ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธานินทร์ อินทรเทพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Aeyple (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 78: บรรทัด 78:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yayka&date=24-04-2010&group=2&gblog=29 bloggang.com ,ยายก้า]
* [http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yayka&date=24-04-2010&group=2&gblog=29 bloggang.com ,ยายก้า]
* [https://oldsonghome.com/%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%9e/ ธานินทร์ อินทรเทพ]


{{เกิดปี|2486}}{{alive}}
{{เกิดปี|2486}}{{alive}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:34, 30 มีนาคม 2563

ธานินทร์ อินทรเทพ
ไฟล์:38dbb8c52fc078008342db3cbe2e64e7 .jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด3 มกราคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
ธานินทร์ อินทรแจ้ง
อาชีพนักร้อง นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน

ธานินทร์ อินทรเทพ มีชื่อจริงว่า ธานินทร์ อินทรแจ้ง ชื่อเล่น เล็ก นักร้องเพลงลูกกรุงอาวุโส มีชื่อเสียงจากเพลง รักเอย เหมือนคนละฟากฟ้า นกขมิ้น หากรู้สักนิด ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา (โดยเฉพาะเพลงขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก มีชื่อเสียงจนถูกนำไปแต่งเพลงล้อเลียน ชื่อ ขาดฉันแล้วเธอจะเซ้งตึก แปลงเพลงโดย ซูม แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ) [1]

ประวัติ

  • เกิดที่จังหวัดสมุทรสาคร เรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านมหาชัย และโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก
  • เข้าร่วมวงดนตรีของครูพยงค์ มุกดา จากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุพล.1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 มีผลงานอัดแผ่นเสียงเพลง จูบจันทร์ และ เพ็ญโสภา [2] ต่อมาครูพยงค์ได้นำไปฝากให้อยู่กับวงสุเทพโชว์ ของสุเทพ วงศ์กำแหง ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อในการแสดงให้ว่า ธานินทร์ อินทรเทพ

ผลงานเด่น

  • รางวัลเสาอากาศทองจากเพลง ฝากเพลงถึงเธอ พ.ศ. 2518 ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก และ ทำไมถึงต้องเป็นเรา พ.ศ. 2519 (แต่งโดย ทวีพงศ์ มณีนิล) และ ปั้นดินให้เป็นดาว พ.ศ. 2522
  • แสดงภาพยนตร์ เรื่อง พิมพิลาไลย จำปูน กาเหว่า ชุมทางรัก เป็ดน้อย ระหว่าง พ.ศ. 2507-2511 ร้องเพลงประกอบ เช่น จำปูน (จำปูน ) ,สามคำจากใจ (เป็ดน้อย ) และ ชีวิตละคร (ละครเร่ )
  • ช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2530 เดินทางไปใช้ชีวิตร้องเพลงในสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาได้หยุดร้องประจำตามสถานบันเทิง แต่รับเชิญร้องตามงานพิเศษ และเป็นเลขานุการของสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ก่อตั้งกองทุนเพื่อศิลปิน
  • มีคอนเสิร์ตของตนเองและรับเชิญเป็นครั้งคราว แฟนเพลงต้อนรับคับคั่ง

อ้างอิง

  1. ลำนำรักจากหนุ่มลำน้ำ โดย หมี่เป็ด ผู้ชายนัยน์ตาสนิมเหล็ก[ลิงก์เสีย]
  2. ไทยโพสต์ แทบลอยด์ 26 ตุลาคม 2546[ลิงก์เสีย]
  3. คมพยาบาท มูลนิธิหนังไทย
  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-82-3

แหล่งข้อมูลอื่น