ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน่วยข่าวกรองลับ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox Government agency
{{Infobox Government agency
|agency_name = ราชการข่าวกรองลับพล.ต.อ.ประดู่ ำหงษาสังกัดตำรวจต่อต้านก่อการร้ายสากลmi6และปราบปรามยาเสพติดประเทศไทยขึ้นตรงกับตำรวจแห่งชาติ
|agency_name = ราชการข่าวกรองลับพล.ต.อ.ประดู่ คำ
หงษาสังกัดตำรวจต่อต้านก่อการร้ายสากลmi6และปราบปรามยาเสพติดประเทศไทยขึ้นตรงกับตำรวจแห่งชาติ
|type =
|type =
|nativename =
|nativename =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:28, 11 ธันวาคม 2562

ราชการข่าวกรองลับพล.ต.อ.ประดู่ คำ หงษาสังกัดตำรวจต่อต้านก่อการร้ายสากลmi6และปราบปรามยาเสพติดประเทศไทยขึ้นตรงกับตำรวจแห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งกรกฎาคม 1909 (114 ปีที่แล้ว) (1909-07)
ก่อนหน้า
ประเภทหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ
เขตอำนาจรัฐบาลของสมเด็จ
สำนักงานใหญ่ตึกเอสไอเอส
ลอนดอน, อังกฤษ
สหราชอาณาจักร
51°29′16″N 0°07′29″W / 51.48778°N 0.12472°W / 51.48778; -0.12472
คำขวัญSemper Occultus (Always Secret)
บุคลากร2,594 (31 March 2016)[1]
งบประมาณประจำปีSingle Intelligence Account (£2.6 billion in 2014–2015 financial year)[2][nb 1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์SIS.gov.uk
เชิงอรรถ
  1. This is a single budget for all the services – SIS, MI5 and GCHQ. The analysis of how this budget is spent between each service is undisclosed.

ราชการข่าวกรองลับ (อังกฤษ: Secret Intelligence Service, SIS) ยังเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า เอ็มไอ-6 เป็นหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักร มอบหมายหน้าที่ส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มจารชนที่แฝงตัวอยู่นอกประเทศต่าง ๆ และวิเคราะห์การข่าวกรองทางมนุษย์ (อังกฤษ: Human Intelligence; HUMINT) ในการสนับสนุนความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักร เอ็สไอเอ็สเป็นสมาชิกของชุมชนข่าวกรองของประเทศและหัวหน้านั้นมีหน้าที่รายงานตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของประเทศ[4]

ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1909 เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานราชการลับ (Secret Service Bureau ) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านข่าวกรองต่างประเทศ ส่วนที่มีประสบการณ์ได้รับการเติบโตมากขึ้นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1920[5] ชื่อที่เรียกว่า เอ็มไอ-6 (ย่อมาจาก การข่าวกรองทางทหาร, ส่วนที่ 6-Military Intelligence, Section 6) ริเริ่มเป็นธงแบบจดทะเบียนได้สะดวกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเอ็สไอเอ็สได้เป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อ; ยังคงมีการใช้เสมอในทุกวันนี้[5] การมีอยู่ของเอ็สไอเอ็สยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจนถึงปี ค.ศ. 1994[6] ในปีนั้น พระราชบัญญัติราชการข่าวกรอง ค.ศ. 1994 (ISA) ได้รับการแนะนำให้กับรัฐสภา เพื่อตั้งองค์กรดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายจากครั้งแรก; ปัจจุบัน เอ็สไอเอ็สอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลโดยศาลอำนาจการสอบสวน (Investigatory Powers Tribunal) และคณะกรรมการข่าวกรองและความมั่นคงของรัฐสภา (Parliamentary Intelligence and Security Committee)

บทบาทที่สำคัญของเอ็สไอเอ็สคือ การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการแพร่กระจายอาวุธร้ายแรง เช่น อาวุธนิวเคลียร์ และ อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และอื่นๆ การให้ความรู้ทางด้านข่าวกรองเพื่อสนับสนุนความปลอดภัยทางไซเบอร์ และสนับสนุนความมั่นคงต่างประเทศเพื่อทำลายการก่อการร้ายและความเคลื่อนไหวของอาชญากรรมอื่นๆ[7] ซึ่งแตกต่างจากองค์กรหลักพี่น้อง, ราชการความมั่นคง (เอ็มไอ-5) และสำนักงานใหญ่การสื่อสารของรัฐบาล (Government Communications Headquarters (GCHQ)) เอ็สไอเอ็สทำงานเฉพาะในการรวบรวมข่าวกรองต่างประเทศ ไอเอ็สเอได้อนุญาตให้ดำเนินการเฉพาะกับบุคคลภายนอกในเกาะอังกฤษ[8] การปฏิบัติหน้าที่ของเอ็สไอเอ็สบางคนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ได้จูงใจความขัดแย้งครั้งสำคัญ เช่น การกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการทรมานและกระทำการวิสามัญ[9][10]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เอ็สไอเอ็สได้ตั้งสำนักงานใหญ่ในตึกเอ็สไอเอ็สในกรุงลอนดอน บนฝั่งใต้ของแม่น้ำเทมส์

ความเป็นมาและพัฒนาการ

การก่อตั้ง

หน่วยเอสไอเอสเป็นหน่วยงานสืบทอดจากสำนักงานราชการลับ (Secret Srevice Bureau) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1909 หน่วยงานนี้เป็นความตั้งใจร่วมระหว่างกระทรวงกองทัพเรือของอังกฤษและสำนักงานสงคราม (War Office) เพื่อควบคุมปฏิบัติการข่าวกรองลับในสหราชอาณาจักรและดินแดนต่างชาติ โดยเฉพาะการจับตามองความเคลื่อนไหวต่างๆของรัฐบาลแห่งจักรวรรดิเยอรมัน หน่วยงานนี้ถูกแบ่งเป็นฝ่ายทหารเรือและฝ่ายทหารบกซึ่งเชี่ยวชาญในการจารกรรมในดินแดนต่างชาติและการต่อต้านจารกรรมในประเทศตามลำดับ มาเป็นเวลายาวนาน โดยหน่วยงานเฉพาะนี้เริ่มต้นมาจากการที่กระทรวงกองทัพเรือต้องการที่จะที่รู้วามแข่งแกร่งทางทะเลของกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1914 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ในปี ค.ศ.1916 ทั้งสองหน่วยได้รับการเปลี่ยนแปลงเชิงการบริหาร ซึ่งหน่วยต่างประเทศกลายเป็น MI1(c) ของกองกำกับการข่าวกรองทหาร (Directorate of Military Intelligence)

ผู้กำกับการคนแรกของราชการข่าวกรองลับคือ นาวาเอก เซอร์ แมนส์ฟิลด์ จอร์จ สมิธ-คัมมิ่ง (ตัวเขานั้นจะไม่พูดชื่อนามสกุล สมิธ จาก สมิธ-คัมมิ่ง ในการพูดคุยทั่วๆไป) โดยปกติแล้วเขามักสงนาม C ด้วยหมึกสีเขียวซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของนามสกุลเขาในการติดต่อทางจดหมายด้วย ซึ่งพัฒนาการเป็นนามแฝง(code name) และได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยผู้กำกับคนต่อๆไปเมื่อลงนามเอกสารเพื่อคงสภาวะนิรนามไว้

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

การปฏิบัติงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเป็นที่สับสนวุ่นวาย อันเนื่องจากไม่สามารถจัดตั้งเครือข่ายในเยอรมนีได้ด้วยตนเอง ผลงานส่วนใหญ่มาจากข่าวยกรองทางทหารและการค้าซึ่งถูกรวบรวมโดนเครือข่ายในประเทศเป็นกลาง,ประเทศที่ถูกยึดครองและรัสเซีย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Intelligence and Security Committee of Parliament "Annual Report 2016–2017", page 77. House of Commons (20 December 2017). Retrieved 1 June 2018.
  2. House of Commons (5 July 2016). Intelligence and Security Committee of Parliament Annual Report 2015–2016, page 10. Retrieved 12 January 2017.
  3. "The Chief". SIS – MI6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. Whitehead, Jennifer (15 July 2016). "Our Chief". SIS. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  5. 5.0 5.1 "1920: What's in a Name". SIS website. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  6. Whitehead, Jennifer (13 October 2005). "MI6 to boost recruitment prospects with launch of first website". Brand Republic. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  7. "Our Mission". SIS website. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  8. แม่แบบ:Cite legislation UK
  9. Foster, Peter (5 April 2014). "Tony Blair 'knew all about CIA secret kidnap programme'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  10. Norton-Taylor, Richard (1 June 2016). "Public need answers in 'shocking' MI6 rendition scandal, says senior Tory". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.