ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารองค์ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นแทนหมู่พระที่นั่งองค์เดิมที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนเกินกว่าจะบูรณะได้ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งองค์เก่าลงและสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นแทน ในปี พ.ศ. 2537 เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดงานพระราชทานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 154</ref> โดยมีลักษณะเป็นพระที่นั่ง ๒ องค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และ[[พระที่นั่งเทวารัณยสถาน]]
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารองค์ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นแทนหมู่พระที่นั่งองค์เดิมที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนเกินกว่าจะบูรณะได้ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งองค์เก่าลงและสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นแทน ในปี พ.ศ. 2537 เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดงานพระราชทานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 154</ref> โดยมีลักษณะเป็นพระที่นั่ง ๒ องค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และ[[พระที่นั่งเทวารัณยสถาน]]


เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2549 โดยงานพระราชพิธีแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องใน[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2549
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยงานพระราชพิธีแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องใน[[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
=== สมโภชพระที่นั่ง ===
=== สมโภชพระที่นั่ง ===


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่ง "บรมราชสถิตยมโหฬาร" และพระที่นั่ง "เทวารัณยสถาน" เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่ง "บรมราชสถิตยมโหฬาร" และพระที่นั่ง "เทวารัณยสถาน" เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549


วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีสมโภชพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ได้อาราธนาพระสงฆ์ 100 รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระที่นั่งตามราชประเพณี
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีสมโภชพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ได้อาราธนาพระสงฆ์ 100 รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระที่นั่งตามราชประเพณี


== สถาปัตยกรรม ==
== สถาปัตยกรรม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:29, 15 กุมภาพันธ์ 2563

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
Borom Ratchasathit Mahoran Banquet Hall
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระที่นั่ง
สถาปัตยกรรมเป็นตึกแบบตะวันตก
เมืองกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
ปรับปรุงพ.ศ. 2537
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างเป็นตึกแบบตะวันตก มีเครื่องหลังคาและหน้าต่างเป็นแบบไทย ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เป็นพระที่นั่งที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน อยู่ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เดิมเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังจากเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา มีมุขหน้าต่อกับพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารองค์ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นแทนหมู่พระที่นั่งองค์เดิมที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนเกินกว่าจะบูรณะได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งองค์เก่าลงและสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นแทน ในปี พ.ศ. 2537 เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดงานพระราชทานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง[1] โดยมีลักษณะเป็นพระที่นั่ง ๒ องค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน

เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยงานพระราชพิธีแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549

ประวัติ

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ในพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่นั่งองค์ใหม่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีลักษณะเป็นพระที่นั่งสององค์สร้างซ้อนกัน คือ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร และพระที่นั่งเทวารัณยสถาน อันเป็นรูปแบบหนึ่งของพระที่นั่งหรือที่เสด็จออกมหาสมาคม ซึ่งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา นิยมสร้างพระที่นั่งเป็นหมู่แบ่งตามห้องที่ใช้ประโยชน์ และพระราชทานนามแต่ละห้องว่าพระที่นั่งเหมือนกัน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานกระแสพระราชดำริประกอบการออกแบบก่อสร้างสรุปได้ว่า ควรจัดให้มีห้องสำหรับพระราชทานเลี้ยง เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของนานาประเทศที่เขามาเยี่ยมประเทศไทย บางครั้งจำเป็นต้องเชิญพระราชวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน คณะทูตานุทูต และบรรดาผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วถึง ซึ่งจะต้องให้สามารถจัดเลี้ยงได้ระหว่าง 200-250 คน

เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ประมาณ 2,600 ล้านบาท โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) เสด็จแทนพระองค์ใน พระราชพิธีสมโภชพระที่นั่ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 และงานแรกที่จัดขึ้นในพระที่นั่งองค์นี้ คือ งานพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ พร้อมทั้งบุคคลสำคัญ เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549

การก่อสร้าง

พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารถูกสร้านแทนที่หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจซ่อมแซมได้แล้ว ได้แก่

  1. พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ ด้านตะวันตก ใช้เป็นห้องเครื่องลายคราม มีชื่อเรียกขานว่า "ห้องผักกาด"
  2. พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร เป็นพระที่นั่งที่สร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ ด้านตะวันออกเป็นห้องพระภูษา
  3. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ บางครั้งใช้เป็นสถานที่รับรองแขก
  4. พระที่นั่งอมรพิมานมณี เป็นพระวิมานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากพระเฉลียงด้านหลังพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  5. พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ เป็นห้องประทับสมเด็จพระอัครมเหสี อยู่ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
  6. พระที่นั่งบรรณาคมสรนี เป็นห้องทรงพระอักษร อยู่ด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
  7. พระที่นั่งปรีดีราชวโรทัย เป็นห้องพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ต่อจากพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  8. พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร เป็นห้องสมเด็จพระราชโอรสและสมเด็จพระราชธิดา ทางด้านเหนือของพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

สมโภชพระที่นั่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระที่นั่ง "บรมราชสถิตยมโหฬาร" และพระที่นั่ง "เทวารัณยสถาน" เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในพระราชพิธีสมโภชพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ได้อาราธนาพระสงฆ์ 100 รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วพราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชพระที่นั่งตามราชประเพณี

สถาปัตยกรรม

พระที่นั่งองค์เดิม ก่อนถูกรื้อถอน

เป็นอาคารแบบยุโรปทั้งภายนอกและภายใน เป็นพระที่นั่ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่พำนักของข้าราชบริพาร ชั้นบนมี ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องกลาง เรียกว่า "ห้องเหลือง" เคยใช้เป็นที่เสด็จออกรับแขกเมือง เช่น ดยุคออฟเยนัว พระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาละคัว แห่งฮาวาย เมื่อครั้งยังไม่ได้ขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๓

ห้องต่าง ๆ ภายในพระที่นั่ง

  • ห้องกลาง เป็นห้องใหญ่ เรียกกันว่า "ห้องเหลือง" เคยใช้เป็นที่รับรองแขกผู้มีเกียรติ และยังใช้ประกอบพระราชพิธีหรืองานพระราชกุศลภายในด้วย เช่น งานพระราชกุศลคล้ายวันสิ้นพระชนม์ใน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ สมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ จะจัดที่ห้องเหลืองนี้เป็นประจำ
  • ห้องด้านตะวันออก เรียกว่า "ห้องน้ำเงิน" เป็นห้องทรงพระสำราญ พระอัครมเหสีและเจ้านายและพระบรมวงศ์ที่ใกล้ชิดเข้าเฝ้าฯ ณ ห้องนี้ อีกทั้งเป็นที่ที่เคยโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระอัครมเหสีเสด็จออกรับแขกในบางโอกาส ภายในห้องเป็นที่ประดิษฐานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชศิราภรณ์ พระมาลา เครื่องราชูปโภค พระแสง และสิ่งมีค่าอื่น ๆ และยังมีรูปเขียน เรื่อง "อิเหนา" ประดับที่ฝาผนังด้วย
  • ห้องด้านตะวันตก เรียกว่า "ห้องเขียว" เป็นห้องทรงพระสำราญเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย และเป็นห้องเสวยฝ่ายใน

สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งองค์ใหม่

องค์พระที่นั่งเป็นตึกแบบตะวันตก มีเครื่องหลังคาและหน้าต่างเป็นแบบไทย ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ ทำหลังคาเป็นจั่วยื่นออกมาเป็นมุขต่อกัน ด้านใต้ ๓ มุข ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกด้านละ ๒ มุข หลังคาแต่ละมุขซ้อนเป็นหลังคาลดมุขละ ๓ ชั้นประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ที่หน้าบันประดับพระบรมราชสัญลักษณ์จักรีล้อมด้วยสังวาลนพรัตน์ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาลปัจจุบัน มีคชสีห์และราชสีห์ประคองฉัตร ๗ ชั้นประดับอยู่ทั้ง ๒ ข้าง พร้อมสาหร่ายรวงผึ้งอยู่ตอนล่างของหน้าบัน

ภายในพระที่นั่ง

ภายในชั้นใต้ดินทั้ง ๒ ชั้นเป็นห้องควบคุมระบบต่าง ๆ อย่างทันสมัย เช่น ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ห้องระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ ห้องเก็บและเตรียมอาหาร ตลอดจนห้องเก็บพัสดุต่าง ๆ ชั้นบนดินชั้นล่างเป็นโถงเทียบรถยนต์ บนยอดกรอบพระทวารเข้าสู่ภายในประดับอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.

ชั้นล่างมีโถงอัฒจันทร์ขึ้นสู่พระที่นั่งชั้น ๒ ทั้ง ๒ ฝั่ง ตามผนังมีตู้เครื่องลายครามประดับอยู่เป็นระยะ ทั้งยังมีส่วนเชื่อมสามารถเดินไปยังชั้นใต้ต่ำของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลางได้ เมื่อขึ้นสู่พระที่นั่งชั้น ๒ จะพบกับโถงกลาง เป็นโถงอัฒจันทร์ใหญ่ เบื้องกลางเป็นที่ตั้งของงานประณีตศิลป์ชิ้นเอก คือบุษบกทองคำลงยาประกอบท้ายเกริน บนฐานไม้แกะสลักประดับปีกแมลงทับ พร้อมทั้งสัปคับทองคำ ๒ กูบ ฝีมือสมาชิกมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านทิศเหนือมีช่องพระทวารรูปโค้ง ๓ ช่อง ไปสู่อัฒจันทร์จำนวน ๙ ขั้นอยู่เบื้องกลาง พร้อมบันไดเลื่อนขนาบสองข้าง ลงไปยังท้องพระโรงหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ในท้องพระโรงหลังนั้นผนังทาสีเขียวเข้ม ผนังด้านเหนือ มีพระทวารไปสู่ท้องพระโรงกลาง ตรงกลางผนังมีกระจกบานใหญ่อยู่ในกรอบประดับตราแผ่นดินในรัชกาลที่ ๕ พร้อมโคมไฟประดับขนาบสองข้าง ผนังด้านตะวันตกและตะวันออกเป็นพระบัญชรบานกระจกด้านบนประดับกระจกสี สุดผนังทั้ง ๒ ด้านมีพระทวารไปสู่พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และสมมติเทวราชอุปบัติ บนเพดานทาสีครีม ชมพู ฟ้า และแดง ประดับปูนปั้นเป็นลายพรรณพฤกษาอย่างฝรั่ง พร้อมอักษรพระปรมาภิไธย ส.พ.ป.ม.จ. (สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์) ในรัชกาลที่ ๕ ตรงกึ่งกลางเพดานแขวนช่อไฟโคมระย้า

โถงอัฒจันทร์พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารที่โถงอัฒจันทร์ขึ้นไปสู่ชั้น ๓ เป็นอัฒจันทร์ที่ทอดแนวแยกสองทางไปตามทางเหนือและใต้ บนผนังด้านตะวันตก ประดับบานประตูไม้แกะสลักขนาดใหญ่ฝีมือสมาชิกมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เช่นกัน ในโถงนี้มีเสาหินอ่อนแกะสลักขนาดใหญ่อยู่หลายต้น

ทางด้านใต้ มีเฉลียงทางเดิน ตกแต่งด้วยตู้จัดเครื่องลายครามและเครื่องกระเบื้อง พร้อมทั้งสัปคับทำด้วยไม้แกะสลักฝีมือสมาชิกมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ถัดเข้าไปเป็นห้องจัดงานพระราชทานเลี้ยง พระทวารเข้าสู่ห้องเสวยมี ๓ ช่อง ทำเป็นรูปโค้งห้อยม่านสองไขอย่างยุโรป ภายในห้องเป็นท้องพระโรงขนาดใหญ่ผนังทาสีขาวนวล เพดานโค้งบรรจบเข้าเป็นโดมรูปรี สูงกินพื้นที่ไปยังชั้นบนสุด ประดับลวดลายปูนปั้นปิดทองบ้าง ปูนปั้นทาสีบ้าง พร้อมทั้งเสาหินอ่อน และหินอ่อนสลักลายบ้าง

ครั้นมองขึ้นไปยังเฉลียงชั้นบนสุด ด้านตะวันตกและตะวันออก จะแลเห็นเหล็กดัดเป็นลวดลายอย่างฝรั่ง ผนึกหินอ่อนสีเหลืองอ่อน จารึกอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ในวงจักรของพระบรมราชสัญลักษณ์จักรี ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อีกฝั่งหนึ่งเป็นอักษรพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ บนเพดานของท้องพระโรงใหญ่ เบื้องกลางแขวนโคมระย้าแก้วขนาดมหึมาจำนวน ๑ โคม มีโคมระย้าแก้วขนาดใหญ่เป็นบริวารอีก ๔ โคม ส่วนที่เป็นโลหะขอบโคมฉลุอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของท้องพระโรง มีเพดานต่ำ แขวนโคมระย้าแก้วขนาดย่อม

บนชั้น ๓ มีเฉลียงทางเดินโดยรอบ ทางด้านใต้มีมุขเด็จยื่นออกมาจากเฉลียงทางเดินเป็นส่วนสำหรับเสด็จออกมหาสมาคม ห้องต่างๆ บนชั้นนี้ก็มีหน้าที่ใช้สอยต่างๆ กันไป มีห้องทรงสำราญพระราชอิริยาบถ เป็นอาทิเครื่องตกแต่งพระที่นั่งองค์นี้ส่วนใหญ่เป็นงานประณีตศิลป์ชิ้นเอกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ นอกจากนั้นก็เป็นเครื่องลายครามและต้นไม้ในกระถางประดับอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. บ้าง พระบรมราชสัญลักษณ์จักรีบ้าง สลับกันไป

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′58″N 100°29′29″E / 13.749359°N 100.4913°E / 13.749359; 100.4913

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 154