ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเหี้ยนเต้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ [[โจผี]] พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี [[พ.ศ. 763]] และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋อง[[เล่าปี่]] สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี [[พ.ศ. 772]] ง่ออ๋อง[[ซุนกวน]]ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง
จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ [[โจผี]] พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี [[พ.ศ. 763]] และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋อง[[เล่าปี่]] สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี [[พ.ศ. 772]] ง่ออ๋อง[[ซุนกวน]]ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง


พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง ตำแหน่ง ซานหยางกง ถูกเนรเทศพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่ที่ เมืองซานหยาง และใช้ชีวิตในฐานะสามัญชนคนหนึ่งอย่างสงบสุขเรื่อยมา โดยท่านกับพระนางโจเฮา มักท่องไปตามหมู่บ้าน รักษาโรค ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนเป็นอันมาก จนได้ขนานนามว่า แพทย์พญามังกรพญาหงส์ จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 777]] ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษา ในรัชสมัยของพระเจ้าโจยอย และจากนั้นอีก 26 ปีถัดมา พระนางโจเฮาก็สวรรคตตามไป ในรัชสมัยของพระเจ้าโจฮวน พระศพของทั้งคู่ถูกฝังไว้เคียงข้างกัน ณ สุสานจังหลิง ปิดฉากตำนานแห่งหุ่นเชิดโดยสมบูรณ์
พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง ตำแหน่ง ซานหยางกง ถูกเนรเทศพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่ที่ เมืองซานหยาง และใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างสงบสุขเรื่อยมา โดยท่านกับพระนางโจเฮา มักไปเก็บสมุนไพรบนเขา และท่องไปตามหมู่บ้าน รักษาโรค ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนเป็นอันมาก จนได้ขนานนามว่า แพทย์พญามังกรพญาหงส์ จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี [[พ.ศ. 777]] ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษา ในรัชสมัยของพระเจ้าโจยอย ปิดฉากตำนานแห่งหุ่นเชิดโดยสมบูรณ์ และจากนั้นอีก 26 ปีถัดมา พระนางโจเฮาก็สวรรคตตามไป ในรัชสมัยของพระเจ้าโจฮวน พระศพของทั้งคู่ถูกฝังไว้เคียงข้างกัน ณ สุสานจังหลิง โดยปัจจุบันสุสานแห่งนี้อยู่ในสภาพสมบูณ์ เนื่องจากถูกดูแลอย่างดีจากชาวเมืองซึ่งเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของพระเจ้าเหี้ยนเต้


บรรดาลูกหลานส่วนหนึ่งได้แต่งงานกับชาวเมืองท้องถิ่น กำเนิดเป็นสายตระกูลสืบทอดกันมา จนถึงช่วงปลายราชวงศ์จิ้น ชนเผ่า[[ซฺยงหนู]] ได้กรีฑาทัพเข้ามารุกรานเมืองซานหยาง ทำให้ลื้อของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ชื่อ หลิวอาจือ ตัดสินใจพาครอบครัวและคณะกว่าสองพันคน ลงเรือหนีภัยสงครามไปญี่ปุ่น และได้เข้ารับราชการในราชสำนักญี่ปุ่น เป็นต้นตระกูล ‘ฮาราดะ’ และแยกสายตระกูลออกไปอีกนับสิบสกุล การย้ายไปตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นครั้งนั้น ได้นำเอาอารยธรรมแบบจีนไปเผยแผ่แก่ญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นอารยธรรมญี่ปุ่นโบราณยังไม่เจริญนัก ทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากจีน และได้รับเอาตัวอักษรแบบจีนซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรภาพมาใช้ และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาของลัทธิขงจื๊อ
บรรดาลูกหลานส่วนหนึ่งได้แต่งงานกับชาวเมืองท้องถิ่น กำเนิดเป็นสายตระกูลสืบทอดกันมา จนถึงช่วงปลายราชวงศ์จิ้น ชนเผ่า[[ซฺยงหนู]] ได้กรีฑาทัพเข้ามารุกรานเมืองซานหยาง ทำให้ลื้อของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ชื่อ หลิวอาจือ ตัดสินใจพาครอบครัวและคณะกว่าสองพันคน ลงเรือหนีภัยสงครามไปญี่ปุ่น และได้เข้ารับราชการในราชสำนักญี่ปุ่น เป็นต้นตระกูล ‘ฮาราดะ’ และแยกสายตระกูลออกไปอีกนับสิบสกุล การย้ายไปตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นครั้งนั้น ได้นำเอาอารยธรรมแบบจีนไปเผยแผ่แก่ญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นอารยธรรมญี่ปุ่นโบราณยังไม่เจริญนัก ทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากจีน และได้รับเอาตัวอักษรแบบจีนซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรภาพมาใช้ และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาของลัทธิขงจื๊อ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:20, 23 กุมภาพันธ์ 2563

พระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้
รูปวาดพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ในยุคราชวงศ์ชิง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
ประสูติพ.ศ. 724
สวรรคตพ.ศ. 777
ทรงราชสมบัติช่วงพ.ศ. 732 - พ.ศ. 763 (32 ปี)
จักรพรรดิองค์ก่อนหน้าหองจูเปียน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม漢獻帝
อักษรจีนตัวย่อ汉献帝
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
พระนามอื่น ๆหองจูเหียบ (พระนามเดิม)

จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ (จีนตัวย่อ: 汉献帝; จีนตัวเต็ม: 漢獻帝; พินอิน: Hàn Xiàn Dì) พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน (จีน: ; พินอิน: Xié) หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 王少協; พินอิน: Wáng Shǎo Xié; "เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้

จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ

จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง

พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง ตำแหน่ง ซานหยางกง ถูกเนรเทศพร้อมครอบครัวให้ไปอยู่ที่ เมืองซานหยาง และใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างสงบสุขเรื่อยมา โดยท่านกับพระนางโจเฮา มักไปเก็บสมุนไพรบนเขา และท่องไปตามหมู่บ้าน รักษาโรค ช่วยเหลือประชาชน เป็นที่รักใคร่ของผู้คนเป็นอันมาก จนได้ขนานนามว่า แพทย์พญามังกรพญาหงส์ จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษา ในรัชสมัยของพระเจ้าโจยอย ปิดฉากตำนานแห่งหุ่นเชิดโดยสมบูรณ์ และจากนั้นอีก 26 ปีถัดมา พระนางโจเฮาก็สวรรคตตามไป ในรัชสมัยของพระเจ้าโจฮวน พระศพของทั้งคู่ถูกฝังไว้เคียงข้างกัน ณ สุสานจังหลิง โดยปัจจุบันสุสานแห่งนี้อยู่ในสภาพสมบูณ์ เนื่องจากถูกดูแลอย่างดีจากชาวเมืองซึ่งเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของพระเจ้าเหี้ยนเต้

บรรดาลูกหลานส่วนหนึ่งได้แต่งงานกับชาวเมืองท้องถิ่น กำเนิดเป็นสายตระกูลสืบทอดกันมา จนถึงช่วงปลายราชวงศ์จิ้น ชนเผ่าซฺยงหนู ได้กรีฑาทัพเข้ามารุกรานเมืองซานหยาง ทำให้ลื้อของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ชื่อ หลิวอาจือ ตัดสินใจพาครอบครัวและคณะกว่าสองพันคน ลงเรือหนีภัยสงครามไปญี่ปุ่น และได้เข้ารับราชการในราชสำนักญี่ปุ่น เป็นต้นตระกูล ‘ฮาราดะ’ และแยกสายตระกูลออกไปอีกนับสิบสกุล การย้ายไปตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นครั้งนั้น ได้นำเอาอารยธรรมแบบจีนไปเผยแผ่แก่ญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นอารยธรรมญี่ปุ่นโบราณยังไม่เจริญนัก ทำให้อารยธรรมญี่ปุ่นส่วนมากได้รับอิทธิพลมาจากจีน และได้รับเอาตัวอักษรแบบจีนซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรภาพมาใช้ และโดยผ่านทางสื่อตัวอักษรนี้เอง ชาวญี่ปุ่นได้เรียนความรู้เบื้องต้นทางการแพทย์ การใช้ปฏิทินและดาราศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาของลัทธิขงจื๊อ

พระบรมวงศานุวงศ์

อ้างอิง

  • Chen Shou (2002). Records of Three Kingdoms. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80665-198-5.
  • Fan Ye; Sima Biao (2009). Book of the Later Han. Yue Lu Shu She. ISBN 7-80761-107-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

ก่อนหน้า พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถัดไป
จักรพรรดิฮั่นเซ่า
(หองจูเปียน)
จักรพรรดิจีน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

(ค.ศ. 189–220)
เล่าปี่ (จ๊กก๊ก)
โจผี (วุยก๊ก)
ซุนกวน (ง่อก๊ก)
ว่าง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนล่าสุดที่ทราบคือ
หลิว จิง
ชานหยางกง (ซันเอียงก๋ง)
(ค.ศ. 220–234)
หลิว คาง