ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงประจำพระองค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
== ภาพธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ==
== ภาพธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ==


=== ธงประจำพระองค์ในปัจจุบัน ===
=== ธงประจำพระองค์ในปัจจุบัน ===
<br />
{| width = "100%" border = 1 border="1" cellpadding="4" cellspacing="0" style="margin: 0.5em 1em 0.5em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; border-collapse: collapse;"
{| width = "100%" border = 1 border="1" cellpadding="4" cellspacing="0" style="margin: 0.5em 1em 0.5em 0; background: #f9f9f9; border: 1px #aaa solid; border-collapse: collapse;"
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:34, 8 ธันวาคม 2562

ธงประจำพระองค์ เป็นธงประเภทหนึ่งของพระราชวงศ์ไทย ซึ่งประดับร่วมกับธงชาติไทยเพื่อถวายพระเกียรติแก่พระราชวงศ์ไทย ปรากฏใช้อยู่ทุกแห่งในประเทศไทย ต่างจากธงอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกรวมกันตามกฎหมายธงในปัจจุบันว่า ธงพระอิสริยยศ อันเป็นธงที่ใช้ในพิธีการต่าง ๆ เป็นการพิเศษ และใช้ในสถานที่เฉพาะแห่ง

ลักษณะ

โดยหลักแล้ว ธงประจำพระองค์มีลักษณะเป็นธงสีพื้นตามวันพระราชสมภพหรือสีที่ตามพระประสงค์ของพระองค์นั้นๆ ประดับด้วยเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อหรือพระนามาภิไธยย่อ ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น เช่น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ก็มีธงประจำพระองค์ในลักษณะดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่มักมิได้พบเห็นบ่อยนัก นอกจากในงานพิธีซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้น ๆ เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นองค์ประธาน ธงประจำพระองค์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ใช้ประดับในพระราชพิธีและพิธีการต่าง ๆ ที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ใช้อยู่ทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการด้วย ประชาชนชาวไทยในทุกชนชั้นและทุกหนแห่งนิยมประดับธงดังกล่าวร่วมกับธงชาติไทย เพื่อถวายพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ถือเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งที่ปรากฏในวัฒนธรรมไทย ธงเหล่านี้มีจำหน่ายตามร้านค้าขนาดเล็กและร้านเครื่องเขียนหรือร้านที่จำหน่ายธงโดยเฉพาะ โดยมีขนาดที่แตกต่างกันหลายขนาด และธงดังกล่าวนิยมพิมพ์รูปตราพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยย่อลงบนธงเพียงด้านเดียว

ธงพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ธงพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธงพื้นสีเหลือง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕) กลางธงมีตราพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. มีเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "ว" เป็นสีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา) "ป" สีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบรมชนกนาถ) และ "ร" สีฟ้า (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบรมราชชนนี)

ธงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ธงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นธงสีฟ้า อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕) กลางธงประดับสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีฟ้าเข้ม และ "ก" เป็นสีขาว ลักษณะดังกล่าวเป็นไปในทำนองเดียวกับธงพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. โดยปกติแล้วธงนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในช่วงเดือนสิงหาคม

สำหรับธงสัญลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แบบง่าย จะใช้วิธีการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ด้วยสีขาวสีเดียวลงบนผืนธงสีฟ้า

ธงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ธงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นธงสีม่วง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑) กลางธงประดับสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ ส.ท. ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี อักษรพระนามาภิไธยย่อ "ส" เป็นสีม่วง และ "ท" เป็นสีเหลือง (หมายถึง สีประจำวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระราชสวามี) โดยปกติแล้วธงนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในช่วงเดือนมิถุนายน

ธงที่พ้นสมัยการใช้งาน

ในทางปฏิบัติธงประจำพระองค์ที่พ้นสมัยการใช้งานนั้นเป็นได้หลายกรณี ได้แก่ พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นเสด็จสวรรคต สิ้นพระชนม์ หรือมีการได้รับการสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ หรือทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ หรือทรงมีพระราชดำริให้ออกแบบธงใหม่ หรือทางรัฐบาลประกาศระยะเวลาในการประดับธงตราสัญลักษณ์นั้นๆ โดยส่วนมาจะเป็นธงในวาระพิเศษต่างๆ

ธงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ธงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นธงพื้นสีเหลือง อันเป็นสีประจำพระชนมวาร (เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐) กลางธงมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ซึ่งปกติเป็นตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี โดยรูปอักษร "ภ" เป็นสีเหลืองทอง (หมายถึง สีประจำพระมหาจักรีบรมราชวงศ์) "ป" สีน้ำเงิน (หมายถึง สีประจำพระบรมราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์) และ "ร" สีขาว (หมายถึง สีประจำพระชนมวารตามคติมหาทักษา)

สำหรับธงสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช แบบง่าย จะใช้วิธีการพิมพ์ตราสัญลักษณ์ด้วยสีแดงสีเดียวลงบนผืนธงสีเหลือง

ภาพธงสัญลักษณ์ประจำพระองค์

ธงประจำพระองค์ในปัจจุบัน

ภาพธง ตราประจำพระองค์ ใช้สำหรับ ลักษณะ หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. มีอุณาโลมเลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:Royal Flag of HM Queen Suthida.svg
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี พระราชสมภพวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ธ. ภายใต้พระชฎาไม่มีกรรเจียกจร พระราชสมภพวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ จ.ภ. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ธงสีแสดแดง ตราพระนามาภิไธยย่อ อ.ร. ประสูติวันพฤหัสบดี แต่ด้วยเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 9 จึงใช้สีแดงเป็นสีพื้นธง แทนสีแสด
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ส. ยอดพระนามาภิไธยย่อเป็นรูปอุณาโลม ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:Royal Flag of Princess Bajrakitiyabha-2019.svg
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:Royal Flag of Princess Princess Sirivannavari Nariratana-2019.svg
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ร. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:Royal Flag of Prince Dipangkorn Rasmijoti 2019.svg
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ท.ป. ภายใต้พระจุลมงกุฎ ประสูติวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ภ.ภายใต้รัดเกล้าเปล่งแสง ประสูติวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ธงสีม่วง ตราพระนามาภิไธยย่อ อ.ก. ประสูติวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง

พ้นสมัยการใช้งาน

ภาพธง ตราประจำพระองค์ ใช้สำหรับ ลักษณะ เหตุพ้นสมัย หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ธงสีเหลือง ตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ภายใต้อุณาโลมและพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ธงสีชมพู ผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตราพระนามาภิไธยย่อ ร.พ. ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี สวรรคต พระราชสมภพวันอังคาร จึงใช้ชมพูเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ธงสีแดง ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ว. สวรรคต พระราชสมภพวันอาทิตย์ จึงใช้แดงเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ธงสีเหลือง ตราพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ภายใต้ตราจักรีและพระอนุราชมงกุฎ ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ธงสีชมพู ตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินและอุณาโลม สิ้นพระชนม์ ประสูติวันอังคาร จึงใช้สีชมพูเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ธงสีน้ำเงิน ตราพระนามาภิไธยย่อ ก.ว. ภายใต้พระจุลมงกุฎ สิ้นพระชนม์ ประสูติวันอาทิตย์ แต่สีน้ำเงินเป็นสีที่โปรดเป็นการส่วนพระองค์ จึงใช้สีน้ำเงินเป็นสีพื้นธงแทนสีแดง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ ศ.ร. ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ พ.ภ. ทรงออกแบบใหม่ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ธงสีแสด ตราพระนามาภิไธยย่อ ส.ร. ทรงออกแบบใหม่ ประสูติวันพฤหัสบดี จึงใช้สีแสดเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ธงสีฟ้า ตราพระนามาภิไธยย่อ ท.ป. ทรงออกแบบใหม่ ประสูติวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ธงสีแดงทั้งผืน ทรงโปรดให้เปลี่ยนตามสีวันประสูติ ประสูติวันอาทิตย์ แต่ภายหลังทรงนับว่าประสูติวันเสาร์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ธงสีม่วงทั้งผืน ทรงออกแบบใหม่ เดิมใช้ธงแดงทั้งผืน แต่ภายหลังทรงนับว่าประสูติวันเสาร์ จึงใช้ธงสีม่วงเป็นพื้นธง

ธงประจำพระองค์ในวาระพิเศษ

ภาพธง ใช้สำหรับ ลักษณะ หมายเหตุ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ธงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547.png
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ (3).png
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ธงสีฟ้า มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันศุกร์ จึงใช้สีฟ้าเป็นสีพื้นธง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ธงสีม่วง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันเสาร์ จึงใช้สีม่วงเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ธงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562.png
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก อยู่กลางผืนธง พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง

พ้นสมัยการใช้งานในวาระพิเศษ

ภาพธง ใช้สำหรับ ลักษณะ เหตุพ้นสมัย หมายเหตุ
ไฟล์:ธงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530.png
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2531.jpg
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ธงพระราชพิธ๊ฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539.png
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีกาญจนาภิเษก อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ.jpg
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี.jpg
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ธงพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา.png
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554.jpg
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี อยู่กลางผืนธง สวรรคต พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง
ไฟล์:ฉลอง 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.png
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ธงสีขาว มีตรางานฉลอง ๑๐๐ ปี อยู่กลางผืนธง พ้นวันงานไปแล้ว
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ธงสีเหลือง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ อยู่กลางผืนธง ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชสมภพวันจันทร์ จึงใช้สีเหลืองเป็นสีพื้นธง

ระเบียงภาพ

ในวาระพิเศษ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง