ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจฮอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 94: บรรทัด 94:
* พระชายา
* พระชายา
** [[จักรพรรดินีเจิน (โจฮอง)|เจินชื่อ]] (甄氏; แปลว่า "นางเจิน"; เสียชีวิต ค.ศ. 251) ได้เป็นพระมเหสีเรียก หฺวายหฺวังโฮ่ว (懷皇后)
** [[จักรพรรดินีเจิน (โจฮอง)|เจินชื่อ]] (甄氏; แปลว่า "นางเจิน"; เสียชีวิต ค.ศ. 251) ได้เป็นพระมเหสีเรียก หฺวายหฺวังโฮ่ว (懷皇后)
** [[จักรพรรดินีจาง (โจฮอง)|จางชื่อ]] (張氏; แปลว่า "นางเจิน") ได้เป็นพระมเหสีเรียก เจินหฺวังโฮ่ว (張皇后)
** [[จักรพรรดินีจาง (โจฮอง)|จางชื่อ]] (張氏; แปลว่า "นางจาง") ได้เป็นพระมเหสีเรียก จางหฺวังโฮ่ว (張皇后)
** [[จักรพรรดินีหวัง (โจฮอง)|หวังชื่อ]] (王氏; แปลว่า "นางหวัง") ได้เป็นพระชายาเรียก หวังหวังเฟย์ (王王妃)
** [[จักรพรรดินีหวัง (โจฮอง)|หวังชื่อ]] (王氏; แปลว่า "นางหวัง") ได้เป็นพระชายาเรียก หวังหวังเฟย์ (王王妃)



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:03, 26 เมษายน 2563

เฉา ฟาง (มาตรฐาน)
โจฮอง (ฮกเกี้ยน)
曹芳
จักรพรรดิแห่งรัฐเฉาเว่ย์
ครองราชย์22 มกราคม ค.ศ. 239 – 17 ตุลาคม ค.ศ. 254
ก่อนหน้าเฉา รุ่ย (โจยอย)
ถัดไปเฉา เหมา (โจมอ)
ผู้สำเร็จราชการเฉา ฉฺว่าง (โจซอง)
ซือหม่า อี้ (สุมาอี้)
ซือหม่า ชือ (สุมาสู)
รัชทายาทแห่งรัฐเฉาเว่ย์
เวลา29 มิถุนายน ค.ศ. 226 – 22 มกราคม ค.ศ. 239
ก่อนหน้าเฉา รุ่ย (โจยอย)
ฉีหวัง (齊王)
(ครั้งที่ 1)
เวลา23 กันยายน ค.ศ. 235 – 22 มกราคม ค.ศ. 239
ฉีหวัง
(ครั้งที่ 2)
เวลา17 ตุลาคม ค.ศ. 254 – ค.ศ. 265
ถัดไปซือหม่า โยว (สุมาอิว)
เช่าหลิงลี่กง (邵陵公)
เวลา4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 – ค.ศ. 274
ประสูติค.ศ. 232
สวรรคตค.ศ. 274 (42 ชันษา)
ชายาเจินชื่อ
จางชื่อ
หวังชื่อ
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: เฉา (曹)
ชื่อตัว: ฟาง (芳)
ชื่อรอง: หลานชิง (蘭卿)
รัชศก
  • เจิ้งฉื่อ (正始; ค.ศ. 240–249)
  • เจียผิง (嘉平; 249–254)
พระนามหลังสวรรคต
เช่าหลิงลี่กง (邵陵厲公)
ราชวงศ์สกุลเฉา
พระราชบิดาเฉา ข่าย

เฉา ฟาง (จีน: 曹芳; พินอิน: Cáo Fāng; ฮกเกี้ยน: โจฮอง; ค.ศ. 232–274) พระนามรองว่า หลานชิง (蘭卿) เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่งรัฐเฉาเว่ย์ (曹魏; ฮกเกี้ยน: โจวุย) ในช่วงสามก๊กของประวัติศาสตร์จีน เป็นพระโอรสบุญธรรมของเฉา รุ่ย (曹叡; ฮกเกี้ยน: โจยอย) จักรพรรดิพระองค์ที่ 2 ของรัฐเฉาเว่ย์ ครองราชย์ต่อจากเฉา รุ่ย ตั้งแต่ ค.ศ. 239 จนถูกซือหม่า ชือ (司馬師; ฮกเกี้ยน: สุมาสู) ผู้สำเร็จราชการ ถอดออกจากราชสมบัติใน ค.ศ. 254

ภูมิหลัง

ภูมิหลังเกี่ยวกับพระกำเนิดของเฉา ฟาง นั้นยังสรุปไม่ได้ เอกสาร เว่ย์ชื่อชุนชิว (魏氏春秋) ว่า เฉา ฟาง เป็นพระโอรสของเฉา ข่าย (曹楷) ผู้ดำรงตำแหน่งเริ่นเฉิงหวัง (任城王; "องค์ชายเริ่นเฉิง") แต่จักรพรรดิเฉา รุ่ย ทรงรับเฉา ฟาง เป็นพระโอรสบุญธรรมตั้งแต่เฉา ฟาง ยังเยาว์ และจักรพรรดิเฉา รุ่ย ทรงตั้งเฉา ฟาง เป็นฉีหวัง (齐王; "องค์ชายฉี") ใน ค.ศ. 235

ราว ค.ศ. 239 จักรพรรดิเฉา รุ่ย ประชวร และตกลงพระทัยจะมอบราชสมบัติให้เฉา ฟาง สืบต่อ จึงทรงตั้งคณะผู้สำเร็จราชการให้คอยอภิบาลเฉา ฟาง ประกอบด้วย พระญาติ คือ เฉา อฺวี่ (曹宇) กับเฉา จ้าว (曹肇) และขุนนาง คือ เซี่ยโหฺว เซี่ยน (夏侯獻) กับฉิน หล่าง (秦朗) แต่เฉา จ้าว กับเซี่ยโหฺว เซี่ยน ขัดแย้งกับหลิว ฟ่าง (劉放) และซุน จือ (孫資) ขุนนางคนสนิทของจักรพรรดิเฉา รุ่ย หลิว ฟ่าง กับซุน จือ ทูลจักรพรรดิเฉา รุ่ย ให้ถอดเฉา อฺวี่, เฉา จ้าว, และฉิน หล่าง ออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ และตั้งเฉา ฉฺว่าง (曹爽; ฮกเกี้ยน: โจซอง) ผู้เป็นพระญาติ และซือหม่า อี้ (司馬懿; ฮกเกี้ยน: สุมาอี้) ผู้เป็นขุนนาง เป็นคณะผู้สำเร็จราชการชุดใหม่แทน

ราวครึ่งเดือนให้หลัง จักรพรรดิเฉา รุ่ย ประชวรหนัก ประทับอยู่บนพระที่ ไม่อาจเสด็จออกว่าราชการได้ รับสั่งให้ซือหม่า อี้ เข้าเฝ้าถึงห้องพระบรรทม ทรงฝากฝังเฉา ฟาง ไว้กับซือหม่า อี้ ให้เฉา ฟาง นับถือซือหม่า อี้ เสมือนเป็นบิดา พร้อมทรงตั้งเฉา ฟาง เป็นรัชทายาท วันเดียวกันนั้น จักรพรรดิเฉา รุ่ย เสด็จสวรรคต เฉา ฟาง จึงขึ้นครองราชย์ต่อ เวลานั้น เฉา ฟาง มีพระชันษาราว 9 ปี

การครองราชย์

เนื่องจากเฉา ฟาง ขึ้นครองราชย์ขณะทรงพระเยาว์ รัชกาลของเฉา ฟาง จึงดำเนินไปผ่านคณะผู้สำเร็จราชการที่ประกอบด้วยเฉา ฉฺว่าง กับซือหม่า อี้ กระทั่งซือหม่า อี้ ยึดอำนาจทางการเมืองจากเฉา ฉฺวั่ง ได้ใน ค.ศ. 249 ซือหม่า อี้ จึงได้สำเร็จราชการแต่ผู้เดียว ครั้นซือหม่า อี้ เสียชีวิตใน ค.ศ. 251 ซือหม่า ชือ บุตรของซือหม่า อี้ ก็เข้าสืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการต่อ จักรพรรดิเฉา ฟาง ทรงพยายามจะนำอำนาจปกครองกลับคืนมาจากผู้สำเร็จราชการ แต่ไม่สำเร็จ และซือหม่า ชือ ถอดจักรพรรดิเฉา ฟาง ออกจากราชสมบัติ

ช่วงแรก เฉา ฉฺว่าง กับซือหม่า อี้ บริหารอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการร่วมกัน แต่ภายหลัง เฉา ฉฺว่าง พยายามถอดซือหม่า อี้ ออกจากอำนาจ โดยให้ซือหม่า อี้ ไปดำรงตำแหน่งชั้นสูงที่มีอำนาจแต่ในนามแทน เฉา ฉฺว่าง จึงได้ใช้อำนาจผู้สำเร็จราชการแต่ผู้เดียว และตั้งคนสนิทของตน เช่น เติ้ง หยาง (鄧颺), หลี่ เชิ่ง (李勝), เหอ ย่าน (何晏), และติง มี่ (丁謐) ขึ้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่

ระหว่างนั้น ใน ค.ศ. 243 จักรพรรดิเฉา ฟาง เสกสมรสกับเจินชื่อ (甄氏; แปลว่า "นางเจิน") หลานสาวของเจิน หย่าน (甄儼) พระอนุชาของเจินโฮ่ว (甄后) พระอัยยิกาของเฉา ฟาง เจินชื่อได้รับแต่งตั้งเป็นพระมเหสีเรียก หฺวายหฺวังโฮ่ว (懷皇后)

ใน ค.ศ. 244 เฉา ฉฺว่าง นำทัพไปตีฮั่นจง (漢中; ฮกเกี้ยน: ฮันต๋ง) เมืองชายแดนของรัฐฉู่ฮั่น (蜀漢; ฮกเกี้ยน: จ๊กฮั่น) แม้ผลการรบจะไม่แพ้ไม่ชนะ แต่กองทัพของเฉา ฉฺว่าง ประสบความสูญเสียอย่างหนัก ประกอบกับขาดเสบียง จึงต้องถอยกลับไป แม้จะไม่สามารถมีชัยในสมรภูมิได้ดังหวัง แต่เฉา ฉฺว่าง ก็ยังมีอำนาจมั่นคงในฐานะผู้สำเร็จราชการต่อไป

ครั้น ค.ศ. 247 ซือหม่า อี้ ลาออกจากราชการ อ้างเหตุป่วย

ใน ค.ศ. 249 ขณะที่จักรพรรดิเฉา ฟาง กับผู้สำเร็จราชการเฉา ฉฺว่าง ออกนอกพระนครลั่วหยาง (洛阳; ฮกเกี้ยน: ลกเอี๋ยง) ไปยังสุสานเกาผิง (高平陵) เพื่อเซ่นไหว้พระศพของจักรพรรดิเฉา รุ่ย นั้น ซือหม่า อี้ ระดมกำลังกลุ่มผู้ต่อต้านเฉา ฉฺว่าง เข้ายึดพระนคร แล้วอ้างพระเสาวนีย์ของกัวหฺวังโฮ่ว (郭皇后; แปลว่า "ราชเทวีกัว") พระมเหสีของจักรพรรดิเฉา รุ่ย ออกประกาศประณามเฉา ฉฺว่าง ว่า ฉ้อราษฎร์บังหลวง และเรียกร้องให้ถอดเฉา ฉฺว่าง กับญาติพี่น้อง ออกจากอำนาจ เฉา ฉฺว่าง ยอมคืนอำนาจเมื่อซือหม่า อี้ สัญญาว่า จะให้เฉา ฉฺว่าง คงอยู่ในบรรดาศักดิ์ตามเดิม แต่ไม่ช้าหลังได้อำนาจจากเฉา ฉฺว่าง แล้ว ซือหม่า อี้ ก็ให้ประหารเฉา ฉฺว่าง ทั้งโคตรด้วยข้อหากบฏ ทำให้ซือหม่า อี้ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแต่ผู้เดียว เหตุการณ์นี้เรียกว่า อุบัติการณ์ที่สุสานเกาผิง (高平陵之變)

เมื่อได้อำนาจแล้ว ซือหม่า อี้ ก็ใช้อำนาจนั้นขจัดคู่แข่งทางการเมืองจนสิ้น กลุ่มผู้สนับสนุนซือหม่า อี้ บีบให้จักรพรรดิเฉา ฟาง ประทานบำเหน็จเก้าอย่าง (九錫) ให้แก่ซือหม่า อี้ แต่ซือหม่า อี้ ทำทีปฏิเสธ นอกจากนี้ ซือหม่า อี้ ยังใช้อำนาจปราบปรามการทุจริตในวงราชการ และเกื้อหนุนขุนนางสุจริตหลายคน ทำให้ระบบราชการสะอาดขึ้นกว่ายุคเฉา ฉฺว่าง

ใน ค.ศ. 249 นั้นเอง หวัง หลิง (王淩) ผู้ปกครองเมืองโช่วชุน (壽春) พยายามยึดอำนาจจากซือหม่า อี้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะลูกน้อง คือ หฺวัง หฺวา (黃華) กับหยาง หง (楊弘) นำแผนการมาแถลงแก่ซือหม่า อี้ ทำให้ซือหม่า อี้ ยกทัพไปยึดเมืองโช่วชุนได้ก่อนที่หวัง หลิง จะดำเนินการสำเร็จ ซือหม่า อี้ สัญญาจะอภัยโทษให้หวัง หลิง ทำให้หวัง หลิง ยอมจำนน แต่ภายหลัง ก็บีบให้หวัง หลิง ฆ่าตัวตาย ทั้งประหารครอบครัวกับบริวารของหวัง หลิง ทั้งสิ้น

ปีเดียวกันนั้น ซือหม่า อี้ ถึงแก่กรรม บุตรชาย คือ ซือหม่า ชื่อ จึงสืบอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิเฉา ฟาง

การพ้นจากราชสมบัติ

ใน ค.ศ. 252 จักรพรรดิซุน เฉฺวียน (孫權; ฮกเกี้ยน: ซุนกวน) แห่งรัฐตงอู๋ (東吳; ฮกเกี้ยน: ตังง่อ) สิ้นพระชนม์ ซือหม่า ชื่อ อาศัยโอกาสนี้นำทัพไปตีรัฐตงอู๋ แต่แพ้

ปีรุ่งขึ้น ซือหม่า ชื่อ นำทัพไปรัฐตงอู๋อีกครั้ง ครั้งนี้ ซือหม่า ชื่อ มีชัยเหนือจูเก๋อ เค่อ (諸葛恪; ฮกเกี้ยน: จูกัดเก๊ก) ผู้สำเร็จราชการรัฐตงอู๋ ซือหม่า ชื่อ จึงมีชื่อเสียงขึ้นในด้านการทหาร

ครั้น ค.ศ. 254 ซือหม่า ชื่อ พยายามรวบอำนาจในราชสำนัก และสงสัยว่า จักรพรรดิเฉา ฟาง กับขุนนางหลี่ เฟิง (李豐) กำลังร่วมกันกำจัดตน ซือหม่า ชื่อ จึงเรียกหลี่ เฟิง มาไต่สวน แต่หลี่ เฟิง ไม่ยอมเปิดเผยว่า ทูลสิ่งใดต่อจักรพรรดิเฉา ฟาง บ้าง ซือหม่า ชื่อ จึงเอาด้ามดาบตีหลี่ เฟิง ถึงแก่ความตาย แล้วสั่งประหารคนสนิทของหลี่ เฟิง คือ เซี่ยโหฺว เสฺวียน (夏侯玄; ฮกเกี้ยน: แฮหัวเทียน) กับจาง จี (張緝) พร้อมครอบครัว ในข้อหากบฏ นอกจากนี้ ซือหม่า ชื่อ ยังบีบให้จักรพรรดิเฉา ฟาง ถอดจางหฺวังโฮ่ว (張皇后) พระมเหสีซึ่งเป็นธิดาของจาง จี ออกจากตำแหน่ง แล้วตั้งหวังชื่อ (王氏; ฮกเกี้ยน: อองสี; แปลว่า "นางหวัง/ออง") ขึ้นเป็นพระมเหสีพระองค์ใหม่ ทำให้จักรพรรดิเฉา ฟาง คับแค้นพระทัย

ในปีนั้นเอง ผู้สนับสนุนจักรพรรดิเฉา ฟาง ทูลเสนอให้ทรงประหารซือหม่า เจา (司馬昭; ฮกเกี้ยน: สุมาเจียว) น้องชายของซือหม่า ชื่อ ขณะที่ซือหม่า เจา มาเข้าเฝ้าในพระราชวัง จะได้ยึดกองกำลังของซือหม่า เจา เอามาต่อสู้กับซือหม่า ชื่อ ชิงอำนาจกลับคืนมาเป็นของจักรพรรดิ แต่จักรพรรดิเฉา ฟาง ทรงประหวั่นและไม่กล้าลงมือ ทำให้แผนการรั่วไหลไปถึงซือหม่า ชื่อ ซือหม่า ชื่อ จึงถอดจักรพรรดิเฉา ฟาง ออกจากราชสมบัติ ลงเป็นฉีหวังดังเดิม แล้วยกเฉา เหมา (曹髦; ฮกเกี้ยน: โจมอ) พระญาติ ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่

ปลายพระชนม์

เมื่อถูกถอดลงเป็นฉีหวังแล้ว เฉา ฟาง ต้องทรงย้ายไปประทับที่อำเภอเหอเน่ย์ (河內郡)

ต่อมาใน ค.ศ. 265 ซือหม่า หยาน (司馬炎; ฮกเกี้ยน: สุมาเอี๋ยน) บุตรของซือหม่า เจา ยึดราชสมบัติจากจักรพรรดิเฉา ฮฺวั่น (曹奐; ฮกเกี้ยน: โจฮวน) และถอดเจ้านายสกุลเฉา ซึ่งรวมถึงเฉา ฟาง ลงเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์กง (公)

ครั้น ค.ศ. 274 อดีตจักรพรรดิเฉา ฟาง สิ้นพระชนม์ ได้รับพิธีศพตามฐานะขุนนางชั้นกง แทนที่จะเป็นพระราชพิธีศพอย่างจักรพรรดิ และได้รับบรรดาศักดิ์ว่า "เช่าหลิงลี่กง" (邵陵厲公)

ไม่ปรากฏว่า เฉา ฟาง มีพระโอรสธิดาหรือไม่

ชื่อรัชศก

  • เจิ้งฉื่อ (正始) กินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 240 ถึง 249
  • เจียผิง (嘉平) กินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 249 ถึง 254

พงศาวลี

  • พระบิดา: เฉา ข่าย (曹楷) ดำรงตำแหน่งเริ่นเฉิงหวัง (任城王; "องค์ชายเริ่นเฉิง") บุตรของเฉา จาง (曹彰; ฮกเกี้ยน: โจเจียง) บุตรคนที่ 3 ของเฉา เชา (曹操; ฮกเกี้ยน: โจโฉ)
  • พระชายา
    • เจินชื่อ (甄氏; แปลว่า "นางเจิน"; เสียชีวิต ค.ศ. 251) ได้เป็นพระมเหสีเรียก หฺวายหฺวังโฮ่ว (懷皇后)
    • จางชื่อ (張氏; แปลว่า "นางจาง") ได้เป็นพระมเหสีเรียก จางหฺวังโฮ่ว (張皇后)
    • หวังชื่อ (王氏; แปลว่า "นางหวัง") ได้เป็นพระชายาเรียก หวังหวังเฟย์ (王王妃)

อ้างอิง