ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิคังซี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปราสาททอง
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ[[จักรพรรดิหย่งเจิ้น|หย่งเจิ้ง]]ในเวลาต่อมา
ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ[[จักรพรรดิหย่งเจิ้น|หย่งเจิ้ง]]ในเวลาต่อมา


รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของ [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]และ[[ราชวงศ์ปราสาททอว]]ของ[[อาณาจักรอยุธยา]]
รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของ [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]และ[[ราชวงศ์ปราสาททอง]]ของ[[อาณาจักรอยุธยา]]


จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2265]] (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ [[กิมย้ง]] เรื่อง [[อุ้ยเสี่ยวป้อ]]
จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี [[พ.ศ. 2265]] (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ [[กิมย้ง]] เรื่อง [[อุ้ยเสี่ยวป้อ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:28, 8 มีนาคม 2563

จักรพรรดิคังซี

Emperor Hétiān Hóngyùn Wénwǔ Ruìzhé Gōngjiǎn Kuānyù Xiàojìng Chéngxìn Zhōnghé Gōngdé Dàchéng Rén
合天弘運文武睿哲恭儉寬裕孝敬誠信中和功德大成仁皇帝[Listen]

จักรพรรดิคังซี
ฮ่องเต้องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ชิง
ครองราชย์5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1661 – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1722
(61 ปี 318 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิซุ่นจื้อ
ถัดไปจักรพรรดิยงเจิ้ง
ประสูติ4 พฤษภาคม ค.ศ. 1654(1654-05-04)
สวรรคต20 ธันวาคม ค.ศ. 1722(1722-12-20) (68 ปี)
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน
จักรพรรดินีเซี่ยวเจาเหริน
จักรพรรดินีเซี่ยวอี้เหริน
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
พระราชบุตรพระราชโอรส 24 พระองค์
พระราชธิดา 20 พระองค์
จักรพรรดิคังซี
พระนามเต็ม
Chinese: Àixīn-Juéluó Xuányè 愛新覺羅玄燁
Manchu: Aisin-Gioro Hiowan Yei
พระปรมาภิไธย
จักรพรรดิคังซี
พระราชบิดาจักรพรรดิซุ่นจื้อ
พระราชมารดาสมเด็จพระพันปีหลวงฉือเหอ

จักรพรรดิคังซี (จีน: 康熙帝; พินอิน: Kāngxīdì; เวด-ไจลส์: K'ang-hsi-ti; มองโกเลีย: Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 7 พรรษา ในปี ค.ศ. 1661 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์

ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม

ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต

ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่ 3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด

สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซูเค่อซ่าฮ่า เอ้ปี๋หลงุ

เมื่อพระองค์ออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี

รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต

หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้

ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา

จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร

จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี

ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา

รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์ปราสาททองของอาณาจักรอยุธยา

จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ

พระบรมวงศานุวงศ์

จักรพรรดินีและพระสนม

พระรูป พระนาม สกุลเดิม
จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน
(孝诚仁皇后)
สกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
จักรพรรดินีเซี่ยวเจาเหริน
(孝昭仁皇后)
สกุลหนิ่วฮู่ลู่ (钮祜禄)
จักรพรรดินีเซี่ยวอี้เหริน
(孝懿仁皇后)
สกุลถงเจีย (佟佳)
จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
(孝恭仁皇后)
[พระอัครชายาเต๋อ (德妃)]
สกุลอูหยา (呉雅)
  • พระมเหสี (皇贵妃) - หวังกุ้ยเฟย
    • พระมเหสีเชวี้ยฮุ่ย (悫惠皇贵妃) จากสกุลถงเจีย (佟佳)
    • พระมเหสีตุนอี๋ (惇怡皇贵妃) จากสกุลกัวเอ่อร์เจีย (瓜尔佳)
    • พระมเหสีจิ้งหมิ่น (敬敏皇贵妃) จากสกุลจางเจีย (章佳)
  • พระราชเทวี (贵妃) - กุ้ยเฟย
    • พระราชเทวีเวินซี (温僖贵妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (钮祜禄)
  • พระอัครชายา (妃) - เฟย
    • พระอัครชายาซุ่นอี้มี่ (顺懿密妃) จากสกุลหวัง (王)
    • พระอัครชายาฉุนอี้ฉิน (纯裕勤妃) จากสกุลเฉิน (陈)
    • พระอัครชายาฮุ่ย (惠妃) จากสกุลน่าลา (那拉)
    • พระอัครชายาอี้ (宜妃) จากสกุลกัวลั่วหลัว (郭络罗)
    • พระอัครชายาหรง (荣妃) จากสกุลหม่าเจีย (马佳)
    • พระอัครชายาติ้ง (定妃) จากสกุลว่านหลิวฮา (万琉哈)
    • พระอัครชายาซวน (宣妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
    • พระอัครชายาเฉิง (成妃) จากสกุลไต้เจีย (戴佳)
    • พระอัครชายาเหลียง (良妃) จากสกุลเว่ย (卫)
    • พระอัครชายาผิง (平妃) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
    • พระอัครชายาฮุ่ย (慧妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特)
  • พระชายา (嬪) - ผิน
    • พระชายาอัน (安嬪) จากสกุลหลี่ (李)
    • พระชายาจิ้ง (敬嬪) จากสกุลจางเจีย (章佳)
    • พระชายาตวน (端嬪) จากสกุลต่ง (董)
    • พระชายาซี (僖嬪) จากสกุลเหอเซ่อหลี่ (赫舍里)
    • พระชายาทง (通嬪) จากสกุลหน่าลา (纳喇)
    • พระชายาเซียง (襄嬪) จากสกุลเกา (高)
    • พระชายาจิ่น (谨嬪) จากสกุลเซ่อเฮ่อถู (色赫图)
    • พระชายาจิ้ง (静嬪) จากสกุลฉือ (石)
    • พระชายาซี (熙嬪) จากสกุลเฉิน (陈)
    • พระชายามู่ (穆嬪) จากสกุลเฉิน (陈)
  • พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (贵人)
    • พระสนมกัว (郭贵人) จากสกุลกัวลั่วหลัว (郭络罗)
    • พระสนมปู้ (布贵人) จากสกุลจ้าวเจีย (兆佳)
    • พระสนมหยวน (袁贵人) จากสกุลหยวน (袁)
    • พระสนมอี (伊贵人) จากสกุลอี้ (易)
    • พระสนม จากสกุลเฉิน (陳)
    • พระสนม จากสกุลหน่าลา (纳喇)
    • พระสนม จากสกุลหน่าลา (纳喇)
    • พระสนมซิน (新貴人)
    • พระสนมหม่า (馬貴人)
    • พระสนมอิ่น (尹貴人)
    • พระสนมเลย (勒貴人)
    • พระสนมเหวิน (文貴人)
    • พระสนมหลาน (藍貴人)
    • พระสนมฉาง (常貴人)
  • พระสนมขั้นชู่เฟย (庶妃)
    • พระสนม จากสกุลนิ่วฮู่ลู่ (钮祜禄)
    • พระสนม จากสกุลจาง (张)
    • พระสนม จากสกุลหวาง (王)
    • พระสนม จากสกุลหลิว (刘)
  • พระสนมขั้นฉางไจ้ (常在)
    • พระสนมอิ่น (尹常在)
    • พระสนมเซ่อ (色常在)
    • พระสนมลู่ (路常在)
    • พระสนมโช่ว (壽常在)
    • พระสนมฉาง (常常在)
    • พระสนมรุ่ย (瑞常在)
    • พระสนมกุ้ย (貴常在)
    • พระสนมสวี (徐常在)
    • พระสนมฉือ (石常在)
  • พระสนมขั้นตาอิ้ง (答应)
    • พระสนมหลิง (靈答應)
    • พระสนมชุน (春答應)
    • พระสนมเสี่ยว (曉答應)
    • พระสนมชิ่ง (慶答應)
    • พระสนมซิ่ว (秀答應)
    • พระสนมจื้อ (治答應)
    • พระสนมเมี่ยว (妙答應)
    • พระสนมจี๋ (即答應)
    • พระสนมหนี่ (旎答應)
    • พระสนมชู (菽答應)
    • พระสนมฮ่าว (好答應)

พระราชโอรส

ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระมารดา หมายเหตุ
องค์ชายเฉิงรุ่ย
承瑞
5 พฤศจิกายน 1667 10 กรกฎาคม 1670 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายเฉิงฮู่
承祜
4 มกราคม 1669 3 มีนาคม 1672 จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน สกุลเฮ่อเซ่อหลี่ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายเฉิงชิ่ง
承慶
21 มีนาคม 1670 26 พฤษภาคม 1671 พระอัครชายาฮุ่ย สกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายไซ่อินฉาฮุน
賽音察渾
24 มกราคม 1671 6 มีนาคม 1674 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
1 องค์ชายอิ้นจือ
胤禔
12 มีนาคม 1672 7 มกราคม 1735 พระอัครชายาฮุ่ย สกุลน่าลา สถาปนาเป็นจื้อจวิ้นอ๋อง ในปี 2241
ปลดจากพระอิสริยยศในปี 2251
องค์ชายฉางหัว
長華
11 พฤษภาคม 1674 12 พฤษภาคม 1674 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
2
องค์ชายอิ้นเหริง
胤礽
6 มิถุนายน 1674 27 มกราคม 1725 จักรพรรดินีเซี่ยวเฉิงเหริน สกุลเฮ่อเซ่อหลี่ พระนามเดิม “องค์ชายป่าวเฉิง” (保成) สถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร (皇太子) เมื่อปี 1675
ปลดจากพระอิสริยยศในปี 1709
สถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร อีกครั้งในปี 1712
องค์ชายชางเซิง
長生
12 สิงหาคม1675 27 เมษายน 1677 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
องค์ชายหวั่นผู
萬黼
4 ธันวาคม 1675 11 มีนาคม 1679 พระชายาทง สกุลหน่าลา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
3
องค์ชายอิ้นจื่อ
胤祉
23 มีนาคม 1677 10 กรกฎาคม 1732 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย สถาปนาเป็นเฉิงจวิ้นอ๋อง ในปี 1698
ลดพระอิสริยยศเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1699
สถาปนาเป็นจิ้งชินอ๋อง ในปี 1709
ลดพระอิสริยยศเป็นเฉิงจวิ้นอ๋อง ในปี 1728 และสถาปนาเป็นจิ้งชินอ๋อง ในปีเดียวกัน
ลดพระอิสริยยศเป็นเฉิงจวิ้นอ๋อง ในปี 1730
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “หยิ่น” (隐)
4
องค์ชายอิ้นเจิน
胤禛
13 ธันวาคม 1678 8 ตุลาคม 1735 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698
สถาปนาเป็นยงชินอ๋อง ในปี 1709
ขึ้นครองราชสมบัติเป็น จักรพรรดิยงเจิ้ง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 1722
องค์ชายอิ้นจ้าน
胤禶
10 เมษายน 1679 30 เมษายน 1680 พระชายาทง สกุลหน่าลา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
5 องค์ชายอิ้นฉี
胤祺
5 มกราคม 1680 10 กรกฎาคม 1732 พระอัครชายาอี้ สกุลกัวลั่วหลัว สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698
สถาปนาเป็นเหิงชินอ๋อง ในปี 1698
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เวิน” (溫)
6 องค์ชายอิ้นจั้ว
胤祚
5 มีนาคม 1680 15 มิถุนายน 1685 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
7 องค์ชายอิ้นโย่ว
胤祐
19 สิงหาคม 1680 18 พฤษภาคม 1730 พระอัครชายาเฉิง สกุลไต้เจีย สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698
สถาปนาเป็นฉุนจวิ้นอ๋อง ในปี 1709
สถาปนาเป็นฉุนชินอ๋อง ในปี 1723
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “ตู้” (度)
8
องค์ชายอิ้นซื่อ
胤禩
29 มีนาคม 1681 5 ตุลาคม 1726 พระอัครชายาเหลียง สกุลเว่ย สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1698
สถาปนาเป็นเหลียนชินอ๋อง ในปี 1723
ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726 และถูกบังคับให้เปลี่ยนพระนามเป็น "อาฉีน่า"
คืนพระอิสริยยศในปี 1778
องค์ชายอิ้นจุ่ย
胤䄔
13 กันยายน 1683 17 กรกฎาคม 1684 พระสนมกัว สกุลกัวลั่วหลัว สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
9
องค์ชายอิ้นถัง
胤禟
17 ตุลาคม 1683 22 กันยายน 1726 พระอัครชายาอี้ สกุลกัวลั่วหลัว สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709
ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726 และถูกบังคับให้เปลี่ยนพระนามเป็น "ไซซือเฮย"
คืนพระอิสริยยศในปี 1778
10 องค์ชายอิ้นเอ๋อ
胤䄉
28 พฤศจิกายน 1683 18 ตุลาคม 1741 พระราชเทวีเวินซี สกุลหนิ่วฮู่ลู่ สถาปนาเป็นตุนจวิ้นอ๋อง ในปี 1709
ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1724
สถาปนาเป็นฝู่กั๋วกง ในปี 1737
11 องค์ชายอิ้นจือ
胤禌
8 มิถุนายน 1685 22 สิงหาคม 1696 พระอัครชายาอี้ สกุลกัวลั่วหลัว สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
12 องค์ชายอิ้นเถา
胤祹
18 มกราคม 1686 2 กันยายน 1763 พระอัครชายาติ้ง สกุลว่านหลิวฮา สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709
สถาปนาเป็นลวี่จวิ้นอ๋อง ในปี 1722
สถาปนาเป็นลวี่ชินอ๋อง ในปี 1735
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “อี้” (懿)
13
องค์ชายอิ้นเสียง
胤祥
16 พฤศจิกายน 1686 18 มิถุนายน 1730 พระมเหสีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709
ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1712
สถาปนาเป็นอี๋ชินอ๋อง ในปี 1722
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เสียน” (賢)
14
องค์ชายอิ้นถี
胤禵
16 มกราคม 1688 13 มกราคม 1756 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน สกุลอูหย่า สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1709
สถาปนาเป็นสวินจวิ้นอ๋อง ในปี 1723
ลดพระอิสริยยศเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1725
ถูกปลดจากพระอิสริยยศในปี 1726
สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1747
สถาปนาเป็นสวินจวิ้นอ๋อง ในปี 1748
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “ฉิน” (勤)
องค์ชายอิ้นจี้
胤禨
23 กุมภาพันธ์ 1691 30 มีนาคม 1691 พระอัครชายาผิง สกุลเฮ่อเซ่อหลี่ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
15 องค์ชายอิ้นอู๋
胤禑
24 ธันวาคม 1693 8 มีนาคม 1731 พระอัครชายาซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1726
สถาปนาเป็นหยูจวิ้นอ๋อง ในปี 1730
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
16 องค์ชายอิ้นลู่
胤祿
28 กรกฎาคม 1695 20 มีนาคม 1767 พระอัครชายาซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง สถาปนาเป็นจวงชินอ๋อง ในปี 1723
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
17
องค์ชายอิ้นหลี่
胤禮
24 มีนาคม 1697 21 มีนาคม 1738 พระอัครชายาฉุนอี้ฉิน สกุลเฉิน สถาปนาเป็นกั่วจวิ้นอ๋อง ในปี 1723
สถาปนาเป็นกั่วจวิ้นอ๋อง ในปี 1728
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “อี้” (毅)
18 องค์ชายอิ้นเซี่ย
胤祄
15 พฤษภาคม 1701 17 ตุลาคม 1708 พระอัครชายาซุ่นอี้มี่ สกุลหวัง สิ้นพระชนม์ที่สถานที่พักร้อนและหมู่วัดในเฉิงเต๋อ ด้วยพระโรคคางทูม
19 องค์ชายอิ้นจี๋
胤禝
25 ตุลาคม 1702 28 มีนาคม 1704 พระชายาเซียง สกุลเกา สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
20 องค์ชายอิ้นอี
胤禕
1 กันยายน 1706 30 มิถุนายน 1755 พระชายาเซียง สกุลเกา สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1726
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เจี่ยนจิ้ง” (簡靖)
21 องค์ชายอิ้นสี่
胤禧
27 กุมภาพันธ์ 1711 26 มิถุนายน 1758 พระชายาซี สกุลเฉิน สถาปนาเป็นเป้ยจื่อ ในปี 1730 และสถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปีเดียวกัน
สถาปนาเป็นเชิ่นจวิ้นอ๋อง ในปี 1735
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “จิ้ง” (靖)
22 องค์ชายอิ้นหู
胤祜
10 มกราคม 1712 12 กุมภาพันธ์ 1744 พระชายาจิ่น สกุลเซ่อเฮ่อถู สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1730
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “กงฉิน” (恭勤)
23 องค์ชายอิ้นฉี
胤祁
14 มกราคม 1714 31 สิงหาคม1785 พระชายาจิ้ง สกุลฉือ สถาปนาเป็นเป้ยเล่อ ในปี 1730
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เฉิง” (誠)
24 องค์ชายอิ้นมี่
胤祕
5 กรกฎาคม 1716 3 ธันวาคม 1773 พระชายามู่ สกุลเฉิน สถาปนาเป็นเสียนอ๋อง ในปี 1733
พระนามหลังสิ้นพระชนม์คือ “เค่อ” (恪)
องค์ชายอิ้นย่วน
胤禐
2 มีนาคม 1718 2/3 มีนาคม 1718 พระสนมขั้นกุ้ยเหริน สกุลเฉิน สิ้นพระชนม์หลังจากประสูติ

พระราชธิดา

ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระมารดา
1 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 23 ธันวาคม 1668 พฤศจิกายน 1671 พระสนมขั้นชู่เฟย สกุลจาง
2 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 17 เมษายน 1671 8 มกราคม 1674 พระชายาตวน สกุลต่ง
3 องค์หญิงกู้หลุนหรงเซียน
固倫榮憲公主
20 มิถุนายน 1673 29 พฤษภาคม 1728 พระอัครชายาหรง สกุลหม่าเจีย
4 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 16 มีนาคม 1674 1678 พระสนมขั้นชู่เฟย สกุลจาง
5 องค์หญิงเหอซั่วตวนจิ้ง
和碩端靜公主
9 มิถุนายน 1674 เมษายน 1710 พระสนมปู้ สกุลจ้าวเจีย
6 องค์หญิงกู้หลุนเค่อจิ้ง
固倫恪靖公主
4 กรกฎาคม1679 1735 พระสนมกัว สกุลกัวลั่วหลัว
7 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 5 กรกฎาคม 1682 กันยายน 1682 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
8 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 13 กรกฎาคม1683 สิงหาคม 1683 จักรพรรดินีเซี่ยวอี้เหริน
9 องค์หญิงกู้หลุนเวินเซี่ยง
固倫溫憲公主
10 พฤศจิกายน 1683 กันยายน 1702 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
10 องค์หญิงกู้หลุนเฉวียนเฉวี่ย
固倫純愨公主
20 มีนาคม 1685 1710 พระชายาทง สกุลหน่าลา
11 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 24 ตุลาคม 1685 มิถุยน หรือ กรกฎาคม 1686 พระราชเทวีเวินซี สกุลหนิ่วฮู่ลู่
12 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 14 มิถุนายน 1686 มีนาคม 1697 จักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน
13 องค์หญิงเหอซั่วเวินเค่อ
和碩溫恪公主
1 มกราคม 1688 สิงหาคม 1709 พระมเหสีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย
14 องค์หญิงเหอซั่วเฉว่จิ้ง
和碩愨靖公主
16 มกราคม 1690 1736 พระสนมหยวน สกุลหยวน
15 องค์หญิงเหอซั่วตุนเค่อ
和碩敦恪公主
3 กุมภาพันธ์ 1691 มกราคม 1710 พระมเหสีจิ้งหมิ่น สกุลจางเจีย
16 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 27 พฤศจิกายน 1695 พฤศิกายน 1707 พระสนมขั้นชู่เฟย สกุลหวาง
17 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 12 มกราคม 1699 ธันวาคม 1700 พระสนมขั้นชู่เฟย สกุลหลิว
18 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 17 พฤศจิกายน1701 ไม่ทราบปี พระมเหสีตุนอี๋ สกุลกัวเอ่อร์เจีย
19 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 30 มีนาคม 1703 lมีนาคม 1705 พระชายาเซียง สกุลเกา
20 องค์หญิง (ไม่มีพระนาม) 20 พฤศจิกายน 1708 กุมภาพันธ์ 1709 พระสนมขั้นชู่เฟย สกุลนิ่วฮู่ลู่
บุญธรรม องค์หญิงกู้หลุนฉุนสี่
固伦纯禧公主
1671 1741 พระธิดาในองค์ชายฉางหนิง


อ้างอิง

ก่อนหน้า จักรพรรดิคังซี ถัดไป
จักรพรรดิชุ้นจื้อ
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2204 - พ.ศ. 2265)
จักรพรรดิยงเจิ้ง