าพระยาศรีพิพัฒน์ฯดูถูกทูตอเมริกาและประเทศอเมริกา[3] สุดท้ายนายบาเลสเตียร์จึงเดินทางออกจากกรุงเทพฯไปโดยการเจรจาแก้สัญญาไม่ประสบผล

เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2394 โปรดฯให้เรียกพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ว่าเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติไปก่อน ต่อมาจึงมีพระราชโองการจารึกสุพรรณบัฏเนื้อแปด แต่งตั้งพระยาศรีพิพัฒน์ฯขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ นรเนตรนารถราชสุริยวงศ สกลพงศประดิษฐา มุขมาตยาธิบดี ไตรสรณศรีรัตนธาดา สกลมหารัชชาธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชวโรประการ มโหฬารเดชานุภาพบพิตร ถือศักดินา 30,000 พระราชทานกลดเสลี่ยงงาพระแสงประดับพลอยลงยาราชาวดีเป็นเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม เป็นผู้สำเร็จราชการภายในพระนครและว่าที่พระคลังสินค้าเช่นเดิม ถือตราจันทรมณฑลเทพบุตรชักรถ ในขณะที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ผู้เป็นพี่ชายได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ คนทั่วไปกล่าวขานนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่" ในขณะที่กล่าวนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย"

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเป็นหนึ่งในคณะผู้แทนสยามในการเจรจาสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2398 สนธิสัญญาของสยามกับสหรัฐอเมริกาโดยมีนายทาวน์เซนด์ แฮร์ริส เป็นผู้แทนในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2399 เรียกว่า สนธิสัญญาแฮร์ริส (Harris Treaty) และสนธิสัญญากับฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2399 โดยมีนายชาลส์ เดอ มงตีญี (Charles de Montigny) เป็นผู้แทนของพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เป็นแม่กองสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม สร้างพระปรางค์ภูเขาทอง วัดสระเกศ สร้างวัดปทุมวนาราม สร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์และพระที่นั่งไชยชุมพล ซ่อมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ในพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ท่านยังมีความสามารถในการเดินเรือ เป็นผู้ต่อเรือบาร์จ (เรือท้องแบน) ขนาด 300 ตัน และเรือสกูนเนอร์ ขนาด 200 ตัน ใช้เดินทางติดต่อค้าขายถึงศรีลังกา

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพ.ศ. 2400 อายุ 66 ปี ขณะเป็นแม่กองสร้างสวนนันทอุทยาน ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระราชทานเพลิงศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติที่วัดพิชัยญาติการาม[3]

เกียรติยศ

ธรรมเนียมยศของ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)
ตราประจำตัว
การเรียนใต้พระบาทเจ้า
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับขอรับเหนือเกล้า/เจ้าค่ะ
ไฟล์:รูปหล่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัด บุนนาค).jpeg
รูปหล่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัดบุนนาค) ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

บุตรธิดา

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติมีบุตรธิดา ดังนี้

ท่านผู้หญิงน้อย

ท่านผู้หญิงน้อยเป็นธิดาพระยาสมบัติบาล (เสือ) กับคุณหญิงม่วง ธิดาเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (ชูโต) พระเชษฐาใน สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีใน รัชกาลที่ 1

  • พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) สมรสกับคุณศรี ธิดาพระยาอุไทยธรรม (กลาง ณ บางช้าง) กับคุณหญิงน่วม พระยาอุไทยธรรม (กลาง ณ บางช้าง) เป็นบุตรที่ 2 ในพระยาสมุทรสงคราม (ศร ณ บางช้าง) และเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (แก้ว) พระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1[7]
  • คุณชายกลาง บุนนาค
  • คุณชายแดง บุนนาค
  • เจ้าคุณตำหนักเดิม (นุ่ม บุนนาค)
  • คุณชายผูก บุนนาค
  • คุณหญิงแห บุนนาค
  • นายชิด มหาดเล็กวิเศษ
  • เจ้าคุณหญิงเป้า ภรรยาพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)
  • คุณชายนพ บุนนาค
  • คุณชายกระจ่าง บุนนาค
  • เจ้าคุณหญิงคลี่ บุนนาค
  • คุณชายโต บุนนาค

หม่อมหงิม

หม่อมหงิมเป็นหม่อมประทานจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

  • เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (แพ บุนนาค)
  • พระยาอิศรานุภาพ (เอี่ยม บุนนาค)
  • คุณหญิงลิ้นจี่ บุนนาค
  • พระยานานาพิธภาษี (โต บุนนาค)

หม่อมมิ่ง

หม่อมมิ่งเป็นหม่อมประทานจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี

  • คุณหญิงสวน บุนนาค รับราชการฝ่ายในเป็นพนักงานผ้าเหลือง
  • คุณหญิงนิ่ม บุนนาค
  • คุณหญิงลำเภา บุนนาค
  • พระยากลาโหมราชเสนา (ฉ่ำ บุนนาค)

หม่อมน้อย

หม่อมทรัพย์

  • คุณหญิงหุ่น ภรรยาพระยาวงศาภรณ์ภูษิต (เมฆ บุนนาค)

ภรรยาท่านอื่น ๆ

  • ท้าวศรีสัจจา (เลื่อน บุนนาค)
  • หม่อมมณฑา ในหม่อมเจ้าประทุมเสพย์ ฉัตรกุล

อ้างอิง

  1. http://www.bunnag.in.th/history7-home2.html
  2. http://www.bunnag.in.th/history7-temple3.html
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓.
  4. http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang010.html
  5. https://www.royalark.net/Malaysia/kedah4.htm
  6. http://human.skru.ac.th/husoconference/conf/O16.pdf
  7. ลำดับราชินิกุลบางช้าง พิมพ์ในงานศพพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) ปีมะแม พ.ศ. 2462