ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Natty sci (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 140: บรรทัด 140:


'''กลุ่มโคยและเฟคสเตรก''': บลาริคุม, โคยส์ เมเริน, [[ฮิลเฟอร์ซุม]], [[เฮาเซิน]], ลาเรน, เวสป์, ไวเดอเมเริน
'''กลุ่มโคยและเฟคสเตรก''': บลาริคุม, โคยส์ เมเริน, [[ฮิลเฟอร์ซุม]], [[เฮาเซิน]], ลาเรน, เวสป์, ไวเดอเมเริน

== ธรรมชาติ ==
นอกจากมหานครอันยิ่งใหญ่แล้ว นอร์ทฮอลแลนด์ยังมีสถานที่ทางธรรมชาติที่สำคัญมากมาย เช่น [[ทะเลวัดเดน|ทะเลวัดเดิน]] อุทยานแห่งชาติเซาด์เคนเนอเมอร์ลันด์ เนินทรายในอุทยานแห่งชาติเทกเซล

== เศรษฐกิจ ==
จากการเป็นที่ตั้งเมืองหลวงและเมืองเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์เป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง เช่น [[ไฮเนเก้น]] ธนาคาร[[ไอเอ็นจี]] ธนาคาร[[เอบีเอ็น อัมโร]] [[อัคโซโนเบิล]] [[ทอมทอม]] [[เดลตาลอยด์]] [[บุคกิงดอทคอม]] และ[[ฟิลิปส์]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:21, 8 เมษายน 2563

นอร์ทฮอลแลนด์

โนร์ด-โฮลลันด์
ธงของนอร์ทฮอลแลนด์
ธง
ตราราชการของนอร์ทฮอลแลนด์
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
อิกเฮาด์ฟันแฮ็ตครุนอินเยอไว!
เพลง: อิกเฮาด์ฟันแฮ็ตครุนอินเยอไว!
ที่ตั้งของจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ที่ตั้งของจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ประเทศเนเธอร์แลนด์
การจัดตั้งค.ศ. 1840 (การแบ่งฮอลแลนด์)
เมืองหลักฮาร์เลม
เมืองใหญ่สุดอัมสเตอร์ดัม
การปกครอง
 • King's Commissionerโยฮัน แร็มเกิส (VVD)
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,670 ตร.กม. (1,030 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ1,421 ตร.กม. (549 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 6
ประชากร
 (2006)
 • ทั้งหมด2,606,584 คน
 • อันดับที่ 2
 • ความหนาแน่น980 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 2
รหัส ISO 3166NL-NH
ศาสนา(2005)โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 8
โรมันคาทอลิก ร้อยละ 18
อิสลาม ร้อยละ 8
ฮินดู ร้อยละ 1
เว็บไซต์www.noord-holland.nl

นอร์ทฮอลแลนด์ (อังกฤษ: North Holland) หรือ โนร์ด-โฮลลันด์ (ดัตช์: Noord-Holland) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอาณาเขตติดกับทะเลเหนือทางตอนเหนือ และติดจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์และยูเทรกต์ทางตอนใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 มีประชากร 2,877,909 คน[1]

ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 16 จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเคาน์ตีฮอลแลนด์ จากนั้นได้กลายมาเป็นจังหวัดฮอลแลนด์และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ โนร์ดควาเทียร์ (ดัตช์: Noorderkwartier) ซึ่งหมายถึง เศษหนึ่งส่วนสี่ทางตอนเหนือ จนกระทั่ง ค.ศ. 1840 ได้มีการแบ่งจังหวัดฮอลแลนด์ออกเป็นสองจังหวัด คือ เหนือและใต้

ในปี ค.ศ. 1855 ได้มีการผันน้ำออกจากอ่าวฮาร์เลมเมอร์เมร์จนกลายเป็นผืนดิน และปัจจุบัน ฮาร์เลม กลายมาเป็นเมืองหลวงของจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ มีประชากร 161,265 คน[2] แต่เมืองใหญ่ที่สุดของจังหวัดคือ กรุงอัมสเตอร์ดัม มีประชากร 862,965 คน (พฤศจิกายน 2019) และเป็นเมืองหลวงของประเทศอีกด้วย

ประวัติศาสตร์

เรื่องราวการเกิดขึ้นของจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ มีจุดเริ่มต้นจากยุคที่จักรพรรดินโปเลียนได้เข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์และปกครองในช่วง ค.ศ. 1795 ถึง 1813 ซึ่งเป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบจังหวัดของชาวดัตช์อย่างมาก ในปี ค.ศ. 1795 นั้น ได้มีการล้มล้างระบบเดิมทิ้งไปและสถาปนาสาธารณรัฐปัตตาเวียขึ้น ประกอบไปด้วย 8 จังหวัด (département) ตามระบบการปกครองของฝรั่งเศส แต่ละจังหวัดมีจำนวนประชากรเท่าๆกัน อาณาจักรฮอลแลนด์จึงถูกแบ่งออกเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ เทกเซล เดลฟท์ อัมสเทิล สเกลต์เอ็นเมิซ และไรน์ ต่อมามีการรวมสามจังหวัดแรกเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดฮอลแลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1801

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1807 มีการจัดระบบของจังหวัดฮอลแลนด์ใหม่ โดยแบ่งเป็นสองจังหวัดย่อย ได้แก่ อัมสเทิลลันด์ (นอร์ทฮอลแลนด์ในปัจจุบัน) และมาสลันด์ (เซาท์ฮอลแลนด์ในปัจจุบัน) แต่ระบบนี้อยู่ได้ไม่นาน ได้มีการผนวกรวมเนเธอร์แลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส อัมสเทิลลันด์ถูกผนวกรวมกับยูเทรกต์กลายเป็นจังหวัด "เซาเดอร์เซ" (ฝรั่งเศส: Zuyderzée) และมาสลันด์เปลี่ยนชื่อเป็น "โมนเดน ฟอน เดอ มาส" (ฝรั่งเศส: Bouches-de-la-Meuse)

แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ในการรบเมื่อปี ค.ศ. 1813 ระบบการบริหารยังคงเดิม จนกระทั่งปีต่อมา เนเธอร์แลนด์ได้มีรัฐธรรมนูญใหม่ มีการจัดระบบระเบียบจังหวัดและภูมิภาคใหม่ทั้งประเทศ จังหวัดเซาเดอร์เซและโมนเดน ฟอน เดอ มาสได้ถูกผนวกรวมเข้าเป็นจังหวัด"ฮอลแลนด์" แต่ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัด 2 คน คนหนึ่งรับผิดชอบจังหวัดอัมสเทิลลันด์เดิม และอีกคนรับผิดชอบจังหวัดมาสลันด์เดิม ดังนั้น แม้จะมีการรวมจังหวัด แต่พื้นที่ทั้งสองส่วนยังมีระบบที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้แนวคิดการแบ่งฮอลแลนด์ยังคงมีอยู่

เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1840 จังหวัดฮอลแลนด์จึงถูกแบ่งเป็นสองจังหวัดอีกครั้ง มีชื่อว่า "นอร์ทฮอลแลนด์"และ"เซาท์ฮอลแลนด์" โดยชาวเมืองอัมสเตอร์ดัมมีส่วนสำคัญในการผลักดันการแยกจังหวัดนี้ หลังจากนั้น ผืนดินฮาร์เลมเมอร์เมร์ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการผันน้ำทะเลออก ทำให้นอร์ทฮอลแลนด์มีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อนที่เกาะและพื้นที่บางส่วนจะถูกโอนไปยังจังหวัดข้างเคียง ในการปรับระบบราชการใหม่กลางศตวรรษที่ 20

ภูมิศาสตร์

เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 47 เทศบาล โดยมีเทศบาล 5 แห่งที่มีผู้อยู่อาศัยเกิน 100,000 คน ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม ฮาร์เลม ซานสตัด ฮาร์เลมเมอร์เมร์ และอาลค์มาร์

สามารถจัดเทศบาลทั้ง 47 แห่งเป็นกลุ่ม (COROP) ได้ 7 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มโคปฟอนโนร์ดฮอลลันด์: เดนเฮลเดอร์, เดรคเตอร์ลันด์, เองค์เฮาเซน, โฮลลันด์ส โครน, โฮร์น, กอกเคินลันด์, เมเดมบิค, โอปเมร์, สคาเกิน, สเตด บรูค, เทกเซล

กลุ่มอาล์คมาร์: อาลค์มาร์, แบร์เกิน, เฮร์ฮูโกวาร์ด, เฮโล, แลงเงอไดค์

กลุ่มไอโมนด์: เบเวอร์ไวค์, คาสทริคุม, เฮมสแคร์ก, เอาท์เกสท์, เวลเซน

กลุ่มฮาร์เลม: บลูเมินดาล, ฮาร์เลม, เฮมสเตด, ซันต์โฟร์ต

กลุ่มซานสเตรก: โวร์เมอร์ลันด์, ซานสตัด

กลุ่มเกรทเทอร์อัมสเตอร์ดัม: อาลส์เมร์, อัมสเติลเวน, อัมสเตอร์ดัม, เบมสเตอร์, ดีเมิน, เอดัม-โฟเลินดัม, ฮาร์เลมเมอร์เมร์, ลันด์สเมร์, โอสต์ซาน, เอาเดอร์-อัมสเทล, ปืร์เมอเร็นด์,  เอาท์โฮร์น, วาเทอร์ลันด์

กลุ่มโคยและเฟคสเตรก: บลาริคุม, โคยส์ เมเริน, ฮิลเฟอร์ซุม, เฮาเซิน, ลาเรน, เวสป์, ไวเดอเมเริน

ธรรมชาติ

นอกจากมหานครอันยิ่งใหญ่แล้ว นอร์ทฮอลแลนด์ยังมีสถานที่ทางธรรมชาติที่สำคัญมากมาย เช่น ทะเลวัดเดิน อุทยานแห่งชาติเซาด์เคนเนอเมอร์ลันด์ เนินทรายในอุทยานแห่งชาติเทกเซล

เศรษฐกิจ

จากการเป็นที่ตั้งเมืองหลวงและเมืองเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์เป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง เช่น ไฮเนเก้น ธนาคารไอเอ็นจี ธนาคารเอบีเอ็น อัมโร อัคโซโนเบิล ทอมทอม เดลตาลอยด์ บุคกิงดอทคอม และฟิลิปส์

อ้างอิง

  1. https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table
  2. https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/70072ned/table

แหล่งข้อมูลอื่น