ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Kinkku Ananas/ทดลองเขียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kinkku Ananas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
== นิยาม ==
== นิยาม ==
นิยามของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มักใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบมาตรฐานหรือ[[เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก]]{{r|Simon 1987|Camerer & Loewenstein 2003}}
นิยามของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มักใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบมาตรฐานหรือ[[เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก]]{{r|Simon 1987|Camerer & Loewenstein 2003}}

== หัวข้อการศึกษา ==
=== การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน ===

=== การตัดสินใจแบบมีจุดอ้างอิง ===

=== การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเวลา ===

=== ความพอใจเชิงสังคม ===


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:38, 3 มกราคม 2563

Alt Sandbox - Library


อุปสงค์และอุปทาน

ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (อังกฤษ: demand and supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ[1][2] อุปสงค์และอุปทานของสินค้าต่างๆ เป็นตัวกำหนดปริมาณและราคาของสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาด โดยตลาดอยู่ในภาวะสมดุลถ้าปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน[3]

อุปสงค์อุปทานและจุดสมดุล

แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q*

แนวคิดอุปสงค์และอุปทาน ตั้งอยู่บนข้อสมมติว่าผู้บริโภคและผู้ผลิตตอบสนองต่อราคาในตลาด โดยที่ตัวผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถต่อรองราคาหรือมีอำนาจในการกำหนดราคาตลาดได้เอง ข้อสมมตินี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา[4]

ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อนั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินค้า และปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ รสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น หากสมมติว่าปัจจัยอื่นๆ เหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อกับราคานั้นเรียกว่าอุปสงค์ ซึ่งสามารถเขียนออกมาในลักษณะฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์โดยให้ปริมาณความต้องการซื้อเป็นฟังก์ชันของราคา และมักจะวาดออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น การวาดแผนภูมิอุปสงค์มักให้แกนตั้งหมายถึงราคาและแกนนอนหมายถึงปริมาณ โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าแต่ละชนิดจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับราคา นั่นคือ หากว่าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ความสัมพันธ์เชิงลบนี้เรียกว่ากฎอุปสงค์ (law of demand) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันลาดลง[5]

ในลักษณะเดียวกัน อุปทานหมายถึงความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิตที่ราคาแต่ละระดับ โดยที่ปริมาณความต้องการขายเป็นฟังก์ชันของราคา ฟังก์ชันอุปทานสามารถเขียนออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้นเช่นเดียวกัน ปริมาณอุปทานมักมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคา นั่นคือ หากราคาตลาดของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ปริมาณความต้องการขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น เรียกว่ากฎอุปทาน (law of supply) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันขึ้น[5]

แบบจำลองอุปสงค์และอุปทานอธิบายว่าอุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยที่กำหนดราคาของสินค้าในตลาด โดยใช้แนวคิดของจุดสมดุล (equilibrium) จุดสมดุลในแบบจำลองนี้คือภาวะที่ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเท่ากับปริมาณความต้องการขายสินค้า ราคาสินค้าที่ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อเท่ากับปริมาณความต้องการขายนี้เรียกว่าราคาสมดุล และปริมาณสินค้าที่ซื้อขายในจุดสมดุลเรียกว่าปริมาณสมดุล ในแผนภูมิเส้นที่แสดงอุปสงค์และอุปทาน จุดสมดุลคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน

การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน

เส้นอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2

แผนภูมิเส้นของอุปสงค์และอุปทานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับราคาโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากว่าปัจจัยอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้น หรือต้นทุนการผลิตสินค้าลดต่ำลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำเสนอออกมาในรูปของการเปลี่ยนเส้นอุปสงค์หรือเส้นอุปทานทั้งเส้นเป็นเส้นใหม่ นั่นคือ ปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายมีการเปลี่ยนแปลงที่ทุกๆ ระดับราคา[6]

ปัจจัยหนึ่งที่สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์คือรายได้ของผู้บริโภค หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อชนิดหนึ่งมากขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น สินค้าชนิดนั้นเรียกว่าเป็นสินค้าปกติ แต่หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งน้อยลงเมื่อมีรายได้มากขึ้นแล้ว สินค้าชนิดนั้นจะเรียกว่าเป็นสินค้าด้อย[6]

ความยืดหยุ่น

ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนนั้นสามารถแตกต่างกันไปได้ระหว่างสินค้าแต่ละชนิด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์เป็นอัตราร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหากว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1 ทั้งนี้ ความยืดหยุ่นของอุปทานสามารถนิยามได้ในลักษณะเดียวกันโดยเปลี่ยนจากปริมาณความต้องการซื้อเป็นปริมาณความต้องการขาย

หากกำหนดให้ หมายถึงปริมาณสินค้า หมายถึงราคาสินค้า และ กับ หมายถึงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณกับราคาตามลำดับ อัตราส่วนของความเปลี่ยนแปลงปริมาณสามารถเขียนได้ว่า ในขณะที่อัตราส่วนความเปลี่ยนแปลงราคาสามารถเขียนได้ว่า นิยามของความยืดหยุ่น () จึงสามารถเขียนออกมาได้ว่า

หากว่าเราพิจารณาลิมิตเมื่อ เข้าใกล้ศูนย์ นิยามของความยืดหยุ่นสามารถเขียนได้ในรูปแบบทางแคลคูลัสว่า[7]
หากว่าอุปสงค์ของสินค้าเป็นไปตามกฎอุปสงค์แล้ว ความยืดหยุ่นของอุปสงค์จะมีค่าเป็นจำนวนลบ โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์จึงมักเขียนค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์โดยละเครื่องหมายลบไว้ โดยเขียนความยืดหยุ่นอุปสงค์ในรูปของค่าสัมบูรณ์[8]

สินค้าที่ไม่เป็นไปตามกฎอุปสงค์หรือกฎอุปทาน

ที่มาทางทฤษฎีของอุปสงค์และอุปทาน

ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค ฟังก์ชันอุปสงค์และฟังก์ชันอุปทานมีที่มาจากการหาค่าเหมาะที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต โดยผู้บริโภคเลือกปริมาณสินค้าเพื่อให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุดภายใต้ราคาสินค้าและงบประมาณที่กำหนด ในขณะที่ผู้ผลิตเลือกปริมาณการผลิตเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ภายใต้ราคาที่กำหนด

ทฤษฎีผู้บริโภค

ในตัวอย่างแบบจำลองอย่างง่าย สมมติว่ามีสินค้าสองชนิด เรียกว่าสินค้าชนิดที่ 1 และสินค้าชนิดที่ 2 (แบบจำลองสามารถเขียนออกมาได้ในรูปแบบที่มีจำนวนสินค้าเป็นจำนวนเต็มบวกใดๆ ก็ได้) กำหนดให้ หมายถึงเป็นปริมาณสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ผู้บริโภคสามารถจัดลำดับความพึงพอใจที่มีต่อปริมาณการบริโภคแต่ละรูปแบบได้ โดยสมมติว่าความพึงพอใจนี้แสดงออกมาได้ในรูปของค่าฟังก์ชันอรรถประโยชน์

ให้ และ เป็นราคาสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ โดยราคาทั้งสองเป็นจำนวนจริงบวกและผู้บริโภคไม่สามารถส่งผลเปลี่ยนแปลงราคานี้ได้ด้วยตนเอง ผู้บริโภคมีงบประมาณคงที่เท่ากับ ปัญหาการหาค่าอรรถประโยชน์สูงสุดคือการที่ผู้บริโภคเลือกปริมาณ เพื่อให้ได้ค่าอรรถประโยชน์ สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดว่า ราคาสินค้าทั้งหมดที่ซื้อไม่เกินงบประมาณที่มี หรือ คำตอบ (อาร์กิวเมนต์) ของปัญหานี้ สามารถเขียนออกมาได้รูป และ ซึ่งก็คือฟังก์ชันอุปสงค์ของสินค้าชนิดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ อุปสงค์ในลักษณะที่เป็นคำตอบของปัญหาการหาค่าอรรถประโยชน์สูงสุดนี้เรียกว่าเป็นอุปสงค์แบบปรกติ หรือบางครั้งเรียกว่าอุปสงค์แบบมาร์แชล (ตามชื่อของอัลเฟรด มาร์แชล) หรืออุปสงค์แบบวาลรัส (ตามชื่อของเลอง วาลรัส)[9]: 50-51 [10]: 21 

ให้ และ หมายถึงราคาสินค้าชนิดที่ 1 ที่แตกต่างกัน กฎของอุปสงค์ที่ระบุว่า ปริมาณอุปสงค์มีความสัมพันธ์สวนทางกันกับราคาของสินค้านั้นๆ สามารถเขียนออกมาได้สำหรับสินค้าชนิดที่ 1 ได้ดังนี้[11]

หรือถ้า สามารถหาอนุพันธ์ได้ กฎของอุปสงค์ก็สามารถเขียนได้ในรูปของอนุพันธ์ว่า

ทฤษฎีผู้ผลิต

อ้างอิง

  1. Bannock G., R.E. Baxter, and R. Rees. (1985), "Demand". The Penguin Dictionary of Economics, 3rd ed. Harmondsworth: Penguin Books Ltd, 114. ISBN 0-14-051134-2. (อังกฤษ)
  2. Bannock G., R.E. Baxter, and R. Rees. (1985), "Supply". The Penguin Dictionary of Economics, 3rd ed. Harmondsworth: Penguin Books Ltd, 420. ISBN 0-14-051134-2. (อังกฤษ)
  3. Mankiw, N.G. (2004). Principles of Economics, 3rd ed. Mason, Ohio : Thomson/South-Western, 63. ISBN 0-324-16862-4 (อังกฤษ)
  4. "8.2 The market and the equilibrium price". The Economy. CORE. 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  5. 5.0 5.1 OpenStax (2019-03-13). "3.1 Demand, Supply, and Equilibrium in Markets for Goods and Services". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  6. 6.0 6.1 OpenStax (2019-03-13). "3.2 Shifts in Demand and Supply for Goods and Services". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  7. "Leibniz 7.8.1 The elasticity of demand". The Economy. CORE. 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  8. OpenStax (2019-03-13). "5.1 Price Elasticity of Demand and Price Elasticity of Supply". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  9. Mas-Colell, Andreu; Whinston, Michael D.; Green, Jerry R. (1995). Microeconomic theory. Oxford University Press. ISBN 0-19-510268-1.
  10. Jehle, Geoffrey A.; Rehny, Philip J. (2011). Advanced microeconomic theory (3 ed.). Harlow: Financial Times Prentice Hall. ISBN 978-0-273-73191-7.
  11. Jerison, Michael; Quah, John K.-H. (2008). "Law of demand". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_2413-1. ISBN 978-1-349-95121-5.

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (อังกฤษ: behavioral economics) เป็นการศึกษาปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ด้วยสมมติฐานเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ที่มีความสมจริงทางจิตวิทยากว่าข้อสมมติมาตรฐานในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมศึกษาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมจริงของมนุษย์และแบบจำลองมาตรฐานในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และศึกษาว่าความแตกต่างเหล่านี้มีผลอย่างไรในบริบททางเศรษฐศาสตร์บ้าง

นิยาม

นิยามของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มักใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบมาตรฐานหรือเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก[1][2]

หัวข้อการศึกษา

การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน

การตัดสินใจแบบมีจุดอ้างอิง

การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเวลา

ความพอใจเชิงสังคม

อ้างอิง

  1. Simon, Herbert A. (1987). "Behavioural economics". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_413-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  2. Camerer, Colin F.; Loewenstein, George (2003). "Behavioral economics: Past, present, future". ใน Camerer, Colin F.; Loewenstein, George; Rabin, Matthew (บ.ก.). Advances in behavioral economics. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-11681-5.

เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก

เศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิก (อังกฤษ: neoclassical economics)

นิยาม

คำเรียกแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบ "นีโอคลาสสิก" ถูกใช้ครั้งแรกโดยทอร์สไตน์ เวเบล็น ในปี 1900 โดยใช้เรียกแนวคิดเศรษฐศาสตร์ของอัลเฟรด มาร์แชล[1] คำว่า "นีโอคลาสสิก" อ้างอิงถึงสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิก ซึ่งหมายถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในลักษณะของเดวิด ริคาร์โดและอดัม สมิธ[2][3]

อ้างอิง

  1. Aspromourgos, Tony (1987). "'Neoclassical'". New Palgrave dictionary of economics. London: Palgrave Macmillan. doi:10.1057/978-1-349-95121-5_723-1. ISBN 978-1-349-95121-5.
  2. Colander, David; Holt, Richard; Rosser, Barkley Jr (2004). "The changing face of mainstream economics". Review of Political Economy. 16 (4): 485–499. doi:10.1080/0953825042000256702.
  3. Lawson, Tony (2013). "What is this 'school' called neoclassical economics?". Cambridge Journal of Economics. 37 (5): 947–983. doi:10.1093/cje/bet027.

ภาษาฝรั่งเศส

ภาษาฝรั่งเศส (le français เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: lə fʁɑ̃se) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ประวัติ

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ซึ่งหมายถึงภาษาที่มีที่มาจากภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศสวิวัฒนาการมาจากภาษาละตินที่ใช้พูดกันในเขตกอลตอนเหนือ (เทียบได้กับประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือและประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่ชาวโรมันจะเข้ามาปกครองดินแดนกอล ชนชาติที่อาศัยในบริเวณนี้ใช้ภาษากลุ่มเคลต์ที่เรียกว่าภาษากอล หลังจากที่จักรวรรดิโรมันยึดครองดินแดนกอลได้สำเร็จ 52 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาละตินของชาวโรมันก็เป็นภาษาที่ใช้การการปกครอง ภาษาละตินในกอลได้รับอิทธิพลในด้านคำศัพท์จากภาษากอล