ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิลลูมินาตี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนก่อกวน
Espeerasin (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขคำศัพท์
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
'''อิลลูมินาตี''' ({{lang-en|Illuminati}}) มาจากภาษาละตินว่า '''อิลลูมินาตุส''' ({{lang-la|illuminatus}}) ที่แปลว่า "รู้แจ้ง" เป็นชื่อที่ตั้งให้แก่กลุ่มคณะบุคคลหลายกลุ่มทั้งที่มีอยู่จริงและเป็นเรื่องแต่ง ซึ่งหากกล่าวถึงที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์จะหมายถึง '''สมาคมรู้แจ้ง''' ({{lang-de|''Illuminatenorden''}})
'''อิลลูมินาตี''' ({{lang-en|Illuminati}}) มาจากภาษาละตินว่า '''อิลลูมินาตุส''' ({{lang-la|illuminatus}}) ที่แปลว่า "รู้แจ้ง" เป็นชื่อที่ตั้งให้แก่กลุ่มคณะบุคคลหลายกลุ่มทั้งที่มีอยู่จริงและเป็นเรื่องแต่ง ซึ่งหากกล่าวถึงที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์จะหมายถึง '''สมาคมรู้แจ้ง''' ({{lang-de|''Illuminatenorden''}})


สมาคมรู้แจ้งเป็นสมาคมลับใน[[ยุคเรืองปัญญา]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1776 ที่เมือง[[อิงก็อลชตัท]] แคว้นบาวาเรีย โดยนักปรัชญาและนัก[[กฎหมายศาสนจักร]] [[อาดัม ไวส์เฮาฟท์]] (Adam Weishaupt) พร้อมกับนักเรียนอีกสี่คน ไวส์เฮาฟท์ก่อตั้งสมาคมนี้ขึ้นภายหลังผิดหวังกับองค์กร[[ฟรีเมสัน]]ที่ไม่ค่อยเปิดรับความคิดเขาเท่าไหร่ ไวส์เฮาฟท์จึงก่อตั้งสมาคมของตนเองขึ้นมาโดยมีโครงสร้างและระดับเฉกเช่นเดียวกับฟรีเมสัน แต่ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความเชื่อของเขาเอง<ref name="Stauffer">[http://freemasonry.bcy.ca/anti-masonry/stauffer.html Vernon Stauffer, ''New England and the Bavarian Illuminati'', Columbia University Press, 1918, Chapter 3 ''The European Illuminati''], Grand Lodge of British Columbia and Yukon, accessed 14 November 2015</ref> มีจุดมุ่งหมายต่อต้าน[[ความงมงาย]] (superstition), ต่อต้าน[[ลัทธิหมิ่นประมาท]] (obscurantism), ต่อต้านอิทธิพลของศาสนาในชีวิตผู้คน รวมถึงต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในทางผิด
สมาคมรู้แจ้งเป็นสมาคมลับใน[[ยุคปรัชญาแสงสว่าง]] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1776 ที่เมือง[[อิงก็อลชตัท]] แคว้นบาวาเรีย โดยนักปรัชญาและนัก[[กฎหมายศาสนจักร]] [[อาดัม ไวส์เฮาฟท์]] (Adam Weishaupt) พร้อมกับนักเรียนอีกสี่คน ไวส์เฮาฟท์ก่อตั้งสมาคมนี้ขึ้นภายหลังผิดหวังกับองค์กร[[ฟรีเมสัน]]ที่ไม่ค่อยเปิดรับความคิดเขาเท่าไหร่ ไวส์เฮาฟท์จึงก่อตั้งสมาคมของตนเองขึ้นมาโดยมีโครงสร้างและระดับเฉกเช่นเดียวกับฟรีเมสัน แต่ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความเชื่อของเขาเอง<ref name="Stauffer">[http://freemasonry.bcy.ca/anti-masonry/stauffer.html Vernon Stauffer, ''New England and the Bavarian Illuminati'', Columbia University Press, 1918, Chapter 3 ''The European Illuminati''], Grand Lodge of British Columbia and Yukon, accessed 14 November 2015</ref> มีจุดมุ่งหมายต่อต้าน[[ความงมงาย]] (superstition), ต่อต้าน[[ลัทธิหมิ่นประมาท]] (obscurantism), ต่อต้านอิทธิพลของศาสนาในชีวิตผู้คน รวมถึงต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในทางผิด


เมื่อแรกก่อตั้ง ไวส์เฮาฟท์ใช้ชื่อองค์กรว่า ''สหภาพสัมบูรณ์'' (''Bund der Perfektibilisten'') และตัดสินใจใช้นกฮูกแห่งอะธีนาเป็นสัญลักษณ์องค์กร อย่างไรก็ตาม ไวส์เฮาฟท์มองว่าชื่อนี้ฟังดูแปลก<ref>{{cite book|title= Pythagoras oder Betrachtungen über die geheime Welt- und Regierungskunst|last= Weishaupt|first= Adam|year= 1790|location= Frankfurt and Leipzig|pages= 670}}</ref> ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1778 จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น ''สมาคมรู้แจ้ง'' (''Illuminatenorden'')
เมื่อแรกก่อตั้ง ไวส์เฮาฟท์ใช้ชื่อองค์กรว่า ''สหภาพสัมบูรณ์'' (''Bund der Perfektibilisten'') และตัดสินใจใช้นกฮูกแห่งอะธีนาเป็นสัญลักษณ์องค์กร อย่างไรก็ตาม ไวส์เฮาฟท์มองว่าชื่อนี้ฟังดูแปลก<ref>{{cite book|title= Pythagoras oder Betrachtungen über die geheime Welt- und Regierungskunst|last= Weishaupt|first= Adam|year= 1790|location= Frankfurt and Leipzig|pages= 670}}</ref> ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1778 จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น ''สมาคมรู้แจ้ง'' (''Illuminatenorden'')

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:20, 20 มกราคม 2563

อาดัม ไวส์เฮาฟท์ ผู้ก่อตั้งสมาคมรู้แจ้ง
นกฮูกแห่งอะธีนาถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในหนังสือของสมาคมอิลลูมินาเทิน

อิลลูมินาตี (อังกฤษ: Illuminati) มาจากภาษาละตินว่า อิลลูมินาตุส (ละติน: illuminatus) ที่แปลว่า "รู้แจ้ง" เป็นชื่อที่ตั้งให้แก่กลุ่มคณะบุคคลหลายกลุ่มทั้งที่มีอยู่จริงและเป็นเรื่องแต่ง ซึ่งหากกล่าวถึงที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์จะหมายถึง สมาคมรู้แจ้ง ([Illuminatenorden] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))

สมาคมรู้แจ้งเป็นสมาคมลับในยุคปรัชญาแสงสว่าง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1776 ที่เมืองอิงก็อลชตัท แคว้นบาวาเรีย โดยนักปรัชญาและนักกฎหมายศาสนจักร อาดัม ไวส์เฮาฟท์ (Adam Weishaupt) พร้อมกับนักเรียนอีกสี่คน ไวส์เฮาฟท์ก่อตั้งสมาคมนี้ขึ้นภายหลังผิดหวังกับองค์กรฟรีเมสันที่ไม่ค่อยเปิดรับความคิดเขาเท่าไหร่ ไวส์เฮาฟท์จึงก่อตั้งสมาคมของตนเองขึ้นมาโดยมีโครงสร้างและระดับเฉกเช่นเดียวกับฟรีเมสัน แต่ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความเชื่อของเขาเอง[1] มีจุดมุ่งหมายต่อต้านความงมงาย (superstition), ต่อต้านลัทธิหมิ่นประมาท (obscurantism), ต่อต้านอิทธิพลของศาสนาในชีวิตผู้คน รวมถึงต่อต้านการใช้อำนาจรัฐในทางผิด

เมื่อแรกก่อตั้ง ไวส์เฮาฟท์ใช้ชื่อองค์กรว่า สหภาพสัมบูรณ์ (Bund der Perfektibilisten) และตัดสินใจใช้นกฮูกแห่งอะธีนาเป็นสัญลักษณ์องค์กร อย่างไรก็ตาม ไวส์เฮาฟท์มองว่าชื่อนี้ฟังดูแปลก[2] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1778 จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น สมาคมรู้แจ้ง (Illuminatenorden)

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คาร์ล เทโอดอร์ ผู้ครองแคว้นบาวาเรีย ประกาศให้สมาคมรู้แจ้ง องค์กรฟรีเมสัน ตลอดจนองค์กรลับอื่นๆนั้นเป็นองค์กรเถื่อน[3] คำประกาศเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนโดยคริสต์จักรคาทอลิก นอกจากนี้ ในปีค.ศ. 1798 ฝ่ายหัวเก่าและนักวิจารณ์ฝ่ายคริสต์จักรยังเขียนหนังสือให้ร้ายว่าองค์กรเหล่านี้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสและยังเคลื่อนไหวอย่างลับๆเพื่อทำการเปลี่ยนแปลงในประเทศอื่นๆต่อไป หนังสือเหล่านี้ได้รับความนิยมไปถึงสหรัฐและทั่วนิวอิงแลนด์

นักการเมืองผู้มีสติปัญญาและหัวก้าวหน้าจำนวนมากอ้างว่าพวกเขาเป็นสมาชิกองค์กรเหล่านี้ อย่างที่เจ้าชายแฟร์ดีนันท์แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล หรือนักการทูตซาฟิแอร์ ฟอน ซวัค เคยอ้างว่าตัวเองเป็นผู้นำเบอร์สองของสมาคมนี้[4] สมาคมนี้ดึงดูดปรมาจารย์เลื่องชื่อมากมายอาทิ โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ และโยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์ ตลอดจนดยุกผู้ครองนครโกทาและไวมาร์[5]

ผลที่ตามมา "อิลลูมินาตี" กลายเป็นคำที่ถูกนำไปอ้างโดยองค์กรมากมาย ทั้งที่อ้างว่าตนมีความเกี่ยวข้องกับสมาคมรู้แจ้งหรือองค์กรลับอย่างเดียวกัน แน่นอนว่าคำอ้างเหล่านี้ไม่มีข้อพิสูจน์ หลายครั้งมีทฤษฎีสมคบคิดว่าองค์กรเหล่านี้วางแผนในการเข้าครอบงำกิจการโลก คอยชักใยและสร้างสถานการณ์เพื่อต่อต้านรัฐบาลและบรรษัทต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองและอิทธิพลโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งเป็นทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับอิลลูมินาตีที่แพร่หลายที่สุด มีการนำอิลลูมินาตีไปใช้ในงานวรรณกรรม, ภาพยนตร์, การ์ตูน, วิดีโอเกม อยู่มากมาย ภาพยนตร์เกี่ยวกับอิลลูมินาตีที่โด่งดังที่สุดคือ เทวากับซาตาน ของแดน บราวน์

อ้างอิง

  1. Vernon Stauffer, New England and the Bavarian Illuminati, Columbia University Press, 1918, Chapter 3 The European Illuminati, Grand Lodge of British Columbia and Yukon, accessed 14 November 2015
  2. Weishaupt, Adam (1790). Pythagoras oder Betrachtungen über die geheime Welt- und Regierungskunst. Frankfurt and Leipzig. p. 670.
  3. René le Forestier, Les Illuminés de Bavière et la franc-maçonnerie allemande, Paris, 1914, pp. 453, 468–469, 507–508, 614–615
  4. Introvigne, Massimo (2005). "Angels & Demons from the Book to the Movie FAQ – Do the Illuminati Really Exist?". Center for Studies on New Religions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2011. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  5. Schüttler, Hermann (1991). Die Mitglieder des Illuminatenordens, 1776–1787/93. Munich: Ars Una. pp. 48–49, 62–63, 71, 82. ISBN 978-3-89391-018-2.