ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
}}
}}


'''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์''' (19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 — 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430) พระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
'''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์''' (19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 — 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430) พระราชธิดาพระองค์ที่ 24 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:17, 22 ธันวาคม 2562

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นเอก
กรมพระเทพนารีรัตน์
ประสูติ19 ธันวาคม พ.ศ. 2421
สิ้นพระชนม์27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 (8 ปี)
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 — 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430) พระราชธิดาพระองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2421[1] เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แรกเริ่มพระองค์ยังไม่ได้รับพระราชทานพระนาม ชาววังจึงออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่"[2]

เมื่อพระองค์ตามเสด็จพระบิดาประพาสเมืองเพชรบุรีได้ 3-4 วัน ก็ประชวรไข้ จนเสด็จกลับพระนครก็ไม่หาย มีพระอาการเสวยไม่ได้ พระกายซูบผอมและร้อนบ้าง มีพระบังคนปนเสมหะ และมีพระยอดขึ้นที่พระศอบ้างพระกรรณบ้าง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430 เวลา 12:42 น. ขณะพระชันษา 8 ปี 8 เดือน 11 วัน ถึงเวลา 5 โมงเย็นเศษ เชิญพระศพไปยังพระที่นั่งจักรีมหาประสาทองค์ตะวันออก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ต่อมาย้ายไปประดิษฐาน ณ หอธรรมสังเวช เคียงข้างพระโกศพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ แล้วโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์ 160 รูปมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธานสวดสดับปกรณ์[3]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2431[4] ส่วนสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงจึงทรงนำทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระราชธิดามาสร้างเป็นถนน โดยพระราชทานนามว่า "พาหุรัด" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระราชธิดาอันเป็นที่รัก

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการสถาปนาพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ "กรมพระ" มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์[5] เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัยนั้น เมื่อยังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ ทรงมีมารยาทเรียบร้อยเป็นอันดีสมควรกับขัตติยราชกุมารี เป็นที่เสน่หาปราโมทย์แห่งพระประยูรญาติทั้งปวงยิ่งนัก

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 - พ.ศ. 2431)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี (พ.ศ. 2431 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร์ นริศรราชกุมารี กรมพระเทพนารีรัตน์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน)

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 86
  2. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖, สกุลไทย, ฉบับที่ 2669, ปีที่ 52, ประจำวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2548
  3. "ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 4 (22): 171. 8 กันยายน จ.ศ. 1249. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสนตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิษณุโลกการพิมพ์, 2532, หน้า 145
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เป็นกรมพระเทพนารีรัตน์, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ก, ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๗๑