ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ภาษา
{{Infobox Language
|name=ภาษาเติร์กโคราซานี
|name=ภาษาเติร์กโคราซานี
|states=[[อิหร่าน]]
|states=[[อิหร่าน]]
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
|speakers= ประมาณ 400,000 คน <ref>{{cite book|chapter=The speakers of Turkic languages|author=Boeschoten, H|title=The Turkic languages|editor=L. Johanson and É. Á. Csató (eds)|year=1998|publisher=Routledge|location=London|isbn=978-0-415-41261-2}}</ref>
|speakers= ประมาณ 400,000 คน <ref>{{cite book|chapter=The speakers of Turkic languages|author=Boeschoten, H|title=The Turkic languages|editor=L. Johanson and É. Á. Csató (eds)|year=1998|publisher=Routledge|location=London|isbn=978-0-415-41261-2}}</ref>
|familycolor=Altaic
|familycolor=Altaic
|fam2=[[ภาษากลุ่มเตอร์กิก]]
|fam1=[[กลุ่มภาษาเตอร์กิก|เตอร์กิก]]
|fam3=[[ภาษากลุ่มโอคุซ]]
|fam2=[[กลุ่มภาษาโอคุซ|โอคุซ]]
|iso2=tut
|iso2=tut
|iso3=kmz|
|iso3=kmz|

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:19, 30 มกราคม 2563

ภาษาเติร์กโคราซานี
ประเทศที่มีการพูดอิหร่าน
ภูมิภาคโคราซาน
จำนวนผู้พูดประมาณ 400,000 คน [1]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รหัสภาษา
ISO 639-2tut
ISO 639-3kmz

ภาษาเติร์กโคราซานี (تركي خراساني / Turki Khorasani) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกใช้พูดทางตอนเหนือของโคราซาน ผู้พูดภาษานี้พูดภาษาเปอร์เซียได้ด้วย[2]


การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษาเติร์กโคราซานีส่วนใหญ่ใช้พูดในอิหร่านหลายจังหวัด ถ้านับสำเนียงโอคุซของภาษาอุซเบกเป็นสำเนียงของภาษานี้ด้วย ก็จะมีผู้พูดอยู่ทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานเช่นกัน ภาษานี้แบ่งเป็นสามสำเนียงคือ เหนือ ใต้และตะวันตก

การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียง

ภาษาเติร์กโคราซานีจัดอยู่ในภาษากลุ่มโอคุซของภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งรวมภาษาตุรกี ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษากากาอุซ ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน ภาษาเติร์กเมนและภาษาซาลาร์ และสำเนียงโอคุซที่ใช้พูดในอุซเบกิสถาน ภาษาเติร์กโคราซานีถือว่าใกล้เคียงมากกับภาษาอุซเบกสำเนียงโอคุซและภาษาเติร์กเมน และใกล้เคียงกับสำเนียงของภาษาอาเซอร์ไบจานที่ใช้พูดในอิหร่าน

เสียง

พยัญชนะ

Consonant phonemes
  Labial Alveolar Palatal Velar Uvular Glottal
Plosive p b t d     k g q      
Affricate         t͡ʃ d͡ʒ            
Fricative f v s z ʃ   x ɣ     h  
Nasal m n ɲ ŋ        
Flap/Tap     r                
Lateral     l                
Approximant         j            

สระ

Karakalpak vowels


ลักษณะของภาษา

นาม

คำนามทำให้เป็นรูปพหูพจน์ด้วยการเติมปัจจัย-lAr ซึ่งมีสองรูปคือ -lar และ –lær ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระ การกของนามจำแนกโดยการลงท้ายด้วยปัจจัยที่ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระและสระหรือพยัญชนะที่ตามมา การแสดงความเป็นเจ้าของจะเติมปัจจัยเข้าที่นามที่ถูกถือครอง

การก หลังสระ หลังพยัญชนะ
Nominative ไม่มีการลงท้าย
Genitive niŋ/nin iŋ/in
Dative ya/yæ a/æ
Accusative ni/nɯ i/ɯ
Locative da/dæ
Ablative dan/dæn
Instrumental nan/næn

สรรพนาม

ภาษาเติร์กโคราซานีมีสรรพนามแทนบุคคล 6 คำ และจะมีการลงท้ายต่างจากนามปกติ

เอกพจน์ พหูพจน์
บุรุษที่ 1 mæn bɯz
บุรุษที่ 2 sæn siz
บุรุษที่ 3 o olar

สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ

เอกพจน์ พหูพจน์
บุรุษที่ 1 (I)m (I)mIz
บุรุษที่ 2 (I)ŋ (I)ŋIz
บุรุษที่ 3 (s)I lArI

กริยา

คำกริยามีการแบ่งย่อยตามกาล ความมุ่งหมาย มาลา บุคคล และจำนวน รูปพื้นฐานของกริยาลงท้ายด้วย -max

อ้างอิง

  1. Boeschoten, H (1998). "The speakers of Turkic languages". ใน L. Johanson and É. Á. Csató (eds) (บ.ก.). The Turkic languages. London: Routledge. ISBN 978-0-415-41261-2. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. "Ethnologue report for Khorasani Turkish"

Tulu, Sultan (1989). Chorasantürkische Materialien aus Kalāt bei Esfarāyen. Berlin: Klaus Schwarz Verlag. ISBN 3-922968-88-0.

Doerfer, Gerhard (1993). Chorasantürkisch: Wörterlisten, Kurzgrammatiken, Indices. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3-447-03320-7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น