ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษากงกัณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
AlleborgoBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: pl:Język konkani
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
[[nl:Konkani (taal)]]
[[nl:Konkani (taal)]]
[[no:Konkani]]
[[no:Konkani]]
[[pl:Język konkani]]
[[pt:Língua concani]]
[[pt:Língua concani]]
[[simple:Konkani language]]
[[simple:Konkani language]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:11, 30 ธันวาคม 2550

ภาษากอนกานี
कोंकणी Konknni ಕೊಂಕಣಿ കൊംകണീ koṃkaṇī
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาคกอนกาน
จำนวนผู้พูด7.6 ล้านคน(ค่าประมาณ)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี(ทางการ), อักษรละติน, อักษรกันนาดา, อักษรมาลายาลัม และ อักษรอาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-2kok
ISO 639-3มีหลากหลาย:
kok – ภาษากอนกานี (ทั่วไป)
knn – ภาษากอนกานี (เฉพาะ)
gom – ภาษากอนกานีถิ่นกัว

ภาษากอนกานี(อักษรเทวนาครี: कोंकणी ; อักษรกันนาดา:ಕೊಂಕಣಿ; อักษรมาลายาลัม:കൊംകണീ ; อักษรโรมัน: Konknni ) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยมีคำศัพท์จากภาษาดราวิเดียนปนอยู่ด้วย ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นหลายภาษา ทั้งภาษาโปรตุเกส ภาษากันนาดา ภาษามราฐี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ มีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคน [1] [2]

ประวัติ

จุดกำเนิดของภาษานี้ เดิมเป็นภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต ซึ่งมีการใช้คำที่ผิดไปจากมาตรฐาน แต่เดิมเชื่อกันว่าภาษานี้เป็นภาษาถิ่นของภาษามราฐี แต่หลักฐานที่พบภาษากอนกานีเกิดก่อนภาษามราฐีนานมาก จารึกภาษากอนกานีพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1730 ขณะที่จารึกภาษามราฐีพบครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2100

ภาษานี้เป็นภาษาที่ใกล้จะตาย เนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของภาษาตะวันตกเช่นภาษาโปรตุเกสและภาษาอังกฤษในหมู่ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนผู้นับถือศาสนาฮินดูหันไปพูดภาษามราฐี ปัจจุบันเป็นภาษาราชการของรัฐกัวและมีใช้แพร่หลายในรัฐนี้ หนังสือที่พิมพ์ด้วยภาษากอนกานีเล่มแรกคือ Doutrina Christan เขียนโดย โธมัส สตีเฟนส์ ชาวอังกฤษ การทำลายหนังสือของโปรตุเกสในราว พ.ศ. 2100 ทำให้หนังสือภาษากอนกานีเหลือน้อย จะมีอยู่บ้างเฉพาะนอกเขตอิทธิพลของโปรตุเกสเท่านั้น

การแพร่กระจาย

ภาษกอนกานีใช้พูดทั่วไปในเขตกอนกาน ซึ่งรวมถึง กัว ชายฝั่งตอนใต้ของรัฐมหาราษฏระ ชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ และรัฐเกราลา แต่ละท้องถิ่นมีสำเนียงของตนเอง การแพร่กระจายของผู้พูดภาษานี้มีสาเหตุหลักจากการออพยพของชาวกัวเพื่อหลบหนีการปกครองของโปรตุเกส

ระบบการเขียน

ภาษากอนกานีเขียนด้วยอักษณหลายชนิด ทั้ง อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน (เริ่มสมัยอาณานิคมของโปรตุเกส) อักษรกันนาดา ใช้ในเขตมันกาลอร์ และชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ อักษรอาหรับในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า ภัทกาลี ชนกลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาอิสลามในสมัยสุลต่านทิบบู อยู่ในเขตรัฐการณาฏกะ มีผู้เขียนด้วยอักษรมาลายาลัมกลุ่มเล็กๆในเกราลา แต่ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้อักษรเทวนาครีแทน

อ้างอิง

  1. http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=knn
  2. http://www.ethnologue.com/show_family.asp?subid=92010