ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระทิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุวรรณรักษ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
* Bos gaurus ''hubbacki'' – พบในไทยและมาเลเซีย
* Bos gaurus ''hubbacki'' – พบในไทยและมาเลเซีย
* Bos gaurus ''frontalis'' หรือ กระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบในอินเดีย
* Bos gaurus ''frontalis'' หรือ กระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบในอินเดีย
*''†Bos gaurus sinhaleyus'' พบในในศรีลังกาแต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
*''†Bos gaurus sinhaleyus'' พบในศรีลังกาแต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว


== พฤติกรรม ==
== พฤติกรรม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:08, 2 เมษายน 2563

กระทิง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Bos
สปีชีส์: B.  gaurus
ชื่อทวินาม
Bos gaurus
(Smith, 1827)
ชนิดย่อย
  • B. g. laosiensis
  • B. g. gaurus
  • B. g. readei
  • B. g. hubbacki
  • B. g. frontalis
  • †B. g. sinhaleyus
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Bos asseel Horsfield, 1851
  • Bos cavifrons Hodgson, 1837
  • Bos frontalis Lambert, 1804
  • Bos gaur Sundevall, 1846
  • Bos gaurus Lydekker, 1907 ssp. hubbacki
  • Bos gour Hardwicke, 1827
  • Bos subhemachalus Hodgson, 1837
  • Bubalibos annamiticus Heude, 1901
  • Gauribos brachyrhinus Heude, 1901
  • Gauribos laosiensis Heude, 1901
  • Gauribos mekongensis Heude, 1901
  • Gauribos sylvanus Heude, 1901
  • Uribos platyceros Heude, 1901

กระทิง หรือ เมย[2] เป็นวัวป่าชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae

กระทิงเป็นสัตว์กีบ รูปร่างใหญ่โตล่ำสัน ขนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขาทั้งสีสี่ขาวเหมือนใส่ถุงเท้า มีความยาวหัว-ลำตัว 2.5-3.3 เมตร หางยาว 0.7-1.05 เมตร ความสูงที่หัวไหล่ 1.65-2.2 เมตร มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หน้าผากเป็นโหนกสีเหลืองอ่อน ตัวผู้ใหญ่กว่าและหนักกว่าตัวเมียราว 25 เปอร์เซ็นต์ หลังคอเป็นโหนกสูงเกิดจากส่วนของกระดูกสันหลังที่ยื่นยาวออกไป

ลักษณะ

มีขนยาว ตัวสีดำหรือดำแกมน้ำตาล เว้นแต่ที่ตรงหน้าผากและครึ่งล่างของขาทั้ง 4 เป็นสีขาวเทา ๆ หรือเหลืองอย่างสีทอง เรียกว่า "หน้าโพ" ขาทั้ง 4 ข้างตั้งแต่เหนือเข่าลงไปถึงกีบเท้ามีสีขาวเทาหรือเหลืองทอง ทำให้มองดูเหมือนสวมถุงเท้า สีขนของกระทิงบริเวณหน้าผากและถุงเท้าเกิดจากคราบน้ำมันในเหงื่อซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ชนิดนี้ คอสั้น และมีพืม (เหนียงคอ) ห้อยยาวลงมาจากใต้คอ เขามีสีเขียวเข้ม ปลายเขามีสีสดบริเวณโคนเขามีรอยย่นซึ่งรอยนี้จะมีมากขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น

กระทิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกที่เกิดขึ้นจะมีสีน้ำตาลแกมแดงเหมือนสีขนของเก้ง มีเส้นสีดำพาดกลางหลัง ลูกกระทิงขนาดเล็กจะยังไม่มีถุงเท้าเหมือนกระทิงตัวโต มีความยาวลำตัวและหัว 250–300 เซนติเมตร หาง 70–105 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นถึงหัวไหล่ 170–185 เซนติเมตร น้ำหนัก 650–900 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน, อินเดีย, ภูฏาน, เนปาล, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย โดยแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อย 6 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด)

ชนิดย่อย

  • Bos gaurus laosiensis – พบในพม่าถึงจีน
  • Bos gaurus gaurus – พบในอินเดียและเนปาล
  • Bos gaurus readei
  • Bos gaurus hubbacki – พบในไทยและมาเลเซีย
  • Bos gaurus frontalis หรือ กระทิงเขาทุย มีเขาที่สั้น เชื่อว่าเป็นลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวบ้าน พบในอินเดีย
  • †Bos gaurus sinhaleyus พบในศรีลังกาแต่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

พฤติกรรม

กระทิงในสวนสัตว์
ฝูงกระทิงที่อุทยานแห่งชาติบันดิปอร์ อินเดีย

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2–60 ตัว สมาชิกในฝูงประกอบด้วยตัวเมียและลูก บางครั้งอาจเข้าไปหากินรวมฝูงกับวัวแดง (Bos javanicus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว กระทิงจะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่สูง ขณะที่วัวแดงจะหากินในพื้นที่ราบต่ำกว่า[3] หรือหากินร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ตัวผู้มักอาศัยอยู่ตามลำพังแต่จะเข้าไปอยู่รวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ฝูงกระทิงจะเดินหากินสลับไปกับการนอนหลับพักผ่อนตลอดทั้งวัน โดยบางตัวจะนอนหลับท่ายืนหรือนอนราบกับพื้น สามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า ทั้งป่าเบญจพรรณ, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบแล้ง, ป่าดิบเขา หรือบางครั้งก็อาจเข้าไปหากินอยู่ตามไร่ร้างหรือป่าที่อยู่ในสภาพฟื้นฟูจากการทำลาย มักหากินอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักเนื่องจากอดน้ำไม่เก่ง ช่วงฤดูหลังไฟไหม้ป่า จะออกหากินยอดไม้อ่อนและหญ้าระบัดที่มีอยู่มากตามทุ่งหญ้า และป่าเต็งรัง

สถานะ

สถานะในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 พบกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เขาแผงม้า ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ในจังหวัดยะลา เป็นต้น สถานะในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในระดับ CR (Critically Endangered) หมายถึงมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในพื้นที่ธรรมชาติขณะนี้ มาเป็นอยู่ในข่ายที่จะเข้าสู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ (VU) แทน

ลูกผสม

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557 ได้เกิดมีวัวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวน 4 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 1 ตัว ที่เกิดจากที่กระทิงผสมข้ามสายพันธุ์กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ลูกที่ได้เป็นวัวลูกผสมที่มีรูปร่างใหญ่โต บึกบึน แข็งแรง รูปร่างคล้ายกระทิง แต่ที่ขาทั้ง 4 ข้างไม่มีรอยขาวเหมือนสวมถุงเท้า[4] และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 ก็มีลูกวัวพันธุ์ผสมกรณีคล้ายกันจำนวน 11 ตัว ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระทิงน้ำหนัก 1 ตัน กับวัวบ้านสายพันธุ์พื้นเมือง ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กลายเป็นวัวสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปร่างแข็งแรง ล่ำสัน มีความปราดเปรียว แต่ไม่ดุร้าย ซึ่งในทางวิชาการจะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต[5] และในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีรายงานว่า มีลูกผสมระหว่างกระทิงกับวัวแดงเกิดขึ้นในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง โดยลูกที่ได้มีสีที่อ่อนกว่ากระทิง แต่มีลักษณะเหมือนกับกระทิง คือ มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน ก้นขาว และขาทั้ง 4 ข้างมีรอยขาว[3]

อ้างอิง

  1. Duckworth, J.W., Steinmetz, R., Timmins, R.J., Pattanavibool, A., Than Zaw, Do Tuoc, Hedges, S. (2008). "Bos gaurus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. กระทิง, แฟ้มสัตว์โลก, โลกสีเขียว
  3. 3.0 3.1 "กระทิงทับวัวแดง ลูกเป็น'กระทิงแดง' เจอในป่าหลายแห่ง". ไทยรัฐ. 11 February 2015. สืบค้นเมื่อ 11 February 2015.
  4. "ชาวสังขละ แห่ดู 'ลูกวัว'ตัวใหญ่เหมือน'กระทิงป่า'". ไทยรัฐ. 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
  5. "พบวัวสายพันธุ์ใหม่ลูกผสมกระทิงป่า-วัวพันธุ์พื้นเมือง". กรุงเทพธุรกิจ. 21 January 2015. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bos gaurus ที่วิกิสปีชีส์