ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตปกครองสามัญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TonkarLike (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
TonkarLike (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
| flag_s2 = Flag of Ukrainian SSR (1937-1949).svg
| flag_s2 = Flag of Ukrainian SSR (1937-1949).svg
| image_flag = Flag of German Reich (1935–1945).svg{{!}}border
| image_flag = Flag of German Reich (1935–1945).svg{{!}}border
| flag = ธงชาติเยอรมนี#นาซีเยอรมนี
| flag = Flag of Germany#Nazi Germany
| image_coat = Reichsadler.svg
| image_coat = Reichsadler.svg
| coa_size = 100px
| coa_size = 100px

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:24, 23 มีนาคม 2563

เขตปกครองสามัญ

Generalgouvernement  (เยอรมัน)
Generalne Gubernatorstwo  (โปแลนด์)
ค.ศ. 1939–ค.ศ. 1945
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
เขตปกครองสามัญในปี ค.ศ. 1942
สถานะรัฐองค์ประกอบการปกครองตนเอง
ของ นาซีเยอรมัน[1]
เมืองหลวงวูช (12 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 1939)
กรากุฟ (4 พฤศจิกายน 1939 – 1945)
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (เป็นทางการ)
โปแลนด์
ยูเครน
ยิดดิช
การปกครองพลเรือนบริหารปกครอง
ผู้สำเร็จราชการทั่วไป 
• 1939–1945
ฮันส์ ฟรังค์
เลขานุการแห่งรัฐ 
• 1939–1941
อาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท
• 1941–1945
โยเซ็ฟ บือเลอร์
ยุคประวัติศาสตร์การบุกครองโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
12 ตุลาคม ค.ศ. 1939
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945
พื้นที่
193995,000 ตารางกิโลเมตร (37,000 ตารางไมล์)
1941142,000 ตารางกิโลเมตร (55,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1941
12000000
สกุลเงินzłoty
Reichsmark
ก่อนหน้า
ถัดไป
การบริหารทหารในโปแลนด์
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์
Ukrainian Soviet Socialist Republic
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โปแลนด์
 สโลวาเกีย
 ยูเครน

เขตปกครองสามัญ(เยอรมัน: Generalgouvernement, โปแลนด์: Generalne Gubernatorstwo, ยูเครน: Генеральна губернія),เรียกอีกอย่างว่า เจอเนอรัลโกเวอร์โนเรนท์ เป็นเขตยึดครองของเยอรมันที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการร่วมมือบุกเข้ายึดครองโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939 เป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง การเข้ายึดครองสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองมาใหม่ๆได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 โซน: เขตปกครองสามัญอยู่ในส่วนภาคกลาง, พื้นที่โปแลนด์ที่ผนวกโดยนาซีเยอรมนีในด้านตะวันตกและพื้นที่โปแลนด์ที่ผนวกโดยสหภาพโซเวียตในด้านตะวันออก ดินแดนนี้ได้ถูกขยายใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 1941 เพื่อรวมเขตปกครองใหม่ในกาลิเซีย

ด้วยพื้นฐานสำหรับการก่อตั้งของเขตปกครองสามัญคือการเอ่ยอ้างสิทธิของเยอรมัน-โซเวียตต่อการล่มสลายทั้งหมดของรัฐโปแลนด์ คำประกาศโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1939 ที่ผ่านการรับร้องที่เรียกว่า ภาคผนวกกฤษฎีกาเกี่ยวกับการบริหารของดินแดนยึดครองโปแลนด์ ด้วยเหตุผลนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยศาลสูงสุดเยอรมันในการกำหนดตัวตนของชาวโปแลนด์ทั้งหมดในฐานะบุคคลไร้สัญชาติ, กับการยกเว้นของชนกลุ่มชาวเยอรมันของโปแลนด์ในช่วงสงคราม ชื่อนามเพียงหนึ่งเดียวที่ถูกต้องตามกฏหมายของจักรวรรดิไรช์ที่สามโดยไม่คำนึงถึงกฏหมายระหว่างประเทศ

เขตปกครองสามัญได้ดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีเป็นหน่วยบริหารที่แยกตัวเพื่อวัตถุประสงค์ด้านโลจิสติกส์ เมื่อกองทัพเวร์มัคท์ได้บุกเข้าโจมตีตำแหน่งของโซเวียตใน Kresy ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ในช่วงแรกที่ประสบความสำเร็จของปฏิบัติการบาร์บารอสซา พื้นที่ของเขตปกครองสามัญได้ถูกขยายโดยรวบรวมภูมิภาคของโปแลนด์ที่ถูกยึดครองโดยกองทัพแดง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 ภายในไม่กี่วัน ทางด้านตะวันตกของกาลิเซียได้ถูกยึดและเปลี่ยนชื่อเป็น Distrikt Galizien จนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 เขตปกครองสามัญประกอบไปด้วยภาคกลาง ใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ของโปแลนด์ภายในเขตของสงคราม(และของสมัยใหม่-ยูเครนตะวันตก),รวมทั้งเมืองสำคัญของโปแลนด์ ได้แก่ วอร์ซอ, คาร์คอฟ(Kraków), ลวูฟ(ปัจจุบันคือ ลวีฟ เปลี่ยนชื่อมาเป็น เลมแบร์ก), ลูบลิน(ดูที่ Lublin Reservation), Tarnopol (ดูที่ประวัติศาสตร์ของเกตโต Tarnopol), Stanisławów(ปัจจุบันคือ Ivano-Frankivsk, เปลี่ยนชื่อมาเป็น Stanislau; ดูที่ประวัติศาสตร์ของเกตโต Stanisławów), Drohobycz, และ Sambor (ดูที่เกตโต Drohobycz และ Sambor)และอื่นๆ สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ได้ถูกเปลื่ยนชื่อในภาษาเยอรมัน

การบริหารของเขตปกครองสามัญได้ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่เยอรมันด้วยเจตนารมณ์ที่จะตั้งให้เป็นที่รกรากถิ่นฐานโดยผู้ตั้งถิ่นชาวเยอรมัน ผู้ที่จะลดจำนวนประชากรท้องถิ่นให้ได้มากที่สุดก่อนที่พวกเขาจะถูกสังหารและถูกขับไล่ ผู้ปกครองนาซีเยอรมันของเจอเนอรัลโกอูเวอร์เนเมนท์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้มีการปกครองร่วมกับชนท้องถิ่นในช่วงตลอดสงครามโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและการกำหนดแนวทิศทางการเมือง เจ้าหน้าที่มักจะไม่เอ่ยถึงชื่อคำว่า "โปแลนด์"ในความสอดคล้องทางกฏหมาย ยกเว้นเพียงแต่กรณีนี้คือ ธนาคารแห่งประเทศโปแลนด์ของเขตปกครองสามัญ(Polish: Bank Emisyjny w Polsce, German: Emissionbank in Polen).

อ้างอิง

  1. Diemut 2003, page 268.