ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
+เปลี่ยนวันชาติ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 133: บรรทัด 133:
=== พ.ศ. 2490 ===
=== พ.ศ. 2490 ===
* 19–26 พฤษภาคม – [[พรรคประชาธิปัตย์]]อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 7 วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
* 19–26 พฤษภาคม – [[พรรคประชาธิปัตย์]]อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 7 วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
* 8 พฤศจิกายน – [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]]: พล.ท.[[ผิน ชุณหะวัณ]] และ น.อ.[[กาจ กาจสงคราม]] นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสาง[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8|กรณีสวรรคต]]ได้ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489<ref name="soldier-politics">ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ) </ref> ปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ หลบหนีออกนอกประเทศไปยัง[[สหรัฐ]] ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร ปรีดีจึงเดินทางไป[[ประเทศจีน]]แทน<ref name="geocities-siamintellect" />
* 8 พฤศจิกายน – [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]]: พล.ท.[[ผิน ชุณหะวัณ]] และ น.อ.[[กาจ กาจสงคราม]] นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสาง[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8|กรณีสวรรคต]]ได้ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489<ref name="soldier-politics">ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ)</ref> ปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ หลบหนีออกนอกประเทศไปยัง[[สหรัฐอเมริกา]] ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร ปรีดีจึงเดินทางไป[[ประเทศจีน]]แทน<ref name="geocities-siamintellect" />

=== พ.ศ. 2503 ===
* 21 พฤษภาคม - รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันที่คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน<ref name="ratchakitcha2503">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/043/1452.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย]; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452</ref> ถือเป็นการสิ้นสุดสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร


== หมายเหตุ ==
== หมายเหตุ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:54, 22 เมษายน 2563

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2490

เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบเก่า กับระบอบใหม่ หรือความขัดแย้งในผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง จนรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น

บุคคลที่เกี่ยวข้อง

ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469–2475)

พ.ศ. 2469

พ.ศ. 2474

พ.ศ. 2475

ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ. 2475–2490)

พ.ศ. 2475

พ.ศ. 2476

  • 15 มีนาคม – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" ("สมุดปกเหลือง")[9][10]
  • 1 เมษายน – รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476: พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา[11] บ้างอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวว่าเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่[2] โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี
  • 2 เมษายน – มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[12] เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[2]
  • 12 เมษายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ[13]
  • 10 มิถุนายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก[11]
  • 20 มิถุนายน – พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนารัฐประหารพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเผด็จการ จากนั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
  • 29 กันยายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางกลับสยาม
  • 1 ตุลาคม–15 พฤศจิกายน – มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรผ่านผู้แทนตำบล นับเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย
  • 11 ตุลาคม – กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล โดยระบุเหตผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปล่อยให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
  • 25 ตุลาคม – หลังทราบว่าแพ้ต่อรัฐบาลแน่แล้ว ระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส
  • 7 พฤศจิกายน – ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[2]
  • 16 ธันวาคม – พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476|การเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม) [12]
  • 25 ธันวาคม – หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าปรีดีมิได้เป็น[2]

พ.ศ. 2477

  • 2 มีนาคม – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ, วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุ 9 พรรษา ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • 13 กันยายน – รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง[12]
  • 22 กันยายน – ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[12]

พ.ศ. 2478

พ.ศ. 2479

พ.ศ. 2480

  • 27 กรกฎาคม – พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว[2]
  • 5 สิงหาคม – จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รับสนองพระบรมราชโองการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของลัทธิชาติ-ชาตินิยมว่า "รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน"[15]

พ.ศ. 2481

  • 18 กรกฎาคม – รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันปฏิวัติ[16][17]
  • 11 กันยายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ[2]
  • 16 ธันวาคม – พันตรี หลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 29 มกราคม – รัฐบาลจับกุมศัตรูของรัฐบาล 51 คน แล้วตั้งศาลพิเศษโดยมีพันเอก หลวงพรหมโยธีเป็นประธาน

พ.ศ. 2482

  • 20 พฤศจิกายน – ศาลพิเศษตัดสินประหารชีวิต 18 นาย และจำคุกตลอดชีวิตอีกรวม 25 นาย

พ.ศ. 2483

พ.ศ. 2484

พ.ศ. 2486

พ.ศ. 2487

  • 24 กรกฎาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์[2]
  • 1 สิงหาคม – พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
  • 24 สิงหาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]

พ.ศ. 2488

  • 16 สิงหาคม – ปรีดี พนมยงค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศสันติภาพ ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ"
  • 20 สิงหาคม – รัฐบาลควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่ง[2]
  • 1 กันยายน – ทวี บุณยเกตุได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ[2]
  • 17 กันยายน – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจรจาความตกลงสมบูรณ์แบบ
  • 27 กันยายน – รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ[2]
  • 15 ตุลาคม – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

พ.ศ. 2489

  • 1 มกราคม - ม.ร.ว.เสนีย์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
  • 6 มกราคม - มีการเลือกตั้งทั่วไป
  • 31 มกราคม - มติสภาผู้แทนราษฎรเลือกควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2
  • 18 มีนาคม - ควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ[2]
  • 24 มีนาคม - ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี[2]
  • 9 พฤษภาคม - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3[12]
  • 8 มิถุนายน – ปรีดีลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ หลังรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
  • 9 มิถุนายน
    • เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล:
    • ปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
    • ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์[ต้องการอ้างอิง] สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ร้ายแรงมาก จนกลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
  • 5 สิงหาคม - การเลือกตั้งเพิ่มเติม
  • 23 สิงหาคม - พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2]

พ.ศ. 2490

  • 19–26 พฤษภาคม – พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 7 วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
  • 8 พฤศจิกายน – รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490: พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489[18] ปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ หลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร ปรีดีจึงเดินทางไปประเทศจีนแทน[13]

พ.ศ. 2503

  • 21 พฤษภาคม - รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันที่คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน[19] ถือเป็นการสิ้นสุดสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

หมายเหตุ

  • ในลำดับเหตุการณ์ข้างต้น ระหว่างปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งปีพุทธศักราชมีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มศักราช จากเดิมเริ่มต้นปีในวันที่ 1 เมษายน แต่หลังจากปี พ.ศ. 2483 ประเทศไทยได้ปรับวันขึ้นปีเป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในปีก่อน พ.ศ. 2483 เกิดความสับสนในการเรียงลำดับ

อ้างอิง

  1. thunder.prohosting.com สยาม 2475 - 2490 คณะราษฎร
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2550
  3. เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475
  4. คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 111
  5. www.sarakadee.com ยุทธการยึดเมือง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
  6. คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์ หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 112
  7. รากฐานไทย, ความเป็นมาพรรคการเมืองไทย, เว็บไซต์รากฐานไทย
  8. สารคดี, วันนี้ในอดีต: 25 สิงหาคม, นิตยสารสารคดี, 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  9. www.pridi-fo.th.com ปฏิทินชีวิต นายปรีดี พนมยงค์
  10. อนุสรณ์ ธรรมใจ, ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พุทธศักราช 2547, 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร
  11. 11.0 11.1 บทความ เมรุคราวกบฏบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thai-cons-dev
  13. 13.0 13.1 geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์
  14. ประชาไท, ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ย่อหน้า 8), ประชาไท, 19 กันยายน พ.ศ. 2550
  15. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1401, 1402 วันที่ 22 และ 29 มิ.ย. 2550 (ผ่านหนังสือ จากสยามเป็นไทย: นามนั้นสำคัญมากฉะนี้หรือ? เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หน้า 8 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ)
  16. เกษียร เตชะพีระ, 20 พฤษภาฯ วันสิ้น (วัน) ชาติ, มติชน ปีที่ 26 ฉบับที่ 9310, 5 กันยายน พ.ศ. 2546 (อ้างผ่านเว็บไซต์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
  17. พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน, เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
  18. ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ)
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452

ดูเพิ่ม