ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตติพจน์ วิริยะโรจน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
[[หมวดหมู่:นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:08, 23 มีนาคม 2563

จิตติพจน์ วิริยะโรจน์
ไฟล์:จิตติพจน์ วิริยะโรจน์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ

จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นพี่ชายของนายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ประวัติ

จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน

การทำงาน

จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551

ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา จำนวนติดต่อกัน 4 วาระ เป็นเวลา 6 ปี ทำหน้าที่ตรวจ ติดตาม การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันได้แก่ กกต. ปปช. สตง. องค์กรอัยการ เป็นต้น รวมทั้งมีหน้าที่ตรวจสอบติดตามการบริหารงบประมาณของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณแผ่นดิน

ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากที่มีการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา โดยมี นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา นายโคทม อารียา ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นรองประธาน โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ ตรวจสอบ ติดตาม ค้นหาความจริง และหาทางออกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุมในครั้งนั้น การทำงานของคณะกรรมการใช้เวลานานกว่า 2 ปี แต่รายงานของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองถูกระงับมิให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน

นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ เช่นพ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2554 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2554 เป็นต้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น