ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นพพร ซิลเวอร์โกลด์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8458776 โดย 2405:9800:BC30:9403:C426:561:A941:1685ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Kimhan kim (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 130: บรรทัด 130:
| align = "center"| [[มาดามบ้านนา]] (2562)
| align = "center"| [[มาดามบ้านนา]] (2562)
|-
|-
| align = "center"| [[พ่อหม้ายเลขท้ายสองตัว]] (2562)
| align = "center"| [[พ่อหม้ายเลขท้ายสองตัว]] (2563)
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:56, 7 ธันวาคม 2562

บริษัท นพพร ซิลเวอร์โกลด์ จำกัด
ก่อตั้ง22/10/2540
สำนักงานใหญ่101/47-48 หมู่บ้านซื่อตรง หมู่ที่ 3 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี
บุคลากรหลัก
พนม นพพร - กรรมการผู้จัดการ
ผลิตภัณฑ์เพลงลูกทุ่งไทย,เพลงหมอลำ
เว็บไซต์http://www.nopporn.co.th/

นพพร ซิลเวอร์โกลด์ ก่อตั้งโดยพนม นพพรในปี พ.ศ. 2540 เป็นค่ายเพลงที่ผลิตผลงานเพลง ลูกทุ่ง, ลูกทุ่งหมอลำ และยังคงความเป็นลูกทุ่งแท้ๆระดับมาตรฐานที่สุด มีศิลปินที่เป็นที่รู้จักอย่าง แมงปอ ชลธิชา,สาลี่ ขนิษฐา,อร อรดี,ลูกปัด พิมพ์ชนก,วี จิราพร,พิมพ์ ญาดา,ณิชา ดารินทร์,จ๊อบ & จอย,สาธิกา สุพรรษา,ชล อภิชาติ,น้องใหม่ เมืองชุมแพ เป็นต้น และศิลปินเป็นเบอร์ 1 ของค่ายนพพรในช่วงแรกคือ สาลี่ ขนิษฐา และต่อมาคือแมงปอ ชลธิชาซึ่งโด่งดังประสบความสำเร็จสร้างรายได้ให้กับทางค่ายอย่างมหาศาล

ประวัติ

รู้จักนพพร

มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมอนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรม อันดีงาม แสดงออกถึงการสร้างพลังสามัคคีที่ดีงามของความบันเทิงในบทเพลงลูกทุ่งไทย

โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของบุคคลคุณภาพที่ชื่นชอบในบทเพลงลูกทุ่ง รักในเอกลักษณ์ความเป็นลูกทุ่ง ต้องการที่จะสืบทอดมรดกทางดนตรีอันล่ำค่าของคนไทย จึงได้ก่อตั่งและดำเนินมาตลอดเพื่อผลิตงานเพลงลูกทุ่งมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รู้จักและยอมรับจากคนไทยทั่วภูมิภาค

จากความสำเร็จทำให้ นพพร โปรโมชั่น แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด และ นพพร ซิลเวอร์โกลด์ จำกัด ได้รับรางวัลการันตีเชิดชูเกียรติมากมายหลายสาขา

ขอแนะนำผลงานด้านการผลิตภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, รายการโทรทัศน์ ที่ผ่านมาและสร้างชื่อเสียงเพียงบางส่วน ซึ่งผลงานโดยส่วนมากนั้น บริษัทฯจะเน้นไปในด้านการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย, วิถีชีวิต, และวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อก่อเกิดประโยชน์ให้กับสังคมและประชาชนทั่วไป

รายการชุมทางเสียงทอง

เพลงลูกทุ่ง ถือเป็นต้นกำเนิดของวงการเพลงในเมืองไทยในยุคเริ่มแรก บริษัท นพพร โปรโมชั่นแอนด์พิคเจอร์ จำกัด โดยคุณพนม นพพร จึงได้จัดทำรายการ ชุมทางเสียงทอง ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ของเพลงลูกทุ่งไทยและให้คงความไพเราะไว้ให้คงอยู่สืบไป รวมถึงเป็นการสร้างอาชีพให้กับคนไทย โดยเฉพาะประชาชนคนรุ่นใหม่ที่มี ความสามารถทางด้านการร้องเพลงลูกทุ่ง

รายการ ชุมทางเสียงทอง คือรายการประกวดเพลงลูกทุ่ง สำหรับนักร้องหน้าใหม่ที่สนใจในการร้องเพลงลูกทุ่ง และมีคณะกรรมการตัดสินใจดังนี้ อาจารย์เนาว์ อนุรักษ์ , อาจารย์ชัยภัทร เงินประเสริฐ , อาจารย์อัศวิน สีทอง โดยมีพิธีกรรายการ 4 ท่านด้วยกันคือ นก บริพันธ์ , เบญทราย หุ่นน้อย , โอบะ เสียงเหน่อ , จำเริญ รัตนะ ปัจจุบันคือรายการ ชุมทางดาวทอง ออกอากาศ ทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันพฤหัสบดี และ วันศุกร์ เวลา 09.30 - 10.30 น. ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน

รายการ แชมป์เยาวชน คือรายการประกวดเพลงลูกทุ่งประเภทวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชน ค้นหาสุดยอดวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษา และมีคณะกรรมการตัดสินใจดังนี้ อาจารย์เนาว์ อนุรักษ์ , อาจารย์ชัยภัทร เงินประเสริฐ , อาจารย์อัศวิน สีทอง โดยมีพิธีกรรายการ 2 ท่านด้วยกันคือ นก บริพันธ์ , เบญทราย หุ่นน้อย ออกอากาศทางสถานี ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2553

รายชื่อนักร้องในค่าย

  • ซึ่งส่วนใหญ่หมดสัญญาจากค่ายนพพร จึงไม่มีผลงานเพลงของค่ายนี้ ให้ศิลปินในสังกัดมีผลงานเพลงออกมา

ผลงานละครโทรทัศน์ในค่าย

ช่อง 3

ชื่อเรื่อง
แม่ศรีไพร (2539)
เสน่ห์บางกอก (2539)
รักต้องลุ้น (2540)
ไข่ลูกเขย (2540)
ไอ้แก่น (2540)
แหม่มจ๋า (2541)
เทพบุตรสุดที่รัก (2542)

ช่อง 7 เอชดี

ชื่อเรื่อง
แม่ศรีไพร (2553)
เสน่ห์บางกอก (2554)
ไข่ลูกเขย (2555)
แม่ปูเปรี้ยว (2555)
โทน (2556)
ลูกผู้ชายหัวใจเข้ม (2557)
แหม่มจ๋า (2557)
จับกัง (ละครโทรทัศน์) (2558)
คู่หู (2559)
มือปืนพ่อลูกติด (2560)
มาดามบ้านนา (2562)
พ่อหม้ายเลขท้ายสองตัว (2563)

ภาพยนตร์

ชื่อเรื่อง
แม่ครัวหัวไข่
บ้านไร่อลเวง
ยุทธการกล้วยไม้ป่า
เพลงรักแผ่นดินเพลิง
พูดด้วยปืน
คนในซอย
ไอ้ขี้เมา
บุญยังจับกังกำลัง2

อ้างอิง