ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
* '''1. เจ้าฟ้า''' มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
* '''1. เจ้าฟ้า''' มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
**''เจ้าฟ้าชั้นเอก'' เรียกลำลองว่า "ทูลกระหม่อม" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า "ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ อาทิ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์) , ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร (ทูลกระหม่อมบริพัตร)
**''เจ้าฟ้าชั้นเอก'' เรียกลำลองว่า "ทูลกระหม่อม" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า "ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ อาทิ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์) , ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร (ทูลกระหม่อมบริพัตร)
** ''เจ้าฟ้าชั้นโท'' เรียกลำลอง​ "สมเด็จ" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) หรือ มารดาเป็น พระองค์เจ้า อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ,​ "สมเด็จชาย" สมเด้จฯ เจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ "พระองค์เจ้าลูกหลวง" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา"รับสมเด็จ" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน
** ''เจ้าฟ้าชั้นโท'' เรียกลำลอง​ "สมเด็จ" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) หรือ มารดาเป็น พระองค์เจ้า อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ,​ "สมเด็จชาย" สมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ "พระองค์เจ้าลูกหลวง" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา"รับสมเด็จ" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน
** ''เจ้าฟ้าชั้นตรี'' เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง "พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับเจ้าฟ้าบุญรอด พระภาคิไนยในรัชกาลที่ 1 (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย ทั้งพระบิดาและพระมารดา) เรียกลำลองว่า "เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า"
** ''เจ้าฟ้าชั้นตรี'' เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง "พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับเจ้าฟ้าบุญรอด พระภาคิไนยในรัชกาลที่ 1 (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย ทั้งพระบิดาและพระมารดา) เรียกลำลองว่า "เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า"
''หมายเหตุ'' เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์
''หมายเหตุ'' เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:25, 6 มกราคม 2563

พระยศเจ้านาย ในราชสกุลมี 2 ประเภทคือ สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้าชั้นใดในเบื้องต้น เจ้านายที่เกิดในสกุลยศชั้นใด ก็อยู่ในชั้นยศชั้นนั้น เป็นยศที่ได้โดยการเกิด และ "อิสริยยศ" คือยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ทางราชการในภายหลัง

สกุลยศ

สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า เจ้า สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • 1. เจ้าฟ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
    • เจ้าฟ้าชั้นเอก เรียกลำลองว่า "ทูลกระหม่อม" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า "ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ") บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่ อาทิ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (ทูลกระหม่อมจุฬาภรณ์) , ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร (ทูลกระหม่อมบริพัตร)
    • เจ้าฟ้าชั้นโท เรียกลำลอง​ "สมเด็จ" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) หรือ มารดาเป็น พระองค์เจ้า อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ,​ "สมเด็จชาย" สมเด็จฯ เจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ "พระองค์เจ้าลูกหลวง" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา"รับสมเด็จ" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ "สมเด็จหญิง" สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง ตามลำดับมาก่อน
    • เจ้าฟ้าชั้นตรี เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง "พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับเจ้าฟ้าบุญรอด พระภาคิไนยในรัชกาลที่ 1 (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย ทั้งพระบิดาและพระมารดา) เรียกลำลองว่า "เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า"

หมายเหตุ เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์

  • 2. พระองค์เจ้า มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
    • พระองค์เจ้าชั้นเอก​ เรียกลำลองว่า​ "เสด็จพระองค์ชาย/หญิง" เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของกษัตริย์ อันเกิดด้วยพระสนม (หม่อมเจ้าลงไปถึงเจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า "พระเยาวราช" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ "พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ เรียกลำลองว่า​ "เสด็จ" เช่น​ เสด็จพระองค์ชายจิตรเจริญ​ (พระเจ้าลูกยาเธอ​ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พระราชโอรสใน ร.4​ กับ​ หม่อมเจ้าพรรณราย)​ ถ้าทรงกรม​ เรียกลำลอง​ "เสด็จในกรม" อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ) พระองค์เจ้า​ชั้นลูกหลวงนี้ไม่มีคำว่า "สมเด็จ" นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทาน "สมเด็จ" แล้วจึง เรียกลำลองว่า ​"สมเด็จฯ" อาทิ​เช่น "สมเด็จ​ฯ​ กรมพระสวัสดิ" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ หรือ​ ได้รับพระอิสริยยศ​ทรงกรมสูงสุด เป็น สมเด็จฯ​ กรมพระยา​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ (สมเด็จฯ​ กรมพระยาเทววงศ์) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดาสกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล และเป็นกลุ่มเจ้านาย ในชั้นพระบรมวงศ์) ในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา) อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ หากพระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น (ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์
    • พระองค์เจ้าชั้นโท เรียกลำลอง "พระองค์ชาย/หญิง" เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ และ พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น

1) พระราชโอรสธิดาในสกุลวังหน้า ถือเป็นพระองค์เจ้าชั้นโท โดยมีอิสริยยศนำหน้าว่า "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" หรือ "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พระบุตรพระองค์เจ้าวังหน้านี้​เป็น​ หม่อมเจ้า [และเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของกรมพระราชวังบวรฯ แต่มารดามิได้เป็นเจ้า จะเป็นเพียงแค่หม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าอาทิตย์ ในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]

2) พระชนกเป็นสมเด็จพระยุพราช หรือเจ้าฟ้าชั้นเอกและพระชนนีเป็นพระองค์เจ้า (พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าหญิงพระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้า) ใช้คำนำสกุลยศ "พระเจ้าหลานเธอ,พระเจ้าวรวงศ์เธอ" อาทิ​ พระเจ้าหลานเธอ​ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา​ เรียกลำลอง"พระองค์ภา"

3) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นโท) ใช้คำนำสกุลยศ​ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ" อาทิ

ร.10 ทรงสถาปนา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เพิ่มอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ และทรงสถาปนาพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เพิ่มอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ร.9​ ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ​ อันมีความหมายตำแหน่งว่า​ แม่ของหลานพระราชาผู้ประเสริฐ​ เรียกลำลอง ​"พระองค์หญิง" และทรงสถาปนา หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.9) เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

ร.8 ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เดิมแรกประสูติ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.4)

ร.7​ ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าอาภาพรรณี​ สวัสดิวัตน์ พระชนนี​ใน​ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ใน ร.7​ เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี เรียกลำลอง​"พระองค์หญิงอาภา"

ร.6 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจุลจักร​พงษ์ จักรพงษ์​ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.5) เพิ่มพระอิสริยยศตั้งขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ​ กับหม่อมคัทริน จักรพงษ์ ณ อยุธยา​ สะไภ้หลวง) ​ร. 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) ตั้งเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษ​เฉพาะพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์​ คือ​ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์

ร.3 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าโสมนัส (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงในร.3) เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี

ยกเว้นในกรณีที่ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าชั้นพิเศษที่มีศักดิ์ด้วยเป็นพระวรชายาในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาอุปราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เรียกลำลองเพิ่ม เป็น เสด็จพระองค์หญิง เป็นกาลพิเศษ

4) ​"พระองค์เจ้ายก " คือ​ หม่อมเจ้าหลานหลวง หรือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหลานหลวง พระโอรสธิดาของ เจ้าฟ้า​ กับพระมารดา​ ที่ได้รับการเสกสมรสเป็นสะใภ้หลวง เป็นการสถาปนายกขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เช่น​ ราชสกุลจักรพันธ์​ุ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เดิม หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ จักรพันธ์ ​เป็น​ หม่อมเจ้า​ชั้นหลานหลวง(ในสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กับ หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์) หรือ ราชสกุลภาณุพันธุ์​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช เดิม ​หม่อมเจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์​ ภาณุพันธุ์​ เป็น หม่อมเจ้าชั้นหลานหลวง(ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ กับ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา) หรือ​ ราชสกุลบริพัตร พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร​ ​กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต​ เดิม​ หม่อมเจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร บริพัตร​ เป็นหม่อมเจ้าชั้นหลานหลวง(ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ​ กับ​ หม่อมเจ้าประสงค์สม​ บริพัตร) หรือ​ ราชสกุลยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล​ เดิม​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (ในสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯ​ กับ​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล) และได้ทรงประกาศให้ยกพระโอรสธิดาของ "พระองค์เจ้ายก" เหล่านี้เป็นหม่อมเจ้าอีกด้วย

  • พระองค์เจ้าชั้นตรี เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ใช้คำนำสกุลยศ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เรียกลำลอง​ "ท่านพระองค์" เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์​ (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์)

1) พระชนกเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและพระชนนีเป็นพระองค์เจ้า อาทิ​เช่น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (สกุลยศเดิมเมื่อแรกประสูติ) พระราชนัดดาในร.5

2) พระชนกและพระชนนีเป็นพระองค์เจ้าด้วยกัน​ อาทิ​เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระราชนัดดาในร.5​ เดิมทรงเป็นหม่อมเจ้า​ ตั้งเป็นพระองค์เจ้า​ พระยศตามพระชนนี​ ตามกฏมณเฑียรบาลราชประเพณี

3) พระชนกเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก แต่พระมารดาเป็นสามัญชน (หม่อม) แรกประสูติเป็น​ หม่อมเจ้า​ ชั้นหลานหลวง​ ต่อมาโปรดเกล้าตั้งเป็น​ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ("พระองค์เจ้าตั้ง")​

อนึ่งกล่าวเพิ่มเติม "พระองค์เจ้าตั้ง" ในชั้นนี้มีอย่างทางการและบรรทัดฐานในสกุลยศ​ เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 7) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตรากฎหมายในเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ หม่อมเจ้าพระโอรสธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอก(พระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ)​ มารดาเป็นหม่อมห้าม (หญิงสามัญชน) แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวง​ ได้รับการสถาปนาตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า​ ทุกพระองค์ ในสายราชสกุลจักรพันธ์​ุ เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธพิศิษฐพงศ์ , ราชสกุลภาณุพันธุ์ เช่น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต​ , ราชสกุลบริพัตร​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ , ราชสกุลจุฑาธุช​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช และ ราชสกุลมหิดล​ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8) ทรงได้รับสถาปนาจากสกุลยศ หม่อมเจ้า ชั้นหลานหลวง​ ตั้งเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช (ร.9) ทรงได้รับอิสริยยศเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า ตามกฎหมายนี้

4) พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้น (เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นตรี) ใช้คำนำสกุลยศ​ "พระวรวงศ์เธอ" อาทิ
ร.4 ทรงสถาปนา หม่อมเจ้าจิตราภรณ์ นพวงศ์ (สกุลยศ หม่อมเจ้า​ชั้นเอก หลานหลวงองค์ใหญ่ในร.4) พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เพิ่มพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ และได้ทรงยกพระโอรสธิดาของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ เป็นหม่อมเจ้า (เดิม หม่อมราชวงศ์) อีกด้วย เป็นกรณีพิเศษเฉพาะพระองค์

5) นอกจากนี้ยังมีอีกพระอิสริยยศหนึ่งคือ "พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และพระนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เช่น พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา พระนัดดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพยอม กรมหมื่นมนตรีรักษา พระนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมิได้แต่งตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว จึงพระราชทานพระอิสริยยศอย่างราชสำนักวังหลวงแทน เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (สถาปนาเป็นพิเศษภายหลังสิ้นพระชนม์)

  • 3.หม่อมเจ้า เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เรียกลำลองว่า "ท่านชาย/หญิง" (นับได้ว่าเป็นพระยศชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์) มีความแตกต่างกัน 2 ชั้น คือ

1) หม่อมเจ้าชั้นเอก​ พระราชนัดดา​ หลานหลวง​ ของกษัตริย์​ เป็นพระโอรสธิดาของเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าลูกหลวง โดยสกุลยศ [และเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของกรมพระราชวังบวร แต่มารดามิได้เป็นเจ้า จะเป็นเพียงแค่หม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าอาทิตย์ ในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ] อาทิ หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล พระราชนัดดาในร.9 พระธิดาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาอุปราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) , หม่อมเจ้ากรณิกา​ จิตรพงศ์​ พระราชนัดดาใน​ร.4​ พระธิดาของเจ้าฟ้า (พระธิดา ​สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์)​ และ​ หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์​ สวัสดิวัตน์​ พระราชนัดดาในร.4​ พระโอรสของพระองค์เจ้าลูกหลวง (พระโอรส​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ เป็นต้น

อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดา​เพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าหลานหลวง​ ที่มีพระชนกดำรงสกุลยศเจ้าฟ้าชั้นเอก​(ประสูติแต่พระชนนีชั้นสมเด็จ)​ หม่อมมารดาเป็นสามัญชน พระบุตรได้เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี​ เช่น​ หม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ​ จุฑาธุช​ พระราชนัดดาในร.5​ เพิ่มอิสริยยศตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช โดยโอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นเอก​ และ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า​ ​นี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์

2) หม่อมเจ้าชั้นโท​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวง​ ของกษัตริย์ ​คือ​ พระโอรส​ธิดา ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระ​องค์เจ้า​ หลานหลวงของกษัตริย์​ อาทิ​ หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม​ ยุคล​ พระราชปนัดดา​ เหลนหลวงในร.5​ (พระโอรสใน​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ ​พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิคัมพร พระราชนัดดาในร.5)​ โอรสธิดาของหม่อมเจ้าชั้นโท​ เหลนหลวงนี้​ สมภพ(เกิด)​เป็น​ หม่อมราชวงศ์ ทั้งนี้ หม่อมเจ้าชั้นโทหรือชั้นเหลนหลวงนี้ สำหรับสายรัชกาลที่ 4 จะมีแค่ใน 2 ราชสกุลเท่านั้นคือ ราชสกุลจักรพันธ์ุ กับราชสกุลภาณุพันธุ์ ส่วนสายรัชกาลที่ 5 ก็มีแค่ใน 2 ราชสกุลคือ ราชสกุลบริพัตรกับราชสกุลยุคล

ดังนั้นความหมายที่ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ มาจากสองคำคือ พระบรมวงศ์ (พระภรรยาเจ้าดำรงสถานะชั้นพระมเหสี, เจ้าฟ้าชั้นเอก-โท และ พระองค์เจ้าชั้นเอก) กับ พระอนุวงศ์ (เจ้าฟ้าชั้นตรี,พระองค์เจ้าชั้นโท-ตรี และ หม่อมเจ้า) ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านาย (เจ้า) ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์

  • 4.หม่อมราชวงศ์ ชั้นเชื้อพระวงศ์ เป็นโอรสและธิดาของพระองค์เจ้าตั้ง และโอรสธิดาของหม่อมเจ้า เรียกว่า "คุณชาย หรือ คุณหญิง" เป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ (ราชนิกุล) มิใช่เจ้า
  • 5.หม่อมหลวง ชั้นเชื้อพระวงศ์ เป็นบุตรและธิดาของหม่อมราชวงศ์ เรียกว่า "คุณ"เป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ (ราชนิกุล) มิใช่เจ้า


สกุลยศลำดับที่ 4 และ 5 เป็นเพียงราชนิกุล และเป็นสามัญชน จะไม่นับเป็นเจ้าและเป็นสกุลยศที่ถือกำเนิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตามลำดับ


  • ขุนหลวง - เป็นคำที่ราษฎรทั่วไปขาน พระเจ้าแผ่นดิน เนื่องด้วยการขานพระนามกันตรง ๆ มักไม่นิยม และมีความยาว พร้อมกับมีศัพท์ที่ไม่ใช้กันข้างนอก บางสันนิษฐานว่าเป็นคำลำลอง เหมือนที่เรียกขานปัจจุบันว่า "ในหลวง" เพราะ คำว่า "ขุนหลวง" มีใช้เฉพาะปลายกรุงศรีฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นพระราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมขานพระมหากษัตริย์ ว่าขุนหลวงและตามด้วยพฤติกรรมหรืออุปนิสัยพระองค์นั้น ๆ อาทิ ขุนหลวงหาวัด พระเจ้าอุทุมพร เพราะผนวช, ขุนหลวงมะเดื่อ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม และพระยศเดิมก่อนเป็นกษัตริย์ หลวงสรศักดิ์ เป็นต้น ดังนั้น คำว่า "ขุนหลวง" มิใช่พระยศอย่างที่เข้าใจ พอเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ขุนหลวงมิมีใครขานอีก เลยออกพระนามกันใหม่ อาทิ ขุนหลวงเสือ เป็นพระเจ้าเสือ
  • เพิ่มเติม เจ้านายพระองค์ใดเป็นชั้นลูกหลวง เมื่อพ้นรัชกาลแผ่นดินไปแล้ว มีจะมีคำนำ ก่อนอิสริยยศเป็นขั้นปฐม ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ เจ้าฟ้า) และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (สำหรับ พระองค์เจ้า ยกเว้น พระราชกรุณาโปรดเกล้าเป็นอย่างอื่น ที่สูงกว่าหรือเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรง อาทิ สมเด็จพระราชอนุชาฯ และสำหรับบางรัชกาล คำนำสกุลยศ ยังมี พระราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อันเป็นเจ้านายชั้นสูงที่เทียบกับพระบรมวงศ์เธอ แต่มิใช่เจ้านายในวังหลวง แต่เป็นเจ้านายในวังชั้นสูง อาทิ วังหน้า, วังหลัง เป็นต้น

อิสริยยศ

อิสริยยศ คือ ยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้น อิสริยยศชั้นสูงสุด คือ พระราชกุมารที่จะรับราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์สืบต่อไป โดยในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 2001 บัญญัติไว้ว่า พระราชกุมารอันเกิดด้วยพระอัครมเหสี (มียศ) เป็นสมเด็จหน่อพุทธเจ้า พระราชกุมารอันเกิดแต่พระแม่ยั่วเมืองเป็นพระมหาอุปราชและอิสริยยศยังรวมถึง พระยศที่ได้มาหลังจากประสูติด้วย ในราชวงศ์จักรี มีการสถาปนาเจ้านาย ชั้นหม่อมเจ้า เป็นพระองค์เจ้า ,หรือ พระมเหสีเทวี อาทิ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ จักรพงษ์ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สกุลยศ หม่อมเจ้า อิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงสิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี และ พระบรมราชินีนาถ ตามลำดับ สกุลยศ หม่อมราชวงศ์ อิสริยยศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมราชินีนาถ

อิสริยยศสำหรับราชตระกูลรองแต่พระมหาอุปราชลงมา พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาให้มีพระนามขึ้นต้นด้วยคำว่า "พระ" ซึ่งสันนิษฐานว่าจะนำแบบของขอมมาอนุโลมใช้เป็นราชประเพณีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เช่น พระราเมศวร พระนเรศวร พระมหินทร์ พระเอกาทศรถ พระอาทิตยวงศ์ พระศรีศีลป์ เป็นต้น

ประเพณีเรียกพระนามเจ้านายเป็นกรมต่าง ๆ อย่างในทุกวันนี้ ปรากฏขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ทรงสถาปนาพระน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาทิพ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสุดาวดี เป็นเจ้ากรมหลวงโยธาเทพ นับเป็นครั้งแรกที่เรียกการพระนามอิสริยยศเจ้านายตามกรมใช้เป็นแบบแผนนับแต่นั้นมา สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงการสถาปนาอิสริยยศเจ้านายขึ้นเป็น "พระ" ตามประเพณีเดิมนั้น เนื่องจากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นอริกับเจ้าฟ้าชายหลายพระองค์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงมิได้ทรงยกย่องเจ้าฟ้าผู้ใดให้มียศสูงขึ้นตลอดรัชกาล จากจดหมายเหตุของมองสิเออร์ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส กล่าวว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยกย่องพระราชธิดาให้มีข้าคนบริวารและมีเมืองส่วยขึ้นเท่ากับพระอัครมเหสี ดังนั้น การสถาปนาเจ้าหญิงทั้งสองพระองค์นี้ ในแต่เดิม ไม่ได้เป็นการสถาปนาพระอิสริยยศ แต่เป็นการรวบรวมกำลังคนในระบบไพร่ ตั้งกรมใหม่ขึ้นสองกรม คือ กรมที่มีหลวงโยธาทิพ และหลวงโยธาเทพ เป็นเจ้ากรม และโปรดให้ไปขึ้นกับ เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์นั้น และคนไทยโบราณ ไม่นิยมเรียกชื่อ เจ้านาย ตรง ๆ จึงเรียกเป็น กรมหลวงโยธาทิพ หรือ กรมหลวงโยธาเทพเป็นต้น การทรงกรม จึงเทียบได้กับ การกินเมือง (การกินเมือง คือ การมีเมืองส่วยขึ้นในพระองค์เจ้านาย ประชาชนในอาณาเขตของเมืองนั้นๆ ต้องส่งส่วยแก่เจ้านาย) ในสมัยโบราณ คือแทนที่จะส่งเจ้านายไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ก็ทรงให้อยู่ในพระนคร และให้มีกรมขึ้นเพื่อเป็นรายได้ ของเจ้านายนั้นๆ

พระอิสริยศในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี มี 4 ชั้นคือ

  1. ชั้นที่ 1 กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับ พระพันปีหลวง (พระราชมารดา) พระมหาอุปราช และวังหลัง
  2. ชั้นที่ 2 กรมหลวง เป็นอิสริยยศ สำหรับ พระมเหสี โดยมากกรมหลวงมักมีแต่ เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระยศนี้เป็นที่สุด
  3. ชั้นที่ 3 กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับ เจ้าฟ้าราชกุมาร
  4. ชั้นที่ 4 กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับ พระองค์เจ้า

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเลื่อนชั้น อิสริยยศเจ้านาย จากที่ได้รับแต่เดิมแต่ประการใด (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดา หรือผู้ที่ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชขึ้นเป็น กรมพระ) ประเพณี การเลื่อนอิสริยยศเจ้านายเกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ให้เรียก กรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "กรมสมเด็จพระ" ต่อมาในรัชกาลที่ 3 โปรดให้ พระองค์เจ้าทรงกรมชั้นผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นไปได้เป็น "กรมสมเด็จพระ" สูงกว่า "กรมพระ" เดิม และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ให้แก้ไข "กรมสมเด็จพระ" เป็น "กรมพระยา" ดังนั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทธิ์ อิสริยยศเจ้านายจึงมี 5 ชั้นคือ

  1. ชั้นที่ 1 กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จพระ เป็นกรมสำหรับพระราชมารดา
  2. ชั้นที่ 2 กรมพระ นอกจากเป็นกรมสำหรับ วังหน้า และวังหลัง แล้วรัชกาลที่ 1 ยังตั้งสมเด็จพระพี่นางเธอให้ดำรงพระอิสริยยศนี้
  3. ชั้นที่ 3 กรมหลวง สำหรับเจ้าฟ้าชั้นใหญ่ และทั้งพระองค์ชายและพระองค์หญิง
  4. ชั้นที่ 4 กรมขุน สำหรับเจ้าฟ้าชั้นเล็ก แล้วจึงเลื่อนเป็นกรมหลวง
  5. ชั้นที่ 5 กรมหมื่น สำหรับพระองค์เจ้า

เจ้าทรงกรม จะมีขุนนางเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี โดยบรรดาศักดิ์ของเจ้ากรม คือบรรดาศักดิ์สูงสุดของอิสริยยศนั้น เช่น กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ มี เจ้ากรม บรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงค์ราชานุภาพ ศักดินา 1,000 ไร่ ปลัดกรม คือ พระปราบบรพล ศักดินา 800 ไร่ สมุห์บัญชี คือ หลวงสกลคณารักษ์ ศักดินา 500 ไร่

การเฉลิมพระยศเจ้านาย

ประเพณีการเฉลิมพระยศ เจ้านายแต่โบราณ ถือเอาการสองอย่างเป็นหลัก คือ การอภิเษกอย่างหนึ่ง และ การจารึกพระสุพรรณบัฏอย่างหนึ่ง

การอภิเษก คือ ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง(คือพระเจ้าแผ่นดิน) รดน้ำให้บนศีรษะ คือ สัญลักษณ์ของการมอบหมายทั้งยศและหน้าที่

พระสุพรรณบัฏ คือ แผ่นทองจารึกพระนามของเจ้านายพระองค์นั้น และจะพระราชทานจากพระหัตถ์ ให้แก่เจ้านายที่ได้รับการเฉลิมพระยศ

การเฉลิมพระยศเจ้านายนั้น ถือเอาการ จารึกพระสุพรรณบัฏ เป็นสำคัญ โดยจะต้องทำพิธีสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ต้องหาวันฤกษ์งามยามดีที่จะจารึก
  2. ต้องทำพิธีจารึกในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  3. ต้องมีสมณะและพราหมณ์พร้อมกันอวยชัยในพิธี
  4. ต้องประชุมเสนาบดีนั่งเป็นสักขีพยาน

ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากทรงยกเลิกระบบไพร่แล้ว การ "ทรงกรม" ของเจ้านาย จึงเป็นเพียงแต่การให้พระเกียรติยศ แก่เจ้านายพระองค์นั้น แต่ไม่มีไพร่สังกัดกรมแต่อย่างใด ส่วนพระนามของเจ้านายที่ทรงกรมได้แบบธรรมเนียมมาจากยุโรป โดยทรงตั้งพระนามเจ้านายที่ทรงกรมตามชื่อเมืองต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ เป็นต้น

เจ้านายที่ทรงกรมพระองค์ล่าสุด คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 แต่ไม่มีประเพณี เจ้ากรม ปลัดกรม ตามโบราณ เนื่องจากไทยได้ยกเลิกระบบไพร่ซึ่งสังกัดกรมเจ้านายไปแล้วรัชกาลที่ 5 และเลิกบรรดาศักดิ์ของขุนนางไปแล้วในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

อ้างอิง

  • กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับมีพระรูป (เล่ม 1). บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538.
  • กรมศิลปากร. เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (เล่ม 2). โรงพิมพ์กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กองทัพเรือจัดพิมพ์ถวาย). 2538.

ดูเพิ่ม