ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Boom1221/กระบะทราย2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53: บรรทัด 53:


=== ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ===
=== ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ===
{{ดูเพิ่มที่|ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง}}
การมาถึงของ[[การปฏิวัติวิทยาศาสตร์]]ทำให้ความหมายคำว่า "ดาวเคราะห์" เปลี่ยนจากบางสิ่งที่เคลื่อนผ่านท้องฟ้า (เทียบกับ[[ดาวฤกษ์]]ฉากหลัง) เป็นเทหวัตถุที่โคจรรอบโลก (ซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อกันในขณะนั้น) และในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความหมายของดาวเคราะห์ก็เปลี่ยนเป็นบางสิ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เมื่อ[[ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]]ของ[[นิโคลัส โคเปอร์นิคัส|โคเปอร์นิคัส]] [[กาลิเลโอ กาลิเลอี|กาลิเลโอ]] และ[[โยฮันเนส เคปเลอร์|เคปเลอร์]]ได้รับความสำคัญ

ดังนั้นโลกจึงรวมเข้าไปอยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็ถูกคัดออกไปจากความเป็นดาวเคราะห์ ในตอนแรก เมื่อมีการค้นพบดาวบริวารดวงแรกของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คำว่า "ดาวเคราะห์" และ "ดาวบริวาร" ใช้สลับเปลี่ยนไปมาได้ แม้ว่าคำหลังจะค่อย ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษถัดมา จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเทหวัตถุที่ค้นพบใหม่ใดก็ตามที่พบว่าโคจรดวงอาทิตย์ ประชาคมวิทยาศาสตร์ก็จะจัดให้เป็นดาวเคราะห์ทั้งสิ้น


=== คริสต์ศตวรรษที่ 19 ===
=== คริสต์ศตวรรษที่ 19 ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:40, 23 มกราคม 2563

สารบัญกระบะทราย: หลัก, 1, 2, 3, 4, 5

Mercury Venus
Earth Mars
Jupiter Saturn
Uranus Neptune
ดาวเคราะห์ที่รู้จักทั้งแปดดวงของระบบสุริยะ
ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ (ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์)
ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน (ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์)

แสดงตามลำดับจากดวงอาทิตย์และใช้สีจริง ขนาดไม่เป็นไปตามมาตราส่วน

ดาวเคราะห์ คือ เทห์ฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์หรือซากดาวฤกษ์ที่ใหญ่มากพอที่จะรักษาความเป็นทรงกลมได้ด้วยแรงโน้มถ่วง แต่ไม่ใหญ่มากพอที่จะเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน และมีบริเวณโดยรอบที่โล่งจากเทห์ฟ้าอื่นหรือเศษดาวเคราะห์ต่าง ๆ[a][1][2]

คำว่า "ดาวเคราะห์" มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทพปกรณัม และศาสนามาตั้งแต่ยุคโบราณ มี 5 ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หลายอารยธรรมยุคแรก ๆ ถือว่าดาวเคราะห์ทั้งห้าดวงนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นทูตจากพระเจ้า เมื่อความรู้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า มุมมองของมนุษย์ที่มีต่อดาวเคราะห์เปลี่ยนแปลงไปโดยรวมวัตถุที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) นิยามดาวเคราะห์ภายในระบบสุริยะอย่างเป็นทางการ นิยามนี้เป็นประเด็นถกเถียงกันเนื่องจากตัวนิยามนั้นไม่รวมวัตถุหลายชิ้นที่มีมวลเท่าดาวเคราะห์โดยพิจารณาเพียงแค่วงโคจรหรือตำแหน่งที่วัตถุนั้นอยู่ แม้ว่าดาวเคราะห์ทั้งแปดดวงที่ค้นพบก่อนปี พ.ศ. 2493 ยังคงเป็นดาวเคราะห์ภายใต้นิยามใหม่นี้ แต่มีบางวัตถุ เช่น ซีรีส พัลลัส จูโน และเวสตา (ซึ่งเป็นวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยเหมือนกันทั้งหมด) และดาวพลูโต (วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ) ซึ่งประชาคมวิทยาศาสตร์เคยพิจารณาวัตถุเหล่านี้ให้เป็นดาวเคราะห์ แต่ภายใต้คำนิยามปัจจุบันไม่พิจารณาเช่นนั้นแล้ว

โตเลมีคิดว่าดาวเคราะห์นั้นโคจรรอบโลกด้วยการเคลื่อนที่แบบวงกลมขนาดเล็กที่อยู่บนวงโคจรหลักที่เป็นวงกลมใหญ่ (Deferent and epicycle) ถึงแม้ว่าแนวคิดที่ว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้รับการเสนอขึ้นหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่มีการค้นพบหลักฐานสนับสนุนจากการสังเกตครั้งแรกด้วยกล้องส่องทางไกลโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี ในช่วงเวลาเดียวกัน โยฮันเนส เคปเลอร์พบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีมิใช่วงกลม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลการสังเกตของทีโค บราอย่างระมัดระวัง เมื่ออุปกรณ์การสังเกตพัฒนาขึ้น นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงหมุนรอบตัวเองรอบแกนที่เอียงเมื่อเทียบกับขั้ววงโคจรเช่นเดียวกับโลก และดาวเคราะห์บางดวงมีลักษณะ เช่น มีครอบน้ำแข็งและฤดูกาลที่คล้ายคลึงกับที่โลกมี ตั้งแต่เริ่มยุคอวกาศ การสังเกตระยะใกล้โดยยานอวกาศต่าง ๆ พบว่าโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ มีลักษณะบางอย่างร่วมกัน เช่น ภูเขาไฟ เฮอร์ริเคน ธรณีแปรสัณฐาน แม้กระทั่งอุทกวิทยา

ดาวเคราะห์โดยปกติแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ ดาวเคราะห์ยักษ์ที่มีความหนาแน่นต่ำ และดาวเคราะห์หินคล้ายโลกที่มีขนาดเล็กกว่า ในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ทั้งหมด 8 ดวง โดยเรียงลำดับตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์ มีดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ตามด้วยดาวเคราะห์แก๊สอีก 4 ดวง ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์หกจากแปดดวงนี้มีดาวบริวารอย่างน้อยหนึ่งดวงโคจรรอบ

มีการค้นพบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ (ดาวเคราะห์นอกระบบ) หลายพันดวงในทางช้างเผือก ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 มีดาวเคราะห์นอกระบบที่ทราบกันแล้ว 4,118 ดวงในระบบดาวเคราะห์ 3,063 ระบบ (รวมถึงระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวเคราะห์หลายดวงอีก 669 ระบบ) โดยมีขนาดตั้งแต่ใหญ่กว่าดวงจันทร์เล็กน้อยไปจนถึงดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่ใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีสองเท่า มีดาวเคราะห์มากกว่า 100 ดวงที่มีขนาดเท่าโลก 9 ดวงที่มีระยะทางสัมพัทธ์จากดาวแม่ใกล้เคียงกับโลก กล่าวคืออยู่ในเขตอาศัยได้[3][4] ในวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ทีมงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ค้นพบเคปเลอร์-20อี[5] และเคปเลอร์-20เอฟ[6] ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่มีขนาดเท่าโลก ซึ่งโคจรรอบเคปเลอร์-20 ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์[7][8][9] การศึกษาในปี 2555 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง ประมาณว่าทุก ๆ ดาวฤกษ์หนึ่งดวง จะมีดาวเคราะห์อยู่โดยเฉลี่ย 1.6 ดวง[10] ประมาณหนึ่งในห้าของดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์[b] เป็นดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก[c] ที่อยู่ในเขตอาศัยได้[d]

ประวัติ

ภาพของแนวคิดระบบโลกเป็นศูนย์กลางจาก Cosmographia, แอนต์เวิร์ป, 1539

แนวคิดเกี่ยวกับดาวเคราะห์พัฒนามาตลอดยุคประวัติศาสตร์ จากแสงอันศักดิ์สิทธิ์แห่งยุคโบราณสู่วัตถุเช่นโลกแห่งยุควิทยาศาสตร์ แนวคิดนี้ขยายออกไปไม่เพียงแต่ในระบบสุริยะ แต่รวมถึงระบบดาวเคราะห์อื่นหลายร้อยระบบด้วย ความกำกวมอันเป็นปกติในนิยามดาวเคราะห์นำมาสู่ข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์หลายประการ

ดาวเคราะห์ดั้งเดิมห้าดวงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นรู้จักกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ และมีผลกระทบอย่างเป็นนัยสำคัญต่อเรื่องปรัมปรา จักรวาลวิทยาศาสนา และดาราศาสตร์โบราณ ในยุคโบราณ นักดาราศาสตร์สังเกตถึงวิธีการที่แสงจำนวนหนึ่งเคลื่อนไปบนท้องฟ้า ตรงข้ามกับดาวฤกษ์คงที่ ที่อยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดบนท้องฟ้า[11] ชาวกรีกโบราณเรียกแสงเหล่านี้ว่า πλάνητες ἀστέρες (planētes asteres, "ดาวฤกษ์พเนจร") หรือแค่ πλανῆται (planētai, "ผู้พเนจร")[12] ซึ่งเป็นรากศัพท์ของคำว่า "planet"[13][14][15] ในกรีซโบราณ จีน บาบิโลน และทุกอารยธรรมก่อนสมัยปัจจุบัน[16][17] เชื่อกันเป็นสากลว่าโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ มีดาวเคราะห์ดวงอื่นโคจรรอบโลก เหตุผลสำหรับมุมมองนี้มาจากการที่ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ปรากฎให้เห็นว่าโคจรรอบโลกในแต่ละวัน[18] ประกอบกับสามัญสำนึกที่ว่าโลกนั้นมั่นคงและเสถียร ไม่เคลื่อนที่แต่อย่างใด

บาบิโลน

อารยธรรมแรกที่ทราบกันว่ามีทฤษฎีเกี่ยวกับดาวเคราะห์ คือ ชาวบาบิโลเนียที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมโสโปเตเมีย ในช่วงสหัสวรรษที่หนึ่งและสองก่อนคริสต์ศักราช ข้อความที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่ยังคงเหลืออยู่ ได้แก่ จารึกพระศุกร์แห่งอัมมิซาดูกา ซึ่งเป็นจารึกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายชื่อการสังเกตการโคจรของดาวศุกร์ และอาจมีอายุย้อนไปถึงช่วงสหัสวรรษที่สองก่อนคริสต์ศักราช[19] MUL.APIN คือ คู่ของจารึกอักษรรูปลิ่มจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชที่อธิบายถึงการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในรอบปี[20] นักโหราศาสตร์ชาวบาบิโลเนียยังวางรากฐานให้กับสิ่งที่ปัจจุบันพัฒนามาเป็นโหราศาสตร์ตะวันตก[21] เอนูมาอานูเอนลิลซึ่งเขียนขึ้นในยุคจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช[22] ประกอบด้วยรายชื่อลางและความสัมพันธ์ของมันกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หลาย ๆ อย่าง รวมถึงการโคจรของดาวเคราะห์[23][24] นอกจากนี้ นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลเนียยังทราบถึงการมีตัวตนของดาวศุกร์ ดาวพุธ และดาวเคราะห์ชั้นนอกอย่าง ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ และกลายเป็นดาวเคราะห์ทั้งหมดที่ทราบจนกระทั่งมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์[25]

ดาราศาสตร์กรีก-โรมัน

อินเดีย

ในปี พ.ศ. 44 อารยภัฏ นักดาราศาสตร์ชาวอินเดีย เสนอแบบจำลองดาวเคราะห์ที่นำการหมุนรอบตัวเองของโลกรอบแกนเข้ามารวมไว้ด้วยอย่างชัดเจน ซึ่งเขาอธิบายว่าเป็นสาเหตุที่ดาวฤกษ์ดูเหมือนจะปรากฏว่าเคลื่อนไปทางทิศตะวันตก เขายังเชื่อว่าวงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรี[26] ฐานผู้ติดตามของอารยภัฏแข็งแรงในบริเวณอินเดียใต้ ที่ซึ่งหลักการการหมุนรอบตัวเองชั่ววันหนึ่งของโลก และหลักการอื่นของเขาได้รับการติดตามและผลงานที่สร้างขึ้นหลังจากนั้นก็มีรากฐานมาจากผลงานของเขา[27]

ในปี พ.ศ. 2043 นิลากานธา โซมายาจีจากโรงเรียนดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์แห่งเกรละ ปรับปรุงแบบจำลองของอารยภัฏใหม่ในงานเขียนที่ชื่อว่า Tantrasamgraha ของเขา

ดาราศาสตร์ของมุสลิมยุคกลาง

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

การมาถึงของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้ความหมายคำว่า "ดาวเคราะห์" เปลี่ยนจากบางสิ่งที่เคลื่อนผ่านท้องฟ้า (เทียบกับดาวฤกษ์ฉากหลัง) เป็นเทหวัตถุที่โคจรรอบโลก (ซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อกันในขณะนั้น) และในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความหมายของดาวเคราะห์ก็เปลี่ยนเป็นบางสิ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เมื่อระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของโคเปอร์นิคัส กาลิเลโอ และเคปเลอร์ได้รับความสำคัญ

ดังนั้นโลกจึงรวมเข้าไปอยู่ในรายชื่อดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็ถูกคัดออกไปจากความเป็นดาวเคราะห์ ในตอนแรก เมื่อมีการค้นพบดาวบริวารดวงแรกของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คำว่า "ดาวเคราะห์" และ "ดาวบริวาร" ใช้สลับเปลี่ยนไปมาได้ แม้ว่าคำหลังจะค่อย ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษถัดมา จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเทหวัตถุที่ค้นพบใหม่ใดก็ตามที่พบว่าโคจรดวงอาทิตย์ ประชาคมวิทยาศาสตร์ก็จะจัดให้เป็นดาวเคราะห์ทั้งสิ้น

คริสต์ศตวรรษที่ 19

คริสต์ศตวรรษที่ 20

คริสต์ศตวรรษที่ 21

วัตถุที่เคยพิจารณาเป็นดาวเคราะห์

ประมวลเรื่องปรัมปราและการตั้งชื่อ

การก่อตัว

ภาพวาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ

การก่อตัวของดาวเคราะห์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดระบุว่า ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวของเนบิวลาเป็นจานบาง ๆ ของแก๊สและฝุ่น ดาวฤกษ์ก่อนเกิดก่อตัวขึ้นที่ใจกลาง และมีจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดหมุนอยู่รอบ ๆ อนุภาคฝุ่นในจานค่อย ๆ รวมกันเป็นวัตถุขนาดใหญ่ขึ้นด้วยการพอกพูนมวล แล้วกระบวนการพอกพูนมวลก็เร่งเร็วขึ้นโดยเศษดาวเคราะห์ขนาดเล็กดึงวัตถุอื่นเพิ่มเติมเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วง การรวมตัวนี้หนาแน่นมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งแรงโน้มถ่วงทำให้เกิดการยุบตัวสู่ด้านใน ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ก่อนเกิด[28] เมื่อดาวเคราะห์มีมวลมากกว่าดาวอังคาร กระบวนการสะสมชั้นบรรยากาศจะเริ่มขึ้น[29] และเพิ่มอัตราการจับเศษดาวเคราะห์ขนาดเล็กด้วยการลากของบรรยากาศ[30][31] ดาวเคราะห์คล้ายโลก ดาวเคราะห์ยักษ์ ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์อาจก่อตัวขึ้นมาได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พอกพูนขึ้นมา[32][33][34]

ระบบสุริยะ

มีดาวเคราะห์แปดดวงในระบบสุริยะ เรียงตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์:

  1. ☿ ดาวพุธ
  2. ♀ ดาวศุกร์
  3. ⊕ โลก
  4. ♂ ดาวอังคาร
  5. ♃ ดาวพฤหัสบดี
  6. ♄ ดาวเสาร์
  7. ♅ ดาวยูเรนัส
  8. ♆ ดาวเนปจูน

ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ 318 เท่าของมวลโลก ขณะที่ดาวพุธมีขนาดเล็กที่สุดที่ 0.055 เท่าของมวลโลก

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะสามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหมู่ตามองค์ประกอบของดาว ดังนี้

  • ดาวเคราะห์คล้ายโลก: ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก โดยมีองค์ประกอบส่วนมากเป็นหิน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกขนาดเล็กที่สุด (และเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่สุด) ในระบบสุริยะ ส่วนโลกมีขนาดใหญ่ที่สุด
  • ดาวเคราะห์ยักษ์: ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีมวลมากกว่าดาวเคราะห์คล้ายโลกมาก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
    • ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ อันเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ที่มีองค์ประกอบส่วนมากเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม และยังเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนดาวเสาร์มีมวลน้อยกว่ากาวพฤหัสบดี 1/3 ที่ 95 เท่าของมวลโลก
    • ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ ได้แก่ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน อันเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ที่มีองค์ประกอบส่วนมากเป็นวัสดุจุดเดือดต่ำ เช่น น้ำ มีเทน และแอมโมเนีย และมีชั้นบรรยากาศที่หนาประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวเคราะห์กลุ่มนี้มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์มาก (แค่ 14 และ 17 เท่าของมวลโลก)

คุณสมบัติดาวเคราะห์

ชื่อ เส้นผ่านศูนย์กลาง
ที่เส้นศูนย์สูตร [e]
มวล[e] กึ่งแกนเอก (AU) คาบการโคจร
(ปี) [e]
ความเอียง
เทียบกับเส้นศูนย์สูตรดวงอาทิตย์
(°)
ความเยื้อง
วงโคจร
คาบการหมุนรอบตัวเอง
(วัน)
ดาวบริวาร
ที่ยืนยันแล้ว [f]
ความเอียงของแกน (°) วงแหวน บรรยากาศ
1. ดาวพุธ 0.382 0.06 0.39 0.24 3.38 0.206 58.64 0 0.04 ไม่มี เบาบาง
2. ดาวศุกร์ 0.949 0.82 0.72 0.62 3.86 0.007 −243.02 0 177.36 ไม่มี CO2, N2
3. โลก(a) 1.00 1.00 1.00 1.00 7.25 0.017 1.00 1 23.44 ไม่มี N2, O2, Ar
4. ดาวอังคาร 0.532 0.11 1.52 1.88 5.65 0.093 1.03 2 25.19 ไม่มี CO2, N2, Ar
5. ดาวพฤหัสบดี 11.209 317.8 5.20 11.86 6.09 0.048 0.41 79 3.13 มี H2, He
6. ดาวเสาร์ 9.449 95.2 9.54 29.46 5.51 0.054 0.43 62 26.73 มี H2, He
7. ดาวยูเรนัส 4.007 14.6 19.22 84.01 6.48 0.047 −0.72 27 97.77 มี H2, He, CH4
8. ดาวเนปจูน 3.883 17.2 30.06 164.8 6.43 0.009 0.67 14 28.32 มี H2, He, CH4
สี:       ดาวเคราะห์คล้ายโลก       ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์       ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ (ทั้งสองกลุ่มเป็นดาวเคราะห์ยักษ์) (a) ดูค่าสัมบูรณ์ได้ในบทความ โลก

ดาวเคราะห์นอกระบบ

วัตถุมวลเท่าดาวเคราะห์

คุณลักษณะ

ลักษณะที่ไม่คงที่

ลักษณะทางกายภาพ

ลักษณะรอง

เชิงอรรถ

  1. นิยามนี้เขียนขึ้นโดยแถลงการณ์ของไอเอยูสองฉบับ แถลงการณ์อย่างเป็นทางการที่ได้รับการยอมรับจากไอเอยูในปี พ.ศ. 2549 และนิยามอย่างไม่เป็นทางการที่เขียนโดยไอเอยู ในปี พ.ศ. 2544/2546 สำหรับวัตถุนอกระบบสุริยะ นิยามปี พ.ศ. 2549 อย่างเป็นทางการนำมาใช้กับเฉพาะวัตถุในระบบสุริยะเท่านั้น แต่ทว่านิยามของปี พ.ศ. 2546 นำมาใช้กับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่นด้วย ปัญหาดาวเคราะห์นอกระบบนี้ถือว่าเป็นปัญหาซับซ้อนเกินกว่าที่จะแก้ไขในการประชุมไอเอยู
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 1in5sunlike
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 1in5earthsized
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 1in5habitable
  5. 5.0 5.1 5.2 เมื่อเทียบกับโลก
  6. ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารที่ยืนยันแล้วมากที่สุด (79 ดวง) ในระบบสุริยะ[35]

อ้างอิง

  1. "IAU 2006 General Assembly: Result of the IAU Resolution votes". International Astronomical Union. 2006. สืบค้นเมื่อ 2009-12-30.
  2. "Working Group on Extrasolar Planets (WGESP) of the International Astronomical Union". IAU. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. "NASA discovery doubles the number of known planets". USA TODAY. 10 May 2016. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
  4. Schneider, Jean (16 January 2013). "Interactive Extra-solar Planets Catalog". The Extrasolar Planets Encyclopaedia. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.
  5. NASA Staff (20 December 2011). "Kepler: A Search For Habitable Planets – Kepler-20e". NASA. สืบค้นเมื่อ 2011-12-23.
  6. NASA Staff (20 December 2011). "Kepler: A Search For Habitable Planets – Kepler-20f". NASA. สืบค้นเมื่อ 2011-12-23.
  7. Johnson, Michele (20 December 2011). "NASA Discovers First Earth-size Planets Beyond Our Solar System". NASA. สืบค้นเมื่อ 2011-12-20.
  8. Hand, Eric (20 December 2011). "Kepler discovers first Earth-sized exoplanets". Nature. doi:10.1038/nature.2011.9688.
  9. Overbye, Dennis (20 December 2011). "Two Earth-Size Planets Are Discovered". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-12-21.
  10. Cassan, Arnaud; D. Kubas; J.-P. Beaulieu; M. Dominik; และคณะ (12 January 2012). "One or more bound planets per Milky Way star from microlensing observations". Nature. 481 (7380): 167–169. arXiv:1202.0903. Bibcode:2012Natur.481..167C. doi:10.1038/nature10684. PMID 22237108.
  11. "Ancient Greek Astronomy and Cosmology". The Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2016-05-19.
  12. πλανήτης, H. G. Liddell and R. Scott, A Greek–English Lexicon, ninth edition, (Oxford: Clarendon Press, 1940).
  13. "Definition of planet". Merriam-Webster OnLine. สืบค้นเมื่อ 2007-07-23.
  14. "Planet Etymology". dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ oed
  16. Neugebauer, Otto E. (1945). "The History of Ancient Astronomy Problems and Methods". Journal of Near Eastern Studies. 4 (1): 1–38. doi:10.1086/370729.
  17. Ronan, Colin. "Astronomy Before the Telescope". Astronomy in China, Korea and Japan (Walker ed.). pp. 264–265.
  18. Kuhn, Thomas S. (1957). The Copernican Revolution. Harvard University Press. pp. 5–20. ISBN 978-0-674-17103-9.
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ practice
  20. Francesca Rochberg (2000). "Astronomy and Calendars in Ancient Mesopotamia". ใน Jack Sasson (บ.ก.). Civilizations of the Ancient Near East. Vol. III. p. 1930.
  21. Holden, James Herschel (1996). A History of Horoscopic Astrology. AFA. p. 1. ISBN 978-0-86690-463-6.
  22. Hermann Hunger, บ.ก. (1992). Astrological reports to Assyrian kings. State Archives of Assyria. Vol. 8. Helsinki University Press. ISBN 978-951-570-130-5.
  23. Lambert, W. G.; Reiner, Erica (1987). "Babylonian Planetary Omens. Part One. Enuma Anu Enlil, Tablet 63: The Venus Tablet of Ammisaduqa". Journal of the American Oriental Society. 107 (1): 93–96. doi:10.2307/602955. JSTOR 602955.
  24. Kasak, Enn; Veede, Raul (2001). Mare Kõiva; Andres Kuperjanov (บ.ก.). "Understanding Planets in Ancient Mesopotamia" (PDF). Electronic Journal of Folklore. 16: 7–35. CiteSeerX 10.1.1.570.6778. doi:10.7592/fejf2001.16.planets. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.
  25. A. Sachs (May 2, 1974). "Babylonian Observational Astronomy". Philosophical Transactions of the Royal Society. 276 (1257): 43–50 [45 & 48–9]. Bibcode:1974RSPTA.276...43S. doi:10.1098/rsta.1974.0008. JSTOR 74273.
  26. J. J. O'Connor and E. F. Robertson, Aryabhata the Elder, MacTutor History of Mathematics archive
  27. Sarma, K. V. (1997) "Astronomy in India" in Selin, Helaine (editor) Encyclopaedia of the History of Science, Technology, and Medicine in Non-Western Cultures, Kluwer Academic Publishers, ISBN 0-7923-4066-3, p. 116
  28. Wetherill, G. W. (1980). "Formation of the Terrestrial Planets". Annual Review of Astronomy and Astrophysics. 18 (1): 77–113. Bibcode:1980ARA&A..18...77W. doi:10.1146/annurev.aa.18.090180.000453.
  29. D'Angelo, G.; Bodenheimer, P. (2013). "Three-dimensional Radiation-hydrodynamics Calculations of the Envelopes of Young Planets Embedded in Protoplanetary Disks". The Astrophysical Journal. 778 (1): 77 (29 pp.). arXiv:1310.2211. Bibcode:2013ApJ...778...77D. doi:10.1088/0004-637X/778/1/77.
  30. Inaba, S.; Ikoma, M. (2003). "Enhanced Collisional Growth of a Protoplanet that has an Atmosphere". Astronomy and Astrophysics. 410 (2): 711–723. Bibcode:2003A&A...410..711I. doi:10.1051/0004-6361:20031248.
  31. D'Angelo, G.; Weidenschilling, S. J.; Lissauer, J. J.; Bodenheimer, P. (2014). "Growth of Jupiter: Enhancement of core accretion by a voluminous low-mass envelope". Icarus. 241: 298–312. arXiv:1405.7305. Bibcode:2014Icar..241..298D. doi:10.1016/j.icarus.2014.06.029.
  32. Lissauer, J. J.; Hubickyj, O.; D'Angelo, G.; Bodenheimer, P. (2009). "Models of Jupiter's growth incorporating thermal and hydrodynamic constraints". Icarus. 199 (2): 338–350. arXiv:0810.5186. Bibcode:2009Icar..199..338L. doi:10.1016/j.icarus.2008.10.004.
  33. D'Angelo, G.; Durisen, R. H.; Lissauer, J. J. (2011). "Giant Planet Formation". ใน S. Seager. (บ.ก.). Exoplanets. University of Arizona Press, Tucson, AZ. pp. 319–346. arXiv:1006.5486. Bibcode:2010exop.book..319D.
  34. Chambers, J. (2011). "Terrestrial Planet Formation". ใน S. Seager. (บ.ก.). Exoplanets. University of Arizona Press, Tucson, AZ. pp. 297–317. Bibcode:2010exop.book..297C.
  35. Scott S. Sheppard (2013-01-04). "The Jupiter Satellite Page (Now Also The Giant Planet Satellite and Moon Page)". Carnegie Institution for Science. สืบค้นเมื่อ 2013-04-12.