ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ [[พ.ศ. 2429]]
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย|โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ [[พ.ศ. 2429]]


หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น ''หลวงไพศาลศิลปศาสตร์'' จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น ''พระมนตรีพจนกิจ'' ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นผู้อภิบาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ [[ประเทศอังกฤษ]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2776 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย] </ref> ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 <ref>[http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน] สำเนาจากกูเกิลแคช [http://web.archive.org/web/20080703171333/http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html]</ref>
หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น ''หลวงไพศาลศิลปศาสตร์'' ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2432<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/039/339_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง]</ref>จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น ''พระมนตรีพจนกิจ'' ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นผู้อภิบาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ [[ประเทศอังกฤษ]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป <ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2776 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย] </ref> ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 <ref>[http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน] สำเนาจากกูเกิลแคช [http://web.archive.org/web/20080703171333/http://www.thaiembassyuk.org.uk/list_amb.html]</ref>


วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2443 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา|volume= 17|issue= 2|pages=11-12|title=พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/002/11_1.PDF|date=8 เมษายน 2443|accessdate= 8 ตุลาคม 2559}}</ref> เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ท่านได้สาบานตนถือน้ำทรงตั้งเป็นองคมนตรีต่อในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา|volume= 27|issue= 0 ง|pages=2276|title=บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/002/11_1.PDF|date=1 มกราคม 2453|accessdate= 8 ตุลาคม 2559}}</ref>
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2443 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา|volume= 17|issue= 2|pages=11-12|title=พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/002/11_1.PDF|date=8 เมษายน 2443|accessdate= 8 ตุลาคม 2559}}</ref> เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ท่านได้สาบานตนถือน้ำทรงตั้งเป็นองคมนตรีต่อในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา|volume= 27|issue= 0 ง|pages=2276|title=บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/002/11_1.PDF|date=1 มกราคม 2453|accessdate= 8 ตุลาคม 2559}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:42, 6 เมษายน 2563

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
เสนาบดีว่าการกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2458
ก่อนหน้าเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 เมษายน พ.ศ. 2410
พระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ( 48 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงเสงี่ยม
ไฟล์:ศาลาพระเสด็จ.jpg
ศาลาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ภายในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีจัดทำหลักสูตรการสอน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี นามเดิม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (16 เมษายน พ.ศ. 2410 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459) อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ

ประวัติ

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2410[1] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ และหม่อมเปี่ยม

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มีเลขประจำตัวหมายเลข 2 มีผลการเรียนดีเลิศ ซึ่งสอบได้ประโยคที่ 2 ในจุลศักราช 1248 หรือ พ.ศ. 2429

หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2432[2]จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น พระมนตรีพจนกิจ ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป [3] ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442 [4]

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2443 ได้รับโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี[5] เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ท่านได้สาบานตนถือน้ำทรงตั้งเป็นองคมนตรีต่อในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[6]

จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2441 และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2453

ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ มีตำแหน่งในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินา 1200 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ร.ศ. 113 (พ.ศ. 2437) [7] ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ท่านลาบวชเป็นภิกษุ ทรงรับเป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพิมลธรรม (ยัง เขมาภิรโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วไปอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[8] ลาสิกขาแล้วรับราชการต่อมาจนได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2455[9]

เมื่อวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ศรีวิสุทธสุริยศักดิ์ อรรคพุทธศาสนวโรประการ ศิลปศาสตร์พิศาลศึกษานุกิจ บัณฑิตยการานุรักษ์ สามัคยาจารย์วิบุลย์ มาลากุลบริพัตร์ บรมขัติยราชสวามิภักดิ์ เสมาธรรมจักรมุรธาธร ศุภกิจจานุสรอาชวาธยาไศรย พุทธาทิไตรรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ[10]

ต่อมาท่านขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2458 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านลาออกจากตำแหน่ง และพระราชทานบำนาญอย่างเสนาบดีชั้นสูง[11]

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและกระเพาะอาหารพิการมาช้านาน จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 เวลา 3 ยาม 30 นาที สิริอายุ 48 ปี วันต่อมา เวลาบ่าย 5 โมง สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ประกอบโกศมณฑป ตั้งบนชั้น 2 ชั้น ฉัตรเบญจาตั้งประดับ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 1 เดือน[12]

ชีวิตครอบครัว

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ

สมรสกับคุณเจียร ลักษณะบุตร มีธิดาคือ

  • หม่อมหลวงนกน้อย มาลากุล

สมรสกับคุณเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตรคือ

  • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล

ผลงาน

ด้านการศึกษา

โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี จัดทำหลักสูตรโรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนของโรงเรียนนี้ด้วยพระองค์เอง

เพลงสรรเสริญพระบารมี

แต่เดิม การร้องเพลง "สรรเสริญพระบารมี" มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด

เพลงสามัคคีชุมนุม

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง "สามัคคีชุมนุม" โดยใช้ทำนองเพลง ออลด์แลงไซน์ (Auld Lang Syne) ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ[13]

สมบัติผู้ดี

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 [14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. ISBN 974-417-534-6, หน้า 179 (เชิงอรรถ)
  2. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  3. เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
  4. รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำเนาจากกูเกิลแคช [1]
  5. "พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (2): 11–12. 8 เมษายน 2443. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2276. 1 มกราคม 2453. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ส่งสัญญาบัตรออกไปพระราชทาน
  8. "การทรงผนวชและบวชนาคหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (17): 396–8. 23 กรกฎาคม 2448. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดี และปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 5–6. 14 เมษายน 2455. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, 11 พฤศจิกายน 2456, หน้า 344-8
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ และให้พระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 541–2. 29 มีนาคม 2458. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ข่าวอสัญญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ง): 3335–6. 18 กุมภาพันธ์ 2459. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. เพลงสามัคคีชุมนุม
  14. หนังสือสมบัติผู้ดี
  15. [ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญดุษฎีมาลาออกไปพระราชทาน, เล่ม 11, ตอน 45, หน้า 384]