ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แชน ปัจจุสานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
|spouse = ไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล)
|spouse = ไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล)
|children = [[พลเรือเอก]] [[ชุมพล ปัจจุสานนท์]]
|children = [[พลเรือเอก]] [[ชุมพล ปัจจุสานนท์]]
|rank = [[พลเรือตรี]]
|rank = [[ไฟล์:RTN OF-7 (Rear Admiral).svg|15px]] [[พลเรือตรี]]
|party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]
|death_date = 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
|father = ปัด
|mother = เชย
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:13, 24 มกราคม 2563

แชน ปัจจุสานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด?
อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
เสียชีวิต10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล)
บุตรพลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
บุพการี
  • ปัด (บิดา)
  • เชย (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลเรือตรี

พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ (?-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525) อดีตทหารเรือชาวไทย อดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตรองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นบิดาของ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ อดีต ผู้บัญชาการทหารเรือ และอดีต องคมนตรี ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ประวัติ

พลเรือตรีแชนเกิดที่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรชายของ กำนันปัด กับ นางเชย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ (สกุลเดิม อมาตยกุล) มีบุตรชายคือ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์

การศึกษา

รับราชการ

พลเรือตรีแชนได้รับพระราชทานยศ เรือตรี เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2469[1] ต่อมาเรือตรีแชนได้รับพระราชทานยศ เรือโท เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[2] จากนั้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2473 เรือโทแชนจึงได้รับพระราชทานยศ เรือเอก[3]

กระทั่งวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เรือเอกแชนจึงได้รับพระราชทานยศ นาวาตรี[4] ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2483 นาวาตรีแชนได้รับพระราชทานยศ นาวาโท [5]

จากนั้นในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484 นาวาโทแชนได้รับพระราชทานยศ นาวาเอก[6] ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 นาวาเอกแชนได้รับพระราชทานยศ พลเรือตรี[7] นับเป็นยศทางทหารยศสุดท้ายของท่าน โดยพลเรือตรีแชนขณะยังมียศเป็นนาวาเอกได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2487[8]

ก่อนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งและออกจากราชการพร้อมกับนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่อีก 8 นายคือ

  • พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา รองผู้บัญชาการทหารเรือ
  • พลเรือโท ผัน นาวาวิจิตร ผู้บังคับการกองเรือรบ
  • พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1
  • พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
  • พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ

และ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับกองสัญญาณทหารเรือ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 [9] ภายหลังจากเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน

การเมือง

พลเรือตรีแชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2501[10] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 6 เดือนก็ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้แทนราษฎรภายหลังจากการปฏิวัติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501

อ้างอิง

  1. พระราชทานยศทหารและอำมาตย์ (หน้า ๔๓๖)
  2. พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๗)
  3. พระราชทานยศทหารเรือ (หน้า ๑๑)
  4. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๓๘)
  5. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๕๕)
  6. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๙๑๔)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๓๕๓)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  9. ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ (หน้า ๒๘๐๗)
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ เพื่อแทนประเภทที่ ๒

บรรณานุกรม