ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครหาดใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขส่วนนำ
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
}}
}}


'''นครหาดใหญ่''' เป็น[[เทศบาลนครในประเทศไทย|เทศบาลนคร]]ที่ตั้งอยู่ในเขต[[อำเภอหาดใหญ่]] [[จังหวัดสงขลา]] หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้]]<ref>http://www.rd.go.th/songkhla2/76.0.html</ref> เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของภาคใต้ หาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดใหญ่ทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 159,233 คน<ref name="stat">[http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showZoneData.php?rcode=9098&statType=1&year=60 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครหาดใหญ่] ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง</ref>
'''นครหาดใหญ่''' เป็น[[เทศบาลนครในประเทศไทย|เทศบาลนคร]]ที่ตั้งอยู่ใน[[อำเภอหาดใหญ่]] [[จังหวัดสงขลา]] หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้]]<ref>http://www.rd.go.th/songkhla2/76.0.html</ref> เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจาก[[เทศบาลนครนนทบุรี]] และ[[เทศบาลนครปากเกร็ด]] หาดใหญ่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดใหญ่ทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 159,233 คน<ref name="stat">[http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showZoneData.php?rcode=9098&statType=1&year=60 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครหาดใหญ่] ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง</ref>


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:31, 8 พฤษภาคม 2563

เทศบาลนครหาดใหญ่
ภาพมุมสูงของหาดใหญ่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555
ภาพมุมสูงของหาดใหญ่ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครหาดใหญ่
ตรา
คำขวัญ: 
มหานครแห่งการค้า นำพาความศิวิไลช์ หาดใหญ่แดนสันติสุข
ทน.หาดใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.หาดใหญ่
ทน.หาดใหญ่
ที่ตั้งของเทศบาลนครหาดใหญ่
พิกัด: 7°1′N 100°28′E / 7.017°N 100.467°E / 7.017; 100.467พิกัดภูมิศาสตร์: 7°1′N 100°28′E / 7.017°N 100.467°E / 7.017; 100.467
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
อำเภอหาดใหญ่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีดร.ไพร พัฒโน (ลาออก)
พื้นที่
 • ทั้งหมด21 ตร.กม. (8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด159,233 คน
 • ความหนาแน่น7,582.52 คน/ตร.กม. (19,638.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่
เลขที่ 445 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์0 7420 0000
โทรสาร0 7423 5536
เว็บไซต์http://www.hatyaicity.go.th/ www.hatyaicity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครหาดใหญ่ เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หาดใหญ่ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้[2] เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมขนส่งที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นเทศบาลนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี และเทศบาลนครปากเกร็ด หาดใหญ่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครหาดใหญ่เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดใหญ่ทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 159,233 คน[1]

ประวัติ

ยุคสุขาภิบาลหาดใหญ่

หาดใหญ่ เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและบ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกเสม็ดชุน เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินและเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ในปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ประชาชนได้ทยอยย้ายบ้านเรือนมาสร้างตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา

ต่อมาได้มีผู้เห็นการไกลกล่าวว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน ในที่สุดปี พ.ศ. 2471 หาดใหญ่จึงมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2471

ยุคเทศบาลตำบลหาดใหญ่

ต่อมาสุขาภิบาลแห่งนี้เจริญขึ้น มีพลเมืองหนาแน่นขึ้น และมีกิจการเจริญก้าวหน้า กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น เทศบาลตำบลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5,000 คน รวมถึงมีรายได้ประมาณ 60,000 บาท

ยุคเทศบาลเมืองหาดใหญ่

เมื่อประชากรในเขตเทศบาลมีมากขึ้น พร้อมทั้งกิจการได้เจริญขึ้น จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาล และมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่เป็น เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2492 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2492 ซึ่งในขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตรเช่นเดิม แต่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ 19,425 คน มีรายได้ 374,523.33 บาท

เมื่อท้องที่ในเขตเทศบาลเจริญและมีประชากรอยู่หนาแน่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหาดใหญ่ จากเนื้อที่ 8 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นอีก 13 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2520 ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2520 ในขณะนั้นมีประชากร 68,142 คน มีรายได้ 49,774,558.78 บาท นับได้ว่าเทศบาลเมืองหาดใหญ่เป็นเทศบาลชั้น 1 มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก

ยุคเทศบาลนครหาดใหญ่

หาดใหญ่ยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบก และทางอากาศ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางทางด้านคมนาคม และด้วยศักยภาพที่โดดเด่น และถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะรวมไปถึงวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลของผู้บริหาร ทำให้เทศบาลเมืองหาดใหญ่ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลนครหาดใหญ่ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 ซึ่งปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ตารางกิโลเมตร

การปกครอง

ชุมชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

ภูมิอากาศ

นครหาดใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปี คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนมีนาคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ นครหาดใหญ่จะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง ในปี พ.ศ. 2546 ฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม และฝนตกน้อยที่สุดในเดือนเมษายน
ข้อมูลภูมิอากาศของหาดใหญ่
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.8
(87.4)
32.5
(90.5)
34.2
(93.6)
34.6
(94.3)
33.3
(91.9)
33.1
(91.6)
32.9
(91.2)
32.9
(91.2)
32.2
(90)
31.6
(88.9)
30.1
(86.2)
29.4
(84.9)
31.4
(88.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.4
(70.5)
21.8
(71.2)
22.5
(72.5)
23.4
(74.1)
23.8
(74.8)
23.5
(74.3)
23.1
(73.6)
23.3
(73.9)
23.1
(73.6)
23.2
(73.8)
22.9
(73.2)
22.2
(72)
22.85
(73.13)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 44.7
(1.76)
14.9
(0.587)
41.6
(1.638)
106.3
(4.185)
181.2
(7.134)
88.2
(3.472)
104.6
(4.118)
100.0
(3.937)
153.6
(6.047)
219.6
(8.646)
294.9
(11.61)
265.2
(10.441)
1,614.8
(63.575)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 7 3 5 11 16 13 13 14 18 21 21 18 160
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department

เศรษฐกิจ

ใจกลางนครหาดใหญ่

หาดใหญ่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้าและการบริการของภาคใต้ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม (รองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว) และอุตสาหกรรม ได้แก่ อาชีพค้าขาย ธุรกิจบริการ และเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ ลักษณะของเมืองมีขนาดกระชับตัวมาก มีศูนย์กลางเมืองกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ประชิดทางรถไฟ สภาพเมืองขยายตัวออกไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของอาคารสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตึกแถวพาณิชย์ชั้นล่างและอยู่อาศัยชั้นบน อาคารลักษณะเดี่ยวมีน้อยและกระจายตัวอยู่ประปราย จำนวนอาคารสถานประกอบการต่างๆ ดังนี้

  • สถานที่จำหน่ายอาหาร (ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข) 1,600 แห่ง
  • สถานบริการ (ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ) 239 แห่ง
  • โรงพยาบาล และสถานีอนามัย 7 แห่ง
  • โรงแรม 96 แห่ง
  • โรงภาพยนตร์ 2 แห่ง
  • ธนาคาร 10 แห่ง

การท่องเที่ยว

พระพุทธมงคลมหาราชในสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่

สถานที่ท่องเที่ยวในหาดใหญ่ ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้แก่

  • วัดหาดใหญ่ใน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ใกล้สะพานคลองอู่ตะเภา มีพระนอนขนาดใหญ่ คือ พระพุทธหัตถมงคล ซึ่งมีผู้นิยมเดินทางมานมัสการจำนวนมาก
  • สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งอยู่ถนนกาญจนวนิช เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวหาดใหญ่และนักท่องเที่ยว ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท้าวมหาพรหม พระพุทธมงคลมหาราช พระโพธิสัตว์กวนอิมหยก และจุดชมวิวอีกหลายจุดที่สามารถชมเมืองหาดใหญ่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
  • ตลาดกิมหยง เป็นตลาดเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งเมืองหาดใหญ่ มีสินค้าราคาถูก ทั้งผลไม้และของใช้ต่างๆเพื่อเป็นของขวัญและของฝากช่วงเทศกาล
  • ตลาดสันติสุข เป็นแหล่งรวมสินค้าราคาถูกมากมายจนขึ้นชื่อว่าเป็น Shopping Paradise

ประชากร

ประชากรเทศบาลนครหาดใหญ่
ปีประชากร±%
2537 152,438—    
2540 155,260+1.9%
2543 157,022+1.1%
2546 160,669+2.3%
2549 156,723−2.5%
2552 157,604+0.6%
2555 157,917+0.2%
2558 159,687+1.1%
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เทศบาลนครหาดใหญ่มีประชากรทั้งสิ้น 158,218 คน เป็นชาย 73,701 คน หญิง 84,517 คน จำนวนบ้าน 58,434 หลัง (ข้อมูล ณ มิถุนายน พ.ศ. 2555) แบ่งเป็น 101 ชุมชน ความหนาแน่นของประชากร 7,529 คนต่อตารางกิโลเมตร (บริเวณกลางเมืองความหนาแน่นถึง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตร) ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นและอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 10 ของประชากร)

การคมนาคม

นครหาดใหญ่มีโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างสมบูรณ์สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดต่าง ๆ เป็นเมืองหลักของภาคใต้ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวกได้ทั้งภายในภูมิภาค และนานาชาติ

ทางถนน

จากกรุงเทพมหานครถึงนครหาดใหญ่ ประมาณ 925 กิโลเมตร มีการคมนาคมโดยทางหลวงแผ่นดิน คือ

ทางราง

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างอำเภอหาดใหญ่กับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงประเทศมาเลเซียได้ โดยชุมทางรถไฟหาดใหญ่เป็นชุมทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ เส้นทางรถไฟสายใต้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานครลงไปถึงชุมทางหาดใหญ่ ระยะทางยาวประมาณ 945 กิโลเมตร จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางสายหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ความยาว 45 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟของมาเลเซียจนถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางสายหาดใหญ่–อำเภอสุไหงโก-ลก ความยาว 110 กิโลเมตร หาดใหญ่เป็นสถานีชุมทางต่างประเทศแห่งเดียวของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังคาบสมุทรมลายูด้วย เป็นสถานีรถไฟที่มีปริมาณผู้ใช้บริการหนาแน่นมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยในอนาคต อาจมี 2 เส้นทาง ได้แก่

  • สายสีฟ้า ระยะทาง 6.65 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม จากตลาดเกษตรหาดใหญ่ใน ถึงแยกคอหงส์ ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลัก ที่มีปริมาณการจราจรสูงสุดของเมืองหาดใหญ่
  • สายสีแดง ระยะทาง 6.19 กิโลเมตร บนถนนเพชรเกษม, ถนนราษฎร์ยินดี, ถนนศรีภูวนารถ และถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 3 เป็นเส้นทางวงแหวนสีแดงชั้นใน ที่จะเชื่อมเขตเศรษฐกิจใหม่บนถนนราษฎร์ยินดี เขตใจกลางเมือง หน้าหอนาฬิกา

และจะมีบางช่วงที่สายสีฟ้าและสายสีแดงใช้ทางร่วมกันได้ เรียกว่า จุดซ้อน (Overlap) ซึ่งเป็นระยะทางจาก จุดชุมทาง A และชุมทาง B ระยะทาง 1.78 กิโลเมตร จากแยกโรงแรมวีแอล ถึงแยกเพชรเกษม–ราษฎร์ยินดี

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีปริมาณการจราจรหนาแน่นอันดับ 6 ของประเทศ

ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ และตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง ห่างจากเขตเทศบาลประมาณ 12 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพื้นที่ประมาณ 4.80 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,000 ไร่โดยให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00–24.00 น. ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศรองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานกระบี่

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น