ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| สังกัด = [[สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข]]
| สังกัด = [[สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข]]
| ผู้อำนวยการ = นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช
| ผู้อำนวยการ = นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช
| จำนวนเตียง = 1,080 เตียง<ref>http://hpc4.go.th/director/central/index.php?module=!&file=wasteHospital.php&chw=30&reg=9</ref>
| จำนวนเตียง = 1,180 เตียง<ref>http://hpc4.go.th/director/central/index.php?module=!&file=wasteHospital.php&chw=30&reg=9</ref>
| ที่ตั้ง = 49 [[ถนนช้างเผือก]] [[ตำบลในเมือง]] [[อำเภอเมืองนครราชสีมา]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] 30000
| ที่ตั้ง = 49 [[ถนนช้างเผือก]] [[ตำบลในเมือง]] [[อำเภอเมืองนครราชสีมา]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] 30000
| เว็บไซต์ = http://www.mnrh.go.th
| เว็บไซต์ = http://www.mnrh.go.th
บรรทัด 12: บรรทัด 12:


'''โรงพยาบาลมหาราชนครนครราชสีมา''' ตั้งอยู่ในเขต[[เทศบาลนครนครราชสีมา]] ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา [[จังหวัดนครราชสีมา]] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2452]] เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดนครราชสีมา
'''โรงพยาบาลมหาราชนครนครราชสีมา''' ตั้งอยู่ในเขต[[เทศบาลนครนครราชสีมา]] ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา [[จังหวัดนครราชสีมา]] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2452]] เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดนครราชสีมา
เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,680 เตียง
เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,180 เตียง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:07, 23 ธันวาคม 2562

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Maharat Nakhon Ratchasima Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลศูนย์
ที่ตั้ง49 ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง28 กันยายน พ.ศ. 2452
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช
จำนวนเตียง1,180 เตียง[1]
เว็บไซต์http://www.mnrh.go.th

โรงพยาบาลมหาราชนครนครราชสีมา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดนครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลศูนย์ในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,180 เตียง

ประวัติ

  • วันที่ 28 กันยายน 2452 ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตามประกาศจัดตั้งสุขาภิบาล ตำบลโพธิ์กลาง โดยได้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้น 2 แห่ง คือ
  1. โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 รับรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ ต.โพธิ์กลาง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
  2. โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 รับรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ ตั้งอยู่ที่ ต.สวนหม่อน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 จากตำบลโพธิ์กลาง มารวมกับโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 ตำบลสวนหม่อนและเรียกว่า โรงพยาบาลสวนหม่อน
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2478 ได้โอนกิจการของโรงพยาบาลสุขาภิบาล หรือ โรงพยาบาลสวนหม่อน ไปสังกัดเทศบาลเมืองนครราชสีมา และเรียกชื่อว่า โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา
  • วันที่ 1 กันยายน 2497 ได้โอนกิจการโรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา ไปสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและเรียกชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา จัดระดับเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด
  • ในปี พ.ศ. 2517 โรงพยาบาลนครราชสีมา ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 5 กันยายน 2524 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 กระทรวงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พระราชทานชื่อเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่เลขที่ 49 ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 136 ไร่ 82 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ จดกับ ที่ดินของเอกชน
  • ทิศใต้ จดกับ ลำตะคองที่มีตลิ่งสูงชัน
  • ทิศตะวันออก จดกับ ถนนช้างเผือกซึ่งเชื่อต่อระหว่างถนนมิตรภาพเส้นในและถนนมิตรภาพเส้นนอก
  • ทิศตะวันตก จดกับ ถนนมหาราช

ดูเพิ่ม

อ้างอิง