ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิทรูแมน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
{{สงครามเย็น}}
{{สงครามเย็น}}
[[หมวดหมู่:ลัทธินโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา]]
[[หมวดหมู่:ลัทธินโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา]]
[[หมวดหมู่:แฮร์รี เอส. ทรูแมน]]
{{โครงสงครามเย็น}}
{{โครงสงครามเย็น}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:15, 26 มีนาคม 2563

ลัทธิทรูแมน (อังกฤษ: Truman Doctrine) เป็นนโยบายซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 โดยกล่าวว่า สหรัฐจะสนับสนุนกรีซและตุรกี โดยให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหาร เพื่อป้องกันมิให้ประเทศทั้งสองตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต[1]

ทรูแมนกล่าวว่าทฤษฎีดังกล่าวจะเป็น "นโยบายของสหรัฐอเมริกาเพื่อสนับสนุนอิสรชนผู้ซึ่งกำลังต่อต้านความพยายามปราบปรามโดยชนกลุ่มน้อยติดอาวุธหรือโดยแรงกดดันจากภายนอก" ทรูแมนให้เหตุผลว่า เนื่องจาก "ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ" เหล่านี้บีบบังคับ "อิสรชน" พวกเขาจึงเป็นสัญลักษณ์ของภัยคุกคามต่อสันติภาพสากลและความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ทรูแมนออกแถลงการณ์ดังกล่าวท่ามกลางวิกฤตการณ์สงครามกลางเมืองกรีซ (1946-49) เขาโต้แย้งว่าหากกรีซและตุรกีไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ต้องการโดยด่วนแล้ว ทั้งสองประเทศอาจตกอยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์อย่างแก้คืนไม่ได้และจะสร้างผลกระทบร้ายแรงตลอดภูมิภาค

แต่เดิม สหราชอาณาจักรเคยให้การสนับสนุนกรีซมาก่อน แต่ตอนนี้อังกฤษกลับตกอยู่ในสถานะแทบล้มละลายและถูกบังคับให้ลดการให้ความช่วยเหลือลงอย่างมาก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 สหราชอาณาจักรร้องขออย่างเป็นทางการต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อแทนที่ตนในบทบาทการสนับสนุนรัฐบาลกรีซ[2]

นโยบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพรรครีพับลิกันซึ่งมีเสียงข้างมากในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา และส่งเงินจำนวน 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปยังภูมิภาคดังกล่าว แต่มิได้ส่งกำลังทหารใด ๆ ไป ผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวทำให้ภัยคุกคามคอมมิวนิสต์หมดลงไป และใน ค.ศ. 1952 ทั้งสองประเทศเข้าร่วมกับนาโต พันธมิตรทางการทหารซึ่งรับประกันการคุ้มครองทั้งสองประเทศ[3]

ลัทธิดังกล่าวต่อมาแพร่หลายอย่างไม่เป็นทางการจนกลายมาเป็นรากฐานของนโยบายสหรัฐอเมริกาในสงครามเย็น ตลอดทวีปยุโรปและทั่วโลก[4] โดยเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศที่มีต่อสหภาพโซเวียตจากยุคแห่งการผ่อนคลายความตึงเครียด ไปเป็นนโยบายการจำกัดการขยายตัวของโซเวียต นักประวัติศาสตร์มักถือว่าการประกาศลัทธิทรูแมนเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น

อ้างอิง

  1. "Special Message to the Congress on Greece and Turkey: The Truman Doctrine." Truman Library Public Papers, 12 March 1947. Web. May. 2010. <http://www.trumanlibrary.org/publicpapers/index.php?pid=2189&st=&st1=>
  2. Alan Bullock, Ernest Bevin: Foreign Secretary (1983) pp 368-9; Arnold Offner, Another Such Victory: President Truman and the Cold War, 1945-1953 (2002) p 197; Denise M. Bostdorff, Proclaiming the Truman Doctrine (2008) p 51
  3. George McGhee, The U.S.-Turkish-NATO Middle East Connection: How the Truman Doctrine and Turkey's NATO Entry Contained the Soviets in the Middle East, (1990)
  4. Dennis Merrill, "The Truman Doctrine: Containing Communism and Modernity," Presidential Studies Quarterly, March 2006, Vol. 36 Issue 1, pp 27-37