ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลื้มจิตร์ ถินขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Siripleumjitrat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
}}
}}


'''ปลื้มจิตร์ ถินขาว''' (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526) เป็นนักกีฬา[[วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย]] ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งบอลกลาง และมีโอกาสไปแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพในต่างประเทศ
'''ปลื้มจิตร์ ถินขาว''' (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526) เป็นนักกีฬา[[วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย]] ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งบอลกลาง และมีโอกาสไปแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพในต่างประเทศ


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:16, 14 มีนาคม 2563

ปลื้มจิตร์ ถินขาว

ปลื้มจิตร์ ถินขาว (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 — ) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งบอลกลาง และมีโอกาสไปแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพในต่างประเทศ

ประวัติ

ปลื้มจิตร์ เกิดที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรสาวของวันชัย (บิดา) และสมฤดี (มารดา) มีพี่ชายชื่อพีรเวท จบการศึกษามัธยมต้นจากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม มัธยมปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปริญญาตรีและโท จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เมื่อจบการศึกษา ก็บรรจุเข้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งนักการตลาด กองนโยบายและแผน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและตอนนี้กำลังศึกษาต่อปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปลื้มจิตร์เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ 14 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จังหวัดอ่างทอง เคยเข้าแข่งขันระดับอาชีพ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน (สโมสรหงเหอ และ ฟูเจี้ยน เซียะเหมิน), รัสเซีย (สโมสรอาอูรูม), เวียดนาม (สโมสรทันเห่า), ตุรกี (สโมสร Konya Eregli) ปัจจุบัน (2555-2556) ปลื้มจิตร์เล่นให้แก่สโมสรอิกติซาดชิ บากู ในประเทศอาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้ ยังเคยร่วมถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา กับสายการบินแอร์เอเชีย ในปี พ.ศ. 2555 และ น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ , แปรงจัดฟัน SYSTEMA OD. ในปี พ.ศ. 2557 [1] , [2]

รางวัล

วอลเลย์บอลชิงแชมป์เอเชียนคัพ

  • พ.ศ. 2555 (อันดับ 1) ที่ประเทศคาซัคสถาน
  • พ.ศ. 2553 (อันดับ 2) ที่ประเทศจีน
  • พ.ศ. 2551 (อันดับ 3) ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

วอลเลย์บอลเวิลด์แกรนด์แชมเปี้ยนคัพ

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 5) ประเทศไทยในฐานะแชมป์ทวีปเอเชีย

วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 13)
  • พ.ศ. 2555 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2553 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 8)
  • พ.ศ. 2551 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2549 (อันดับ 11)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 12)
  • พ.ศ. 2547 (อันดับ 10)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 9)
  • พ.ศ. 2545 (อันดับ 8)

วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย

  • พ.ศ. 2556 (อันดับ 1) ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2554 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2552 (อันดับ 1)
  • พ.ศ. 2550 (อันดับ 3)
  • พ.ศ. 2548 (อันดับ 6)
  • พ.ศ. 2546 (อันดับ 4)
  • พ.ศ. 2544 (อันดับ 3)

ซีเกมส์

  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 26 อินโดนีเซีย ปี 2011
  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ลาว ปี 2009
  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไทย ปี 2007
  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ฟิลิปปินส์ ปี 2005
  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 เวียดนาม ปี 2003
  • แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 มาเลเซีย ปี 2001

กีฬามหาวิทยาลัยโลก

  • ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (อันดับ 4)

เอเชียนเกมส์

  • พ.ศ. 2557 เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้
  • พ.ศ. 2561 เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย

รางวัลที่ได้รับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ปลื้มจิตร์กับปรากฏการณ์พลังเร็วมหาประลัย
  2. SYSTEMA OD. นวัตกรรมล่าสุด! ของแปรงจัดฟัน ขจัดพลัคได้เหนือกว่า
  3. สยามกีฬารายวัน, ปีที่ 27 ฉบับที่ 9865, วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
  4. "ชัปปุยส์-ปลื้มจิตร์ ครองใจแฟนกีฬาปี 57". สยามกีฬา. 30 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑
  6. 20 นักตบปลื้มรับเครื่องราชฯทำคุณประโยชน์ด้านกีฬา

แหล่งข้อมูลอื่น